หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายสุรงค์ โพชนิกร
จากจังหวัด ศรีสะเกษ

เงิน-ทะเบียนสมรส-พิธี-เรือนหอ ฯลฯ...10 สิ่งที่ควรเคลียร์ก่อนแต่ง
โพสต์เมื่อวันที่ : 30 ส.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7047 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(60.00%-5 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  
       อีกไม่กี่เดือนก็จะเข้าสู่ช่วงปลายปี เวลาที่หลายคนตั้งใจจะเข้าสู่ประตูวิวาห์กันนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะช่วงเดือนตุลาคม กินเวลาข้ามปีไปถึงเดือนมกราคมกันเลยทีเดียว
       
       ซึ่งการแต่งงานนั้นก็คงไม่ใช่พิธีฟ้าแลบอะไรแน่นอนเพราะกว่าจะถึงวันวิวาห์จริงๆ ทั้งว่าที่บ่าวสาวก็ต้องเตรียมอะไรเยอะแยะไปหมดเพื่อให้งานสมรสออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ใช่เพียงนวดหน้า ขัดตัว และตัวชุดบ่าวสาวเท่านั้น
       
       การที่คนสองคนตัดสินจะใช้ชีวิตคู่ด้วยกันไปตลอดชีวิตมันยิ่งกว่าการลงทุนทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งเสียอีก เพราะชีวิตหลังแต่งงานต้องช่วยกันแบ่งปันซึ่งกันและกัน มีความรักและความเข้าใจกันทุกเวลา ขณะเดียวกัน ตำแหน่งลูกเขย ลูกสะใภ้ของทั้งคู่ก็สำคัญไม่แพ้กันด้วย

ขอขอบคุณภาพจาก www.photopassion.multiply.com
       แต่นอกเหนือจากสัญญาใจที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีอีก 10 สิ่งสำคัญที่คนที่กำลังจะแต่งงานกันไม่ควรพลาด...ดังนี้
       
       1. พิธีรีตรอง-กฏหมาย
       
       กว่าจะลงตัวว่าจะลงเอยกันก็ต้องผ่านการวัดใจกันหลายขั้นตอนและกลายเป็นการแต่งงานมักไม่ใช่เรื่องของ เราสองคน ต้องผ่านการออกความเห็นหรืออาจจะเป็นการตัดสินใจของผู้ใหญ่สองฝ่ายอีกชุดหนึ่ง ซึ่งต่างก็อ้างประสบการณ์และความต้องการของฝ่ายตน จนคนแต่ง อาจแค่เออออห่อหมก เพื่อตัดปัญหารกใจก็ได้
       
       ก่อนการแต่งงานจึงมักมีการหมั้นหมาย ขันหมากต้องยกกันให้สินสอดเท่าไร ต้องมาแฉให้กระจ่างกลางงานพิธี จากนั้นอาจมีการดน้ำอวยพรหรือทำบุญประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อใจศาสนาของแต่ละฝ่าย ยิ่งต่างศาสนายิ่งอาจต้องเป็นทวิพิธีเข้าไปใหญ่ หรืออาจขยายกลายเป็นทั้งพุทธ คริสต์ และปิดด้วยประเพณีจีนอีกก็ได้ เรื่องหน้าตาหรือธรรมเนียมก็ว่ากันไป
       
       แต่เรื่องทางกฎหมายก็ต้องใส่ใจด้วยเช่นกัน การหมั้นทำให้เกิดความผูกพันกันทางกฎหมายแต่ไม่สามารถบังคับให้แต่งงานได้ ถ้าเบี้ยวขันหมากเมื่อไหร่ก็ยังสามารถเรียกร้องค่าทดแทนค่าเสียหายได้ และถ้าผู้หญิงเกิดนอกใจไปมีสัมพันธ์กับใครจนถึงขั้นเกิดความเสียหายก็กลายเป็นผิดสัญญาหมั้น เป็นอันถูกอีกฝ่ายบอกเลิกสัญญาได้( อาจแล้วอาจดูเหมือนเป็นความรัก หรือเป็นธุรกิจ กันแน่ แต่ก็กันไว้หรือคิดเผื่อไว้ก็ไม่เห็นเป็นไร )
       
      
 2. ทะเบียนสมรสจดหรือไม่จดดี
       

       พิธีแต่งนั้นเป็นการแสดงตนทางพฤตินัย แต่ไม่ใช่การรับรองความเป็นสามีภรรยาทางกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนสมรสไว้ให้ชัดเจน จดวันไหนก็ถือว่ามีสิทธิหน้าที่เกิดขึ้นในวันนั้นไม่มีการย้อนหลังไปถึงวันที่เข้าหอส่งตัว ทะเบียนสมรสไม่จดก็ได้ เพราะไม่ใช่โทษทางอาญา แต่จะใ้ห้มีสิทธิเหมือนคู่ผัวตัวเมียที่จดทะเบียนไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่รับรองสถานะให้ จะบอกว่าจดนั้นดีก็ใช่ที่
       
