หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

ประวัติความเป็นมา ความหมายของ...ภูมิสถาปัตยกรรม...ในประเทศไทย
โพสต์เมื่อวันที่ : 20 ส.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6899 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(35.00%-12 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

ภูมิสถาปัตยกรรม

.....

[แก้] ลักษณะโดยรวม

งานของภูมิสถาปนิกอาจครอบคลุมตั้งแต่การสรรค์สร้างสวนสาธารณะและถนนอุทยานไปจนถึงการวางผังบริเวณกลุ่มอาคารสำนักงาน จากการออกแบบที่พักอาศัยไปจนถึงการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานของเมืองและการจัดการพื้นที่ธรรมชาติขนาดใหญ่ หรือการฟื้นฟูภูมิทัศน์ที่เสียหาย เช่น เหมืองแร่เก่า บริเวณฝังกลบขยะ ภูมิสถาปัตยกรรมทับซ้อนกับการจัดสวน ก็จริง แต่จะเป็นงานวิชาชีพที่มีปัจจัยพิจารณาในการออกแบบและมีขอบเขตกว้างขวางกว่า

ภูมิสถาปนิกทำงานในพื้นที่ภายนอกอาคารเกือบทุกชนิดและพื้นบางส่วนภายในหรือบนดาดฟ้าอาคาร ทั้งใหญ่และเล็ก ในเมืองและชนบท ทั้งด้วยวัสดุ “แข็ง” (hardscape) / “นุ่ม” (softscape) ภูมิสถาปนิกทำงานครอบคลุม:

  • รูปทรง ขนาดส่วนและการวางผังโครงการใหม่
  • งานที่พักอาศัยส่วนบุคคลและงานสาธารณะ
  • การออกแบบผังบริเวณโรงเรียน มหาวิทยาลัยและโรงแรม
  • สวนสาธารณะ สนามกอล์ฟ สวนสนุกและสนามเล่นกีฬาต่างๆ
  • บริเวณโครงการเคหะ นิคมอุตสาหกรรมและโครงการเชิงการค้า
  • ทางหลวง โครงสร้างทางการขนส่ง สะพานและทางผ่าน
  • ลานเมืองและลานชุมชนและระบบทางเดินเท้า
  • โครงการฟื้นฟูชุมชนเมืองขนาดเล็กและใหญ่
  • ป่า แหล่งท่องเที่ยว ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์ และการประเมินทางภูมิทัศน์หรือการศึกษาด้านการอนุรักษ์
  • ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (Cultural Landscape)
  • อ่างเก็บน้ำ เขื่อน สถานีไฟฟ้า บ่อขุดวัสดุทางอุตสาหกรรมหรือโครงการทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมทั้งบริเวณบริการนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
  • การประเมินสภาพแวดล้อม การให้คำปรึกษางานวางแผนภูมิทัศน์และการทำข้อเสนอในการจัดการผืนแผ่นดิน
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งและเกาะ

คุณค่าที่สำคัญที่สุดของภูมิสถาปัตยกรรมมักเกิดขึ้นในช่วงแรกของการวางผังแม่บทโครงการ ช่วงที่อยู่ในระหว่างการระดมความคิดในการกลั่นกรองสิ่งที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์การใช้สอยพื้นที่ ภูมิสถาปนิกสามารถให้แนวคิดรวมและจัดเตรียมผังหลักเบื้องต้นที่แสดงให้เห็นรายละเอียดได้ชัดเจนและง่ายที่จะเข้าใจในขั้นต่อๆ มา ภูมิสถาปนิกสามารถจัดทำแบบก่อสร้างประกอบสัญญาจ้าง จัดทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้คำปรึกษา เป็นพยานผู้ชำนาญการในด้านการใช้ที่ดินเชิงนิเวศ นอกจากนี้ภูมิสถาปนิกยังสามารถจัดเตรียมเอกสารใบสมัครเพื่อการจัดหาแหล่งเงินลงทุนสำหรับโครงการด้วย

