หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายหนูเหลี่ยง ชิณแสน
จากจังหวัด บึงกาฬ

คุณค่าของครู...อยู่ที่ศิษย์..จริงหรือ...? เชิญ ร่วมแสดงทรรศนะ ครับ
โพสต์เมื่อวันที่ : 31 ส.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7047 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(66.67%-6 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

ปาเจรา จริยา โหนติ คุนุตตรานุ สาสกา

.....

คุณค่าของครู...อยู่ที่ศิษย์.. (จริงหรือ...) คมชัดลึก : เครื่องร้อน! อยากทดลองวิชาความรู้ที่ได้ปริญญา "วิทยาศาสตรบัณฑิต" สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสหกรรมเครื่องร้อน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร จึงผันตัวเองไปทำงานอิสระ ด้านเฟอร์นิเจอร์ส่งออกอยู่พักหนึ่ง แต่ด้วยครอบครัวทั้งคุณพ่อคุณแม่บังเกิดเกล้า "รศ.รังสรรค์-รศ.ดร.นวลละออ แสงสุข" และพี่สาว ผศ.วิณัฐฏา แสงสุข" ต่างยึดวิชาชีพครู ทำให้วันนี้ของ "ดร.ปู-นารินี แสงสุข" เจริญรอยตามครอบครัว และนั่งรักษาการรองคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก้าวแรกที่ "มหาบัณฑิตนารินี" เป็น "ครู" ตามคำแนะนำของ คุณแม่ รศ.ดร.นวลละออ แสงสุข รองอธิการบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาภูมิภาค มหาวิทยาลัยรามคำแหง (มร.) แม้ยังไม่เกิดความรักในวิชาชีพครูในทันที แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป การได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ในแต่ละวัน ทำให้เกิดความรัก ความผูกพันในวิชาชีพครูขึ้นแบบไม่รู้ตัว สนุกอยู่กับงานสอนควบคู่ไปกับการเป็นนักศึกษาปริญญาเอก ดูเหมือนจะเป็นงานหนักอยู่ไม่น้อย แต่สาวสวยคนเก่งก็ฝ่าฟันอุปสรรคนั้นมาได้ และได้ใช้คำนำหน้าว่า "ดอกเตอร์" แทนคำว่า "นางสาว" ในช่วงเวลาไม่ถึง 2 ปี ลูกพ่อขุนคนนี้ก็สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาการพัฒนาการทรัพยากรมนุษย์ ท่ามกลางความปีติยินดีของพ่อแม่ ปีการศึกษา 2548 เริ่มจริงจังกับการทำงาน ในฐานะ "แม่พิมพ์" มากขึ้น ในตำแหน่งอาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง ทำหน้าที่ตรวจรูปแบบวิทยานิพนธ์ของมหาบัณฑิต ดุษณีบัณฑิตทุกคน แต่ไม่เคยละทิ้งงานสอนในวิชา RU 603 บัณฑิตศึกษา ซึ่งเป็นวิชาบังคับของนักศึกษาปริญญาโท แม้ทำงานทั้งสอนหนังสือและบริหารยังมีเวลาว่างพอช่วยงานมหาวิทยาลัย "ดร.นารินี" ออกปากอาสา "รศ.คิม ไชยแสนสุข" อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ขอมาช่วยงานราชการที่คณะบริหาร และร่วมกันทำ "หลักสูตรการพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์" ซึ่งจะเปิดสอนหลักสูตรนี้ โดยเปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 "เป็นครูระยะแรกท้อแท้ ยอมรับว่าปูได้รับแรงกดดันมากๆ ในฐานะเป็นลูกของคุณพ่อรังสรรค์ ปูมองพ่อเป็นฮีโร่ เป็นคนเก่ง ลูกต้องเก่งด้วย