หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายสุรงค์ โพชนิกร
จากจังหวัด ศรีสะเกษ

"มหัศจรรย์ปราสาทหิน ถิ่นอีสานใต้ จากพิมายถึงพนมรุ้ง"
โพสต์เมื่อวันที่ : 10 ก.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7045 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(33.33%-3 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  
ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย
       ขอมคือใคร ? ใช่เขมรในปัจจุบันหรือไม่ ?
       
       ณ วันนี้ ยังเป็นปริศนาและเป็นประเด็นให้นักวิชาการไทยบางคนถกเถียง แลกเปลี่ยนทัศนะ แสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง
       
       แต่ไม่ว่าขอมจะเป็นใคร อิทธิพลของ“อารยธรรมขอมโบราณ”เมื่อครั้งเรืองอำนาจสูงสุด ยังคงปรากฏให้เห็นในเมืองไทยมาจนถึงทุกวันนี้ โดยเฉพาะบรรดาปราสาทหินทั้งหลายในแถบอีสานตอนใต้ที่ถือเป็นอู่อารยธรรมขอมโบราณสำคัญของไทย ซึ่งถือเป็นมูลเหตุหลักจูงใจให้ “ตะลอนเที่ยว”ออกเดินทางไปในพื้นที่ 3 จังหวัดอีสานใต้ เพื่อย้อนรอยชื่นชมความน่าทึ่งของปราสาทหินเด่นๆในเมืองไทย

พิพิธภัณฑ์ฯพิมาย
       โคราช...
       

       “นครราชสีมา”หรือ“โคราช”เมืองหน้าด่านอีสาน ถือเป็นด่านแรกของการเดินทางครั้งนี้ โคราชมี“ปราสาทหินพิมาย”ปราสาทชื่อดังเป็นไฮไลท์ แต่เพื่อความเข้าใจในอารยธรรมขอมให้ดีขึ้น “ตะลอนเที่ยว”จึงเลือกไปศึกษาเติมเต็มองค์ความรู้เกี่ยวกับขอมก่อนที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย”แหล่งเรียนรู้สำคัญแห่งดินแดนอีสาน

รูปปั้นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในพิพิธภัณฑ์พิมาย
       พิพิธภัณฑ์ฯพิมาย ตั้งอยู่เชิงสะพานท่าสงกรานต์ห่างจากปราสาทหินพิมายราว 300 เมตร ภายในรวบรวมหลักฐานทางโบราณคดี จัดแสดงเรื่องราววัฒนธรรมอีสานในอดีต โดยมีโบราณวัตถุ-ศิลปวัตถุของขอมอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น เทวรูป ทับหลังต่างๆที่ส่วนใหญ่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ศิวลึงค์ และที่ถือว่าเป็นงานไฮไลท์ระดับมาสเตอร์พีชคือรูปปั้น พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่ประทับนั่งแขนขาด 2 ข้าง มีอายุประมาณ พ.ศ. 1720-1780 นับเป็นรูปปั้นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของจริงเพียง 3 แห่งในโลก
       
       ออกจากพิพิธภัณฑ์ฯพิมาย อารมณ์ปราสาทขอมถูกปลุกเร้าเต็มที่จากเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ ทำให้การตามต่อในอารมณ์ขอมโบราณที่ปราสาทหินพิมายของ“ตะลอนเที่ยว”นั้นไหลลื่นมากขึ้น

ปรางค์ประธานปราสาทหินพิมาย
       ปราสาทหินพิมายตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์พิมายในตัว อ.พิมาย เป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไทย มีลักษณะพิเศษคือสร้างหันหน้าไปทางทิศใต้(ต่างจากปราสาทหินทั่วไปที่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก) เพื่อหันรับกับเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองยโศปุระ เมืองหลวงของอาณาจักรขอมในยุคนั้น
       
       ปราสาทหินพิมายเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนามหายานและฮินดู สันนิษฐานว่าเริ่มสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ปลายพ.ศ. 16 และต่อเติมในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ราวต้น พ.ศ. 18 ตัวปราสาทเป็นศิลปะแบบบาปวน(ยุคแรก)เจือปนนครวัด(ยุคต่อเติม)
       
       ปราสาทแห่งนี้ มีสิ่งก่อสร้างเด่นๆชวนชม เริ่มจากทางเดินเข้าไป คือ สะพานนาคราช สะพานเชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับสวรรค์ตามคติจักรวาล สร้างเป็นรูปนาคราช 7 เศียรชูคอแผ่พังพานดูสวยงาม

พระพุทธรูปปางนาคปรกในเรือนธาตุปราสาทหินพิมาย
       ถัดเข้าไปเป็นซุ้มประตูหรือโคปุระชั้นนอกและกำแพงแก้ว จากนั้นเป็นชาลาทางเดินที่มองเห็นซุ้มประตูชั้นในสร้างรายรอบตัวปราสาท ซึ่งเมื่อผ่านพ้นโคปุระชั้นนี้เข้าไปจะพบกับความยิ่งใหญ่ของปรางค์ประธาน ที่ถูกขนาบข้างด้วย ปรางค์หินแดงและปรางค์พรมทัตที่ภายในประดิษฐ์รูปเคารพของพระเจ้าชัยวันมันที่ 7 (ปัจจุบันคือองค์จำลอง องค์จริงถูกนำไปจัดแสดงที่พิพิธฯภัณฑ์พิมาย) ซึ่งชาวบ้านในอดีตเชื่อว่านี่คือรูปปั้นของ“ท้าวพรหมทัต”ที่พวกเขานับถือ
       
       สำหรับองค์ปรางค์ประธานนั้น สร้างขึ้นราว พ.ศ. 16-17 ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญคือเรือนธาตุและมณฑป มีลวดลายประดับตามส่วนต่างๆมากมายทั้งภายนอก ภายใน อาทิ ภาพศิวนาฏราช พระกฤษณะ ภาพเรื่องราวรามเกียรติ์ เรื่องราวทางพุทธศาสนา ส่วนภายในเรือนธาตุเป็นห้องครรภคฤหะ ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปรางค์นาคปรกรูปเคารพสำคัญ(พุทธมหายาน) อีกทั้งยังมีร่องรอยท่อโสมสูตรที่ใช้ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาให้เห็นกันแบบพองาม
       
       และนั่นก็เป็นสิ่งน่าสนใจของปราสาทหินพิมาย ซึ่งในโคราชยังมีปราสาทขอมขนาดเล็กๆ อาทิ ปราสาทหินพนมวัน ปราสาทเมืองแขก ให้ผู้สนใจได้ศึกษาในอารยธรรมขอมโบราณกันอีก
       
       “ตะลอนเที่ยว”หลังเต็มอิ่มกับปราสาทหินที่ใหญ่ที่สุดในไทยอย่างพิมายแล้วก็ออกเดินทางตามรอยปราสาทขอมต่อไปยัง จ.สุรินทร์ ถิ่นเมืองช้างอันลือลั่นก้องฟ้าเมืองไทย

ปราสาทศีขรภูมิ กะทัดรัด สมส่วน

       สุรินทร์...
       

       สุรินทร์นอกจากจะเป็นเมืองช้างแล้ว ยังเป็นเมืองแห่งปราสาทขอมที่น่าสนใจเมืองหนึ่งของไทย เมืองนี้มีปราสาทสำคัญขึ้นชื่ออยู่ 2 แห่งด้วยกัน ซึ่งล้วนต่างเป้าหมายของการย้อนรอยปราสาทขอมทั้งคู่
       
