หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายสุรงค์ โพชนิกร
จากจังหวัด ศรีสะเกษ

>>>ต้องมนต์ตรา ?จำปาสัก? (จบ) ตอน: มรดกโลกวัดพู ความงามคู่เมืองลาว<<<
โพสต์เมื่อวันที่ : 24 ส.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6899 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(25.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ .
      

เรือวัดพู
       “มหานที สี่พันดอน” คือชื่อเรียกแม่น้ำโขงในลาวใต้ แขวงจำปาสัก ช่วงที่สายน้ำโขงไหลมาเจอดอน(เกาะในภาษาไทย)และแก่งจำนวนมาก สายน้ำจึงกระจายขยายเป็นบริเวณกว้างใหญ่ ในพื้นที่นี้มีเกาะแก่งมากมาย จนคนลาวเรียกขานให้เป็นดินแดน “สี่พันดอน” ซึ่งคนไทยมักเรียกว่า “มหานที สีทันดร”
       
       บริเวณสี่พันดอน มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญคือน้ำตกคอนพะเพ็ง“ไนแองการ่าเอเชีย”อันลือลั่น และดอนเดด ดอนคอน ที่มีรอยอดีตในยุคฝรั่งเศสปกครอง รวมถึงน้ำตกโสมพะมิดหรือหลี่ผี ซึ่งหลังจากจบโปรแกรมการเที่ยวคอนพะเพ็ง ดอนเดด ดอนคอน(นำเสนอไปในตอนที่แล้ว) พี่บุญเลียบ ไกด์รุ่นใหญ่ชาวลาวพาผมและคณะนั่งเรือเล็กทวนสายน้ำโขงลัดเลาะไปตามสี่พันดอน เพื่อไปขึ้นเรือใหญ่“วัดพู แม่โขง ครุยส์” หรือ“เรือวัดพู” เรือท่องเที่ยวล่องแม่น้ำโขงเจ้าแรก ที่บนเรือมีสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวพร้อมสรรพ ทั้งที่พักแอร์เย็นฉ่ำ ห้องอาหาร เคาน์เตอร์บาร์ โถงนั่งเล่น ให้พวกเราได้เพลิดเพลินกับการล่องแม่น้ำโขงในโปรแกรม 2 วันที่เหลือ
       
       คืบก็โขง ศอกก็โขง
       
       การเดินทางล่องโขงอย่างจริงจังเริ่มขึ้นหลังจากที่พวกเรานอนพักเอาแรงบนเรือวัดพูไปหนึ่งคืน(ยามนอนเรือจอดนิ่งอยู่กับที่)
       
       สำหรับเช้าวันนี้เป็นการล่องเรือมาราธอนท่องแม่น้ำโขง โดยช่วงสายของวันเราไปแวะยัง“บ้านเดื่อเตี้ย” ที่ยังคงวิถีชนบทของชาวลาวไว้ให้ผู้สนใจได้สัมผัสกัน ชาวบ้านที่นี่ ยิ้มแย้ม เปี่ยมมิตรไมตรี ส่วนใหญ่ทำนา เลี้ยงสัตว์ และทำประมงเป็นหลัก นับเป็นวิถีอันเรียบง่ายแต่ดูมีเสน่ห์อยู่ในที

เรือประมงพื้นบ้านของชาวบ้านเดื่อเตี้ย
       จากบ้านเดื่อเตี้ย เรือวัดพูล่องยาวขึ้นไปทางเหนือ ระหว่างทางใน 2 ฟากฝั่งโขงมีวิถีสีวันของบ้านเรือน วัด ชุมชน ริมโขงให้ชมกันเป็นระยะๆ ที่พิเศษคือช่วงที่เรือแล่นผ่านหมู่บ้าน จะมีเด็กๆวิ่งมาตะโกน ทักทาย(สะบายดี) โบกไม้โบกมือให้แก่เรือผู้ผ่านทาง เรียกรอยยิ้มให้กับคนบนเรือไปตามๆกัน
       
       สำหรับเส้นทางล่องแม่น้ำช่วงนี้ เรือวัดพูล่องยาวในบรรยากาศคืบก็โขง ศอกก็โขง แต่ก็ได้บรรยากาศไปอีกแบบ ก่อนที่เรือจะไปหยุดเทียบท่าที่บ้านโต๊ะโมะทา เพื่อเทียบท่าให้สมาชิกได้ขึ้นเรืออีกครั้งเดินยืดเส้นยืดสายชมหมู่บ้าน และ “วัดอุโมงค์” ที่อยู่ห่างจากท่าเทียบเรือไปประมาณ 1 กม.
       
