.....
ภาษาจีนในภาษาไทย
ส่วนใหญ่ภาษาจีนที่ไทยนำมาใช้มักจะเป็นชื่ออาหาร รองลงไปก็เป็นชื่อที่ใช้ในการค้า ชื่อคน ภาษาจีนจัดเป็นภาษาคำโดเช่นเดียวกับภาษาไทย นั่นคือคำส่วนมากมักเป็นพยางค์เดียว การเรียงลำดับในประโยคมักขึ้นต้นด้วยประธาน ตามด้วยกริยาและกรรม มีลักษณนาม มีเสียงวรรณยุกต์ คำคำเดียวมีหลายความหมาย และมีการใช้คำซ้ำเหมือนกัน ต่างกันแต่วิธีขยายคำหรือข้อความ เพราะว่าภาษาไทยให้คำขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย แต่ภาษาจีนให้คำขยายอยู่หน้าคำที่ถูกขยาย
การใช้คำภาษาจีนในภาษาไทย จีนใช้ภาษาหลายภาษา แต่ที่เข้ามาปะปนภาษาไทยมากที่สุดคือ ภาษาจีนแต้จิ๋ว ซึ่งเป็นภาษาถิ่นของคนจีนแถบซัวเถา คำที่รับมาใช้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับอาหารการกิน คำที่ใช้ในวงการค้าและธุรกิจ และคำที่ใช้ในชีวิตประจำวันบ่อย ๆ
สาเหตุที่ภาษาจีนเข้ามาปะปนในภาษาไทยคือ เชื้อสายและการค้าขาย เพราะมีคนจีนเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก มีความผูกพันกันในด้านการแต่งงาน การค้าขาย จึงรับภาษาจีนมาไว้ใช้ในภาษาไทยจำนวนมาก ไทยรับภาษาจีนมาใช้โดยการทับศัพท์ ซึ่งเสียงอาจจะเพี้ยนจากภาษาเดิมไปบ้าง
ตัวอย่างคำภาษาจีนที่ใช้ในภาษาไทย
เก๋ง กงเต็ก, กงเต๊ก กงสี ก๊วน ก๊ก เก้าอี้ เกี๊ยว กุ๊ย กวนจั๊บ กวยจี๊ ก๋วยเตี๋ยว เกี๊ยะ เสื้อกุยเฮง กางเกงขาก๊วย กอเอี๊ยะ กะลอจี๊ กาน้า (ลูกไม้คล้ายสมอ) กะหล่ำ กังฉิน กุนเชียง กุยช่าย กุนซือ กงสี ขึ้นฉ่าย เข่ง เขียม ขิม งิ้ว เจ๊ง เจ๋ง เจ๊า เจี๋ยน โจ๊ก เจ๊ก เจ จังกัง จับฉ่าย จับเจี๋ยว (หม้อดินเล็ก ๆ มีพวยจับ) จับยี่กี ขนมจ้าง จิ้วก้อง (จิ้นก้อง) (การให้ของกำนัล) แฉ ฉาง เฉาก๊วย เฉ่ง แชบ๊วย แซยิด ซวย แซ่ ซี๊ซั๊ว เซียมซี ซินแส ซูฮก ซูเอี๋ย เซ้ง ซีอิ๊ว เซ็งลี้ โต้โผ ตั้วโผ ไต้ก๋ง เต้าเจี้ยว เต้าหู้ เต้าฮวย เต้าทึง เต้าส่วน ไต้ก๋ง โรงเตี๊ยม โต๊ะ เตียง ต๋ง ตู้ ตุ๋น ตุน ตงฉิน ตะหลิว บะหมี่ บะฉ่อ บ๊วย ปุ๋ย บุ้งกี๋ โป๊ะ แป๊ะเจี๊ยะ โป๊ยเซียน ผ้าผวย โพย โพงพาง หมึก หมวย หมวยเกี๊ยะ หยวน ลิ้นจี่ เสี่ย ห้าง หวย หุ้น หุน โอเลี้ยง อั้งโล่ อาโก