หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
จิราภรณ์ หอมกลิ่น
จากจังหวัด ยโสธร

สทศ......สพฐ.....ปะทะเดือดใครสอนเด็กท่อง
โพสต์เมื่อวันที่ : 13 ก.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6898 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(45.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

สทศ.-สพฐ.ปะทะเดือดใครสอนเด็กท่อง


  หัวหินเดือด!  สทศ.ฉะ  สพฐ.กลางที่ประชุมย้ำข้อสอบโอเน็ตออกตามหลักสูตร  สะท้อนเด็กคิดวิเคราะห์เป็นหรือไม่  ขณะที่ครูมุ่งสอนอัดเนื้อหาอย่างเดียวหวังแค่ให้เด็กพ้นรั้ว  รร. ด้าน  สพฐ.ระดมขุนพลโต้ทันควันหลักสูตรไม่ใช่ปัญหา  แต่เกิดจากหลายปัจจัยทั้งที่บ้านและการบริหารงานของ  ผอ.รร.  ขณะที่  "จุรินทร์"  สั่งทบทวนหลักสูตรเนื้อหาเยอะไปหรือไม่  พร้อมชี้ข้อสอบโอเน็ตต้องมีการทบทวนสัดส่วนเนื้อหาแบ่งเปอร์เซ็นต์คิดวิเคราะห์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

     เมื่อวันที่  11  ก.ย.  กระทรวงศึกษาธิการ  (ศธ.)  จัดประชุมเชิงนโยบายเพื่อระดมความคิด  เรื่องการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยระหว่างวันที่  11-12  ก.ย.โดยมีผู้บริหารองค์กรหลักของ  ศธ.และผู้เกี่ยวข้องในวงการศึกษาเข้าร่วมกว่า  300  คน

     โดยนายจุรินทร์  ลักษณวิศิษฏ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  (ศธ.)  กล่าวเปิดการประชุมว่า  ตนอยากได้คำตอบในด้านนโยบายในหลายคำถามเพื่อขับเคลื่อนองคาพยพใน  6  ข้อ  คือ  1.การเรียนการสอนในปัจจุบันสอนให้เด็กท่องจำหรือคิดวิเคราะห์  2.การออกข้อสอบไม่ว่าจะเป็นการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต  การสอบความถนัดทั่วไปหรือ  GAT  และการสอบความถนัดทางวิชาชีพ/วิชาการ  หรือ  PAT  สอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือไม่หากสอนอย่างหนึ่ง  สอบอีกอย่างหนึ่งในที่สุด  รร.กวดวิชาก็เฟื่องฟูเพราะเด็กไม่สามารถเรียนใน  รร.ได้รู้เรื่องจึงต้องหันหน้าไปพึ่ง  รร.กวดวิชาแทน  3.เด็กไทยเรียนในห้องเรียนมากเกินไปหรือไม่  4.ระบบการคัดเลือกเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษามีความเหมาะสมและสอดคล้องกับระบบการเรียนการสอนและได้นักศึกษาที่ตรงตามความต้องการหรือไม่  5.สถาบันอุดมศึกษาสามารถผลิตบัณฑิตได้มีคุณภาพ  และตรงตามความต้องการของประเทศหรือไม่และ  6.ระบบการประเมินเป็นระบบที่มีความเหมาะสมถูกต้องเที่ยงตรงหรือยัง

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ในช่วงเช้าของการประชุมผู้ร่วมอภิปรายข้อมูลซ้ำไปซ้ำมาและไม่ตอบคำถามทั้ง  6  ข้อ  ทำให้ช่วงบ่ายนายจุรินทร์  ต้องขอความร่วมมือให้ผู้ร่วมประชุมให้ช่วยตอบคำถามข้อ  1-3  ที่ชัดเจน  โดยนายกสมาคม  รร.อาชีวศึกษาเอกชนได้ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการออกข้อสอบโอเน็ตของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ  (สทศ.)  ว่าทำไมจึงต้องให้ครู  รร.สาธิต  และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยออกข้อสอบเท่านั้น  ทำไมไม่เปิดโอกาสให้ครูทั่วไปได้ออกข้อสอบด้วย

     รศ.ดร.อุทุมพร  จามรมาน  ผอ.สทศ.กล่าวว่า  การออกข้อสอบโอเน็ตจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีเวลาและออกข้อเป็นมาช่วยออก  อีกทั้งยังต้องสามารถเก็บความลับได้ส่วนหาก  ศธ.อยากย้อนกลับไปดูว่าเด็กสามารถคิดวิเคราะห์ได้หรือไม่นั้น  สทศ.สามารถช่วยได้โดยวิเคราะห์ผลสอบ  GAT  ของเด็กเพื่อสะท้อนการคิดวิเคราะห์ของเด็ก  ส่วนข้อสอบโอเน็ตสอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือไม่นั้นตนไม่ทราบ  แต่ขอย้ำว่าการออกข้อสอบของ  สทศ.  ออกตามหลักสูตรของ  สพฐ.ซึ่งสะท้อนการเรียนการสอนใน  รร.ส่วนเด็กเรียนในห้องเรียนมากเกินไปหรือไม่นั้น  ตนคิดว่าทุกวันนี้ครูมุ่งสอนและหวังให้เด็กจบออกไปอย่างเดียวทำให้เด็กทุกวันนี้เรียนมากเกินไป

