หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
อาจารย์นนท์ธกร ปิยนนทศิลป์
จากจังหวัด

บทความ ความเหมือนที่แตกต่างของคำว่า ครู
โพสต์เมื่อวันที่ : 21 ก.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6900 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(57.39%-23 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

บทความ 

ความเหมือนที่แตกต่างของคำว่า ครู

 

                ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านที่เปิดอ่านบทความนี้ และผู้เขียนขออธิบายว่าในเนื้อหาบทความนี้ ผู้เขียนไม่ได้มีอคติที่ไม่ดีต่ออาชีพครู หรือมีเจตนารมณ์อันก่อเกิดให้ผู้ประกอบอาชีพครูต้องหมิ่นเหม่ในวิชาชีพ ซึ่งผู้เขียนก็ประกอบสัมมาอาชีพครูเช่นกัน หากแต่เป็นครูผู้ประชาสัมพันธ์สื่อสารมวลชน ในอีกอาชีพ

                ผู้เขียนมีความศรัทธาในอาชีพครู ปฏิบัติในอาชีพมาด้วยดีตลอดและไม่มีพฤติกรรมอันเสื่อมเสียในเกียรติยศและชื่อเสียงของคำว่า ครู ผู้เขียนไม่ได้จบการศึกษาในสายครู เช่น คบ. หรือ ศษ.. หรือ กศ.. ไม่ได้จบเอกคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย หรืออื่น ๆ ในสายสามัญ ผู้เขียนจบด้านการบริหารธุรกิจ และทำการสอนในสถาบันการศึกษาเอกชน ซึ่งสังกัด สช. นั่นเอง หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ครูเอกชน ผู้สอนได้มีโอกาสสอบเป็นครูโรงเรียนเอกชนและได้รับการคัดเลือกเป็นครูสถาบันดังกล่าว และทำการสอนด้วยหลักความรู้ที่ได้ศึกษามา ทำการสอนด้วยจิตอันเป็นจิตแห่งความเป็นครูที่ฝังลึกอยู่ในจิตใต้สำนึกของผู้เขียนเอง และได้ทำการสอนนับเป็นเวลาที่นานพอ ของคำว่าครู ครู คือใคร ครู คือ ผู้ประสิทธิประสาทวิทยาความรู้ให้กับศิษย์ ครู คือผู้แนะนำสั่งสอนศิษย์ด้านจริยธรรมและคุณธรรม ครู คือผู้เป็นที่ปรึกษาเสมือน บิดา มารดา ให้กับศิษย์ยามศิษย์เดือดร้อนไม่มีที่พึ่งพิง ครูคือ ผู้ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต และครู ก็คือ ผู้ให้นั่นเอง แล้วใครล่ะจะสามารถทำงานได้ดั่งอาชีพครู ผู้ที่มีความศรัทธาในอาชีพครูเท่านั้นถึงให้ได้ทุกอย่างเช่นนี้ เป็นผู้ที่รักการให้ เป็นผู้ที่รักการสอน เป็นผู้ที่รักการอบรม หรือว่า ครู ท่านใดที่อ่านแล้วบอกว่าตัวเองไม่มี แต่ก็ยากที่จะปฏิเสธหากท่านเป็น ครู ด้วยศรัทธา  ในเมื่อใครอยู่ที่ไหนที่ประกอบอาชีพครูก็ต้องมีอุดมการณ์เดียวกัน คือเป็นแรงผลักให้เด็กและเยาวชนได้มีความรู้นำไปประกอบสัมมาอาชีพและดำรงชีวิตรวมถึงพัฒนาประเทศในอนาคตข้างหน้า ครู ผู้มีอุดมการณ์เดียวกัน ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับคนทั้งชาติผลิตผลิตผลได้มาซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมและจริยธรรม

