หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
จิราภรณ์ หอมกลิ่น
จากจังหวัด ยโสธร

7 ความเข้าใจผิด......ที่แม้แต่หมอยังเชื่อ !!
โพสต์เมื่อวันที่ : 11 ก.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7047 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(50.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ดร.อารอน แคร์รอล (Dr. Aaron Carroll) และ ดร.ราเชล ฟรีแมน (Dr.Rachel Vreeman) 2 กุมารแพทย์ จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา (Indiana University School of Medicine) สหรัฐอเมริกา เปิดเผยผลการวิเคราะห์ข้อปฏิบัติและความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ จนออกมาเป็นรายงาน “มายาคติทางการแพทย์” ผ่านวารสารบริติชเมดิคัลเจอร์นัล (British Medical Journal) ฉบับล่าสุด โดยแจกแจงออกมาเป็น 7 ข้อคือ

1.มนุษย์ใช้สมองแค่ 10% เท่านั้น

ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1900 เชื่อกันว่าสมองของคนเราทำงานเพียงแค่ 10% ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ใครคนหนึ่งกุขึ้น เพื่อที่จะต้องการครอบงำกลุ่มคนหมู่มาก กระทั่งวิทยาการก้าวหน้า นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาสมองจากภาพสแกน ก็ไม่พบว่ามีสมองส่วนไหนที่อยู่นิ่งเฉย หรือว่ามีเซลล์สมองในบริเวณไหนไม่มีปฏิกิริยาใดๆ และจากการศึกษากระบวนการทางเคมีของเซลล์สมองบ่งชี้ว่าไม่มีสมองบริเวณไหนที่ไม่ทำงาน และจากการศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับความกระทบกระเทือนที่สมองยังบ่งชี้ว่าสมองที่ถูกทำลายเกือบทั้งหมดนั้นจะมีบริเวณจำเพาะที่เมื่อถูกทำลายแล้วจะมีผลต่อการสมรรถภาพร่างกาย

2.ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

"ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าคนเราต้องการน้ำมากมายขนาดนั้น" ดร.ฟรีแมนระบุ ซึ่งเธอคาดว่าความเชื่อนี้มีที่มาจากสภาโภชนาการของสหรัฐฯ เมื่อปี 2548 ที่แนะนำให้ประชาชนบริโภคของเหลววันละ 8 แก้ว แต่ในปีต่อๆ มาหลังจากนั้น คำว่า "ของเหลว" จำกัดอยู่เฉพาะแค่ "น้ำเปล่า" ไม่ได้หมายรวมถึงน้ำผัก ผลไม้ กาแฟ หรือว่าของเหลวอื่นๆ เข้าไปด้วย

อีกหนึ่งต้นตอของความเชื่อนี้น่าจะมาจากเฟรเดอริค สแทร์ (Frederick Stare) โภชนากรที่แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มวันละ 6-8 แก้ว ซึ่งครอบคลุมทั้งน้ำเปล่า ชา กาแฟ นม เบียร์ และซอฟดิงก์อื่นๆ ต่อมาการแนะนำที่ปราศจากข้อมูลอ้างอิงของสแทร์ถูกหักล้างด้วยข้อมูลของไฮนซ์ วาลติน (Heinz Valtin) ที่รายงานไว้ในวารสารอเมริกันเจอร์นัลออฟฟิสิโอโลจี (American Journal of Physiology) ที่ว่าการบริโภคนม น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ เป็นประจำในแต่ละวันเท่านี้ร่างกายก็ได้รับของเหลวเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ในทางตรงกันข้าม การดื่มน้ำมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายเมื่อเกิดภาวะสารน้ำในร่างกายมากผิดปกติจนเกิดเป็นพิษ หรือที่เรียกว่า "น้ำเป็นพิษ" (water intoxication)