     คุณหญิงกษมา  วรวรรณ  ณ  อยุธยา  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (กพฐ.)  กล่าวว่า  ตนคิดว่าหลักสูตรไม่ได้ขวางกั้นการคิดวิเคราะห์  ตรงกันข้ามหลักสูตรของ สพฐ.เน้นการคิดวิเคราะห์ด้วยซ้ำ  อีกทั้งความพร้อมของการสอนเชิงคิดวิเคราะห์  แต่ล่ะ  รร.ก็มีความแตกต่างกัน  บางครอบครัวพ่อแม่สอนให้ลูกรู้จักคิดวิเคราะห์เด็กก็จะรู้จักคิดวิเคราะห์  นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่ที่ตัวผู้บริหาร  รร.ซึ่ง  ผอ.บาง  รร.ก็สั่งอย่างเดียว  ทำให้ครูชินกับการรับคำสั่งจึงไม่สามารถไปสอนให้เด็กคิดได้  ดังนั้นจึงคิดว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่หลักสูตร  ต้องแก้ที่พื้นฐานครอบครัว  ผู้บริหาร  และ  ครู  เป็นหลัก

     นายสมเกียรติ  ชอบผล  รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  (รอง  กพฐ.)  กล่าวว่า  ปัจจุบันการเรียนการสอนที่ฝึกให้เด็กคิดเป็นนั้นมี  แต่ยังไม่มีความเข้มข้นจึงไม่เห็นภาพของความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน  ส่วนเรื่องข้อสอบโอเน็ตในปัจจุบันสอดคล้องกับการเรียนการสอนหรือไม่นั้นตนมองว่าข้อสอบปัจจุบันยังไม่สามารถวัดศักยภาพของผู้เรียนได้  ซึ่ง  สพฐ.ได้วิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ตพบข้อจำกัดอยู่หลายเรื่อง  เช่น  ความบกพร่องของข้อสอบ  ซึ่งมีสัดส่วนความจำและการคิดวิเคราะห์ในแต่ละรายวิชาที่ไม่ชัดเจน  ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญว่าเราจะให้ความสำคัญกับความจำหรือการคิดวิเคราะห์ 

     คุณหญิงสุชาดา  กีระนันท์  อดีตอธิการบดีจุฬาฯ  กล่าวว่า  ตัวหลักสูตรปัจจุบันเขียนได้ดีแต่ตนมีความกังวลเกี่ยวกับสาระการเรียนรู้ที่มากเกินไป  แต่หากถามว่ามีการเรียนการสอนปัจจุบันทำให้เด็กคิดวิเคราะห์ได้หรือไม่นั้นคงไม่สามารถตอบได้  เพราะปัจจุบันมี  รร.หลายรูปแบบ  และยังคงมุ่งเรียนในห้องมาก  และก็เรียนกวดวิชามากเช่นกัน  เพราะพ่อแม่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าทำอย่างไรให้รู้เข้ามหาวิทยาลัย     นายจุรินทร์  กล่าวสรุปการอภิปรายว่าเรื่องที่ต้องทำ  2  ส่วน  คือ  เนื้อหาที่เด็กต้องท่องจำก็ต้องจำ  ขณะที่ภารกิจข้างหน้าก็ต้องเพิ่มให้เด็กคิดวิเคราะห์ด้วย  ดังนั้นจึงต้องอบรมพัฒนาครูเพื่อสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์เป็น  ซึ่งขณะนี้  สพฐ.ได้ประสานกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย  (ทปอ.) ในการอบรมพัฒนาครูทั้ง  500,000  คน  ให้เกิดผลทางปฏิบัติจริงๆ

     "ส่วนเรื่องเนื้อหาหลักสูตร  ก็ต้องกลับไปดูว่าอะไรที่เกินก็ต้องปรับ  ขอฝากให้ผู้เกี่ยวข้องกลับไปคิดหาแนวทางปฏิบัติที่สามารถทำได้จริง  ยังมีเรื่องข้อสอบโอเน็ตผมอยากให้  สทศ.กลับไปทบทวนว่ามีความจำเป็นต้องแบ่งสัดส่วนระหว่างการคิดวิเคราะห์และการท่องจำหรือไม่  นอกจากนั้น  ยังอยากให้ไปดูเรื่องผู้ออกข้อสอบที่มีการวิจารณ์ด้วยว่า  ต่อไปควรมีระบบการคัดเลือกผู้ออกข้อสอบหรือไม่  ซึ่งผมคิดจากตรรกะ  ว่าข้อสอบที่ออกโดยอาจารย์สาธิตเด็กสาธิตก็สามารถทำได้ดี"  นายจุรินทร์กล่าว

ที่มา ไทยโพสต์


Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง สทศ......สพฐ.....ปะทะเดือดใครสอนเด็กท่อง
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

จิราภรณ์ หอมกลิ่น
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
จิราภรณ์ หอมกลิ่น..