หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
เอนก รัศมี
จากจังหวัด ลพบุรี

รายงานผล การพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
โพสต์เมื่อวันที่ : 6 ส.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6897 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(33.33%-6 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

ชื่อผลงาน     รายงานผล การพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1  กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง  5  โรงเรียน 

 

ผู้วิจัย             นายเอนก  รัศมี

 

ปีการศึกษา  2550

 

บทคัดย่อ

 

                รายงานผลการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1  กรณีศึกษา: โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง  5  โรงเรียน  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ประเมินการประชุมปฏิบัติการโครงการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ  5  โรงเรียน  2)  สร้างและพัฒนาชุดพัฒนาตนเอง  การพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับรองการกระจายอำนาจ  5  โรงเรียน  3)  พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  การคิด  และทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามโครงการพัฒนาโรงเรียน ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับรองการกระจายอำนาจ  5  โรงเรียน  4)  การดำเนินงานตามโครงการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กรณีศึกษา : โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับรองการกระจายอำนาจ  5  โรงเรียน 

                ประชากร  ได้แก่  ผู้บริหารสถานศึกษา  รองผู้บริหารสถานศึกษา  ครูผู้สอนและนักเรียนของโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี  เขต 1  ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี  เขต 1  ที่เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยถึงระดับการศึกษาช่วงชั้นที่  4     ปีการศึกษา  2550 

                กลุ่มตัวอย่าง  ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง  นำมาจากประชากรมีจำนวนที่แน่นอน  (Finite  Population)  จึงสามารถกำหนดจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่พอดีโดยการคำนวณได้จากสูตรของทาโร ยามาเน่  (Simple  Random  Sampling)  เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  5  คน  รองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน  20  คน  ครูผู้สอน จำนวน  50  คน  และจำนวนนักเรียนจำแนกตามช่วงชั้น  ประกอบด้วยช่วงชั้นที่  1  จำนวน  336  คน  ช่วงชั้นที่  2  จำนวน  389  คน  ช่วงชั้นที่  3  จำนวน  471  คน  และช่วงชั้นที่  4  จำนวน  537  คน

 

 

                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  แบ่งออกเป็น  3  ชุด  คือ  ชุดที่  1  ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา  รองผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน  เป็นแบบทดสอบองค์ความรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจในการประชุม  และแบบประเมินความพึงพอใจ  ชุดที่  2  ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน  เป็นแบบประเมินพฤติกรรม  แบบทดสอบวัดความสามารถและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  ชุดที่  3  ใช้ในการเก็บรวบรวมจากครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  เป็นแผนการจัดประสบการณ์และแผนการจัดการเรียนรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ชุดพัฒนาตนเอง  จำนวน  9  เล่ม  แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ  และแบบสอบถามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง

                ผลการวิจัย  พบว่า

                1.  ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการตามโครงการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี  เขต 1  พบว่าการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา  รองผู้บริหารสถานศึกษา  และครูผู้สอน  ในภาพรวมที่มีต่อการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจอยู่ในระดับดีที่สุด  ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 1  ที่กำหนดไว้ 

                2.  ผลการพัฒนานวัตกรรมชุดพัฒนาตนเอง   แผนการจัดประสบการณ์และแผนการจัดการเรียนรู้  พบว่าการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์   แผนการจัดการเรียนรู้ เริ่มจากการศึกษาเอกสารหลักสูตร  เนื้อหาสาระการเรียนรู้  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้  ทักษะกระบวนการคิด  มาตรฐานและตัวชี้วัด  ทักษะกระบวนการคิด    เพื่อกำหนดหน่วยการเรียนรู้  เนื้อหาสาระการเรียนรู้  คาบเวลาเรียน  และจำนวนแผนการจัดประสบการณ์และแผนการจัดการเรียนรู้  ประจำปีการศึกษา  2550  ให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน  50  คน  ทำการประเมินหาคุณภาพของแผนการจัดประสบการณ์และแผนการจัด  การเรียนรู้  เพื่อตรวจสอบความตรงตามโครงสร้าง  (Construct  Validity) มีค่าร้อยละ  86.80  ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 2  ที่กำหนดไว้

                3.  ผลการพัฒนานวัตกรรมชุดพัฒนาตนเอง  จำนวน  9  เล่ม  พบว่า  1)  การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  2)  รูปแบบ/เทคนิค/วิธีสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  3)  การจัดการเรียนการสอนและการประเมินสภาพจริงในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ช่วงชั้นที่  1  4)  การจัดการเรียนการสอนและการประเมินสภาพจริงในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ช่วงชั้นที่  2  5)  การจัดการเรียนการสอนและการประเมินสภาพจริงในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ช่วงชั้นที่  3  6)  การจัดการเรียนการสอนและการประเมินสภาพจริงในชั้นเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ช่วงชั้นที่  4 

7)  แนวทางการพัฒนา  ทักษะการคิดคล่อง  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ช่วงชั้นที่ 1-2  8)  การฝึกทักษะการคิดคำนวณ  ช่วงชั้นที่ 1  9)  การพัฒนานักเรียนด้านทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์  ช่วงชั้นที่ 1  ถึงช่วงชั้นที่ 4  โดยการหาค่าประสิทธิภาพแบบภาคสนาม  (Field  Testing) E1/E2  กับครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ  80.62/81.97  ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 2  ที่กำหนดไว้และผลทดสอบความรู้ความเข้าใจของครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยหลังการใช้นวัตกรรมชุดพัฒนาตนเองสูงกว่าก่อนใช้ชุดนวัตกรรมชุดพัฒนาตนเอง  ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 4  ที่กำหนดไว้

        4. ผลการการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  การคิดและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ พบว่า  นักเรียนส่วนใหญ่ศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำเป็นอย่างดี  มีความรับผิดชอบในกิจกรรมที่กำหนดให้ทำ  เนื่องจากเป็นเรื่องที่สนุกสนาน  พัฒนาทักษะกระบวนการคิดและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมต่าง ๆ นักเรียนได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง  พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนและครูผู้สอน  จึงทำให้คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  แตกต่างกันอย่างมีนัยที่สำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน  ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 6  ที่กำหนดไว้ ส่วนการพัฒนากระบวนการคิดและทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05โดยหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน  ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อ 7  ที่กำหนดไว้

                5.ผลการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนผู้นำກารเปลี่ยนแปลง  เพื่อรองรั业กา⺣กḣะจาย๭༳⸙าจḁລ๸่มสฺระ輁ารเรียนรู้ค༓ิตศาสตร์ `สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 1  กรณีศึกษา  :  โรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง  5  โรงเรียน  พบว่า  ครูส่วนใหญ่สามารถสร้างสรรค์และบูรณาการองค์ความรู้ที่ได้รับจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ  และความรู้ที่ได้รับจากการศึกษานวัตกรรมชุดพัฒนาตนเอง  นำคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย  ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูและศึกษานิเทศก์  การให้ความช่วยเหลือ  สนับสนุนการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  จึงเป็นผลให้การดำเนินงานโครงการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ  ในภาพรวมอยู่ในระดับดีที่สุด  และผลการความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา  รองผู้บริหารสถานศึกษาและครู  ในภาพรวมที่มีต่อโครงการการพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจอยู่ในระดับดีที่สุด  ซึ่งยอมรับสมมติฐาน ข้อ 4 

ที่กำหนดไว้

 

 

 

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง รายงานผล การพัฒนาโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลง
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

เอนก รัศมี
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
เอนก รัศมี..