หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

คู่มือรู้เท่าทัน-ข้อสังเกต
โพสต์เมื่อวันที่ : 11 ก.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6899 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

คู่มือรู้เท่าทัน-ข้อสังเกต 'ตุ๋นผ่านเน็ต' ไม่โลภ 'ไม่เป็นเหยื่อ


 





ไม่ใช่ภัยใหม่ เป็นภัยเก่าจากเทคโนโลยีไฮเทค แต่นับวันยิ่งต้องกลัว-ต้องระวัง-ต้องรอบคอบให้มาก สำหรับการ ?ต้มตุ๋น-หลอกลวง...ผ่านอินเทอร์เน็ต? ซึ่งล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เพิ่งมีข่าวกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตีแผ่การตรวจสอบ-เอาผิดการหลอกลวงให้ประชาชนลงทุนซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีคนไทยหลงเชื่อไปแล้วจำนวนมาก บางรายแจ้งความว่าลงทุนไปแล้วกว่า 5 ล้านบาท
 
ดีเอสไอบอกว่าประเทศไทยมีคนถูกตุ๋นไปกว่า 5 พันล้าน !!
 
ก็ตอกย้ำถึงสถานการณ์รุนแรงของภัยต้มตุ๋นในลักษณะนี้...
 
และยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้นอีกจากการเปิดเผยต่อทีม ?สกู๊ปหน้า 1  เดลินิวส์? โดย พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนพิเศษ ที่บอกว่า... ?ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี พวกมิจฉาชีพ พวกหลอกลวง มักจะเกิดขึ้นมามากมายในรูปแบบ  ต่าง ๆ และการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นมาเยอะมากในช่วงปัจจุบัน?
 
ประเด็นน่าห่วงคือ ?ควบคุมดูแลและป้องกันยาก !!?
 
?มีประชาชนหลายคนที่ส่งอีเมลมาสอบถาม ปรึกษาถึงความโปร่งใสของเว็บต่าง ๆ ที่จะเข้าไปซื้อของ หรือลงทุน ซึ่งทางเราก็ไม่สามารถที่จะฟันธงบอกไปได้แบบตรง ๆ ว่าเว็บนั้นเว็บนี้ไม่โปร่งใส เพราะเป็นเรื่องที่ตรวจสอบยาก เราทำได้เพียงแต่ให้คำแนะนำ ให้ข้อสังเกตในการดูเว็บไซต์ว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ???
 
สำหรับ ?ข้อสังเกต? นั้น ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีฯ บอกว่า... ในการดู ในการเช็กเว็บไซต์ที่ขายของ หรือมีการเชิญชวนให้ร่วมลงทุนในลักษณะต่าง ๆ ว่าจะเป็นการ ?หลอกลวงหรือไม่ ?? อันที่จริงเพียงแค่เราดูและ ?พิจารณาด้วยเหตุผล? เราก็จะ ?ไม่ถูกหลอกได้ง่าย ๆ? ในระดับหนึ่ง
 
การตั้งข้อสังเกตว่าจะถูกหลอกหรือไม่ ? กรณีเป็นการชักชวนให้ร่วมลงทุน ก็ให้ดูเช่น... เว็บไซต์นั้นให้ของที่เป็นรูปธรรมหรือไม่ ? ถ้าไม่เป็นรูปธรรม จับต้องไม่ได้ อย่างพวกแชร์ต่าง ๆ ที่แจ้งผลตอบแทนมาแค่ตัวเลข ก็ให้มองว่าไม่โปร่งใสไว้ก่อน หรือให้ของที่เป็นรูปธรรมแต่ไม่คุ้มกับมูลค่าที่เราลงทุนไป ก็น่าสงสัย หรืออีกประเภทคืออ้างว่าจะให้รายได้ ให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงเกินปกติกว่าการลงทุนทั่วไป นี่ยิ่งน่าสงสัย 
 
?การติดต่อกับคนในเว็บ ต้องเป็นคนที่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีตัวตนจริง ติดต่อได้ง่าย? ...พ.ต.อ.ญาณพลกล่าวถึงจุดที่ควรไตร่ตรองในการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะซื้อ-ขาย-ลงทุน หรืออื่น ๆ
 