       สำหรับปราสาทแห่งแรกคือ“ปราสาทศีขรภูมิ” ในเขตชุมชนโบราณบ้านปราสาท ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ ปราสาทแห่งนี้เป็นปราสาทขนาดเล็ก เป็นศิลปะขอมแบบบาปวนผสมนครวัด สร้างขึ้นราวปลาย พ.ศ.16 ถึงต้น พ.ศ. 17 เป็นเทวสถานของศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย(นับถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด) มีอยู่ด้วยกัน 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันยกพื้นสูง มีบารายล้อมรอบ 3 ด้าน วัสดุก่อสร้างปราสาทมีทั้งหินทราย ศิลาแลง และอิฐ ซึ่งเป็นการแยกให้เห็นถึงยุคสมัยในการก่อสร้างและการบูรณะอย่างชัดเจน ตัวประสาทประธานองค์กลาง ถือเป็นศูนย์รวมผลงานมาสเตอร์พีชระดับสุดยอดแห่งสยามอยู่ 2 แห่งด้วยกัน

รูปสลักนางอัปสราปราสาทศีขรภูมิที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดในเมืองไทย
       แห่งแรกคือภาพสลักนางอัปสราถูกยกย่องว่าสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทย ในบริเวณกรอบประตูทั้ง 2 ด้านของปราสาทประธาน เป็นภาพนางอัปสราแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงามรู้ร่างสมส่วน มีทวารบาลอยู่ถือกระบองประกบอยู่ด้านข้างทั้ง 2 นาง
       
       แห่งที่สองคืออยู่ ทับหลังสลักเป็นเรื่องพระศิวะ 3 ตอนที่ได้ชื่อว่าสวยงามและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย แกะสลักอย่างสวยงามประณีตอ่อนช้อย ดูแล้วได้อารมณ์ยิ่งนัก นับได้ว่าปราสาทเล็กๆอย่างศีขรภูมิ ในด้านของความงามนั้นถือว่ายิ่งใหญ่เกินตัวไม่น้อยเลย

ปราสาทตาเมือนธม ที่อยู่ใกล้ชายแดนไทย-กัมพูชา เพียงไม่กี่ 10 เมตร
       จากศีขรภูมิเราเดินทางต่อไปยังชายแดนไทย-กัมพูชา เพื่อไปชมกลุ่มปราสาทตาเมือน บริเวณช่องตาเมือน บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก สร้างบนเส้นทางคมนาคมโบราณเชื่อมเมืองพระนคร(เมืองหลวงอาณาจักรขอมโบราณปัจจุบันคือเสียมราฐหรือเสียมเรียบ)และเมืองพิมาย(นครราชสีมาในปัจจุบัน) กลุ่มปราสาทแห่งนี้ประกอบด้วยปราสาทขอม 3 หลัง ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกัน ประกอบด้วย
       
       ปราสาทตาเมือนธม เป็นปราสาทใหญ่ที่สุดในกลุ่ม อยู่ใกล้ชายแดนที่สุด คาดว่าน่าจะสร้างราว พ.ศ. 16 ประกอบด้วยปรางค์ 3 องค์ ปรางค์ประธานใหญ่สุดอยู่ตรงกลาง สร้างบนลานหินธรรมชาติ ภายในห้องครรภคฤหะของปราสาทปรางค์ประธานมีศิวลึงค์ธรรมชาติที่ปัจจุบันหักไปเหลือเพียงร่องรอยให้ชมกันพอได้จินตนาการ
       
       ปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นอโรคยาศาล(บ้างว่าเป็นโรงพยาบาลหรือสุขศาลา บ้างว่าเป็นศาลในโรงพยาบาล)ในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน(พ.ศ.1721-1763) ยังคงมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์

ปราสาทตาเมือนโต๊ด
       ปราสาทตาเมือน สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อเป็นที่พักคนเดินทาง(ธรรมศาลาหรือบ้านมีไฟ) ตามเส้นทางจากเมืองพระนครเมืองหลวงสู่เมืองพิมาย เป็นปรางค์องค์เดียวมีห้องยาวเชื่อมต่อมาทางด้านหน้า
       