       ของพรรค์นี้ต้องดูปัจจัยหลายประการ ศึกษาหลักกฎหมายถึงสิทธิพึงมีพึงได้จากการจดทะเบียน และต้องเข้าใจว่าข้อเสียก็มีได้จากการจดทะเบียน ที่สำคัญพร้อมกับสิทธิที่จะได้ก็มีหน้าที่ตามกฎหมายให้ต้องปฏิบัติเช่นเดียวกัน ก่อนแต่งคุยกันว่าจะจดทะเบียนหรือไม่
       
       ทั้งนี้หลายคู่ที่เลือกจะไม่จดทะเบียนสมรส ส่วนหนึ่งให้เหตุผลว่าเป็นเพราะฝ่ายชายมีหน้าที่ความรับผิดชอบทางธุรกิจ หากฝ่ายหญิงมาใช้นามสกุลเดียวกันก็จะก่อให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น กล่าวคือถ้าธุรกิจฝ่ายชายล้มละลายขึ้นมา ฝ่ายหญิงก็จะพลอยเดือดร้อนไปด้วย ซึ่งในเรื่องนี้คนทั้งคู่ควรทำความเข้าใจให้ชัดเจน อย่าปล่อยให้ฝ่ายหญิงไม่เข้าใจหรือไม่มั่นใจเด็ดขาด

ขอขอบคุณภาพจาก www.photopassion.multiply.com
       3. เรือนหอเรือนรัก
       
       แต่งแล้วจะไปอยู่ไหน มีบ้านเป็นของตนเองหรือไม่ แล้วพ่อแม่อีกฝ่ายจะให้ย้ายไปอยู่ในบริเวณเดียวกัน หรือจะร่วมหลังคากับพ่อตาแม่ยายหรือแม่ผัวพ่อผัวอย่างไร ถ้ามีความสามารถจะปลูกเรือนรักเอาไว้รอก็เป็นเรื่องดีของคู่นั้นไป แต่บางรายต้องกู้เงินไปผ่อนบ้านหรืออาศัยพ่อแม่อยู่ต่อไป จะแยกเรือนออกมาต่างหากหรือไม่ ปัญหาว่าบ้านนี้ใครมีสิทธิแค่ไหนก็อาจกลายเป็นประเด็นถกเถียงกัน
       
       การซื้อบ้านไว้เพื่อใช้เป็นเรือนหอ ต่อให้ซื้อด้วยเงินร่วมกัน ถ้าซื้อไว้ก่อนแต่งงานจะอนุมานเป็นสินสมรสได้ ก็ต้องอาศัยเอกสารหลักฐานเพื่อความชัดเจนในโฉนดที่ดิน ถ้าซื้อกันหลังแต่งก็จะถือว่ามีส่วนแบ่งคนละครึ่งในฐานะสินสมรส ถ้าพ่อแม่ยกที่ดินและบ้านให้ แต่ถ้าไม่ใส่ชื่อให้ครบก็จะจบลงตรงชื่อที่อยู่ในโฉนดคือเจ้าของโดด ๆ คนเดียว
       
       4. เข้าใจคำว่า "เจ้าบ้าน กับ เจ้าของบ้าน"
       
       หลังจากมีบ้านเป็นของตนเอง และเข้าใจกันแล้วว่า บ้านหลังนี้มีเราสองเป็นเจ้าของร่วมกัน แต่ทะเบียนบ้านนั้นกำหนดให้มีเจ้าบ้านเพียงคนเดียว ซึ่งการเป็นเจ้าบ้านไม่ได้แปลว่าคนนั้นเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวเสมอไป
       
       เจ้าบ้านเป็นอะไรที่ต้องมีไว้เพื่อทำหน้าที่ดูแลทางทะเบียน จะย้ายใครเข้ามาย้ายใครออกไปมีคนในบ้านมากไปก็ไม่ได้ ต้องดูแลจัดการให้เรียบร้อย
       
       
ดังนั้น เมื่อคนหนึ่งเป็นเจ้าของบ้าน อีกคนหนึ่งจึงเป็นเพียงผู้อาศัยที่ถูกระบุไว้ในทะเบียน คุยกันให้ดีก่อนมีเรื่องนิดเดียวจะปีนเกลียวกลายเป็นเรื่องใหญ่
       