[แก้] ความชำนาญเฉพาะในงานภูมิสถาปัตยกรรม

นักออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมและวิศวกรสำรวจ เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางกายภาพที่มีอยู่ และที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบทางกายภาพที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เป็นผู้วางแผนผัง กำหนดจัดวาง คาดการณ์การใช้งานอย่างเป็นเหตุ-ผล เป็นผู้ที่รู้ซึ้งถึงความสัมพัน์ระหว่างการจัดวางองค์ประกอบทางธรรมชาติและกิจกรรมให้เกิดประโยชน์ มีความเหมาะสม ทั้งรู้ทรงของพื้นที่ ที่ว่าง ตลอดจนรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งรวมไปถึงงานภูมิทัศน์อ่อน (งานพืชพรรณ เช่น การออกแบบปลูกต้นไม้ และการสรรค์สร้างพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งทุกประเภท บุคคลเหล่านี้ทำงานภาครัฐทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น บางคนอาจทำงานภาคเอกชนหรือทำงานอิสระ รับเป็นที่ปรึกษาส่วนราชการ อุตสาหกรรม พาณิชกรรมและเอกชนรายบุคคล ผู้จัดการภูมิทัศน์ ใช้ความรู้ด้านวัสดุพืชพรรณและสิ่งแวดล้อมธรรมชาติในการให้คำแนะนำในการดูแลรักษาระยะยาวและในการพัฒนาภูมิทัศน์ บุคคลเหล่านี้ทำงานเกี่ยวกับพืชสวน การจัดการสถานที่ ป่า การอนุรักษ์ธรรมชาติและเกษตรกรรม นักวิทยาศาสตร์ภูมิทัศน์ มีทักษะพิเศษเช่น ปถพีวิทยา อุทกวิทยา ภูมิสัณฐาน หรือพฤกษศาสตร์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาในงานภูมิทัศน์ งานของบุคคลเหล่านี้อาจไล่ตั้งแต่การสำรวจบริเวณไปจนถึงการประเมินสิ่งแวดล้อมของบริเวณขนาดใหญ่เพื่อการวางแผนหรือการจัดการ และอาจทำรายงานผลกระทบในโครงการพัฒนาหรือในความสำคัญเฉพาะของพรรณไม้หรือสัตว์บางชนิดในพื้นที่ นักวางแผนภูมิทัศน์ เกี่ยวข้องและดูแลในด้านตำแหน่งที่ตั้ง วิวทิวทัศน์ นิเวศวิทยาและการใช้ที่ดินในเชิงนันทนาการของเมือง ชนบท และพื้นที่ชายฝั่ง งานที่บุคคลกลุ่มนี้ทำรวมถึงการเขียนรายงานด้านนโยบายและยุทธวิธี และลงท้ายด้วยการส่งผังรวมสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ การประเมินและและประมาณค่าพร้อมทั้งการจัดทำแผนการจัดการเพื่อนำไปใช้ในการทำแผนนโยบาย บางคนอาจมีสร้างสมความชำนาญเฉพาะเพิ่มเติม เช่น งานภูมิทัศน์โบราณคดี หรือกฎหมายที่เกี่ยวของกับภูมิทัศน์

[แก้] ประวัติ

มนุษยชาติทั่วโลกต่างก็ได้สร้างสวนมานานนับสหัสวรรษ สวนญี่ปุ่น และสวนสวรรค์เปอร์เซีย สวนสวรรค์เหล่านี้นับเป็นตัวอย่างของสวนประเพณีโบราณ สวนลอยบาบิโลนสร้างโดยพระเจ้าเนบูชาดเนสซาที่ 2 ประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล ในยุโรป เรนาซองส์ได้นำมาซึ่งยุคแห่งการออกแบบที่ยิ่งใหญ่ รวมทั้งสวนเพื่อความปีติต่างๆ เช่น วิลลา เดอเอสเต ที่ ทิโวลิ สวนเรนาซองส์ที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 (พ.ศ. 2043-2243) ได้บรรลุถึงขีดสูงสุดแห่งความยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นผลงานของ อังเดร เลอ โนตร์ ณ วัว เลอ วิกกอง และ แวร์ซาย

ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 (ระหว่าง พ.ศ. 2244-2343) อังกฤษเริ่มเน้นสไตล์ใหม่ของ “สวนภูมิทัศน์” บุคคล เช่น วิลเลียม เคนท์ ฮัมฟรีย์ เรพตัน รวมทั้งโจเซฟ แพกซ์ตัน และผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดอีกคนหนึ่งคือ ลานเซลอต บราวน์ “ผู้สามารถ” ได้แปรเปลี่ยนอุทยานคฤหาสที่ยิ่งใหญ่ของอังกฤษให้กลายเป็นธรรมชาติที่เรียบและสะอาดงดงาม อุทยานเหล่านี้ยังคงเหลือให้ชมในปัจจุบันหลายแห่ง คำว่าภูมิสถาปัตยกรรมในภาษาอังกฤษคือ “Landscape Architecture” ได้ถุกเรียกเป็นครั้งแรกโดยชาวสก็อตชื่อ กิลเบิร์ต เลง มีสัน ในหนังสือชื่อเรื่อง ภูมิสถาปัตยกรรมแห่งจิตรกรรมอันยิ่งใหญ่แห่งอิตาลี (ลอนดอน พ.ศ. 2371) เป็นเรื่องเกี่ยวกับประเภทของสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในภาพเขียนภูมิทัศน์ คำว่า “ภูมิสถาปัตยกรรม” ได้รับการตอบรับนำมาใช้ต่อมาโดย เจซี ลูดอน และเอ.เจ. ดาวนิง สำหรับประเทศไทยเริ่มใช้คำว่า "ภูมิสถาปัตยกรรม" ประมาณ พ.ศ. 2498 เมื่อเริ่มมีการเปิดสอนวิชานี้ในชั้นปีที่ 3 ของหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฺฑิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งเปิดสอนเป็นครั้งแรกโดยอาจารย์จันทรลดา บุณยมานพ ซึ่งจบปริญญาโทด้านภูมิสถาปัตยกรรมจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ สหรัฐอเมริกา

ล่วงสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 (พ.ศ. 2344-2443) การวางแผนชุมชนเมืองเริ่มมีบทบาทสำคัญโดยเป็นการผสมผสานระหว่างการวางแผนสมัยใหม่รวมกับสวนภูมิทัศน์ประเพณี ซึ่งทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมกลายเป็นจุดรวมสำคัญที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเองขึ้น ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษ เฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตด ได้ออกแบบสวนสาธารณะหลายแห่งออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกลายเป็นผลที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมในยุคปัจจุบัน สวนสาธารณะดังกล่าวบางแห่งได้แก่ เซ็นทรัลปาร์ก ในนครนิวยอร์ก พรอสเป็กปาร์ก ใน บรุกลีน และในนครบอสตัน ที่ได้ชื่อเรียกกันว่า ระบบสวนสาธารณะ “สร้อยหยกเขียว”

 

เฟรเดอริก ลอว์ ออล์มสเตด บิดาแห่งภูมิสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

ภูมิสถาปัตยกรรมได้พัฒนาตัวเองมาเป็นสาขาวิชาชีพการออกแบบเฉพาะ ได้สนองตอบต่อขบวนการออกแบบและสถาปัตยกรรมตลอดช่วงเวลาในคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พ.ศ. 2444-2543) ปัจจุบัน การค้นคิดสิ่งใหม่ๆ มีผลให้การแก้ปัญหาทางภูมิสถาปัตยกรรมในทางที่ก้าวหน้าขึ้นสำหรับในงานภูมิทัศน์ถนน สวนสาธารณะและอุทยาน ผลงานของ มาร์ธา ชวาท์ส ในสหรัฐฯ และในยุโรป เช่น ชูเบิร์กปลิน ในรอตเตอร์ดาม เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ

[แก้] ประวัติความเป็นมาของภูมิสถาปัตยกรรมในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมาของภูมิสถาปัตยกรรมของประเทศไทยไม่เป็นที่ชัดเจนนัก อาจเป็นด้วยหลักฐานทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีถูกทำลายในในสงครามไทย-พม่าที่กรุงศรีอยุธยาโดยเฉพาะเมื่อ พ.ศ. 2310 ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงสมัยสุโขทัยกล่าวไว้เพียงการปลูกต้นไม้เชิงเกษตรกรรมไว้เบื้องเหนือเบื้องใต้ มีกล่าวถึงตระพังหรือสวนน้ำไว้บ้างแต่ไม่พรรณนารูปแบบและความสวยงาม

บาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับสวนในสมัยพระนารายณ์มหาราชไว้พอควร ว่ามีชาวต่างประเทศนำพรรณไม้แปลกๆ มาถวาย และทรงลงมือทำสวนด้วยพระองค์เองในพระราชวังลพบุรี ไม่กล่าวถึงรูปแบบและความสวยงามที่มีนัยสำคัญไว้เช่นกัน

สมัยต้นรัตนโกสินทร์มีการนำรูปแบบสวนจีนมาสร้างในพระบรมมหาราชวังและวัดสำคัญ เรียกว่าเขามอ มีการสร้างสวนซ้ายสวนขวา เริ่มมีการสร้างสวนเพื่อความปีติในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสวนและมีรูปแบบของสวนปรากฏชัดเจนขึ้น มีการนำรูปแบบสวนยุโรปซึ่งกำลังผ่านความรุ่งเรืองของยุคเรนาซองส์ โดยมีนายช่างฝรั่งที่เข้ามารับราชการ เช่น นายเฮนรี อาลบาสเตอร์ หรือพระเศวตศิลา ต้นตระกูลเศวตศิลารวมทั้งคนอื่นๆ มาเป็นผู้ออกแบบและก่อสร้างสวนหลายแห่ง อุทยานสราญรมย์เป็นตัวอย่างสวนที่ยังหลงเหลือและได้รับการบูรณะให้สวยงามในปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอาจเป็นผู้ให้กำเนิดการผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมเป็นพระองค์แรกก็ว่าได้ พระราชหัตถ์เลขาถึงเจ้าพระยาวรพงศ์ระหว่าง พ.ศ. 2444-2452 เป็นข้อพิสูจน์ได้เป็นอย่างดีว่าพระองค์ทรงเชี่ยวชาญในงานทั้งสองสาขานี้อย่างไร ทรงรู้จักต้นไม้ พร้อมทั้งชื่อและอุปนิสัยพรรณไม้ต่างๆ ที่ใช้ปลูกทั้งในสวนและในเมืองนับได้เกือบร้อยชนิด

งานสวนและสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลยุโรปในรัชกาลที่ 4-5 ได้ต่อเนื่องมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 และ 7 เช่น วังฤดูร้อนต่างๆ เป็นต้นว่า พระราชวังบ้านปืน และพระตำหนักมฤคทายวัน เพชรบุรี วังสนามจันทร์ นครปฐมและวังไกลกังวล เป็นต้น รูปแบบของสวนไม่เป็นที่เด่นชัดว่ามีรูปแบบอย่างไร กล่าวกันว่าเป็นงานประกอบที่ทำโดยสถาปนิกชาวยุโรปผู้ออกแบบและก่อสร้างอาคาร ซึ่งอาจมีรูปแบบที่สวยงามแต่ได้ถูกแปรเปลี่ยนไปโดยกาลเวลา

