หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
โชติกา ชินินทร
จากจังหวัด ปทุมธานี

งานวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต ชั้น ม.3 (บทที่ 3)
โพสต์เมื่อวันที่ : 9 ก.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6901 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(51.30%-23 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

บทที่  3

วิธีดำเนินการวิจัย

 

                 การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับ           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา  เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research  and  Development)  แบบ  One – Group  Pretest – Posttest  Design   ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา  2550 ซึ่งมีรายละเอียดและขั้นตอนการวิจัยไว้ดังนี้

                 1.   ขอบเขตการวิจัย

                 2.   การออกแบบการวิจัย

                 3.   ขั้นตอนการวิจัย

                       3.1   ขั้นที่  1   การศึกษาข้อมูลขั้นพื้นฐาน

                       3.2   ขั้นที่  2    การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                       3.3   ขั้นที่  3   การทอลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

              3.4   ขั้นที่  4   การประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

          4.   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

                 5.   สถิติที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา

                

1.   ขอบเขตการวิจัย

       ขอบเขตการวิจัย   ประกอบด้วย  เนื้อหา  ประชากร  กลุ่มเป้าหมาย  ตัวแปรที่ศึกษา  ระยะเวลา      ในการทดลอง  ดังต่อไปนี้

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา  (Research and Development)  ประชากร/ กลุ่มเป้าหมาย                                           

        1.1   ประชากร  คือ  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี   จังหวัดปทุมธานี  จำนวน  8  ห้องเรียน  มีนักเรียนทั้งสิ้น  320  คน

                  1.1.1   กลุ่มเป้าหมายที่  1  เพื่อทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง การบริหารจิต   คือ  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ห้อง 1  โรงเรียนสายปัญญารังสิต  อำเภอธัญบุรี  จังหวัดปทุมธานี   จำนวน  3  คน   ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง  (Purposive  Sampling)  ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน      โดยใช้เกณฑ์เกรดเฉลี่ยดังนี้  ผลการเรียนต่ำกว่า  2.50  คือ  กลุ่มอ่อน  ผลการเรียนอยู่ระหว่าง  2.50  -  3.00   คือ  กลุ่มปานกลาง   และผลการเรียนสูงกว่า   3.00   คือ   กลุ่มเก่ง

                  1.1.2   กลุ่มเป้าหมายที่  2  เพื่อทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การบริหารจิต  คือ  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ห้อง 2  โรงเรียนสายปัญญารังสิต  อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี   จำนวน  12  คน  ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง  (Purposive  Sampling)  ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน      โดยใช้เกณฑ์เกรดเฉลี่ย  ดังนี้  ผลการเรียนต่ำกว่า  2.50  คือ  กลุ่มอ่อน  ผลการเรียนอยู่ระหว่าง  2.50  -  3.00   คือ  กลุ่มปานกลาง  และผลการเรียนสูงกว่า  3.00  คือ  กลุ่มเก่ง

                  1.1.3   กลุ่มเป้าหมายที่  3 ภาคสนาม  เพื่อการใช้นวัตกรรม  คือ  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/5  โรงเรียนสายปัญญารังสิต  อำเภอธัญบุรี  จังหวัดปทุมธานี  จำนวน  50  คน ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง  (Purposive  Sampling) ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เกณฑ์เกรดเฉลี่ย  ดังนี้             ผลการเรียนต่ำกว่า  2.50   คือ  กลุ่มอ่อน   ผลการเรียนอยู่ระหว่าง  2.50  -  3.00  คือ  กลุ่มปานกลาง   และผลการเรียนสูงกว่า  3.00   คือ  กลุ่มเก่ง

 

        1.2   เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย  เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา  แผนการจัดการเรียนรู้ที่  8  เรื่อง  การบริหารจิตและการเจริญปัญญา  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ช่วงชั้นที่  3  ซึ่งอยู่ในขอบข่ายของสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา   ศาสนาและวัฒนธรรม

