หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายสุรงค์ โพชนิกร
จากจังหวัด ศรีสะเกษ

11 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ???? "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 "
โพสต์เมื่อวันที่ : 19 ก.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7050 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(35.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ข้อมูลไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 (สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)


1. หากเรามีอาการป่วยสงสัยจะเป็นไข้หวัดใหญ่ เราควรรีบไปพบแพทย์ทันทีหรือไม่?

ตอบ
          หากเรามีอาการป่วยสงสัยจะเป็นไข้หวัดใหญ่ให้ตรวจสอบว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ นั่นคือ เราเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด เป็นต้น

    * ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวี ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
    * หญิงตั้งครรภ์
    * ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
    * กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
    * เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี

         เราเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่โรคจะรุนแรง เราควรรีบไปพบแพทย์

         หากเราไม่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เรายังไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ในทันที เราสามารถพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านได้ รับประทานยาตามอาการ เช่น ถ้ามีไข้ ก็ให้รับประทานยาพาราเซตตามอล และเช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือถ้ามีอาการไอมาก ก็ให้ดื่มน้ำมากๆ เป็นต้น หากไข้ไม่ลด อาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน หรือเริ่มมีอาการที่บ่งว่าจะมีอาการรุนแรง (เช่น ผู้ป่วยที่หายใจเร็ว (อายุน้อยกว่า 2 เดือน หายใจเร็วกว่า 60 ครั้งต่อนาที อายุ 2 เดือนถึง 1 ปี หายใจเร็วกว่า 50 ครั้งต่อนาที อายุ 1-5 ปีหายใจเร็วกว่า 40 ครั้งต่อนาที อายุมากกว่า 5 ปีหายใจเร็วกว่า 30 ครั้งต่อนาที) ไข้ไม่ลดใน 3 วัน อาเจียนมาก รับประทานอาหารไม่ได้ เป็นต้น) จึงควรไปพบแพทย์

         หากเราไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงจากการป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ การไปพบแพทย์จะทำให้เราเพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อจากผู้ป่วยอื่นที่โรงพยาบาล และยังไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ เพิ่มเติม เนื่องจากแพทย์ก็จะแนะนำให้เรากลับมาพักฟื้นที่บ้าน ให้ยารักษาตามอาการ และแนะนำให้เราคอยเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของอาการของโรคอยู่ดี


2. เราจำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัสหรือไม่?

ตอบ
          เนื่องจากผู้ที่ป่วยด้วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะหายได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านไวรัส กระทรวงสาธารณสุข จึงไม่ได้แนะนำให้ใช้ยาต้านไวรัสในผู้ป่วยที่สงสัยจะป่วย ด้วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอ็ช1 เอ็น1 การให้ยาอย่างกว้างขวางในผู้ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับยา นอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองแล้ว ยังอาจจะทำให้เชื้อดื้อยาได้เร็วขึ้นอีกด้วย

กลุ่มผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยา ได้แก่

   1. ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่โรคจะรุนแรง ได้แก่
          * ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ หอบหืด เป็นต้น
          * ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อเอ็ชไอวี ผู้ป่วยโรคเลือด ผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
          * หญิงตั้งครรภ์
          * ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
          * กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
          * เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี

   2. ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง (เช่น ผู้ป่วยที่หายใจเร็ว (อายุน้อยกว่า 2 เดือน หายใจเร็วกว่า 60 ครั้งต่อนาที อายุ 2 เดือนถึง 1 ปี หายใจเร็วกว่า 50 ครั้งต่อนาที อายุ 1-5 ปีหายใจเร็วกว่า 40 ครั้งต่อนาที อายุมากกว่า 5 ปีหายใจเร็วกว่า 30 ครั้งต่อนาที) หายใจลำบาก เหนื่อย หอบ อาเจียนมาก รับประทานอาหารไม่ได้ เป็นต้น

   3. ผู้ป่วยที่อาการไข้หรืออาการป่วยไม่ดีขึ้นใน 3 วัน

 3. หากเราป่วยด้วยอาการที่คล้ายไข้หวัดใหญ่ เราจำเป็นต้องได้รับการตรวจเพื่อยืนยันเชื้อหรือไม่?

ตอบ
          ในปัจจุบันที่เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอ็ช1 เอ็น1 ได้ระบาดขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ การตรวจว่าเราติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอ็ช1 เอ็น1 หรือไม่มีความจำเป็นน้อยลงมาก การตรวจหรือไม่ตรวจไม่ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ดังนั้น ในปัจจุบันในพื้นที่ที่มีการยืนยันการแพร่ระบาดของโรคชัดเจนแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมีการตรวจยืนยันการติดเชื้อก่อนให้การรักษาแต่อย่างใด

 
4. ในปัจจุบัน ได้มีโรงพยาบาลโดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่ง ได้แนะนำให้ผู้ป่วยตรวจคัดกรองการติดเชื้อ ด้วยชุดการตรวจสอบการติดเชื้อที่ให้ผลเร็ว หากเราป่วยด้วยอาการที่คล้ายไข้หวัดใหญ่ เราควรตรวจด้วยชุดทดสอบให้ผลเร็วเหล่านี้หรือไม่

ตอบ   
          ไม่จำเป็น การตรวจหรือไม่ตรวจไม่ได้เปลี่ยนแปลงแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย นั่นคือ ไม่ว่าผลจะออกมาเช่นไร แนวทางการรักษาก็ยังคงเป็นเช่นเดิม (เหมือนข้อ 1)

           นอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นแล้ว การตรวจดังกล่าวยังไม่ถือเป็นวิธีที่มาตรฐาน กล่าวคือ การตรวจยังมีความผิดพลาดค่อนข้างสูง นั่นคือ หากมีผู้ป่วยที่ป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอ็ช1 เอ็น1 จริง 100 คน การตรวจด้วยชุดทดสอบให้ผลเร็วจะให้ผลบวกถูกต้องน้อยกว่า 50 คน นั่นคือ ชุดทดสอบจะบอกว่าผู้ป่วยไม่ติดเชื้อสูงถึงกว่า 50 คนทั้งที่ผู้ป่วยติดเชื้อ การให้ผลผิดพลาดที่สูงมากขนาดนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยที่ป่วยจริงเมื่อทราบผลว่าตัวเองไม่ติดเชื้อวางใจ ไม่ดูแลรักษาตัวเองหรือไม่ติดตามเฝ้าระวังอาการของตัวเองให้เหมาะสม จนอาจเกิดอาการรุนแรงตามมาได้

5. เราควรพักฟื้นอยู่ที่บ้านนานเท่าไหร่?

ตอบ
          ผู้ป่วยควรหยุดงานและพักฟื้นอยู่กับบ้าน หลีกเลี่ยงการพบปะ คลุกคลีกับผู้อื่นเป็นเวลาอย่างน้อย 7 วัน หากครบ 7 วันแล้วยังคงมีอาการบางอย่างหลงเหลืออยู่บ้าง ก็ให้พักฟื้นอยู่กับบ้าน และหลีกเลี่ยงการพบปะ คลุกคลีกับผู้อื่นต่อไปอีก จนกว่าอาการจะหายสนิทแล้ว 1 วัน

 6. ผู้ที่เป็นโรคอ้วนเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือไม่?

 ตอบ   

          ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีโอกาสจะเกิดอาการรุนแรงได้สูงกว่าคนปกติทั่วไปที่แข็งแรงดี ดังนั้นหากผู้ที่เป็นโรคอ้วนป่วยด้วยอาการที่สงสัยจะเป็นไข้หวัดใหญ่ ก็ควรไปพบแพทย์ทันที

7. หากเราเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง และยังไม่ติดเชื้อ เราควรต้องป้องกันอะไรเป็นพิเศษ (เช่น การสวมใส่หน้าการอนามัย) หรือไม่?

ตอบ   

          ไม่จำเป็นต้องป้องกันอะไรเพิ่มเติมเป็นพิเศษ และไม่จำเป็นต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยในที่ชุมชน เนื่องจากหน้ากากอนามัยไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ หน้ากากอนามัยเป็นเพียงเครื่องมือที่ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ (นั่นคือ ผู้ที่ควรสวมใส่คือผู้ป่วย)

          การล้างมือบ่อยๆ และการหลีกเลี่ยงการขยี้ตา แคะจมูก หรือนำนิ้วเข้าปาก

           เพื่อลดโอกาสการนำเชื้อจากมือเข้าสู่ร่างกาย เป็นมาตรการในการป้องกันโรคที่สำคัญในกลุ่มผู้ที่ยังไม่ป่วย นอกจากนี้กลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำมากๆ ควร

          1. หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด หรือสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
          2. หลีกเลี่ยงการไปเยี่ยมผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่

8. หากเราไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง แปลว่าเราจะไม่มีโอกาสเสียชีวิตใช่หรือไม่

ตอบ   

          ไม่ใช่ผู้ป่วยที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็มีโอกาสเสียชีวิตเช่นกัน แต่โอกาสที่จะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตในกลุ่มที่ไม่ได้มีความเสี่ยงจะต่ำกว่ากลุ่มเสี่ยง ข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกา แสดงว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมดเป็นผู้ที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และมีสุขภาพแข็งแรงก่อนที่จะป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอ็ช1 เอ็น1

 
9.ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ในไทย ขณะนี้มีพอเพียงหรือไม่

ตอบ   

          ในปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้สำรองยาต้านไวรัสโอโซลทามิเวียร์ไว้จำนวนหนึ่ง (ประมาณ 400,000 เม็ด) และมีแผนจะจัดซื้อเพิ่มตามความจำเป็น ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขได้สำรองยาไว้เพียงพอสำหรับการใช้กับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับยา ตามแนวทางการใช้ยาต้านไวรัสที่ได้กล่าวถึงแล้วข้างต้น (ข้อ 2)

 
10. สมาชิกในครอบครัวที่สบายดี ไม่ป่วย ควรใส่หน้ากากอนามัยหรือไม่

ตอบ
          ผู้ที่ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยคือผู้ป่วย เนื่องจากการใส่หน้ากากอนามัยสามารถป้องกันการกระจายของน้ำมูกและน้ำลายเวลาที่ผู้ป่วยไอหรือจามได้ดี กระทรวงสาธารณสุขไม่แนะนำให้สวมใส่หน้ากากอนามัยในผู้ที่ยังไม่มีอาการป่วย

 
11.หากมีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ควรนำสมาชิกคนอื่นๆ ที่ยังไม่ป่วยไปฉีดวัคซีนหรือไม่

ตอบ

          ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอ็ช1 เอ็น1 ได้ วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอ็ช1 เอ็น1 ได้ ซึ่งคาดว่าประเทศไทยน่าจะมีวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอ็ช1 เอ็น1 อย่างเร็วที่สุดในช่วงปลายปี พ.ศ. 2552

          อย่างไรก็ดีการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาลก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับกลุ่มเสี่ยง แต่ต้องเข้าใจว่าการฉีดวัคซีนที่แนะนำนี้ เป็นการฉีดเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล ไม่ใช่เพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง 11 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ???? "ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 "
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายสุรงค์ โพชนิกร
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายสุรงค์ โพชนิกร..