       5. นามสกุลของใคร
       
       ก็รู้กันอยู่ว่ากฎหมายทันสมัยจนสามารถตกลงกันได้ว่า จะใช้นามสกุลของใครหลังจากที่ได้แต่งงาน กฎหมายก็ยังให้สิทธิคู่สมรสที่จะใช้นามสกุลของอีกฝ่ายหากได้จดทะเบียนสมรสไม่ว่าจะเป็นเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวก็ตามที หรืออาจจะคงนามสกุลเดิมของตนไว้ไม่เปลี่ยนไปก็ได้เหมือนกัน
       
       จะเปลี่ยนนามสกุลกันหรือไม่ ก็ไม่เกี่ยวกับลูกที่จะเกิดมา เพราะกฎหมายยังกำหนดว่า ลูกมีสิทธิใช้นามสกุลของพ่อเหมือนกัน แม้กฎหมายจะกำหนดเอาไว้อย่างนั้น ก็ไม่ต้องหารแบ่งครึ่งกันแบบเอาเป็นเอาตาย ถ้าจะใช้มากน้อยกันอย่างไรก็ทำได้ เพราะเป็นกระเป๋าเดียวกัน อาการหารสองจะเกิดขึ้นในยามต้องเลิกร้างกันไปแต่ก็ต้องรู้ไว้ก่อนแต่งงาน
       
       6. รายได้หารสอง
       
       ใครมีปัญญาหาเงินได้มากกว่ากัน ไม่ทำให้สิทธิในรายได้ลดเพิ่มต่างกันไป ต่อให้แยกบัญชีรายได้โดยต่างคนต่างเปิดเอาไว้คนละธนาคารก็ยังต้องหารสองแบ่งครึ่งกัน และต่อให้เขาหาแทบตายฝ่ายเดียว เราก็มีส่วนด้วยในฐานะเป็นสินสมรส
       
       แม้กฎหมายจะกำหนดเอาไว้อย่างนั้น ก็ไม่ต้องหารแบ่งครึ่งกันแบบเอาเป็นเอาตาย ถ้าจะใช้มากน้อยกันอย่างไรก็ทำได้ เพราะเป็นกระเป๋าเดียวกัน อาการหารสองจะเกิดขึ้นในยามต้องเลิกร้างกันไปแต่ก็ต้องรู้ไว้ก่อนแต่งงาน

ขอขอบคุณภาพจาก www.photopassion.multiply.com
       7. รายจ่ายในบ้านเรา
       
       เมื่อรายได้อีกฝ่ายมีส่วนร่วม ก็ใช่ว่าเรื่องจ่ายจะเป็นภาระของคนที่มีรายได้มากกว่าเสมอไป ความสามารถในการรับผิดชอบอาจไม่เท่ากันได้ สาวกของหลักที่ว่า “เรื่องเล็กไม่ เรื่องใหญ่ขอมีส่วน” ก็ต้องชัดเจนในเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เอาไว้
       
       แม้หน้าที่ตามกฎหมายก็คือ ร่วมรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายของครอบครัว แต่ในชีวิตจริงแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะแบ่งกันได้ชัดเจนทุกรายการ การร่วมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายไม่จำเป็นต้องหารสองเสมอ
       
       
และไม่ว่าจะตกลงกันตอนแรกอย่างไร สถานการณ์ย่อมเปลี่ยนปรับไปได้ ไม่ผูกมัดตามกฎหมายว่าต้องทำตามที่วางแผนไว้ตลอดไป แต่ถ้าถูกเรียกร้องจากคนนอกให้ต้องจ่ายอะไรที่เป็นเรื่องของครอบครัว เมื่อไหร่ ต่อให้เราไม่ได้สร้างหนี้เอาไว้ ก็ต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ร่วมกับเขาไปในฐานะที่เป็นหนี้สินสมรส
       

    
   8. ซื้ออะไรให้ใส่แต่ชื่อฉัน

       เมื่อต้องถือกระเป๋าสตางค์ใบเดียวร่วมกันตามกฎหมาย เวลาซื้อหาอะไรมาได้ในระหว่างแต่งงานก็ต้องเป็นสินสมรสร่วมกัน ซึ่งไม่สำคัญว่าจะใส่ชื่อใครในเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของนั้น หรือจ่ายจากเงินเดือนของใคร เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการฉวยโอกาสที่ไม่ใส่ชื่ออีกฝ่ายร่วมไปในเอกสาร
       
       การงุบงิบเงินจำหน่ายทรัพย์สินที่เป็นเจ้าของร่วมกันไปนั้น ทำให้เราสามารถเพิกถอนการจำหน่ายจ่ายโอนได้ แต่ก็อาจต้องไปเถียงกับคนที่ได้ทรัพย์สินนั้นไปว่า เข้าซื้อไว้โดยสุจริตใจไม่สามารถทราบได้ว่าเป็นสินสมรสของคนที่ขายให้ ก็คงต้องเดือดร้อนไปเรียกร้องกันเองระหว่างสามีภรรยา การเตรียมการเรื่องการได้ทรัพย์สินมา ก็น่าจะทำไว้ว่าจะบริหารจัดการอย่างไรไม่ให้รั่วไหล
       