ด้าน ปรเมศวร์ มินศิริ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ก็ให้ข้อสังเกตในการดูเว็บไซต์ต่าง ๆ แบบง่าย ๆ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง โดยบอกว่า... เราต้องพิจารณาเว็บที่เราเข้าไปดู จะซื้อของ หรือจะร่วมลงทุนผ่านทางเว็บนั้น ๆ จะต้องดูว่าเว็บนั้นต้องมีเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และต้องชัดเจน มีที่อยู่ของสถานที่จริงที่ติดต่อได้
 
อย่างไรก็ตาม เพียงแค่ดูหรือเช็กเบอร์โทรศัพท์และสถานที่   ตั้งเท่านั้นก็คงยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะถ้าเราจะเข้าไปร่วมลงทุนผ่านทางเว็บใด ก็จำเป็นที่จะต้องสืบค้นข้อมูลของเว็บนั้น ๆ ให้มากที่สุด ซึ่งเว็บที่ ?หลอกลวง? นั้นส่วนใหญ่มักจะ ?ตั้งชื่อให้คล้ายบริษัทใหญ่ ๆ เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ?
 
ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ให้ดูข้อเสนอในเว็บนั้น ๆ ว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน ? ถ้าเว็บนั้นให้ค่าตอบแทนในการลงทุนที่สูงมาก ๆ หรือขายสินค้าในราคาที่ถูกมาก ๆ กว่าท้องตลาด ก็ควรระวังไว้ก่อนว่าจะหลอกลวง
 
?เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันการถูกหลอกลวงได้แล้ว? ... นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยกล่าว
 
ขณะที่ ป้อม แห่งเว็บเซ็คกันแฮนด์ ที่เกี่ยวกับการซื้อ-ขายสินค้ามือสอง ก็ให้ข้อสังเกตการซื้อของผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงว่า... การสังเกตดูความผิดปกติอันดับแรกก็เป็นเรื่องของราคาสินค้าที่ลงประกาศขาย ดูว่าถ้าสินค้าที่ลงประกาศขายนั้นมีราคาที่ถูกมาก ๆ ให้ระมัดระวังไว้ก่อนว่าอาจโดนหลอก
 
?อันดับต่อไปก็เป็นการสังเกตดูข้อมูล ทั้งในตัวสินค้า และเจ้าของสินค้า ดูว่ามีข้อมูลมาก-น้อยแค่ไหน-อย่างไร ? สินค้าที่นำมาขายนั้นได้มาจากไหน ? ซึ่งจะต้องมีที่มาที่ไป และดูข้อมูลตัวบุคคลที่จะขายว่าต้องมีเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ง่าย มีตัวตนจริง มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่งสามารถติดต่อได้จริง?
 
คนทำเว็บรายนี้บอกอีกว่า... สำหรับกรณีมีการตกลงซื้อขายกันแล้ว ?ควรทำข้อตกลงในการชำระเงินให้เราไม่เสียเปรียบ? ถ้าอยู่ไม่ไกลกันมากก็ให้ใช้วิธี ?นัดเจอแล้วยื่นหมู-ยื่นแมว ของมา-เงินไป?
 
หากผู้ขายอยู่ไกลจากผู้ซื้อมาก ๆ ผู้ซื้อยิ่งต้องรอบคอบและรัดกุมให้มากขึ้นในการซื้อสินค้า จำเป็นต้องขอข้อมูลส่วนตัวเพิ่มจากผู้ขาย อาจจะเป็นทะเบียนบ้านก็ได้ จะได้มีสถานที่ไว้ตามได้กรณีมีปัญหา
 
หรือถ้าเป็นของที่มีชิ้นใหญ่ ราคาแพง ต้องมีการจัดส่ง เราก็อาจจะขอจ่ายเป็นงวด ๆ จนกว่าเราจะได้ของจึงจะจ่ายเงินส่วนที่เหลือที่เป็นส่วนใหญ่
 
?ถ้าทำตามข้อสังเกตง่าย ๆ ตามที่บอกนี้ได้ ผมคิดว่าสามารถป้องกันการถูกหลอกได้มากในระดับหนึ่งเลยทีเดียว? ...ป้อมกล่าวทิ้งท้าย
 
สรุปก็คือ ?ต้องรอบคอบ-ต้องตรวจสอบให้ชัดเจน?
 
?อย่าโลภ? เห็นแก่ถูกมาก-เห็นว่าผลตอบแทนสูง
 
มิฉะนั้น...อาจตกเป็นเหยื่อ ?ถูกตุ๋นผ่านเน็ต !!?.


