หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
อุดมศักดิ์ มีสุข
จากจังหวัด สระบุรี

การพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โพสต์เมื่อวันที่ : 22 ก.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6901 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(33.33%-3 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

การพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 
อุดมศักดิ์ มีสุข
นิสิตปริญญาเอก สาขาอาชีวศึกษา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
บทนำ
 

               ในศตวรรษ21 ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ได้เริ่มเข้าสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมฐานความรู้ และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge – based society/economy: KBS/KBE) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ จะนำไปสู่การใช้ความรู้ (knowledge) และ
นวัตกรรม (Innovation)เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนา และการผลิตมากกว่าที่ดิน แรงงานและเงินทุน ดังนั้นปัจจัยการพัฒนาตามแนวทางของเศรษฐกิจฐานความรู้นั้น จึงเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
นโยบายปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย
ที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันเห็นได้ชัดว่ามีความสอดคล้องกับกระแสดังกล่าว เพราะพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542ได้กำหนดเป้าหมายไว้ว่า ในอนาคตคนไทยทุกคน จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี และจะมีความสามารถทักษะในกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้นเทคโนโลยีก็ยิ่งทวีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการศึกษา โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีศักยภาพสูงในการเป็นแหล่งข้อมูล ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างปัจเจกบุคคล องค์กร ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับชาติ

                สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้ระบุไว้ในรายงานการพัฒนาคน 2544 ว่าการลงทุนเรื่องสานสนเทศและ

การสื่อสารทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 2.2 หมื่นล้านเหรียญในปี 2543 เป็น 3 หมื่นล้านเหรียญ ในปี 2549 ดังนั้นประเทศไทยจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อผลกระทบจาการขยายตัวของเทคโนโลยีดังกล่าวทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งรูปแบบของการศึกษาและการเรียนรู้ของประชาชน

ซึ่งต้องคำนึงถึงบริบทของสภาวะโลกและก้าวหน้าให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ด้วยความตระหนักในสภาวะดังกล่าวแผนพัฒนาเศรษฐกิจ

และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) จึงมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถจากรากฐานของสังคมให้เข็มแข็งและรู้เท่าทันโลก

และมีแผนพัฒนาสื่อมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคม เพื่อการพัฒนาคนและสังคม ( พ.ศ. 2542-2551) ขึ้น เพื่อกำหนดทิศทาง
ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ตลอดจนการพัฒนาระบบสื่อสารมวลชน ทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง นอกจากนี้กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะที่สองมีเป้าหมายการพัฒนาอยู่ระหว่าง พ.ศ. 2544-2553  ยังมุ่งเน้นการพัฒนาสารสนเทศด้านต่าง ๆ  

เพื่อนำไปสู่ “สังคมบนฐานความรู้” หรือ “เศรษฐกิจบนฐาน ความรู้” (Knowledge – based society/economy : KBS/KBE) โดยได้กำหนดให้

การพัฒนา e-learning เป็นยุทธศาสตร์หลักด้านหนึ่งของการพัฒนา

                การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิคส์ (e-learning) เป็นส่วนหนึ่งของ e-Education และกำลังแพร่หลายไปทั่วโลกในขณะนี้

สำหรับประเทศไทยนั้น บทบัญญัติในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่กำหนดให้รัฐต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน

ในการรับการศึกษาภาคบังคับเก้าปี และกำหนดให้รัฐจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ

โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ทำให้เห็นได้ชัดว่า e-learning สามารถจะเป็นแนวทางหนึ่งซึ่งช่วยสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาให้กับประชาชนได้ เนื่องจากคุณสมบัติของ e-learningทำให้ผู้เรียนเข้าถึงได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดข้อจำกัดด้านเวลา และสถานที่ ดังนั้น แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ.2545-2549จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้าน e-Educationโดยเน้นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication Technology ) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของประชาชน โดยถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชน เพื่อสร้างความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์ และพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพผลการสำรวจหลายๆแห่งพบว่าการเติบโตของ e-learning ในปัจจุบันมีอัตราที่รวดเร็วมาก เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 2000

มูลค่าผลิตภัณฑ์และการให้การบริการ e-learningมีจำนวนสูงถึง7.1พันล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 40.2พันล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ.2005 ส่วนประเทศสิงคโปร์นั้นก็มีการคาดหมายว่ามูลค่าของe-learning ในปี ค.ศ.2005 จะเพิ่มถึง 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐเช่นกัน สำหรับประเทศไทย

แม้การพัฒนาการของ e-learning ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น แต่ก็มีการนำไปใช้ในหลายแห่ง ทั้งในระดับโรงเรียน และระดับอุดมศึกษาในรูปแบบ

ที่ต่างกันไป บทบาทของe-learning มิได้จำกัดอยู่เฉพาะ การเรียนในระบบเท่านั้น แต่สามารถนับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างกว้างขวาง

เช่นการฝึกอบรมบุคลากรในสาขาอาชีพต่างๆ และเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับคนในทุกระดับ ดังนั้นประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย

ก็ควรหาแนวทางรับมือและประโยชน์จาก e-learning ให้มากที่สุด เพื่อนไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

อย่างไรก็ตามการรับมือดังกล่าว ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในเรื่องของ e-learning ทั้งในอดีต ปัจจุบันและ อนาคต ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษาจึงได้จัดทำโครงการวิจัยเรื่อง“พัฒนาการและทิศทางของ e-learning ในประเทศไทย” ขึ้น เพื่อประโยชน์ในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ e-learning แก่หน่วยงาน บุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนา e-learning ของประเทศไทยอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไปในอนาคต

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง การพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษาด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

อุดมศักดิ์ มีสุข
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
อุดมศักดิ์ มีสุข..