 2.1   ความหมายของการบริหารจิต

 2.2   ประโยชน์ของการบริหารจิต

 2.3   สมาธิ

                          2.3.1   ความหมายของสมาธิ

                          2.3.2   ลำดับขั้นของสมาธิ  มี  3  ระดับ

                          2.3.3   สมาธิมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต

          2.3.4   การบริหารจิตตามหลักสติปัฏฐาน

                          2.3.5   การฝึกสมาธิตามแบบอานาปานสติ

                                      1.)   ข้อดีของการฝึกสมาธิแบบอานาปานสติ

                                      2.)   ขั้นตอนการฝึกสมาธิตามแบบอานาปานสติ

                                                                              2.1)   ขั้นเตรียมการปฏิบัติ

                                                         2.2)   ขั้นปฏิบัติ

                          3.)   อิริยาบถการนั่ง

                                  3.1)   วิธีกำหนดลมหายใจ

                                  3.2)   การกล่าวคำบริกรรม  โดยใช้กำหนดลมหายใจเข้า  -  ออก

                           4.)   อิริยาบถการยืน

                           5.)   อิริยาบถการเดิน

                           6.)   อิริยาบถการนอน

        2.4   สรุป                 

 

       1.3   ตัวแปรที่ศึกษา

                               1.3.1  ตัวแปรอิสระ  (Dependent  Variable)  ได้แก่  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง           การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3

                               1.3.2    ตัวแปรตาม   (Independent   Variable)   ได้แก่

                            1.)   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน  เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา 

                            2.)  เจตคติของนักเรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา 

 

        1.4   ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

                 เริ่มตั้งแต่วันที่  1   ตุลาคม   พ.ศ.   2550   ถึงวันที่   30   สิงหาคม   2551

 

         1.5   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา   มีดังต่อไปนี้

                  1.5.1  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับ                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา  

                  1.5.2   แบบฝึกหัดระหว่างเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา

                  1.5.3   แบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา   จำนวน  12  ข้อ

                  1.5.4   แบบวัดเจตคติของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง           การบริหารจิต  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา  จำนวน  30  ข้อ

                  1.5.5   แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ด้านเนื้อหา  และด้านเทคโนโลยีการศึกษา

 

2.   การออกแบบการวิจัย

       การวิจัยครั้งนี้  ใช้แบบแผนการวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน           One - Group Pretest - Posttest Design  (Tuckman  1999  : 160)  ในการเก็บข้อมูลการทดลอง             ของกลุ่มเป้าหมายในขั้นวิจัยที่  2  (การทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)  เพื่อศึกษาความสามารถในการเรียนรู้

 

การทดสอบก่อนทดลอง

การทดลอง

การทดสอบหลังทดลอง

T1

X

T2

 

               T1              =          การทดสอบก่อนการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง         การบริหารจิต

               X                   =             การทดลองเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

               T2           =       การทดสอบหลังการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง             การบริหารจิต

 

3.   ขั้นตอนของการวิจัย

       การวิจัยครั้งนี้มีขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย  ขั้นตอนการวิจัยดังนี้

 

 

        ขั้นที่  1   การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

                        1.   ศึกษารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พุทธศักราช  2540  นโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ   ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา  บทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  การจัดการศึกษา             ต้องเป็นบริการที่พอเพียงรวดเร็วฉับไว  ให้ได้ทั้งปริมาณและมาตรฐานคุณภาพ

                        2.   ศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พุทธศักราช  2542  แนวการจัดการศึกษา           ที่ยึดหลักว่า   ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ดังนั้นจึงให้ผู้เรียนมีความสามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ  ตามสติปัญญา  ความสามารถของผู้เรียนและพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ  คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  

                         3.  ศึกษาวิสัยทัศน์ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต  อำเภอธัญบุรี  จังหวัดปทุมธานี     กล่าวว่า โรงเรียนสายปัญญารังสิตเป็นแหล่งจัดการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน  เป็นที่ยอมรับ    ของชุมชน มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นผู้ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  มีวินัย  คุณธรรมและพื้นฐานทางเทคโนโลยี

                         4.   ศึกษาแนวคิด  ทฤษฎี  ขั้นตอนเกี่ยวกับการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน             จากเอกสารการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 

                         5.   ศึกษาความต้องการของนักเรียนด้านเนื้อหาสาระ  กิจกรรมของบทเรียนคอมพิวเตอร์    ช่วยสอนจากครูผู้สอน<

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง งานวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต ชั้น ม.3 (บทที่ 3)
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

โชติกา ชินินทร
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
โชติกา ชินินทร..