ดึงข้อมูลมาจากเดลินิวส์ออนไลน์

ไม่ใช่ภัยใหม่ เป็นภัยเก่าจากเทคโนโลยีไฮเทค แต่นับวันยิ่งต้องกลัว-ต้องระวัง-ต้องรอบคอบให้มาก สำหรับการ ?ต้มตุ๋น-หลอกลวง...ผ่านอินเทอร์เน็ต? ซึ่งล่าสุดเมื่อเร็ว ๆ นี้ก็เพิ่งมีข่าวกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ตีแผ่การตรวจสอบ-เอาผิดการหลอกลวงให้ประชาชนลงทุนซื้อ-ขายเงินตราต่างประเทศ ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยมีคนไทยหลงเชื่อไปแล้วจำนวนมาก บางรายแจ้งความว่าลงทุนไปแล้วกว่า 5 ล้านบาท  ดีเอสไอบอกว่าประเทศไทยมีคนถูกตุ๋นไปกว่า 5 พันล้าน !! ก็ตอกย้ำถึงสถานการณ์รุนแรงของภัยต้มตุ๋นในลักษณะนี้... และยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้นอีกจากการเปิดเผยต่อทีม ?สกู๊ปหน้า 1  เดลินิวส์? โดย พ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีและสารสนเทศ กรมสอบสวนพิเศษ ที่บอกว่า... ?ในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี พวกมิจฉาชีพ พวกหลอกลวง มักจะเกิดขึ้นมามากมายในรูปแบบ  ต่าง ๆ และการหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นมาเยอะมากในช่วงปัจจุบัน? ประเด็นน่าห่วงคือ ?ควบคุมดูแลและป้องกันยาก !!?  ?มีประชาชนหลายคนที่ส่งอีเมลมาสอบถาม ปรึกษาถึงความโปร่งใสของเว็บต่าง ๆ ที่จะเข้าไปซื้อของ หรือลงทุน ซึ่งทางเราก็ไม่สามารถที่จะฟันธงบอกไปได้แบบตรง ๆ ว่าเว็บนั้นเว็บนี้ไม่โปร่งใส เพราะเป็นเรื่องที่ตรวจสอบยาก เราทำได้เพียงแต่ให้คำแนะนำ ให้ข้อสังเกตในการดูเว็บไซต์ว่าน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ??? สำหรับ ?ข้อสังเกต? นั้น ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยีฯ บอกว่า... ในการดู ในการเช็กเว็บไซต์ที่ขายของ หรือมีการเชิญชวนให้ร่วมลงทุนในลักษณะต่าง ๆ ว่าจะเป็นการ ?หลอกลวงหรือไม่ ?? อันที่จริงเพียงแค่เราดูและ ?พิจารณาด้วยเหตุผล? เราก็จะ ?ไม่ถูกหลอกได้ง่าย ๆ? ในระดับหนึ่ง การตั้งข้อสังเกตว่าจะถูกหลอกหรือไม่ ? กรณีเป็นการชักชวนให้ร่วมลงทุน ก็ให้ดูเช่น... เว็บไซต์นั้นให้ของที่เป็นรูปธรรมหรือไม่ ? ถ้าไม่เป็นรูปธรรม จับต้องไม่ได้ อย่างพวกแชร์ต่าง ๆ ที่แจ้งผลตอบแทนมาแค่ตัวเลข ก็ให้มองว่าไม่โปร่งใสไว้ก่อน หรือให้ของที่เป็นรูปธรรมแต่ไม่คุ้มกับมูลค่าที่เราลงทุนไป ก็น่าสงสัย หรืออีกประเภทคืออ้างว่าจะให้รายได้ ให้ผลตอบแทนในอัตราที่สูงเกินปกติกว่าการลงทุนทั่วไป นี่ยิ่งน่าสงสัย   ?การติดต่อกับคนในเว็บ ต้องเป็นคนที่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีตัวตนจริง ติดต่อได้ง่าย? ...พ.ต.อ.