       ด้วยความที่ปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ห่างชายแดนเพียงไม่กี่ 10 เมตร นั่นจึงทำให้การเที่ยวชมต้องไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ตชด.เพื่อนำชม เพราะพื้นที่แห่งนี้เพิ่งมีกรณีพิพาทเรื่องปัญหาชายแดนมาเมื่อไม่นาน ทั้งๆที่หากดูตามชัยภูมิกันสร้างปราสาทนั้นอยู่ในบ้านเราชัดเจน อีกทั้งกรมศิลป์ของเรายังขึ้นทะเบียนปราสาทตาเมือนเป็นโบราณสถานตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2478 และทำการบูรณะซ่อมแซมมาเป็นสิบปีจนเป็นรูปเป็นร่างมาจนถึงทุกวันนี้
       
       แต่อนิจจาด้วยปัญหาชายแดนและ(เกม)การเมืองระหว่างประเทศทำให้การบูรณะต้องหยุดชะงักลงทิ้งกลุ่มปราสาทตาเมือนไว้ให้เราได้ชื่นชมในความสำคัญกันเท่าที่จะสามารถบูรณะได้

ปราสาทเมืองต่ำอันสุดคลาสสิค
       บุรีรัมย์...
       
       จังหวัดสุดท้ายของการเดินทางในทริปนี้ อยู่ที่“บุรีรัมย์”หนึ่งในเมืองปราสาทหินสำคัญของเมืองไทย เมืองนี้มีปราสาทหินในระดับสุดยอดของเมืองไทยอยู่ถึง 2 ปราสาทด้วยกัน
       
       ปราสาทแรกคือ“ปราสาทเมืองต่ำ”อ.ประโคนชัย ที่สันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มสร้างในราว พ.ศ.16 ตามคติความเชื่อทางศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกายด้วยศิลปะแบบบาปวน เพื่อเป็นศาสนสถานประจำเมือง มีจุดเด่นตรงสระน้ำรอบตัวปราสาทที่มีรูปสลักพญานาคทอดยาวไปตามแนวขอบสระ เป็นนาค 5 เศียร หัวโล้นเกลี้ยงเกลาแบบบาปวน

โคปุระปราสาทเมืองต่ำ
       หลายคนเรียกสระนี้ว่า“สระหัวนาค”ที่เปรียบดังมหาสมุทรที่รายล้อมเขาพระสุเมรุศูนย์กลางจักรวาล(ตามคติจักรวาล)ที่แทนด้วยตัวปราสาทที่มีปรางค์อิฐกะทัดรัดสมส่วน 5 องค์ ตั้งตระหง่านอยู่ในนั้น ขณะที่ตามทับหลังและหน้าบันของซุ้มประตูและปรางค์ปราสาท สลักหินเป็นลวดลายสวยงามอ่อนช้อยเรื่องราวในศาสนาฮินดู อาทิ ภาพพระอินทร์ประทับบนหน้ากาล พระอิศวรและพระอุมาทรงโค
       
       และด้วยองค์ประกอบความงามของปราสาทแห่งนี้ที่ถือว่าเป็นเลิศเอกอุ จน ททท. ยกให้เป็น 1 ใน อันซีนไทยแลนด์ ในขณะที่ผู้นิยมปราสาทขอมต่างยกให้เป็นปราสาท“สุดคลาสสิค” อันทรงเสน่ห์ยิ่งนัก

เส้นทางเดินสู่ปราสาทพนมรุ้ง ทิพยวิมานบนเขาไกรลาส
       จากปราสาทเมืองต่ำเราเดินทางไปต่อยัง“ปราสาทพนมรุ้ง” อ.เฉลิมพระเกียรติ ปราสาทที่ได้รับการยอมรับว่างดงามที่สุดในเมืองไทย สร้างขึ้นบนภูเขาไฟที่ดับสนิท ราว พ.ศ. 15 โดยสันนิษฐานผู้สร้างน่าจะเป็น “พระเจ้านเรนทราทิตย์” แห่งราชวงศ์มหิทธรปุระ เพื่อให้เป็นดังทิพยวิมานของพระศิวะบนเขาไกรลาสและเป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพของพระองค์หลังสิ้นชีวิต
       