เมื่อเป็นลูกพ่อต้องทำงานได้สิ ต้องเก่งสิ ความกดดันที่มีอยู่ปูจึงไม่หยุดที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพิ่มพูนทักษะเพื่อทำให้ดีที่สุดให้ได้ ปูถือปฏิญาณว่าปูทำดีที่สุด รุ่งขึ้นไม่มีดีที่สุด ดังนั้นปูต้องทำดีที่สุดในทุกๆ วัน วันนี้ปูทำดีที่สุด แต่วันรุ่งขึ้นมันอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ไม่ดีที่สุดก็ได้ ฉะนั้นปูจะต้องทำแต่ในสิ่งที่ดีที่สุดในวันต่อๆ ไป" ว่ากันว่าบรรดานักศึกษาที่เรียนวิชา AD 303 หลักศิลปะการออกแบบและโฆษณา, TT 412 วิชาการบริหารจัดการการแสดง, BM 601 วิชาการจัดการพฤติกรรมองค์กร ในระดับปริญญาโท ฯลฯ มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เวลา "อาจารย์ปู" สอนสนุกแจกมุกกระจาย! ชนิดที่เรียกได้ว่าลูกศิษย์ติดกันตรึม! ไม่มีใครกล้าโดดเรียนหากถึงช่วงเวลาสอนของ "อาจารย์ปู" ลีลาการสอนร้าวใจให้ลูกศิษย์สนใจเนื้อหาในบทเรียนเข้าขั้นติดหนึบ! แบบนี้ เพราะ "อาจารย์ปู" ยึดเคล็ดลับการสอนตามรอยคุณพ่อ รศ.รังสรรค์ แสงสุข อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง 3 สมัย 12 ปี ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด ได้เพียรพยายามอบรมบ่มนิสัย "อาจารย์ใหม่" คนนี้เป็น "ครูที่ดี" ในอนาคต ด้วยการดำรงตนเป็นครูที่ดีตามคติที่ว่า "ครูเป็นผู้ใหญ่ ครูเป็นผู้เติมเต็ม และครูเป็นผู้มีเมตตา" "ปูศรัทธาอาจารย์รามคำแหงที่มีความมุ่งมั่นเพื่อพัฒนานักศึกษาทุกคน ปูเองก็ดูคุณพ่อเป็นต้นแบบของการเป็นครู ท่านสู้ไม่ถอย คุณพ่อบอกปูตลอดเวลาว่าหากเราหยุดเดินเพียงหนึ่งก้าว ทุกคนก็จะเดินนำหน้าเราไปหมด ท่านมองย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปี รามฯ อยู่รั้งท้ายมหาวิทยาลัยอื่นๆ แต่ปัจจุบันรามฯ อยู่แถวหน้าของหน้าแถว คุณพ่อสอนว่าต้องให้เขาเห็นข้างหลังเราอยู่เสมอ รามฯ ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอในทุกมิติ" ด้วยความรักและศรัทธาในวิชาชีพครู 4 ปีที่สอนหนังสือ "ดร.นารินี แสงสุข" ซึ้งแล้วว่าเส้นทางสายนี้เหมาะที่สุดกับตัวเอง แต่ส่วนลึกไม่อยากให้สังคมไทยมองครูว่าเป็นคนที่ไม่มีงานอื่นทำแล้วถึงมาเป็นครู ไม่อยากให้มองครูแบบนั้น "เพราะคุณค่าของครูไม่ได้อยู่ที่ตัวครู แต่อยู่ที่ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของลูกศิษย์ ฉะนั้นครูไม่ได้ดีใจที่สอนลูกศิษย์จำนวนมาก ได้ปริมาณเยอะ แต่ครูดีใจที่สอนแล้วเกิดประโยชน์ต่อเด็ก ไม่อยากให้สังคมไทยมองครูในทัศนคติแบบเดิมๆ" ดร.นารินี ฝากทิ้งท้าย ขอบคุณครับ กมลทิพย์ ใบเงิน เขียนเรื่อง ขอบคุณแหล่งข้อมูล คมชัดลึก ออนไลน์ ครูหนู นำเสนอ

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง คุณค่าของครู...อยู่ที่ศิษย์..จริงหรือ...? เชิญ ร่วมแสดงทรรศนะ ครับ
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายหนูเหลี่ยง ชิณแสน
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายหนูเหลี่ยง ชิณแสน..