ญาณพลกล่าวถึงจุดที่ควรไตร่ตรองในการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะซื้อ-ขาย-ลงทุน หรืออื่น ๆ ด้าน ปรเมศวร์ มินศิริ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ก็ให้ข้อสังเกตในการดูเว็บไซต์ต่าง ๆ แบบง่าย ๆ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวง โดยบอกว่า... เราต้องพิจารณาเว็บที่เราเข้าไปดู จะซื้อของ หรือจะร่วมลงทุนผ่านทางเว็บนั้น ๆ จะต้องดูว่าเว็บนั้นต้องมีเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และต้องชัดเจน มีที่อยู่ของสถานที่จริงที่ติดต่อได้  อย่างไรก็ตาม เพียงแค่ดูหรือเช็กเบอร์โทรศัพท์และสถานที่   ตั้งเท่านั้นก็คงยังไม่เพียงพอ โดยเฉพาะถ้าเราจะเข้าไปร่วมลงทุนผ่านทางเว็บใด ก็จำเป็นที่จะต้องสืบค้นข้อมูลของเว็บนั้น ๆ ให้มากที่สุด ซึ่งเว็บที่ ?หลอกลวง? นั้นส่วนใหญ่มักจะ ?ตั้งชื่อให้คล้ายบริษัทใหญ่ ๆ เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ?  ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ให้ดูข้อเสนอในเว็บนั้น ๆ ว่าน่าเชื่อถือแค่ไหน ? ถ้าเว็บนั้นให้ค่าตอบแทนในการลงทุนที่สูงมาก ๆ หรือขายสินค้าในราคาที่ถูกมาก ๆ กว่าท้องตลาด ก็ควรระวังไว้ก่อนว่าจะหลอกลวง  ?เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันการถูกหลอกลวงได้แล้ว? ... นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยกล่าว ขณะที่ ป้อม แห่งเว็บเซ็คกันแฮนด์ ที่เกี่ยวกับการซื้อ-ขายสินค้ามือสอง ก็ให้ข้อสังเกตการซื้อของผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงว่า... การสังเกตดูความผิดปกติอันดับแรกก็เป็นเรื่องของราคาสินค้าที่ลงประกาศขาย ดูว่าถ้าสินค้าที่ลงประกาศขายนั้นมีราคาที่ถูกมาก ๆ ให้ระมัดระวังไว้ก่อนว่าอาจโดนหลอก  ?อันดับต่อไปก็เป็นการสังเกตดูข้อมูล ทั้งในตัวสินค้า และเจ้าของสินค้า ดูว่ามีข้อมูลมาก-น้อยแค่ไหน-อย่างไร ? สินค้าที่นำมาขายนั้นได้มาจากไหน ? ซึ่งจะต้องมีที่มาที่ไป และดูข้อมูลตัวบุคคลที่จะขายว่าต้องมีเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ง่าย มีตัวตนจริง มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่งสามารถติดต่อได้จริง? คนทำเว็บรายนี้บอกอีกว่า... สำหรับกรณีมีการตกลงซื้อขายกันแล้ว ?ควรทำข้อตกลงในการชำระเงินให้เราไม่เสียเปรียบ? ถ้าอยู่ไม่ไกลกันมากก็ให้ใช้วิธี ?นัดเจอแล้วยื่นหมู-ยื่นแมว ของมา-เงินไป? หากผู้ขายอยู่ไกลจากผู้ซื้อมาก ๆ ผู้ซื้อยิ่งต้องรอบคอบและรัดกุมให้มากขึ้นในการซื้อสินค้า จำเป็นต้องขอข้อมูลส่วนตัวเพิ่มจากผู้ขาย อาจจะเป็นทะเบียนบ้านก็ได้ จะได้มีสถานที่ไว้ตามได้กรณีมีปัญหา หรือถ้าเป็นของที่มีชิ้นใหญ่ ราคาแพง ต้องมีการจัดส่ง เราก็อาจจะขอจ่ายเป็นงวด ๆ จนกว่าเราจะได้ของจึงจะจ่ายเงินส่วนที่เหลือที่เป็นส่วนใหญ่ ?ถ้าทำตามข้อสังเกตง่าย ๆ ตามที่บอกนี้ได้ ผมคิดว่าสามารถป้องกันการถูกหลอกได้มากในระดับหนึ่งเลยทีเดียว? ...ป้อมกล่าวทิ้งท้าย สรุปก็คือ ?ต้องรอบคอบ-ต้องตรวจสอบให้ชัดเจน? ?อย่าโลภ? เห็นแก่ถูกมาก-เห็นว่าผลตอบแทนสูง มิฉะนั้น...อาจตกเป็นเหยื่อ ?ถูกตุ๋นผ่านเน็ต !!?. ดึงข้อมูลมาจากเดลินิวส์ออนไลน์



Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง คู่มือรู้เท่าทัน-ข้อสังเกต
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..