หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

วิธีเพาะเมล็ดไผ่ (สามารถใช้กับไผ่ได้ทุกชนิด)
โพสต์เมื่อวันที่ : 21 ก.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7065 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(69.41%-17 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

โรงเรือนควบคุมสภาพแวดล้อม

เรือนกระจก (Green House) หมายถึง เรือนต้นไม้ที่สร้างขึ้นอย่างมิดชิด ด้ายฝาหรือหลังคาเป็นกระจกทั้งหมด เพื่อให้แสงสว่างลอดผ่านได้ หลังคาโดยทั่วไปจะใช้กระจกฝ้า เพื่อลดแสงแดดที่จ้าเกินไปให้น้อยลง ด้านข้างอาจก่ออิฐเป็นกำแพงคอนกรีต เพื่อลดค่าใช้จ่ายลง ภายในเรือนกระจกสามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และการระบายอากาศ เรือนกระจกเป็นเรือนต้นไม้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดของพืช ซึ่งมีทั้งพืชเมืองร้อนและเมืองหนาว พืชแต่ละชนิดต้องการอุณหภูมิเพื่อการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน จึงต้องมีเรือนกระจกไว้ขยายพันธุ์และเลี้ยงพันธุ์ไม้ อุปกรณ์และเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ในเรือนกระจก ได้แก่ เครื่องทำความร้อน พัดลงระบายอากาศและเครื่องฉีดน้ำ อุปกรณ์ที่ใช้ในเรือนกระจกจะต้องมีความพิถีพิถัน ดังนั้น การสร้างเรือนต้นไม้ประเภทนี้จึงต้องลงทุนสูงมาก จึงไม่เป็นที่นิยมเพราะได้ผลตอบแทนไม่คุ้มกับการลงทุน ส่วนมากสร้างขึ้นเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ หรือเพื่อการศึกษาค้นคว้า
แบบของเรือนกระจก เรือนกระจกแบบต่าง ๆ ได้แก่ (1) แบบเพิง (lean-to) และ (2) แบบหน้าจั่ว (even-span) เรือนกระจกแบบเพิงมีหลังคาลาดด้านเดียว เรือนแบบนี้มักปลูกทางด้านใต้หรือตะวันออกของกำแพงหรือเรือนสำหรับปลูกพืช หรือปลูกทางด้านเหนือของกำแพงหรือเรือนสำหรับออกรากของกิ่งตัดชำ เรือนแบบหน้าจั่วมีหลังคาลาดลง ทั้งสองด้าน มีความกว้างและความลาดชันเท่ากัน ซึ่งอาจจะลาดอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ หรือตะวันออก ตะวันตกก็ได้ ในสองแบบนี้ นิยมใช้แบบหน้าจั่วกันมากกว่าเรือนกระจกแบบนี้ อาจสร้างหลังเดียวโดด ๆ หรือแยกจากเรือนที่อยู่ข้างเคียงที่เรียกว่าเรือนเดี่ยว (detached house) หรืออาจจะสร้างสองหลังหรือมากกว่าสองหลัง และมีรางน้ำเชื่อมติดกันเรียกว่า เรือนพ่วง (ridge and furrow house) เรือนเดี่ยวทำให้ระบายอากาศและรับแสงได้มากกว่า แต่ด้วยเหตุที่มีเนื้อที่กระจกมากกว่า จึงทำให้เรือนเดี่ยวสูญเสียความร้อนเป็นปัจจัยที่สำคัญในระหว่างฤดูหนาวไปมากกว่าส่วนเรือนพ่วง
ซ่อมแซมได้ลำบากกว่าและมักจะเก็บกักหิมะในภูมิอากาศของภาคเหนือไว้ในปริมาณมากเกินไป โดยทั่วไป เรือนเดี่ยวใช้ผลิตพืชผลหลายชนิดซึ่งต้องการอุณหภูมิแตกต่างกันหลายอย่างไปพร้อม ๆ กัน ส่วนเรือนพ่วงใช้เฉพาะผลิตพืชผลหลายอย่างซึ่งต้องการอุณหภูมิเหมือนกันโดยปลูกไปพร้อม ๆ กัน
การตั้งอุณหภูมิและการระบายอากาศโดยทั่วไป จะตั้งอุณหภูมิในเวลากลางคืนที่ 60 ํ F (11.5 ํC) ของอุณหภูมิลดลงถึงระดับสูงขึ้น Heater Thermostat จะเริ่มทำงานให้มีอุณหภูมิสูงขึ้น และเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 70 ํ F (24 ํC) Cooling thermostat
วิธีเพาะเมล็ดไผ่ (สามารถใช้กับไผ่ได้ทุกชนิด)
การเพาะเมล็ด
    ไผ่เมื่อหมดอายุขัยจะออกดอกและตาย ปกติไผ่จะเริ่มออกดอกในเดือนพฤศจิกายน-มกราคม เมล็ดไผ่จะเริ่มแก่และร่วงหล่นประมาณเดือน มีนาคม-เมษายน เกษตรกรสามารถนำเมล็ดไผ่ที่ได้ไปทำการเพาะต่อไปโดยวิธีการดังนี้

