หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายสุรงค์ โพชนิกร
จากจังหวัด ศรีสะเกษ

ไม้เด็ดเคล็ดลับครูดี!!!!
โพสต์เมื่อวันที่ : 5 ส.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6902 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....


การจะเป็นครูที่ดีและมีวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เป็นพรสวรรค์ติดตัวมาสำหรับทุกคน หากแต่ต้องอาศัยการฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ ทดลองแสวงหาวิธีการใหม่ๆ มาสอนเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนอยู่เสมอ ทั้งนี้และทั้งนั้นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดก็คือการสร้างให้นักเรียนเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ เป็นคนดี และดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขนั่นเอง "ชีพจรการศึกษาโลก" ฉบับนี้ขอเสนอเคล็ดลับการสอนและการเป็นครูดีในหลายๆ ประเทศมาเล่าสู่กันฟัง

เทคนิคการสอนเขียนและอ่านจากละคร

ครูประถมจาก 60 โรงเรียนทั่วมณฑลดูวาล (Duval County) ในสหรัฐเข้ารับการอบรมเทคนิคการสอนวิชาการอ่านและการเขียนที่ Schultz Center for Teaching & Leadership การอบรมนี้จะฝึกเทคนิคในการช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ให้กับบรรดาผู้บริหาร ครูใหญ่ และครูน้อย ซึ่งใช้เวลาถึง 90 ชั่วโมงในการฝึกทั้งวิธีการและสื่อการสอนใหม่ๆ โดยผู้ที่ผ่านการอบรมในครั้งนี้จะไปถ่ายทอดเทคนิควิธีการสอนต่างๆ ให้แก่ครูคนอื่นๆ ในโรงเรียนที่ไม่ได้เข้ารับการอบรมด้วย มีการตั้งเป้าเอาไว้ว่าในแต่ละโรงเรียนจะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งห้องเรียนที่สามารถเป็นต้นแบบ สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ครูทั้งโรงเรียนได้

ตัวอย่างของเทคนิคการสอนที่ผู้เข้าอบรมได้ทดลองฝึกสอนกันเอง ได้แก่การให้นักเรียนดูละคร เขียนคำบรรยายความรู้สึกของตัวละคร แล้วจับคู่กับประโยคจากแบบฝึกที่มีข้อความบรรยายความรู้สึก เช่น รู้สึกโดดเดี่ยว ควรคู่กับ "ไม่มีใครเล่นกับฉัน" เป็นต้น นอกจากนี้ ในการฝึกอบรมยังเปิดโอกาสให้ครูคนอื่นๆ วิจารณ์กิจกรรมในลักษณะนี้ และให้คำแนะนำจุดที่ยังบกพร่อง
การอบรมนี้จะช่วยส่งเสริมให้ครูมีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งในอีกไม่ช้าคาดว่าจะมีการอบรมหมดทั้งโรงเรียน

ฝึกคิดด้วยวิธีการทางปรัชญา

ในช่วงเช้าของสัปดาห์ๆ ละสามวัน นักเรียนในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในรัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา จะมาโรงเรียนกันตั้งแต่ 7 โมงเช้า เพื่อมาถกประเด็นเกี่ยวกับความคิดของนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น เพลโต อริสโตเติล กับครูของพวกเขา โดยใช้วิธีการทางปรัชญา ซึ่งเป็นการโต้ตอบกันด้วยตรรกะและถามเป็นเหตุเป็นผลเชิงนามธรรม ที่เด็กนักเรียนเหล่านี้จะต้องอ่านหนังสือมาล่วงหน้าและต้องเขียนรายงานแสดงความเห็นส่งด้วย แต่กิจกรรมนี้ไม่มีการนับหน่วยกิตแต่อย่างใด

เฮเลน่า โนเบิลส์-โจนส์ ครูใหญ่ผู้ริเริ่มกิจกรรมนี้ขึ้นมากล่าวว่า กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยให้นักเรียนเกิดความตื่นตัวทางความคิดและพร้อมที่จะเรียนรู้ในแต่ละวัน ทั้งนี้ เธอเห็นว่าการสอนให้เด็กคิดวิเคราะห์และวิจารณ์เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งของการให้การศึกษา