       9. พ่อแม่ หรือญาติมาขออาศัย
       
       หลังจากอยู่ร่วมเรียงเคียงหมอนกันไป ญาติมาเยี่ยมมาขออาศัยก็อาจสร้างความลำบากใจถ้าเขาไม่ยอมย้ายออกไปเสียที เราจะมีสิทธิในการขับไล่ญาติของเขาได้แค่ไหน เป็นเรื่องที่เราต้องเข้าใจข้อกฎหมายแล้วเตรียมระวังเผื่อไว้ก่อนแต่งเป็นดี
       
       เมื่อบ้านเป็นสินสมรส ต่างก็มีสิทธิที่จะให้ใครเข้ามาอยู่อาศัยได้ก็จริงอยู่ แต่ตามหลักของกฎหมาย การเข้ามาอยู่อาศัยนั้น เจ้าของจะทำได้ในขอบเขตที่ต้องไม่ทำให้เจ้าของร่วมอีกฝ่ายต้องได้รับความเดือนร้อนเกินควร การที่เขาหรือเราให้พ่อแม่มาอยู่อาศัย
       
       ถ้าเป็นเพราะท่านไม่มีที่จะไปเป็นหน้าที่ตามศีลธรรมที่อีกฝ่ายต้องยอมให้ทำได้ เพียงแต่คนที่มาอาศัยจะมีสิทธิมีเสียงใหญ่กว่าเราไม่ได้เพราะไม่ใช่เจ้าของบ้านการสร้างสมดุลทางความสัมพันธ์จึงต้องอาศัยศิลปะด้วย
       
       10. หนี้สินค้างจ่ายหรือรายได้ค้างรับ
       
       เธอจะเป็นใครเมื่อในอดีตนั้น อาจทำใจได้ แต่เธอมีเรื่องตกค้างที่ต้องรับแบกเอาไว้อย่างไร ฉันก็ควรรู้เอาไว้ เพื่อจะได้ไม่ต้องมาเซอร์ไพรส์ภายหลังงาน แต่ใครจะไปบอกได้หมดเปลือก อาจมีอะไรตกค้างหลงลืมหรือตั้งใจจะไม่บอกให้ทราบก็ไม่เป็นไร แต่เมื่อต้องเคลียร์เรื่องหนี้สินค้างจ่าย ก็จงจำไว้ว่ากฎหมายไม่ให้มารบกวนส่วนของอีกฝ่าย
       
       หนี้สินส่วนตัวก็เรียงร้องเอากับลูกหนี้ได้ ไม่กระจายมาถึงคู่สมรสของลูกหนี้ แต่เจ้าหนี้เข้าก็มีสิทธิจะเรียกร้องเอากับสินสมรสได้ ถ้าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินเงินทองเงินจ่าย เพียงแต่เจ้าหนี้เรียกได้ครึ่งหนึ่งของสินสมรสที่ฝ่ายลูกหนี้มีสิทธิเท่านั้น
       
       ส่วนรายได้ เมื่อได้มาระหว่างแต่งงานก็ถือเป็นสินสมรสไม่ยกเว้นแม้กระทั่งดอกผลของสินส่วนตัว แม้จะออกดอกออกผลภายหลังการแต่งงาน กฎหมายท่านเป็นสินสมรสแม้ว่าการเป็นหุ้นส่วนชีวิตไม่เหมือนกับการเป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ แต่หากไม่คิดไว้ให้รอบคอบก็อาจมีการล้ำขอบเส้นกันได้ ทำให้ชีวิตคู่ไม่เป็นไปอย่างที่ตั้งใจเอาไว้
       
       อย่าเพิ่งถอดใจที่ต้องเตรียมการเอาไว้ก่อนแต่ง คิดเสียว่าเป็นเรื่องที่ต้องวางแผนเอาไว้ ส่วนไหนที่วางไม่ได้ก็ต้องเตรียมใจหรือจะทำใจว่าอาจมีความเสี่ยงของการได้เสีย แต่ทุกอย่างย่อมผ่านไปได้หากความรักที่มีให้กันอยู่บนรากฐานแห่งความเข้าใจ กฎหมายเป็นเพียงข้อมูลเพื่อให้การแต่งงานมีรากฐานที่แข็งแรงเท่านั้น

http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000098681

http://www.bloggang.com


Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง เงิน-ทะเบียนสมรส-พิธี-เรือนหอ ฯลฯ...10 สิ่งที่ควรเคลียร์ก่อนแต่ง
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายสุรงค์ โพชนิกร
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายสุรงค์ โพชนิกร..