สวนและงานภูมิสถาปัตยกรรมได้หยุดนิ่งมาตั้งแต่ยุคเศรษฐกิจโลกตกต่ำในปลายรัชกาลที่ 7 และเริ่มขยับตัวขึ้นใหม่ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ที่เริ่มพัฒนาประเทศและสมัยเริ่มสงครามเวียดนาม การใช้ประเทศไทยเป็นฐานทัพแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ ทำให้มีความต้องการบ้านเช่าที่มีสวน ต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนสร้างโรงแรม เช่น โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเน็นตัล (ปัจจุบันถูกรื้อกลายเป็นศูนย์การค้าสยามพารากอน) และโครงการเงินกู้ได้เผยโฉมของภูมิสถาปัตยกรรมให้ปรากฏ ช่างจัดสวนไทยจึงได้เคยเห็นและรู้จักวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมที่เป็นสากลเป็นครั้งแรก ในขณะเดียวกัน เทศบาลนครกรุงเทพฯ ก็ได้เริ่มรณรงค์จัดสวนตามมุมต่างๆ ของถนน เรียกว่า “สวนหย่อม” โดยเลียนแบบ “สวนญี่ปุ่น” ซึ่งเป็นที่นิยมมากในสมัยนั้น

การเร่งรัดพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่จะต้องเร่งแก้ไขทำให้ภูมิสถาปัตยกรรมได้รับการยอมรับมากขึ้นในประเทศไทย

[แก้] วิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรม

ภูมิสถาปนิกถือว่าเป็นนักวิชาชีพในลักษณะเดียวกันกับแพทย์และนักกฎหมายเนื่องจากบุคคลเหล่านี้ จะต้องได้รับการศึกษาเป็นการพิเศษเฉพาะและจะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเช่นเดียวกับผู้ประกอบวิชาชีพอื่น

ในสหรัฐฯ และที่อื่นๆ การเข้าสู่สายวิชาชีพจะต้องผ่านการศึกษาเล่าเรียนขั้นสูง ผ่านการฝึกหัดงานและผ่านการสอบรับใบอนุญาต ทั้งนี้เพื่อเป็นการปกป้องประโยชน์แห่งสาธารณชนจากความเสียหายที่อาจได้รับจากผู้ไม่มีความรู้ความสามารถและไม่มีจรรยาบรรณ ผู้ปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมจะรวมตัวกันตั้งสมาคมวิชาชีพขึ้นเพื่อร่วมกันจรรโลงสาขาวิชาชีพแห่งตนให้เข้มแข็ง ในสหรัฐฯ คือสมาคมภูมิสถาปนิกอเมริกัน (American Society of Landscape Architects - ASLA) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2442 นับเป็นสมาคมวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมแห่งแรกของโลก

ประเทศไทยได้ก่อตั้ง “สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย” Thai Association of Landscape Architects-TALA เมื่อ พ.ศ. 2530 หลังสหรัฐฯ 88 ปี การควบคุมวิชาชีพกระทำโดยใช้กฎหมายบังคับให้ผู้ปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

อาจกล่าวได้วิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทยที่มีการออกแบบเฉพาะโดยภูมิสถาปนิกโดยตรง และมีการแยกสัญญาจากงานสถาปัตยกรรมเริ่มเมื่อประมาณ พ.ศ. 2515 โดยข้อกำหนดของธนาคารโลกในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาวิทยาเขตใหม่ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่บ่งให้ใช้ภูมิสถาปนิก

ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสำนักงานภูมิสถาปนิกมากกว่า 30 แห่ง วิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมของประเทศไทยอยู่ภายใต้การควบคุมของสภาสถาปนิกตาม พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 ซึ่งใช้แทนพระราชบัญญัติควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2508