"สิ่งที่มีค่าที่สุดของตรรกวิธีเชิงปรัชญา คือ การทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะคิด" เฮเลน่า กล่าว

หลายคนพอเอ่ยชื่อวิชาปรัชญาแล้วอาจเมินหน้าหนี แต่แท้จริงแล้วการเรียนปรัชญาไม่ใช่เรื่องที่น่าเบื่อเลย สิ่งที่น่าเบื่อมากกว่าคือวิธีการสอนของครู ในหลายปีที่ผ่านมา บางโรงเรียนพยายามเปลี่ยนวิธีการสอนปรัชญาในรูปแบบใหม่

"การเรียนปรัชญาจะช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดไตร่ตรองมากขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับความเครียด ความเหงา และความสับสน ในขณะที่พ่อแม่ต้องออกไปทำงานนอกบ้านและมีเวลาเพียงน้อยนิดที่จะอยู่กับลูก ทำให้เด็กวัยรุ่นเรียนรู้ค่านิยมผิดๆ มากมาย" เฮเลน่า กล่าว

นักเรียนที่เข้าร่วมห้องถกปรัชญานี้แสดงความเห็นว่า เขามีมุมมองใหม่เกี่ยวกับวิธีที่คนคิด และแสดงออก แทนที่จะด่วนสรุปเกี่ยวกับคุณค่าของบุคคล

"วิธีการเชิงปรัชญาช่วยทำให้คนเรามีจิตใจกว้างขึ้น" นักเรียนรายหนึ่งกล่าว

กระดานมหัศจรรย์ช่วยสอน

เทคโนโลยี video conference กำลังช่วยให้นักเรียนยุคใหม่ได้เรียนภาษาต่างประเทศจากเจ้าของภาษาโดยตรง โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาและค่าเดินทางอีกต่อไป โดยโรงเรียนมัธยมยาร์เมาท์ (Yarmouth High School) ในประเทศอังกฤษ ได้เริ่มนำ "กระดานมหัศจรรย์" (interactive whiteboard) มาใช้เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน

ลักษณะของกระดานที่ว่านี้คือ นอกจากจะใช้เขียนได้แล้วยังสามารถเชื่อมติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ด้วย ส่วนการเขียนก็เหมือนกับกระดานดำโดยทั่วไป จุดเด่นคือกระดานนี้เปรียบเสมือน "หน้าต่างโลก" สามารถทำทุกอย่างได้เหมือนกับอินเตอร์เน็ต ข้อดีของเทคโนโลยีใหม่นี้คือ จะเพิ่มความน่าสนใจให้กับการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ เช่น หากสอนเรื่องเกี่ยวกับระบบสุริยะ ก็จะปรากฏภาพสดจากองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา หรือในวิชาประวัติศาสตร์ จะมีภาพเกี่ยวกับลักษณะทางภูมิศาสตร์ในยุคนั้นๆ ประกอบอยู่ด้วย

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีใหม่เพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญคือจะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างไร เพราะผู้บริหารของโรงเรียนเองยังยอมรับว่า คุณภาพของการเรียนการสอนนั้นคงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของครูเป็นหลัก เทคโนโลยีเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่เข้ามารองรับเท่านั้น

เทคนิควิธีการจัดการกับเด็กขี้อาย

ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนแห่งหนึ่งในประเทศแคนาดาได้เปิดรับปรึกษาปัญหาการเรียนการสอนทางเว็บไซต์ ซึ่งเปิดให้บรรดาครูเข้ามาเขียนคำถามเอาไว้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญมาตอบให้ "ชีพจรฯ" ขอเลือกหยิบมานำเล่าสู่กันฟังสักตัวอย่างหนึ่ง เป็นคำถามเกี่ยวกับการแก้ปัญหาเด็กขี้อายในชั้นเรียน ถ้าหากท่านใดสนใจเรื่องอื่นๆ เข้าไปอ่านต่อได้ที่เว็บไซต์ http://www.mcmaster.ca/teaching_tips