3.ตายไปแล้วแต่เล็บและเส้นผมยังคงงอก

ผู้แต่งหนังสือเรื่อง "แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง" (All Quiet On The Western Front) บรรยายไว้ว่าเล็บของเพื่อนคนหนึ่งยาวขึ้นหลังจากพิธีฝังศพผ่านไปแล้ว ส่วนจอห์นนี คาร์สัน (Johnny Carson) นำความเชื่อนี้มาเขียนเป็นเรื่องขำขันจนกลายเป็นความเชื่ออมตะว่า หลังจากตายไปแล้ว 3 วัน ผมและเล็บของเราจะงอกใหม่

แพทย์ส่วนใหญ่คิดว่านี่เป็นเรื่องจริงในตอนแรก แต่เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะเห็นว่า ที่จริงแล้วขณะที่ศพกำลังแห้งลง เนื้อเยื่อส่วนที่นุ่มอย่างผิวหนังก็จะหดตัว ทำให้เผยชิ้นส่วนของเล็บมากขึ้น ทำให้ดูว่ายาวออกมา เช่นเดียวกันเส้นผม ซึ่งจะสังเกตเห็นผิวหนังหดตัวได้น้อยกว่า อย่างไรก็ดีฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้ผมและเล็บยาวนั้นไม่มีทางทำงานหลังจากเจ้าของร่างสิ้นใจไปแล้วเป็นแน่

4.ผมหรือขนงอกเร็วกว่าเก่าเมื่อโกน แถมหยาบและสีเข้มขึ้นด้วย

ปี 2471 นักวิทยาศาสตร์ทดลองโกนผมแล้วเปรียบเทียบผมที่งอกใหม่กับผมที่ไม่ได้โกน ผลปรากฏว่าผมที่งอกขึ้นมาแทนผมที่ถูกโกนไปก่อนหน้านั้นไม่ได้มีสีเข้มหรือเส้นหนา หรืองอกเร็วไปกว่าผมปกติเลย การทดลองครั้งหลังๆ ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน ที่จริงแล้วเมื่อผมถูกโกนและงอกใหม่เป็นครั้งแรก จะยังเป็นเส้นผมทื่อๆ ตรงส่วนปลาย แต่เมื่อผ่านไปนานวันเข้า ปลายผมที่เคยแข็งทื่อก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพและอ่อนนุ่มขึ้น ส่วนที่มองเห็นเป็นสีเข้มกว่าปกติ เนื่องจากว่าในตอนแรกผมเส้นนั้นยังไม่ถูกแดดเผาทำลายให้สีซีดจางลง

5.อ่านหนังสือในที่แสงน้อยทำให้สายตาเสีย

เรื่องนี้เป็นที่เชื่อถือกันอย่างแพร่หลาย และผู้ใหญ่ก็มักจะห้ามไม่ให้เด็กๆ อ่านหนังสือในที่มืดหรือที่ที่มีแสงน้อย มิฉะนั้นแล้วจะสายตาสั้นและต้องสวมแว่น เป็นต้น ความเชื่อนี้น่าจะมาจากจักษุแพทย์ที่บอกว่าหากใช้สายตาในที่แสงสว่างน้อยกว่าปกติจะมีผลต่อการรับภาพของประสาทตา ทำให้อัตราการกระพริบตาลดลง ตาแห้งและระคายเคือง

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนักวิจัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตายังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่าการอ่านหนังสือในที่มืดจะทำลายสุขภาพตาอย่างถาวร แต่สามารถทำให้ดวงตาย่ำแย่และการมองเห็นด้อยลงเป็นเวลาชั่วครั้งชั่วคราวได้