[แก้] การศึกษาด้านภูมิสถาปัตยกรรม

สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกในโลกที่เปิดสอนวิชาภูมิสถาปัตยกรรมในระดับมหาวิทยาลัย โดยเปิดสอนระดับปริญญาตรี เมื่อ พ.ศ. 2443 ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด รัฐแมสซาชูเซตส์ ปัจจุบันได้มีการเปิดสอนในเกือบทุกประเทศในโลก จากการสำรวจของสหพันธ์ภูมิสถาปนิกนานาชาติ (IFLA) เมื่อ พ.ศ. 2547 พบว่ามีสถาบันระดับมหาวิทยาลัย 204 แห่งใน 43 ประเทศของโลก (ที่ส่งแบบสอบถามกลับ) [1] ที่เปิดสอนวิชาภูมิสถาปัตยกรรมระดับวิชาชีพปริญญาตรี โทและเอก รวมทั้งปริญญาตรีก่อนวิชาชีพหลักสูตร 4 ปี (Pre-professional degree)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนวิชาภูมิสถาปัตยกรรมระดับปริญญาตรีหลักสูตร 5 ปีเป็นแห่งแรกในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ในปี พ.ศ. 2521 ปัจจุบัน ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรมในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิตออกไปรับใช้สังคมแล้วมากกว่า 25 รุ่น หรือประมาณ 500 คน ต่อมาได้มีการเปิดสอนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ และที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาตรีวิชาชีพหลักสูตร 5 ปีเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีการเปิดสอนระดับปริญญาโทเพิ่มขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

[แก้] หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต (ภูมิสถาปัตยกรรม) แห่งแรกของประเทศไทย

ปัจจุบันคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดหลักสูตรด้านภูมิสถาปัตยกรรมในระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี เป็นที่แรกของประเทศไทยแล้วเพื่อเพิ่มทางเลือกทางการศึกษาสาขานี้ให้มีความหลากหลายขึ้น โดยจะเปิดรับนักศึกษาในปีการศึกษา พ.ศ. 2550 เป็นปีแรก

[แก้] อ้างอิง
 
อาคารเรียนในมหาวิทยาลัยที่น้ำหวานเรียน ตัวอาคารปลูกไม้เลื้อย
ใบคล้ายๆ เมเปิ้ล ในฤดูหนาวเปลี่ยนเป็นสีแดงสวย

[แก้] ดูเพิ่ม

 
ระเบียง
ลดาพรรณ โชคไชยกุล
 
 

ลูกไม้ใต้ต้นเล่าเรื่องต่างถิ่น
 
‘น้ำหวาน - ลดาพรรณ โชคไชยกุล’ เป็นลูกไม้ใต้ต้นอีกคนหนึ่งของสวนเจริญสุข และ Garden Ideas (คุณรัตนา จำปาเทศ และ คุณสมบัติ โชคไชยกุล) ซึ่งเราได้นำเสนอพี่สาวแสนสวย น้ำผึ้ง - จันทร์ลดา เป็นแขกรับเชิญ Garden Lover เมื่อต้นปีที่แล้ว ปีนี้สาวน้อยน้องเล็กของครอบครัวที่เรียกได้ว่าทุกคนคลุกคลีอยู่กับวงการสวน ได้บินไกลไปเรียนต่อด้าน Urban Planning & Design ถึงกรุงสตอก โฮล์ม ประเทศสวีเดน หลังจบจากสถาปัตยกรรม-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และเมื่อต้นปีเธอกลับมาเมืองไทยในช่วงเวลาสั้นๆ เราจึงได้แลกเปลี่ยน พูดคุย และขอให้เธอเล่าบรรยากาศของคนรักสวนที่โน่นให้เราฟังบ้าง 
 
คนสวีดิชกับธรรมชาติ
คนเขาสนใจธรรมชาติมาก เรียกได้ว่าหลงใหลเลยค่ะ อย่างบางทีเดินไปที่สถานีรถใต้ดิน จะเห็นคนถือต้นกล้วยไม้กันทั้งนั้น เขาซื้อกลับไปตั้งที่บ้าน กล้วยไม้หวายแบบบ้านเรานี่แหละค่ะ และที่นั่นสวนสาธารณะก็เยอะมาก ส่วนใหญ่จะมีร้านกาแฟเก๋ๆ ให้นั่ง บรรยากาศโรแมนติกมาก ส่วนหนึ่งเพราะสวีเดนเป็นเมืองที่มีน้ำเยอะ เรียกว่าเป็นเวนิสของนอร์ดิก ซึ่งเมื่อแลนด์ สเคปติดน้ำ ก็เอื้ออำนวยในการพักผ่อน ให้ความสวยงาม และสวนสาธารณะก็จะติดน้ำโดยธรรมชาติ
 