       ที่บ้านโต๊ะโมะทา เพียงแค่เดินขึ้นฝั่ง ผมเจอสาวลาวนุ่งกระโจมอาบน้ำให้ต้องเหลียวหน้าไปมอง สาวบางคนเขินอาย บางคนส่งยิ้มทักทาย ครั้นพอเดินเข้าหมู่บ้านที่มีบรรยากาศคล้ายบ้านเดื่อเตี้ย ได้เห็นถึงวิถีชีวิตยามเย็นของคนที่นี่ บางบ้านนำปลาที่จับได้มาคัดแยก บางบ้านพาลูกๆออกมาเดินเล่น บางบ้านตั้งวงสนทนา บางบ้านตั้งวงก๊งเบียร์สาว ดูแล้วเพลิดเพลินดี

วัดอุโมงค์
       จากนั้นพี่บุญเลียบพาเดินไปยังวัดอุโมงค์ที่อยู่ลึกเข้าไปในป่าละเมาะ วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่กว่าวัดพูเสียอีก สร้างขึ้นราวๆ ค.ศ.7 เป็นลักษณะปราสาทขอม(ชาวลาวมักเรียกว่าวัด)โบราณก่อนยุคพระนคร มีสภาพทรุดโทรมเพราะขาดการบูรณะ แต่กระนั้นก็ยังมีร่องรอยอดีตหลงเหลือ อาทิ ทับหลังสลักลวดลายดอกไม้ กลีบขนุนพญานาค 5 เศียร โดยห้วยโต๊ะโมะเป็นบาราย(สระน้ำ)ธรรมชาติอยู่ข้างๆปราสาท
       
       พี่บุญเลียบบอกว่า การเที่ยววัดอุโมงค์เป็นการอุ่นเครื่องการชมปราสาทขอม ก่อนที่จะไปชมไฮไลท์ ณ ปราสาทวัดพูในวันรุ่งขึ้น
       
       มรดกโลกวัดพู
       
       วันที่ 4 ในลาว ราวแปดโมง เรือวัดพูล่องทวนสายน้ำโขงมุ่งหน้าขึ้นเหนือต่อไป
       
       สำหรับเช้านี้เรามีจุดหมายหลักอยู่ที่ “ปราสาทวัดพู” ในเมืองจำปาสัก อดีตเมืองหลวงของลาว และอดีตเมืองเอกของแขวงจำปาสัก

ชาวบ้านออกเรือหาปลาในลำน้ำโขง
       เมื่อเรือขึ้นเทียบท่าที่จำปาสัก พี่บุญเลียบพาไปรู้จักวัดพูคร่าวๆที่ศูนย์ข้อมูลของยูเนสโกกันพอหอมปากหอมคอ จากนั้นเป็นการนั่งรถ 2 แถวลาว มุ่งหน้าสู่ปราสาทวัดพูที่พอไปถึงพี่บุญเลียบพาไปดูของเก่าในพิพิธภัณฑ์ก่อน ซึ่งโบราณวัตถุที่นี่ เป็นสิ่งของจากปราสาทวัดพูนำมาจัดแสดง ในนั้นมีของเก่าที่เด่นๆอย่าง ทับหลัง เสา รูปเคารพต่างๆ ศิวลึงค์
       
       เสร็จจากชมพิพิธภัณฑ์ ทีนี้ถึงช่วงเวลาไฮไลท์กับการเดินขึ้นวัดพู มรดกโลก 1 ใน 2 ของลาว(อีกแห่งหนึ่งคือเมืองหลวงพระบาง) ที่ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนในปี พ.ศ. 2545
       
       พี่บุญเลียบอธิบายว่า วัดพูมีจุดเด่นอยู่ที่เป็นปราสาทขอมที่สร้างก่อนนครวัด มีชัยภูมิที่ตั้ง คือตั้งอยู่บน "พูเก้า" (ภูเกล้า) ภูเขาที่ชาวลาวมองคล้ายผู้หญิงเกล้ามวยผมแต่ฝรั่งมองคล้ายยอดปทุมถันของสตรี เขาพูเก้าเป็น"ลึงค์บรรพต" คือภูเขาที่มีลักษณะตามธรรมชาติคล้ายศิวลึงค์ ซึ่งชาวขอมโบราณเชื่อว่าเป็นที่สถิตของเทพมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้เหนือตัวปรางค์ประธานของปราสาทวัดพูยังมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ ที่เมื่อขึ้นไปถึงคงจะได้ลองลิ้มรสกัน