6. รับประทานไก่งวงทำให้ง่วงนอน

เดิมทีแพทย์และนักวิจัยต่างก็เชื่อว่าหากรับประทานไก่งวงแล้วจะรู้สึกง่วงนอน แต่พบว่าสารทริปโตแฟน (tryptophan) ในไก่งวงนั่นเองที่เป็นสาเหตุให้ผู้ที่รับประทานไก่งวงรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน ทว่าในไก่งวงไม่ได้มีทริปโตแฟนมากไปกว่าไก่ทั่วไปหรือเนื้อวัวเลย มีเท่าๆ กันประมาณ 350 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 115 กรัม ขณะที่แหล่งโปรตีนอื่นๆ อย่างเนื้อหมูหรือชีสมีทริปโตแฟนมากกว่าไก่งวงเสียอีกเมื่อเทียบเป็นน้ำหนัก เพียงแต่ว่าผู้คนนิยมบริโภคไก่งวงกันมากเป็นพิเศษในช่วงวันหยุด และยังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย เหตุนี้จึงทำให้รู้สึกง่วงและหลับง่ายกว่าปกติ

นอกจากนี้แพทย์ยังนำกลไกในร่างกายมาอธิบายได้ว่าอาการง่วงนอนมักเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออาหารมื้อนั้นเป็นเนื้อสัตว์เสียส่วนใหญ่ หรือมีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตมาก จะกระตุ้นให้รู้สึกง่วงนอนมากเป็นพิเศษ เนื่องจากว่าเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ลดลง

7. ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในโรงพยาบาล เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

ที่ผ่านมายังไม่เคยมีผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสียชีวิตเนื่องมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่พบว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่รบกวนการทำงานของอุปกรณ์การแพทย์บางอย่างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เช่น เครื่องควบคุมการให้สารละลายในผู้ป่วย (infusion pump), เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของระบบหัวใจ (cardiac monitor)

ทว่าขณะที่ยังไม่มีรายงานใดๆ ยืนยันถึงอันตรายของการใช้โทรศัพท์มือในโรงพยาบาล ในปี 2545 มีการเผยแพร่เรื่องที่มีการใช้โทรศัพท์มือถือในสถานพยาบาลแห่งหนึ่งแล้วปรากฏว่าเครื่องควบคุมการให้สารอะดรีนาลีน (adrenaline) ทำงานผิดปกติ หลังจากนั้นวอลล์สตรีทเจอร์นัล (Wall Street Journal) ก็นำก็รายงานมากว่า 100 รายงานที่ระบุว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่รบกวนการทำงานของอุปกรณ์แพทย์ในช่วงก่อนปี 2536 ทำให้โรงพยาบาลต่างๆ ไม่อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์มือถือในโรงพยาบาล

เมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาวิจัยถึงเรื่องดังกล่าวในประเทศอังกฤษ พบว่าโทรศัพท์มือถือรบกวนการทำงานของอุปกรณ์แพทย์เพียง 4% เท่านั้น และต้องอยู่ห่างจากอุปกรณ์นั้นภายในระยะไม่เกิน 1 เมตร และจากการทดสอบการใช้โทรศัพท์มือถือ 300 ครั้งในห้องพักพื้น 75 ห้อง ไม่พบสิ่งใดผิดปกติเลย ในทางตรงกันข้ามพบว่าแพทย์ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนสามารถสื่อสารได้ชัดเจน และลดความผิดพลาดได้มากยิ่งขึ้น

“เมื่อพวกเราเอ่ยเรื่องนี้ขึ้นมาในตอนแรก แพทย์ส่วนใหญ่จะยังไม่เชื่อว่านี่เป็นเรื่องจริง กระทั่งพวกเขาได้ศึกษาหลักฐานต่างๆ อย่างละเอียดแล้ว เขาจึงยอมรับกันว่าที่พวกเขายึดถือมานั้นมันไม่ได้ถูกต้องไปทั้งหมด” ดร.ฟรีแมนกล่าว



ที่มาจาก http://www.pooyingnaka.com

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง 7 ความเข้าใจผิด......ที่แม้แต่หมอยังเชื่อ !!
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

จิราภรณ์ หอมกลิ่น
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
จิราภรณ์ หอมกลิ่น..