หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นรีรัตน์ นาครินทร์
จากจังหวัด ยโสธร

รู้ได้ไงว่าจำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัวกี่พจน์
โพสต์เมื่อวันที่ : 23 ก.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7059 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(60.00%-9 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

การคิด การคำนวณทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่สนุกสนาน และมหัศจรรย์ ท้าทายในหลาย ๆ เรื่อง การตรวจสอบการหารลงตัวด้วย 5 ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่ใช่น้อยเลย สิ่งใกล้ตัวนักเรียนมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น การทอนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ การแยกตัวประกอบ การหาตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) การหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) มีความจำเป็นต้องอาศัยสมบัติการหารลงตัวของจำนวนที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาจำนวนเฉพาะ ได้แก่ จำนวนที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัวคือ 1 และตัวมันเอง ที่นักเรียนได้ฝึกฝนกันมาเป็นอย่างดีนั่นแหละค่ะ เช่น 2 , 3 , 5 , 7 , 11, 13, 17 เป็นต้น แต่อย่าลืมนะว่า 1 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ หลักการหารลงตัว การหาร 1 ลงตัว มีทุกจำนวนสามารถหาร 1 ลงตัว และการหาร 2 ลงตัว มีจำนวนที่เป็นเลขคู่ (ลงท้ายด้วย 0 2 4 6 8 ) เช่น 28 1118 65182483648636 และ การหาร 3 ลงตัว คือ ผลบวกเลขแต่ละหลักหาร 3 ลงตัว เช่น 194784798 1+9+4+7+8+4+7+9+8 ได้ 57 ซึ่งหาร 3 ลงตัว แต่ถ้ายังไม่รู้ว่า 57 หาร 3 ลงตัวหรือๆไม่ก็เอามาบวกกันอีกเป้น 5+7 ได้ 12 ซึ่งหาร 3 ลงตัวแน่นอน และ การหาร 4 ลงตัว คือ เลขสองตัวท้ายหาร 4 ลงตัว เช่น 4695421344 44 หาร 4 ลงตัว

.....

รู้ได้ไงว่าจำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัวกี่พจน์

การคิด การคำนวณทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่สนุกสนาน และมหัศจรรย์ ท้าทายในหลาย ๆ เรื่อง การตรวจสอบการหารลงตัวด้วย 5 ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่ใช่น้อยเลย