การเก็บเมล็ดพันธุ์
- เมล็ดไผ่เมื่อแก่จัดจะร่วงลงพื้น เกษตรกรควรทำความสะอาดหรือถางโคนต้นให้เตียน เพื่อความสะดวกในการรวบรวมเมล็ดไผ่ หรือใช้วัสดุหรือตาข่ายรองรับเมล็ดพันธุ์ไผ่ กรณีเขย่าต้นให้เมล็ดร่วงจากต้น
- รวบรวม เมล็ดพันธุ์ไผ่ที่ได้ ทำการฝัดด้วยกระด้งก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์
- นำเมล็ดที่สมบูรณ์มาขัด นวดเอาเปลือกออกโดยใช้พื้นรองเท้าแตะฟองน้ำ ขัดนวดเมล็ดบนกระด้ง และฝัดเอาเปลือกออก
- นำเมล็ดไผ่ที่ได้ไปผึ่งแดด ประมาณ 1 แดด ก็สามารถนำไปเพาะได้ เพื่อป้องกันแมลงและไม่ควรเก็บเมล็ดไว้เกิน 1 เดือน เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกลดลง

วิธีการเพาะกล้าไผ่
- เมล็ดไผ่ที่จะเพาะควรขัดเอาเปลือกนอกออกก่อนถ้าเพาะทั้งเปลือกนอกเมล็ดจะงอกช้าและเติบโตไม่สม่ำเสมอ
- นำเมล็ดไปแช่น้ำ 2 คืน หรือแช่เมล็ดด้วยน้ำอุ่นประมาณ 2 ชั่วโมงแล้วแช่น้ำอีก 1 คืน
- นำเมล็ดขึ้นจากน้ำ แล้วห่อหุ้มเมล็ดด้วยผ้ารดน้ำให้ชื้นอยู่เสมอประมาณ 2 คืน เมล็ดจะเริ่มงอก
- นำเมล็ดที่เริ่มงอกไปลงแปลงเพาะที่มีขี้เถ้าแกลบผสมดินและทรายรองพื้นหนาประมาณ 4 นิ้ว หว่านเมล็ดแล้วกลบด้วยดินหนาประมาณ 1 ซม. คลุมแปลงด้วยวัดสุคลุมดิน เช่น หญ้าแห้ง และฟางข้าว
- ทำการย้ายกล้า ภายหลังจากการเพาะลงแปลงแล้วประมาณ 15 วัน ซึ่งต้นกล้าไผ่ตงจะมีความสูงประมาณ 2-3 นิ้ว ย้ายกล้าที่แข็งแรงลงถุงเพาะและอนุบาลไว้ในเรือนเพาะชำ หรือในที่ร่มรำไร ประมาณ 6-8 เดือน ก็นำไปปลูกต่อไป

วิธีการเพาะเมล็ดไผ่บงหวาน

  เริ่มจากเก็บเมล็ดไผ่บงหวานที่แก่จัด เพาะในกะบะเพาะ โดยมีวัสดุเล็กละเอียด เก็บความชื้นได้ดี รดน้ำทุกวัน แต่อย่าให้แฉะ ราว 7-10 วัน เมล็ดจะ เริ่มงอก จากนั้น 3-4 สัปดาห์ ย้ายกล้าลงชำในถุงพลาสติกที่เตรียมไว้ รดน้ำ อย่างสม่ำเสมอ เมื่อต้นแข็งแรงและสามารถดูแลทั่วถึงก็นำลงปลูกได้ หรืออาจจะใช้เวลาเตรียมต้น 6-12 เดือน  จึงนำออกเผยแพร่ ทั้งนี้  ให้ แน่ใจว่านำไปปลูกลงแปลงแล้ว เปอร์เซ็นต์รอดมีมาก


