หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
อัญชลี มีทรัพย์
จากจังหวัด อุตรดิตถ์

เผยแพร่ผลงานรายงานผลการทักษะการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ 1 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จ. อ
โพสต์เมื่อวันที่ : 30 ส.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6900 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(64.24%-33 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

รายงานผลการวิจัย เรื่อง ผลการพัฒนาทักษะการผันวรรณยุกต์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่
 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ   อำเภอเมือง   จังหวัดอุตรดิตถ์   ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการผันวรรณยุกต์
โดย   นางอัญชลี    มีทรัพย์
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ
............................................................................................................................................................
 
ที่มาและความสำคัญ
 
จากการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การใช้ภาษาไทยในปัจจุบันพบว่า ภาษาไทยกำลังถูกลืมไปในบางส่วนโดยเฉพาะวัฒนธรรมการใช้ภาษาที่ดีงามสำเนียง เสียงพูดโดยเฉพาะเสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะบางตัว เช่น ช ท ถ ส ที่มีการออกเสียงกันเพี้ยนไป สำนักราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันเด็กไทยผันวรรณยุกต์ไม่ได้ ย่อความไม่ได้   จึงได้มีการเร่งสร้างแบบทดสอบวัดความรู้ครู นักเรียนเพื่อประเมินตัวเอง เน้นปลูกฝังตั้งแต่ 3 ขวบ ด้วยการ์ตูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองความห่วงใยภาษาไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ที่ทรงให้พระบรมราโชวาทแก่เอกอัครราชทูตและกงสุลใหญ่ไทย ที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเกี่ยวกับคนไทยไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย ทรงเสียดายที่คนไทยเห็นภาษาไทยเป็นสิ่งล้าสมัยและคนไทยแสดงพฤติกรรมเป็นฝรั่ง จีน ญี่ปุ่น ทำให้ชาวต่างชาติมองคนไทยเป็นสัตว์ประหลาดนั้นในโอกาสเดียวกันนี้เอง นางจินตนา พันธุฟัก เลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน กล่าวว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสห่วงภาษาไทยมาโดยตลอด โดยเฉพาะการกระตุ้นให้คนไทยเห็นความสำคัญของภาษาไทย จึงทำให้รัฐบาลจัดให้การรณรงค์ความสำคัญของภาษาไทยเป็นโครงการระดับชาติ เพราะปัจจุบันปัญหาการใช้ภาษาไทยที่พบในเด็กไทย คือ ผันเสียงวรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา ไม่ได้ สะกดคำผิดๆ ถูกๆ ที่สำคัญเด็กทุกวันนี้ จับประเด็นสำคัญ และย่อความไม่เป็น  ในฐานะผู้วิจัยเป็นครูผู้สอนวิชาภาษาไทยมาเป็นเวลานานกว่าสิบปี พบว่าปัญหาในการเรียนรู้หลักภาษาไทย การอ่าน การเขียนสะกดคำที่สำคัญและยุ่งยากสำหรับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 คือเรื่องการผันเสียงวรรณยุกต์ในการอ่านและเขียนสะกดคำ ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้สร้างแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ขึ้น โดยยึดแนวคิดที่สำคัญว่าการให้โอกาสให้เด็กได้ฝึกฝนในเรื่องของทักษะบ่อย ๆ ย่อมทำให้เกิดความชำนาญและเกิดการเรียนรู้ที่คงทน
 
 
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านการผันวรรณยุกต์ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการผันสียงวรรณยุกต์
 
 
ประชากร
กลุ่มประชากร ได้แก่    นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ   อำเภอเมือง   จังหวัดอุตรดิตถ์   จำนวน  204    คน
 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/ 7 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ   อำเภอเมือง   จังหวัดอุตรดิตถ์   จำนวน 29  คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง
 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย
1.แบบฝึกเสริมทักษะการผันเสียงวรรณยุกต์
2.แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ดังนี้
 
ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
1 ทดสอบก่อนการเรียนรู้ โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้      
 2 ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามลำดับที่เขียนไว้แผนการจัดการเรียนรู้ และให้นักเรียนทำแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ ตามที่ระบุไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้
3. ทดสอบหลังเรียน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกับแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้   ใช้เวลา
60 นาที    โดยดำเนินการหลังจากได้จัดการเรียนการสอน
4. เก็บรวบรวมข้อมูลและบันทึกผลคะแนนที่ได้จากการทดสอบ
 
 การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ โดยคำนวณจากสูตร E1 / E2
2. การวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการผันวรรณยุกต์ โดยแจกแจงคะแนนของนักเรียนเป็นรายคนลงในตารางบันทึกผล แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูล พร้อมทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ ด้วย
t – test เพื่อศึกษาความสามารถทางการเรียนรู้เรื่องการผันวรรณยุกต์ในภาพรวม
 
 
 
สรุปผลการดำเนินงาน
การวิจัย เรื่อง ผลการพัฒนาทักษะการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1   โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ  อำเภอเมือง   จังหวัดอุตรดิตถ์   ด้วยแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์     
มีการดำเนินการวิจัยซึ่ง สามารถสรุปผลการดำเนินงาน ดังนี้
                   1.ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์เท่ากับ 87.72 /83.27    ซึ่งผลการดำเนินงานสูงกว่าสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ที่ระดับ 87.72 /83.27
                2. คะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนวิเคราะห์ด้วย t-test ปรากฏค่า t-test = 32.29  ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงกล่าวได้ว่า คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน นั่นคือ คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่าแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาและแก่ไขปัญหาด้านการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนได้จริง
 