       ความงดงามและเสน่ห์ของปราสาทพนมรุ้งนั้นมีมากหลาย ตั้งแต่เส้นทางเดินสู่ปราสาทที่เป็นดังสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสรวงสวรรค์ ครั้นถึงยังตัวปราสาทหินทรายสีชมพูอันยิ่งใหญ่งดงาม ในพื้นที่แห่งนี้จะมีสิ่งน่าสนใจให้ชื่มชมกันมากมาย ไม่ว่าจะเป็น องค์ปรางค์ประธาน ตัวเรือนธาตุที่ภายในมีห้องครรภคฤหะ ประดิษฐานศิวลึงค์รูปเคารพสำคัญของลัทธิไศวนิกาย โดยมีท่อโสมสูตรหรือร่องรับน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ได้จากพิธีกรรมเซ่นสังเวยองค์ศิวเทพต่อยาวมาให้เห็นอย่างชัดเจน

ภาพสลักทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ แห่งพนมรุ้ง
       สำหรับไฮไลท์อีกอย่างหนึ่งของพนมรุ้งที่พลาดไม่ได้ด้วยประการทั้งปวงก็คือ ลวดลายสลักหินตามทับหลัง หน้าบัน และส่วนต่างๆที่ถือเป็นงานช่างโบราณระดับเอกอุ ฝีมือชั้นเทพ โดยภาพที่โดดเด่นที่สุด หนีไม่พ้นภาพทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์และศิวนาฏราชที่อยู่เคียงคู่กัน
       
       นับได้ว่าความงามและเสน่ห์ของปราสาทขอมที่เราเดินทางไปสัมผัสนั้น คือมรดกทางวัฒนธรรมสำคัญของบรรพบุรุษที่ตกทอดสืบต่อกันมา ด้วยเหตุนี้คนไทยจำเป็นต้องช่วยกันดูปกปักรักษา ป้องกันไม่ให้มรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวของใครบางคน ดังกรณีที่เคยขึ้นมาแล้วกับปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งนับเป็นความเจ็บช้ำของคนไทยอันเกิดจากความชั่วช้าของนักการเมืองไทยเพียงไม่กี่คนเท่านั้น

       *****************************************
       
       
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดเส้นทางท่องเที่ยว“ตามรอยอารยธรรมขอม เที่ยวมหัศจรรย์...แดนปราสาทหิน” ในถิ่นอีสานใต้ขึ้นรูปแบบแพ็คเกจทัวร์ขึ้น โดยให้ 4 สมาคมท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งผู้สนใจสามาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส.ธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ 0-2270-1505-8 ส.ไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย 0-2393-5855 ส.ส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวไทย 0-2961-2204-5 ส.ผู้ประกอบการนำเที่ยวไทย 0-2998-0744
       
       ส่วนผู้สนใจรายละเอียดของปราสาทและการเดินทางสู่ปราสาทขอมใน 3 จังหวัดอีสานใต้สามารถสอบถามข้อเพิ่มเติมได้ที่ ททท.นครราชสีมา(ปราสาทหินพิมาย) 0-4421-3666, 0- 4421-3030 ททท. สุรินทร์(ปราสาทศีขรภูมิ-ตาเมือน-พนมรุ้ง-เมืองต่ำ)0-4451-4447

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000104638



ฟังดาร์กี้ เปิดกรุอีสานใต้ จ้า

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง "มหัศจรรย์ปราสาทหิน ถิ่นอีสานใต้ จากพิมายถึงพนมรุ้ง"
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายสุรงค์ โพชนิกร
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายสุรงค์ โพชนิกร..