Allotment Garden
คนที่นี่ส่วนใหญ่อยู่ในคอนโดฯหรืออพาร์ตเมนต์ โดยเน้นพักผ่อน ที่สวนสาธารณะ และแต่ละครอบครัวก็จะมาเช่าพื้นที่ที่รัฐบาลจัดให้เป็น Allotment Garden บางคนปลูกสวนสวยๆ บางคนปลูกผัก แล้วเขาก็จะดีไซน์ที่เก็บเครื่องมือ ที่เก็บเก้าอี้ พอเสาร์-อาทิตย์ออกมาปิกนิก มาบาร์บีคิว หรือมาปลูกมะเขือเทศ ปลูกสตรอเบอร์รี่ หวานชอบไปเดินดู บางทีเราเห็นดีไซน์ที่เก็บของก็คิดว่ายังมีช่องว่างทางการตลาดให้เราได้ออกแบบอะไรเล่นอีกเยอะค่ะ
 
น้ำหวานกับ Garden Ideas
ในช่วงที่ไปเรียน ว่างๆ หวานก็จะช่วยพี่ผึ้งรีเสิร์ชเรื่องเฟอร์นิเจอร์ค่ะ เดินดูสวนสาธารณะ ดูงานดีไซน์ต่างๆ ดูฟีลลิ่ง ดูว่าเขาคิดยังไง เพราะอย่างที่เรารู้กันว่า ประเทศสวีเดนแทบจะกำหนดดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ของโลกเลย หวานจะถ่ายภาพแล้วส่งมาให้ บางทีคุณพ่อก็ส่งงานให้ช่วยคิดคอนเซ็ปต์ แลกเปลี่ยนไอเดียกันค่ะ ส่วนระยะยาวนั้น หวานคิดว่าถ้ากลับมา หวานจะจับโปรเจ็กต์ที่เป็นขนาดใหญ่ขึ้น อาจเป็นโครงการหรืออะไรที่น่าสนใจ ส่วนพี่ผึ้งก็จะไปจับเรื่องเฟอร์นิเจอร์หรือเรื่องสวนเป็นหลักค่ะ 
 
สวนโมเดิร์นคือสิ่งที่ชอบ
หวานชอบสวนค่อนข้างโมเดิร์น มีต้นไม้ มีหิน มีกรวด มีองค์ประกอบน่ารักๆ เป็นตัวเด่น และมีตัวรองนิดหน่อย ชอบแบบเรียบๆ ดูแลง่ายๆ
 
สวนโอบอุ้มชีวิต
สวนคือสิ่งที่โอบอุ้มชีวิตค่ะ เพราะครอบครัวหวานทำธุรกิจเกี่ยวกับสวนมาโดยตลอด สวนเป็นส่วนสำคัญในชีวิต เป็นที่พักผ่อน ทำให้สบายตา สบายใจ
 
 
อาคารเรียนในมหาวิทยาลัยที่น้ำหวานเรียน ตัวอาคารปลูกไม้เลื้อย
ใบคล้ายๆ เมเปิ้ล ในฤดูหนาวเปลี่ยนเป็นสีแดงสวย
 
 
 
Allotment Garden หรือพื้นที่จัดสรรซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนที่อาศัยในอพาร์ตเมนต์จะเช่าจากรัฐบาลเพื่อมาปลูกพืชผัก จัดสวน
และพักผ่อนในวันหยุด
 
 

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ประวัติความเป็นมา ความหมายของ...ภูมิสถาปัตยกรรม...ในประเทศไทย
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..