ทางเดินเสานางเรียง
       สำหรับความเป็นมาของการสร้างวัดพูนั้น เรื่องคร่าวๆมีอยู่ว่า ในอดีตก่อนที่อาณาจักรขอมจะเรืองอำนาจสุดขีดในยุคพระนคร(มีนครวัดและนครธมเป็นผลงานชิ้นเอก) ขอมโบราณแบ่งเป็น 2 อาณาจักร คือ เจนละน้ำ (อยู่บริเวณเขมรตอนกลางกับตอนล่างในปัจจุบัน )กับเจนละบก(พื้นที่ตั้งแต่อุบลราชธานี บุรีรัมย์ จำปาสัก ไล่ไปจนถึงเขมร)
       
       เจนละบกยุคนั้น(ราว 1,300 ปีก่อน) นับถือศาสนาฮินดู ไศวนิกาย ที่บูชาพระศิวะเป็นเทพสูงสุด จึงสร้างวัดพูขึ้นเป็นศาสนสถานสำคัญ บูชาพระศิวะ โดยสร้างศิวลึงค์ที่เปรียบดังตัวแทนขององค์ศิวเทพไว้ที่ใจกลางปรางค์ประธาน
       
       ยุคนั้นศาสนสถานแห่งนี้มีสถานะเป็นปราสาทเพราะขอมเป็นผู้สร้าง แต่ครั้นสิ้นยุคเจนละ ชาวลาวนับถือพุทธที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณ ได้ปรับเปลี่ยนปราสาทขอมให้เป็นวัดในพุทธศาสนา พร้อมเปลี่ยนศิวลึงค์ในปรางค์ประธานเป็นองค์พระประธานแทน
       
       มาวันนี้คืนเปลี่ยนวันผ่าน กาลเวลาล่วงเลยมาพันกว่าปี แต่วัดพูยังหลงเหลือรอยอดีตอันรุ่งโรจน์ให้ชมอยู่มากมายสมดังมรดกโลก ไล่ไปตั้งแต่บาราย(สระขุด)ขนาดใหญ่ก่อนถึงทางขึ้น ถัดไปเป็นปราสาทใหญ่ 2 หลังซ้ายขวา เชื่อว่าเป็นที่พักผู้แสวงบุญที่มาสักการะวัดพู แบ่งเป็น หอเท้า ขวา-ผู้ชาย หอนาง ซ้าย-ผู้หญิง

ปราสาทประธาน วัดพู
       เมื่อเดินต่อไปเป็นทางเดิน“เสานางเรียง” ตั้งบ้าง ล้มบ้าง สมบูรณ์บ้าง หักบ้าง เรียงราย 2 ข้างทาง ทอดยาวนำสายตาสู่ยอดพูเก้า ระหว่างทางเดินขึ้นปราสาทประธาน มีต้นจำปา(ลั่นทมหรือลีลาวดี)อายุนับร้อยปีขึ้นประดับ 2 ฟากฝั่ง
       
       เหนือขึ้นไปจากนั้น ณ จุดพักกลางทาง มีรูปเคารพซึ่งชาวลาวเชื่อว่าเป็น“พญากรมทา” ผู้เปลี่ยนศาสนสถานแห่งนี้จากปราสาทมาเป็นวัด จึงมีเครื่องบายศรี ธูป เทียน จำนวนหนึ่งวางสักการะอยู่ที่แท่นหน้ารูปเคารพ
       
       และแล้วเส้นทางก็นำมาถึงยังตัวปราสาทประธานบนภูเขา มีลักษณะเป็นปราสาทขนาดย่อม มีความเป็นพุทธและฮินดูอยู่คู่กัน

ลายสลักทับหลังพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ
       ความเป็นฮินดู ดูได้จากคติความเชื่อในการวางผัง การสร้างปราสาทและรูปสลักต่างๆ อาทิ รูปนางอัปสร รูปทวารบาล รูปพระศิวะ รูปพระนารายณ์ รูปหน้ากาล ส่วนความเป็นพุทธ ดูได้จากตัวปราสาทที่มีพระประธาน และพระพุทธรูปองค์เล็กๆ อยู่ภายใน ให้สักการะบูชา เป็นโบสถ์ที่ดัดแปลงจากปราสาทอย่างลงตัว
       
       สำหรับลวดลานสลักหินประดับที่นี่ต้องถือว่าสมบูรณ์ทีเดียว ทั้งทวารบาล นางอัปสรา ลวดลายทับหลัง โดยเฉพาะรูปสลักพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณบนทับหลังชั้นในทางเข้าโบสถ์สมบูรณ์มาก ช่างโบรารสลักได้อย่างถึงอารมณ์ กว้านเนื้อหินเข้าไปจนลึก ทำให้รูปสลักลอยนูนเด่นขึ้นมาดูงดงามนัก
       