วิธีการตอนกิ่งไผ่

หัวข้อนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ภาพเป็นสื่ออธิบายเสียมากกว่านะครับ  เพราะผมไม่มีประสบการณ์  เนื่องจากได้ทดลองค้นหา "การตอนกิ่งไผ่" หรือ "วิธีตอนกิ่งไผ่" จากอินเทอร์เน็ตแล้ว  ปรากฎว่า  "ไม่เจอ"  เลยจำต้องมาเขียนไว้ในหัวข้อนี้  เพื่อเป็นความรู้สำหรับสมาชิกที่ต้องการจะนำไปต่อยอด  หรือ ขยายพันธุ์ไผ่ของตัวเอง  หากสมาิชิกท่านใดเห็นว่ามีข้อบกพร่อง  ก็ช่วยๆ กันแนะนำเพิ่มเติมได้  ผมคิดเองคนเดียว  คงมีจุดบกพร่องเยอะเหมือนกัน

สำหรับวัสดุและอุปกรณ์ในการตอนกิ่งไผ่
1. ขุยมะพร้าว
2. ถุงพลาสติก ขนาด 3x5 หรือ ตามขนาดของกิ่งไผ่
3. เชือกฟาก หรือ ด้าย หรือ ตอก หรือ ตัวรัด (เหมือนในภาพ)
4. มีดพร้า หรือ ขวานเล็กๆ  สำหรับการผ่าตากิ่งไผ่

วิธีตอนกิ่งไผ่
1. นำขุยมะพร้าวแช่น้ำไว้ให้ชุ่ม หรือจะแช่ไว้สักคืนหนึ่งก็ได้นะครับ
2. นำขุยมะพร้าวใส่ถุงพลาสติก (ดังภาพ) รัดปากให้แน่นด้วยหนังยางหรือเชือกฟาง
3. ใช้มีดผ่าครึ่งถุงพลาสติก เพื่อเปิดช่องไว้สำหรับทางกิ่งไผ่
4. ใช้มีดผ่ากิ่งไผ่  จากด้านบนลงสู่ด้านล่าง  อย่าให้ขาดนะครับ  ให้เหลือเปลือกไผ่บางๆ ติดกับลำต้นไว้
5. นำถุงพลาสติกห่อขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้หุ้มกิ่งไผ่ส่วนโคนที่ถูกผ่าออก  แล้วมัดด้วยเชือกฟาง หรือ สายรัด ผูกแน่นติดกับลำไผ่
6. เมื่อรากของกิ่งไผ่ออกเต็มแล้ว ก็ให้ตัดกิ่งลงมาเตรียมเพาะชำ  โดยให้เหลือปล้องไว้ 2-3 ปล้องครับ

เทคนิคการตอนกิ่งไผ่
1- หากต้องการให้รากของกิ่งไผ่ออกเร็วๆ เปลือกไผ่ส่วนที่ติดกับลำต้นไม้ควรให้เหลือมากเกินไป ควรเหลือไว้นิดเดียว
2- หากไม่ต้องการให้รากของไผ่ออกเร็ว  ก็ไม่ต้องทำตามแบบข้อ 1
การเลือกกิ่งไผ่ที่จะตอน  ต้องเลือก

ไผ่รวก

จาก PalungjitRescueDisaster

ข้ามไปที่: นำทาง, ค้นหา

ภาพ:ไผ่รวก1.gif ภาพ:ไผ่รวก2.gif ภาพ:ไผ่รวก3.gif

1. ชื่อ ไผ่รวก

2. ชื่ออื่น ตีโย ไผ่รวก ไม้รวก รวก (ภาคกลาง) ฮวก (ภาคเหนือ) ว่าบอบอ แวปั่ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) แวบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) สะลอม (ซาน-แม่ฮ่องสอน)

3. ชื่อวิทยาศาสตร์ Thysostachys siamensis Gamble. และมีชื่อพ้องทางพฤกษศาสตร์คือ Bambusa siamensis Kurz และ B.regia Thoms.