                อาชีพ  ครู  ที่เป็นเบ้าหลอมจิตแห่งวิญญาณของมนุษย์ กลับมีบุคคลไม่กี่คน ที่มีอิทธิพล ทำให้ครูต่างกัน แยกประเภท แยกศักดิ์ศรี แยกฐานะ ของความเป็นครูโดยสิ้นเชิง อาทิเช่น ครูรัฐบาล ครูอัตราจ้าง ครูบ้านนอก ครูมหาวิทยาลัย ครูเอกชน ครูกศน. ครูประถม ครูมัธยม ครูบนดอย ครูเทศบาล วิทยฐานะชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ  ประเภทของครูเหล่านี้ และวิทยฐานะเหล่านี้ เป็นคำตอบสำหรับผู้ประกอบอาชีพครูได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว  แล้วใครผู้ใดที่ไหนมาแยกประเภทครูเหล่านี้ หากแต่เป็นองค์กรผู้ควบคุมครูนั่นเองที่กำหนดคุณลักษณะ คุณสมบัติของครูทั้งหมดเอาไว้ นี่ไม่ใช่เรื่องน่าน้อยใจประการใด แต่อยากจะเห็นองค์กรผู้ควบคุมครูทั้งประเทศได้ให้โอกาส คำว่า ครู มากกว่านี้ ไม่โอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง มากจนเกินไปจนทำให้อาชีพครูเป็นอาชีพที่ใครๆ ก็ไม่อยากทำ ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องของผู้เขียนเอง ผู้เขียนเคยเป็นครูอัตราจ้างของโรงเรียนเอกชน 3 ปี และหลักจากนั้นก็ได้รับการบรรจุต่อมาแต่การบรรจุยังไม่ถึง 5 ปีดังที่กล่าวไว้ข้างต้นผู้เขียนไม่ได้จบหลักสูตรครูโดยตรง  และไม่มีประกาศนียบัตรวิชาชีพครู ซึ่งผู้เขียนสอนในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หรือ ปวส. สายบริหารธุรกิจ ถ้าเทียบก็คือระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี (อนุปริญญา)โดยมีความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาสั่งสอนศิษย์และได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทในสายบริหารธุรกิจ ซึ่งเป็นสายที่ตรงกับสายวิชาการสอนโดยไม่เบี่ยงเอนแม้แต่นิด เฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการศึกษา 300,000 บาท พอ 2 ปีให้หลังหลังจากที่ผู้เขียนจบการศึกษามาแล้ว คณะผู้บริหารสถาบันได้แจ้งว่าครูท่านใดที่ไม่มีวุฒิทางด้านการศึกษาต้องไปเรียนต่ออีก 1 ปี ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วก็ไม่สามารถที่จะมีสิทธิ์  ในการสอนได้ ความนัยน์นั่นคือ ถ้าผู้เขียนยังอยากจะทำงานในอาชีพนี้อยู่จะต้องลงทุนอีกประมาณ 20,000 บาทในการศึกษาต่ออีก 1 ปี แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าผู้เขียนได้กู้เงินธนาคารในการศึกษาต่อปริญญาโทและยังใช้หนี้ไม่หมด และต้องมาเรียนวิชาชีพเพิ่มอีก 1 ปี ถ้าไม่เรียนก็ไม่สามารถทำการสอนได้ นี่เป็นปัญหาเพียงแค่นี้ใช่หรือไม่ แน่นอนครับ ไม่ใช่ เพราะปัญหามากกว่านั้นครับนั่นคือความแตกต่างของคำว่าครูไง เงิน 20,000 ถ้าเป็นประเภทของครูเอกชนอาจจะเป็นเงินที่มากโข  เลยทีเดียวอาจจะเป็นเงินเดือนตั้ง 3 เดือน หรือ 4 เดือนก็เป็นได้ แน่นอนว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าสนุกแน่นอน นี่เป็นแค่ส่วนประกอบเล็ก ๆ ของความแตกต่างประเภทหนึ่งของ ครู แต่สำหรับผู้เขียนเองก็คงต้องยอมรับแล้วครับว่าอาชีพที่เหมาะสมกับผู้เขียนมากที่สุดคืออาชีพ ครู เพราะผู้เขียนมีความศรัทธาในอาชีพครูไม่น้อยกว่าครูคนใด อีกมุมมองของความแตกต่างนั่นก็คือ Income ในภาษาของนักธุรกิจหรือรายได้นั่นเอง ทำไมมีความต่างกัน ซึ่งผู้เขียนไม่จำเป็นต้องอธิบายให้ละเอียดเพราะ  ครูแต่ละประเภทจะทราบกันดีอยู่แล้ว และที่สำคัญที่สุดคือผู้ที่ควบคุมครูที่รู้มากที่สุด

                ท่านผู้อ่านครับไม่ใช่เรื่องง่ายที่บุคคลคนหนึ่งจะเลือกทางเดินของชีวิตทั้งชีวิตมาเป็น ครู แต่บุคคลคนนั้นเขาเลือกเพราะหัวใจของเขาคือ ครู ผู้เป็นหนึ่งในเสมาที่มีมุมมองที่กล้าคิดกล้าทำโปรดอย่าแบ่งกั้นหรือกีดกันเขาโดยวิธีการการวิธีการหนึ่งเลย สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นครูได้มีโอกาสเหมือน ๆกันดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม แล้วครูจะเป็นกำลังสำคัญในการผลิตผลิตผลแห่งความเป็นมนุษย์ให้สังคมไทยได้อย่างยั่งยืน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง บทความ ความเหมือนที่แตกต่างของคำว่า ครู
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

อาจารย์นนท์ธกร ปิยนนทศิลป์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
อาจารย์นนท์ธกร ปิยนนทศิลป์..