       ของดีที่วัดพูยังไม่หมด หากเดินไปที่ด้านหลังปรางก์ประธานจะเห็นรูปสลักหินนูนต่ำเทพ 3 องค์แห่งศาสนาฮินดู คือ พระศิวะ(กลาง) พระพรหม(ซ้าย) พระวิษณุ(ขวา) ให้เคารพสักการะกัน จากนั้นเดินออกซ้ายไปใต้ชะง่อนผา จะน้ำธรรมชาติหยดติ๋งๆลงมาจากพูเก้า ซึ่งชาวลาวเชื่อกันว่านี่คือน้ำศักดิ์สิทธิ์(อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น) ใครได้ดื่มกินล้างหน้าล้างตา ก็จะเสริมสิริมงคลให้กับชีวิต

ทิวทัศน์ด้านล่างของทางขึ้นปราสาทวัดพู
       เรื่องนี้จะจริงหรือเท็จประการใด ไม่สามารถพิสูจน์ได้ แต่ว่าการได้น้ำธรรมชาติเย็นๆลูบหน้าลูบตา มันช่วยให้ร่างกายสดชื่นขึ้นมามากโข และมีแรงเดินต่อไปชมหินรูปช้าง และหินขุดรูปจระเข้ที่เชื่อว่าใช้ในพิธีบูชายัญของคนโบราณเป็นสิ่งน่าสนใจปิดท้ายบนวัดพู ก่อนที่ผมล่ำลาจากวัดพูเดินผ่านปราสาทประธานอีกครั้ง
       
       ณ จุดนี้เมื่อมองลงไปสวนทางกับขาเดินขึ้นมา ในช่วงหน้าฝนอย่างนี้จะเห็นทิวทัศน์เบื้องเป็นทุ่งนาเขียวขจี มีปราสาทที่พัก 2 หลังตั้งเด่น เลยไปเป็นบารายใหญ่ใช้เพื่อการเกษตร นับได้ว่าคนโบราณช่างคิดสร้างสรรค์ในการสร้างศาสนสถานให้สัมพันธ์กับชุมชนได้ดีทีเดียว

ทิวทัศน์แม่น้ำโขง มองจากยอดภูงอย
       ปากเซ
       

       ลงจากวัดพูพี่บุญเลียบ พาเที่ยวอีก 2 วัดในเมืองเก่าจำปาสักและพาชมอดีตวังเก่า ก่อนกลับมาขึ้นเรือมุ่งหน้าสู่เมืองปากเซ
       
       ระหว่างทางช่วงเย็นก่อนถึงปากเซ ผมและคณะไปแวะที่เชิง“ภูงอย”แล้วเดินขึ้นบันไดหลายร้อยขึ้นขึ้นไปชมวิวแม่น้ำโขงบนยอดภูงอย(วัดภูงอย) เห็นวิวอันงดงามของลำน้ำโขง ก่อนเดินทางกลับมาขึ้นยังเมืองปากเซ อันถือเป็นการปิดทริปเที่ยวจำปาสัก เมืองที่กำลังบูมทางการท่องเที่ยว โดยเฉพาะกับเมืองเอกของแขวงอย่างปากเซนั้น กำลังโตวันโตคืน ซึ่งนับว่าน่าติดตามยิ่งว่าในอนาคตเมืองปากเซจะเติบโตไปในทิศทางใด...

       ****************************************
       
       จำปาสัก เป็นแขวงทางตอนใต้สุดของลาว มีเมืองปากเซเป็นเมืองเอก อยู่ห่างจากชายแดนไทยประมาณ 50 กม. จากเมืองไทยสามารถเดินทางสู่จำปาสักได้อย่างสะดวกสบายที่ด่านชายแดนช่องเม็ก(อุบลราชธานี)-วังเต่า(ฝั่งลาว) ซึ่งผู้ที่ต้องการเที่ยวจำปาสักพร้อมล่องเรือสัมผัสแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชิดด้วยการเที่ยว กิน และนอนบนเรือ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ ทรอปิคอล สตาร์ ทราเวล โทร. 0-25134996,0-2513-4913 หรือที่ แม่โขง ครุยส์(ประเทศไทย) โทร.0- 2689-0429-30


http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000096409

 เพลง : ดวงจำปา
ขับร้อง : คาราวาน

 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=18567

 
 


 
 

http://www.looktungindy.com/forum/index.php?topic=92.0

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง >>>ต้องมนต์ตรา ?จำปาสัก? (จบ) ตอน: มรดกโลกวัดพู ความงามคู่เมืองลาว<<<
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายสุรงค์ โพชนิกร
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายสุรงค์ โพชนิกร..