อภิปรายผล
            จากผลการดำเนินงานที่ปรากฏ ผู้วิจัยสามารถอภิปรายผลได้ตามประเด็นต่อไปนี้
                1. จากผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ และพบว่าแบบฝึกดังกล่าวมีประสิทธิภาพที่ระดับ 87.72 /83.27 ซึ่งสูงกว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่า การนำแนวคิดทฤษฎีทางจิตวิทยา และหลักการสร้างแบบฝึกที่ดีมาใช้ในการสร้างแบบฝึกเป็นปัจจัยสำคัญที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของ  สุจริต   เพียรชอบและสายใจ อินทรัมพรรย์ ( อ้างอิงจาก ชัยวัฒน์   สุทธิรัตน์ , 2550 : 157 ) ที่กล่าวว่าการสร้างแบบฝึกต้องยึดตามหลักทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาดังนี้ 1. กฎการเรียนรู้ของธอร์นไดค์   เกี่ยวกับกฎแห่งการฝึกหัด    คือสิ่งใดที่ได้ทำบ่อย ๆ จะทำได้ดี แต่ถ้านาน ๆ ทำทีก็จะลืม   2. ความแตกต่างระหว่างบุคคลคือ ต้องไม่ยากไม่ง่ายเกินไป 3. การจูงใจผู้เรียนทำแบบฝึกจากง่ายไปสู่ยาก และ 4. ใช้แบบฝึกสั้น ๆ เพื่อไม่ให้เบื่อหน่าย   นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแนวคิดของ วรสุดา   บุญยไวโรจน์ ( อ้างอิงจาก   สุนันทา สุนทรประเสริฐ , 2543 : 57-58 ) ที่ได้แนะนำให้ผู้สร้างแบบฝึกยึดลักษณะการสร้างแบบฝึกที่ดี กล่าวคือ แบบฝึกที่ดี   ควรมีความชัดเจนทั้งคำสั่งและวิธีการ   คำสั่งหรือตัวอย่าง มีความเหมาะสมกับผู้ใช้   ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองเมื่อต้องการ   และมีกิจกรรมหลายรูปแบบ  เพื่อเร้าให้นักเรียนเกิดความสนใจ  และไม่เบื่อหน่ายจะกระทำ   และเพื่อฝึกทักษะใดทักษะหนึ่งจนเกิดความชำนาญ ตลอดจนควรตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียนแต่ละคน เช่น ความแตกต่างด้านความต้องการ ความสนใจ    ความพร้อม ระดับสติปัญญา และประสบการณ์ ฉะนั้นการจัดทำแบบฝึกควรจัดทำให้มากพอ และมีทุกระดับ ตั้งแต่ ง่าย   ปานกลาง และยาก เพื่อว่าทั้งเด็กเก่ง ปานกลาง และอ่อน สามารถเลือกทำได้ตามความสามารถ และเพื่อให้นักเรียนทุกคนประสบความสำเร็จในการทำแบบฝึก   ดังนั้นผู้วิจัยจึงสรุปว่า   แบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ มีลักษณะของแบบฝึกที่ดี คือ
                1. ยึดหลักจิตวิทยาเป็นพื้นฐาน เช่น   ด้านความแตกต่างระหว่างบุคคล     กฏแห่งกระทำซ้ำ   
                2. มีความหมายต่อชีวิต    และตรงจุดประสงค์
                3. ปลุกเร้าความสนใจ มีความหลากหลาย
                4. เหมาะสมกับวัย
                5. ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง
2. จากข้อมูลด้านคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วทำการทดสอบสมมติฐานวิเคราะห์ด้วย t-test   ปรากฏค่า t-test = 32.29  ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งกล่าวได้ว่า คะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกัน   นั่นคือ คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่าแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ มีประสิทธิภาพ      สามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนได้จริง   ทั้งนี้ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่าการใช้แบบฝึกเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งหลังที่ได้เรียนรู้เรื่องนั้น ๆ จบไปแล้ว ทั้งนี้เพราะการให้นักเรียนได้ฝึกย้ำคิดย้ำทำ เป็นการสร้างความเชี่ยวชาญประการหนึ่ง   ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดและผลการวิจัยของนักการศึกษาหลายท่านที่ได้ใช้แบบฝึกสำหรับพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาด้านการเรียนการสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่นอานงค์ ใจรังกา (2547 : 58 ) สรุปผลการพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6   โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ   ร ล   ว   ไว้ดังนี้ หลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ   ร ล   ว   นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านไม่ต่ำว่าร้อยละ 78.86 และสูงขึ้นกว่าก่อนการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ   ร ล   ว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01    ประสิทธิภาพของแบบฝึกที่ได้จากการวิจัยเท่ากับ 87.71 / 87.49   ซึ่งสูงกว่าสมมติฐานของงงานวิจัยที่ตั้งไว้ จุฑามาศ    ศีวิลัย ( 2549 : 56 ) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาแบบทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว   โดยใช้ภาพประกอบสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่านักเรียนสามารถพัฒนาการอ่านสูงขั้นร้อยละ 70 และมีความคงทนต่อการเรียนรู้ภาษาไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60  สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นอกจากนี้นักเรียนยังมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดี  
ข้อเสนอแนะ
                หลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้
                1. ในการนำแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ไปใช้กับนักเรียนนั้นครูผู้สอนควรศึกษาลำดับขั้นตอนและคู่มือการใช้ให้เข้าใจ
                2. ในกรณีที่ครูแบบฝึกทักษะการผันวรรณยุกต์ไปใช้กับนักเรียน ครูผู้ควรควรจัดเตรียมสื่อการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้ให้พร้อม   อีกทั้งควรให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
                3. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบฝึกนั้น ครูควรให้ความสนใจนักเรียนอย่างใกล้ชิด   และวางบทบาทของตนเองเป็นผู้แนะนำแก่นักเรียน ไม่ใช่ผู้บอก   รวมทั้งครูควรคำนึงว่าการทำกิจกรรมในแบบฝึกไม่ใช่การทดสอบ   ดังนั้นเมื่อนักเรียนยังไม่บรรลุเป้าหมายของการทำแบบฝึก   ครูผู้สอนอาจช่วยเหลือเป็นรายบุคคล และย้ำคิดย้ำทำกิจกรรมในแบบฝึกจนกว่านักเรียนจะเกิดความรู้ความชำนาญในที่สุด
               
 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง เผยแพร่ผลงานรายงานผลการทักษะการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีท่ 1 โรงเรียนเทศบาลท่าอิฐ จ. อ
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

อัญชลี มีทรัพย์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
อัญชลี มีทรัพย์..