ในห้องเรียนหนึ่งๆ มักจะมีนักเรียนทั้งที่กล้าคิดกล้าพูดและนักเรียนที่ขี้อายไม่กล้าแสดงออกปะปนกันไป แต่ครูจะทำอย่างไรเพื่อที่จะสร้างการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนให้กับนักเรียนทุกคน

เคล็ดลับในการที่จะสร้างการมีส่วนร่วมอย่างมีชีวิตชีวาในชั้นเรียนนั้น ต้องพยายามสร้างสถานการณ์ที่ทำให้นักเรียนรู้สึกอยากมีส่วนร่วม โดยมีวิธีการดังนี้

  1. ไม่รีบร้อนแก้ข้อบกพร่องหรือแก้คำผิดให้กับนักเรียนเร็วเกินไป เมื่อนักเรียนผิดพลาดในการเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อให้การเรียนดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และนักเรียนไม่เสียความมั่นใจ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ช่วยแก้กันเอง แต่ถ้าไม่มีการแก้ไขกันเองในหมู่นักเรียนครูจะช่วยแก้ไขให้เมื่อจบจากชั่วโมงนั้นแล้ว
  2. เมื่อนักเรียนที่พูดเก่งตอบคำถาม ครูควรจะถามนักเรียนคนอื่นๆ ที่ขี้อายบ้าง ซึ่งเด็กกลุ่มนี้จะตอบคำถามหลังจากเพื่อนตอบได้ดีกว่าที่จะตอบกับครูเป็นคนแรก
  3. สร้างการมีส่วนร่วมจากนักเรียนขี้อายที่อาจมีความรู้ดีในเรื่องบางเรื่อง เช่น ถ้าสอนเรื่องภาคเหนือก็อาจจะให้นักเรียนที่มาจากภาคเหนือเล่าประสบการณ์ให้เพื่อนๆ ฟัง เพราะถ้านักเรียนมีพื้นหลังมาก่อนก็จะรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในชั้นเรียนมากขึ้น
  4. พยายามเรียนรู้ที่จะอ่านสัญญาณจากนักเรียนขี้อายเมื่อเขาพร้อมที่จะตอบคำถามของครู เช่น การประสานตา อ่านความรู้สึกจากสีหน้า หรือภาษาท่าทาง ที่เป็นสัญญาณแสดงว่านักเรียนพร้อมจะเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
บัญญัติ 10 ประการของการสอนที่ดี

ศาสตราจารย์ ริชาร์ด เลอบลอง อาจารย์มหาวิทยาลัยยอร์ค (York University) ในแคนาดา ได้รับรางวัลการสอนยอดเยี่ยม เขาได้เปิดเผยเทคนิควิธีการสอนและการปฏิบัติตนที่ดี 10 ประการสำหรับครู ดังนี้

  1. ให้ความรักแก่นักเรียน พร้อมๆ ไปกับเนื้อหาวิชาเรียน ครูควรแนะนำวิธีเรียนรู้ให้แก่เด็ก ดูแลและเอาใจใส่นักเรียน เหมือนกับการสร้างงานฝีมือขึ้นสักชิ้นที่เต็มไปด้วยอารมณ์และความรู้สึก ทำให้การเรียนการสอนนั้นมีความหมายขึ้นมาจนเกิดเป็นความผูกพันระหว่างครูกับศิษย์

  2. สอนให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้กับชีวิตจริง และฝึกให้นักเรียนคิดให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ให้ผู้เรียนเข้าใจว่าความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะหนังสือเท่านั้น ครูยังควรเชื่อมช่องว่างระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติ ทำให้นักเรียนเกิดความชำนาญในเรื่องที่นักเรียนสนใจ โดยครูคอยให้คำปรึกษาช่วยเหลือในการปฏิบัติ และเชื่อมโยงสภาพชีวิตในชุมชนของนักเรียนกับความรู้ที่ศึกษาในโรงเรียน