              สิ่งใกล้ตัวนักเรียนมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น การทอนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ การแยกตัวประกอบ การหาตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) การหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) มีความจำเป็นต้องอาศัยสมบัติการหารลงตัวของจำนวนที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น  โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาจำนวนเฉพาะ ได้แก่ จำนวนที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัวคือ 1 และตัวมันเอง ที่นักเรียนได้ฝึกฝนกันมาเป็นอย่างดีนั่นแหละค่ะ เช่น 2 , 3 , 5 , 7 , 11, 13, 17 เป็นต้น แต่อย่าลืมนะว่า 1 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ     หลักการหารลงตัว  
การ
หาร 1 ลงตัว มีทุกจำนวนสามารถหาร 1 ลงตัว   และการหาร 2 ลงตัว  มีจำนวนที่เป็นเลขคู่ (ลงท้ายด้วย 0 2 4 6 8 )  เช่น 28 1118 65182483648636    และ การหาร 3 ลงตัว คือ ผลบวกเลขแต่ละหลักหาร 3 ลงตัว  เช่น 194784798 1+9+4+7+8+4+7+9+8 ได้ 57 ซึ่งหาร 3 ลงตัว   แต่ถ้ายังไม่รู้ว่า 57 หาร 3 ลงตัวหรือๆไม่ก็เอามาบวกกันอีกเป้น 5+7 ได้ 12 ซึ่งหาร 3 ลงตัวแน่นอน  และ การหาร 4 ลงตัว  คือ เลขสองตัวท้ายหาร 4 ลงตัว  เช่น 4695421344 44 หาร 4 ลงตัว 
- ถ้าเลขหลักสิบเป็นเลขคู่ เลขหลักหน่วยลงท้ายด้วย 0 4 8  เช่น 6425724 2 เลขคู่ หลักหน่วยเป็น 8
- ถ้าเลขหลักสิบเป็นเลขคี่ เลขหลักหน่วยลงท้ายด้วย 2 6 เช่น 1427227792 9 เลขคี่ หลักหน่วยเป็น 2 
การ หาร 5 ลงตัว   มีลงท้ายด้วย 0 กับ 5  เช่น 25 888888888880     การหาร 6 ลงตัว คือเป็นเลขคู่และหาร 3 ลงตัว (ดูวิธีการหาร 3 ลงตัว) เช่น 882 เลขคู่ 8+8+2 ได้ 18 หาร 3 ลงตัว   การหาร 7 ลงตัว คือ นำเลขตัวหลังไปคูณ 5 บวกกับเลขตัวหน้าทั้งหมด  เช่น 6986 698+(6x5) = 728 ยังไม่รู้ว่าหาร 7 ลงตัวหรือไม่ 728 -> 72+(8x5) = 112 ยังไม่รู้ว่าหาร 7 ลงตัวหรือไม่
112 -> 11+(2x5) = 21 หาร 7 ลงตัว - นำเลขตัวท้ายไปคูณ 2 แล้วนำเลขที่เหลือลบด้วยจำนวนที่คูณนี้ เช่น 6139 613-(9x2) = 595 ยังไม่รู้ว่าหาร 7 ลงตัวหรือไม่ 595 -> 59-(5x2) = 49 หาร 7 ลงตัว
การ
หาร 8 ลงตัว คือ เลขสามตัวท้ายหาร 8 ลงตัว เช่น 86808 808 หาร 8 ลงตัว  ให้ นำเลขตัวหลังบวกกับเลขที่เหลือคูณ 2
เช่น 3832 (383x2)+2 = 768 ยังไม่รู้ว่าหาร 8 ลงตัวหรือไม่   768 (76x2)+8 = 160 หาร 8 ลงตัว  และ ถ้าเลขหลักร้อยเป็นเลขคู่ ให้ดู 2 ตัวท้ายว่าหาร 8 ลงตัวหรือไม่ เช่น 47896 8 เป็นเลขคู่ 96 หาร 8 ลงตัว   ถ้าเลขหลักร้อยเป็นเลขคี่ ให้นำสองตัวท้ายบวก 4 ดูว่าหาร 8 ลงตัวหรือไม่ เช่น 71352 3 เป็นเลขตี่ 52+4 = 56 หาร 8 ลงตัว 
การ
หาร 9 ลงตัว คือผลบวกเลขแต่ละหลักหาร 9 ลงตัว เช่น 194784798 1+9+4+7+8+4+7+9+5 ได้ 54 ซึ่งหาร 3 ลงตัว
แต่ถ้ายังไม่รู้ว่า 54 หาร 9 ลงตัวหรือๆไม่ก็เอามาบวกกันอีกเป้น 5+4 ได้ 9 ซึ่งหาร 9 ลงตัวแน่นอน
การ
หาร 10 ลงตัว  คือ เลขที่ลงท้ายด้วย 0 จะหาร 10 ลงตัวทั้งหมด เช่น 10 8885020 668876448367470464680042580

              การตรวจสอบการหารลงตัวด้วย 5 เป็นเรื่องหนึ่งที่ครูหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงในขณะนี้ เป็นเรื่องหนึ่งที่มีวิธีการที่สามารถแนะนำให้นักเรียนทำได้สะดวกแม่นยำ ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวข้องคือ

การหารลงตัว

               คือจำนวนนับจำนวนใดจำนวนหนึ่ง ที่นำไปหารจำนวนนับอีกจำนวนหนึ่งแล้วไม่เหลือเศษ

พจน์

              คือ คำพูด ถ้อยคำ ดังนั้น "จำนวนนับแต่ละจำนวน" จึงอาจเรียกให้เด่นชัดออกไปว่า "จำนวนนับแต่ละพจน์" เช่น ในชุดของจำนวนนับตั้งแต่ 1 ถึง 10 คือ 1 ,2,3,4,5,6,7,8,9 และ 10   เมื่อ 1 เป็นจำนวนนับลำดับแรกในชุดนี้  เราจึงอาจเรียก 1 ว่า "พจน์ที่หนึ่ง หรือจำนวนที่หนึ่ง" ได้

      จากการสังเกตเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องนี้ คือ

1) พิจารณาจำนวนนับที่มีค่าเท่ากับ 10 และจำนวนนับที่เป็นพหุคูณของ 10 เมื่อหารด้วย 5   

             10 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 2 ( 20 = 2 x 10)   

             250  หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 50  (25 x 10)

             1250 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 250 (125 x10)