4. วงศ์ GRAMINEAE

5. ชื่อสามัญ -

6. แหล่งที่พบ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก

7. ประเภทไม้ ไม้ไผ่

8. ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ต้น ไม้ไผ่ขึ้นเป็นก่อแน่นลำสูง 7-15 เมตร ลำตรง เปลา มีกิ่งเรียวเล็กๆ ตอนปลายๆ ลำส่วนมากจะโต มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-6 ซม. ค่อนข้างเรียบมีวงใต้ข้อสีขาว ธรรมดากาบหุ้มลำต้นอยู่นาน ลำมีสีเขียว อมเทาปล้องยาว 15-30 ซม. โดยปกติเนื้อหนา ส่วนโคนมีเนื้อหนาเกือบตัน

กาบหุ้มลำต้น ยาว 22-28 ซม. กว้าง 11-20 ซม. กาบมักติดต้นอยู่นานสีฟางบางอ่อน ด้านหลังปกคลุมด้วยขนอ่อนสีขาวมีร่องเป็นแนวเล็กๆ สอบเล็กน้อยขึ้นไปหาปลายซึ่งเป็นรูปที่ตัดกับลูกคลื่น ครีบกาบมีรูปสามเหลี่ยมอาจจะเห็นไม่ชัดก็ได้หรือเล็กมาก กระจังกาบมีเล็กน้อยและหยักไม่สม่ำเสมอ มีขนละเอียดเล็กน้อยใบยอดกาบ 10-12 ซม. เป็นรูปสามเหลี่ยม มุมแหลมยาวและแคบ ขอบงอโค้งเข้า ใบ รูปใบจะเป็นรูป (linear – lanceolate) ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเกือบกลมผิวใบทั้งสองด้านไม่มีขนกว้าง 0.6-1.2 ซม. เส้นลายใบมี 3-5 (ข้างละ) ขอบใบคายคม ก้านใบสั้นยาวประมาณ 2 มม. ครีบหรือหูใบไม่มี กระจังใบเรียว ขอบเรียบสั้น กาบหุ้มใบข้างนอกไม่มีขนหรือมีขนอ่อนสีขาวปกคลุม ปลายตัดหรือป้านไม่มีขนแต่พองโตกว่าส่วนอื่นบ้าง

9. ส่วนที่ใช้บริโภค หน่ออ่อน

10. การขยายพันธุ์ การแยกหน่อหรือเหง้า การใช้กิ่งหรือลำปักชำ การปักกิ่งแขนง

11. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบขึ้นในที่สูงบนภูเขาหรือเนินสูง อากาศร้อนไม่ชอบน้ำขังหรือขึ้นในที่ แห้งแล้งได้ ชอบดินระบายน้ำดี

12. ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูฝน เดือนมิถุนายน –กันยายน

13. คุณค่าทางอาหาร คุณค่าทางอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย

  Cal Moist ure Protein Fat CHO Fibre Ash . Ca P Fe  A.I.U B1  B2 Niacin C
  Unit % Gm. Gm. Gm. Gm. Gm mg. mg. mg.   mg. mg. mg. mg.
หน่อเผา 33 90.4 3.5 0.3 4.1 0.7 - 14 42 0.2 - - - - -
หน่อต้ม 24 93.2 2.5 0.4 2.5 0.8 - 12 40 - - 0.01 0.08 - -


14. การปรุงอาหาร หน่อไม้นำมาต้มให้สุกก่อน รับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงคั่ว แกงเขียวหวาน ผัดกับไข่ ผัดเผ็ด หน่อไม้เผาให้สุก นำไปทำ ซุปหน่อไม้ หรือนำไปถนอมอาหารไว้รับประทานนอกฤดู เช่น หน่อไม้ดอง หน่อไม้ปี๊บ หน่อไม้ตากแห้ง

15. ลักษณะพิเศษ หน่อไม้ มีรสหวาน

16. ข้อควรระวัง -

17. เอกสารอ้างอิง

คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและพัฒนาทรัพยากรป่าไม้และไม้โตเร็วอเนกประสงค์. 2540. ไม้อเนกประสงค์ กินได้ 486 หน้า.

เต็ม สมิตินันทน์. 2523. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). กรมป่าไม้ 379 หน้า.

รุ่งนภา พัฒนวิบูลย์ และคณะ. กลุ่มงานวิจัยไผ่-หวาย กรมป่าไม้. 2540. ไม้ไผ่ 44 หน้า.

กิ่งที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป  เหมือนๆ กับการตอนไม้อื่นๆ ทั่วไป 
เมื่อเสร็จขั้นตอนแล้ว  ก็ใช้เชือกฟางมัดติดกับลำต้น  หรือลำไผ่ไว้ให้แน่น  อย่าให้หลุดก่อนนะ  เดี๋ยวจะฉีกหมด  ถ้ากิ่งไผ่ปักกิ่ง 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง วิธีเพาะเมล็ดไผ่ (สามารถใช้กับไผ่ได้ทุกชนิด)
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..