  3. ตั้งใจฟังนักเรียน ครูต้องรู้จักตั้งคำถาม สามารถตอบข้อสงสัยแก่นักเรียนได้ และควรระลึกอยู่เสมอว่านักเรียนแต่ละคนในชั้นเรียนมีความแตกต่างกัน ครูควรกระตุ้นการตอบสนองการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะการสื่อสารให้แก่นักเรียนด้วย

  4. ไม่จำเป็นต้องมีแผนการสอนตายตัว แต่ต้องยืดหยุ่น เปลี่ยนแปลงได้ มีการทดลองการสอนที่หลากหลาย และมั่นใจที่จะเผชิญกับสถานการณ์ในชั้นเรียนได้ทุกรูปแบบที่อาจจะไม่เป็นไปตามความคาดหวังนัก ครูควรปรับการสอนบ้างเมื่อมีวิธีการที่ช่วยให้นักเรียนบางคนเรียนรู้ได้ดีขึ้น และควรสร้างสมดุลระหว่างเนื้อหาและความยืดหยุ่นในการสอน

  5. สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง แต่ไม่ได้หมายความว่าการเรียนจะไม่มีสาระ การสอนที่มีประสิทธิภาพนั้นครูไม่จำเป็นจะต้องยืนอยู่หน้าชั้นตลอดเวลา หรือสายตาจับจ้องอยู่ที่เครื่องฉายแผ่นใสหรือสไลด์ในขณะที่บรรยาย ครูที่ดีต้องทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกมีส่วนร่วม เปรียบได้กับวาทยากรที่มีนักเรียนเป็นนักดนตรีซึ่งแต่ละคนมีความเชี่ยวชาญในเครื่องดนตรีแต่ละอย่างต่างกัน

  6. มีอารมณ์ขัน พยายามอย่าทำตัวให้เครียด ครูควรเล่าเรื่องตลกให้นักเรียนฟังบ้าง การมีอารมณ์ขันจะช่วยทลายกำแพงระหว่างครูกับนักเรียนได้ ครูควรเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายบรรยากาศในห้องเรียน และต้องระลึกเสมอว่า ครูก็เป็นมนุษย์ธรรมดาเหมือนกับนักเรียน ที่มีข้อบกพร่องและสามารถกระทำผิดได้เหมือนกัน

  7. เตรียมตัวให้พร้อม มีความเอาใจใส่ และอุทิศเวลาให้แก่การค้นคว้าหาวิธีถ่ายทอดความรู้ด้านต่างๆ ให้แก่นักเรียน ครูดีต้องมีการเตรียมการสอนมาอย่างดี มีสื่อการสอนที่พร้อมและวิธีการสอนที่น่าสนใจ ทั้งหมดนี้หมายความว่าครูจะต้องทำงานหนักนอกเวลาด้วย

  8. ต้องได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากผู้บริหาร ทั้งในด้านทรัพยากร และบุคลากร ผู้บริหารควรให้การเสริมแรงครูอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ และสามารถทำงานได้อย่างปราศจากอุปสรรคปัญหา

  9. รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อนครู เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการเรียนการสอน ตลอดจนการแก้ปัญหาต่างๆ ของครูแต่ละคน

  10. มีจินตนาการ จะเป็นครูที่ดีได้ จะต้องรู้จักหัดใช้จินตนาการบ้าง เพราะจะมีผลต่อความคิดริเริ่มใหม่ๆ ลองจ้องไปที่นักเรียนแถวหลังสุด นึกถึงเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกันและประกอบกันเป็นรูปร่างรวมตัวเป็นมนุษย์
การเรียนรู้ของคนเราคงจะพัฒนาไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง หากครูไม่หยุดนิ่งที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของทั้งตนเองและนักเรียนไปพร้อมๆ กัน ครูคือวิศวกรสังคม ที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างคนรุ่นใหม่ที่สมบูรณ์ขึ้นมา


ที่มาข้อมูล : http://www.newschool.in.th

https://www.myfirstbrain.com/tip.aspx?Id=69402

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ไม้เด็ดเคล็ดลับครูดี!!!!
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายสุรงค์ โพชนิกร
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายสุรงค์ โพชนิกร..