พบว่า จำนวนนับที่มีค่าเท่ากับ 10 และจำนวนนับที่เป็นพหุคูณของ 10 ทุกจำนวนจะหารด้วย 5 ลงตัว

2) พิจารณาจำนวนที่มีหลักเดียวเมื่อหารด้วย 5 

                9 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1 เศษ 4                                  4 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 เศษ 4    
                8 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1 เศษ 3                                   3 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 เศษ 3      
                7 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1 เศษ 2                                   2 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 เศษ 2 
                6 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1 เศษ 1                                    1 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 เศษ 1     
                 5 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1  *****                                   0 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 ******
 พบว่า จำนวนที่มีหลักเดียวคือ 5 และ 0 เท่านั้นที่หารด้วย  5 ลงตัว

          ดังนั้นจึงพอที่จะสรุปได้ว่า เนื่องจาก 10 และจำนวนที่เป็นพหุคูณของ 10 ทุกจำนวนจะหารด้วย 5 ลงตัว แต่จำนวนที่มีหลักเดียวมีเฉพาะ 5 หรือ 0 เท่านั้นที่หารด้วย 5 ลงตัว    ประกอบกับจำนวนนับตั้งแต่สองหลักขึ้นไปสามารถเขียนในรูปผลบวกของ 10 หรือพหุคูณของ 10 กับจำนวนที่มีหลักเดียว  นั่นคือ จำนวนนับใดจะหารลงตัวด้วย 5 ก็ต่อเมื่อ จำนวนนับนั้นมีหลักหน่วยเป็นจำนวนที่หารด้วย 5 ลงตัว 

          วิธีการคำนวนหาจำนวนพจน์ที่หารด้วย 5 ในชุดของจำนวนนับลงตัว   จากการศึกษาในหลาย ๆ กรณี พบว่า จำนวนพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ของจำนวนนับชุดใด จะเท่ากับผลลัพธ์ที่ได้จากพจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนั้นหารด้วย 5 โดยไม่พิจารณาค่าของเศษ   นั่นคือ จำนวนพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ของจำนวนนับที่เริ่มต้นจาก 1 ชุดใดจะเท่ากับผลลัพธ์ที่ได้จากพจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนั้นหารด้วย 5 (โดยไม่พิจารณาค่าของเศษ)

ตัวอย่างประเด็นคำถามในห้องเรียน

1.. ชุดของจำนวนนับ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,13,14,15,16,17,18 มีกี่พจน์ที่หารลงตัวด้วย 5

วิธีคิด  พจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนี้คือ 18 และ  18 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 3 เศษ 3

นั่นคือ   จำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ทั้งสิ้น  3 พจน์

2. ชุดของจำนวนนับตั้งแต่ 1 ถึง 433 มีกี่พจน์ที่หารลงตัวด้วย 5

วิธีคิด   พจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนี้คือ 433 และ 433 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ  86 เศษ 3  

นั่นคือ  จำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ทั้งสิ้น 86 พจน์

   จะเห็นว่าไม่ยากเลยใช่ไหม   และหากนักเรียนได้เจาะลึกไปอีกจะพบกับคำถามที่ท้าทาย และอยากฝึก อยากสนุกกับตัวเลขมากยิ่งขึ้น  อาทิ

  ถามว่า  จำนวนนับตั้งแต่   4,025  ถึง 6,532   มีกี่พจน์ที่หารลงตัวด้วย 5

วิธีคิด    1. หาจำนวนพจน์ที่หารด้วย 5 ลงัว ในชุดของจำนวนนับตั้งแต่ 1 ถึง 6,532

                   พจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนี้คือ 6,532 และ  6,532 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1306 เศษ 2

นั่นคือ   จำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ทั้งสิ้น  1306 พจน์

             2.หาจำนวนพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัว ในชุดของจำนวนนับตั้งแต่ 1 ถึง 4,024

                  พจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนี้คือ 4,024 และ  4,024 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 804  เศษ 4 

นั่นคือ   จำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ทั้งสิ้น  804 พจน์

ดังนั้น  จำนวนนับตั้งแต่ 4,025 ถึง 6,532 มีพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัว ทั้งสิ้น  1,306 - 804   = 502  พจน์

 

เอกสารอ้างอิง

www.Maceducation.com    

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง รู้ได้ไงว่าจำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัวกี่พจน์
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นรีรัตน์ นาครินทร์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นรีรัตน์ นาครินทร์..