หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
โชติกา ชินินทร
จากจังหวัด ปทุมธานี

งานวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต ชั้น ม.3 (บทคัดย่อ)
โพสต์เมื่อวันที่ : 9 ก.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7043 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(46.00%-10 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

ชื่อเรื่องงานวิจัย                                  การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การบริหารจิต 

สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3

ชื่อผู้วิจัย                                                นางโชติกา   ชินินทร

ปีพุทธศักราช                                   2551

 

บทคัดย่อ

 

             การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องการบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน         ที่กำหนด  90/90   เพื่อศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3   เพื่อการประเมินผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องการบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่  3

              ผู้วิจัยได้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องการบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  มีทั้งหมด  85  กรอบ  ใช้เวลาศึกษาเฉลี่ย  2  คาบ  เมื่อเรียนแล้วนำไปฝึกปฏิบัติสมาธิแบบอานาปานสติ  ปฏิบัติแต่ละครั้งแล้วบันทึกลงในใบงานเป็นเวลา  2  สัปดาห์  หลังจากนั้นนำมาส่งครูเพื่อประเมินผลการปฏิบัติพบว่าผู้เรียนสามารถฝึกปฏิบัติได้อยู่ในระดับดีมาก

              ดำเนินงานวิจัยโดยเป็นการวิจัยและพัฒนา  (Research  and  Development) ประชากร/กลุ่มเป้าหมาย   ประชากร  คือ  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ของโรงเรียนสายปัญญารังสิต อำเภอธัญบุรี  จังหวัดปทุมธานี  จำนวน  8  ห้องเรียน  มีนักเรียนทั้งสิ้น  320  คน  กลุ่มเป้าหมาย       ใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง  (Purposive  Sampling)  ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เกณฑ์เกรดเฉลี่ยดังนี้  ผลการเรียนต่ำกว่า  2.50  คือ  กลุ่มอ่อน  ผลการเรียนอยู่ระหว่าง  2.50  -  3.00  คือ  กลุ่มปานกลาง  และผลการเรียนสูงกว่า  3.00  คือ  กลุ่มเก่งกลุ่มเป้าหมายที่  1  เพื่อทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การบริหารจิต  คือ  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ห้อง 1  โรงเรียนสายปัญญารังสิต  อำเภอธัญบุรี  จังหวัดปทุมธานี  จำนวน  3  คน  กลุ่มเป้าหมายที่  2  เพื่อทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง   การบริหารจิต  คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ห้อง 2  โรงเรียนสายปัญญารังสิต  อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี  จำนวน  12  คน กลุ่มเป้าหมายที่  3   เพื่อการใช้นวัตกรรม  คือ  นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ห้อง 5 โรงเรียนสายปัญญารังสิต  อำเภอธัญบุรี  จังหวัดปทุมธานี  จำนวน  50  คน 

             ผลการวิจัยปรากฏว่า  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นเป็นสื่อการเรียนการสอน  เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  รายวิชา ส  33102  พระพุทธศาสนา โดยมีกรอบโครงสร้างของโปรแกรม Adobe  Flash  Player 9  จำนวน 85 กรอบ  ผลการประเมินสื่อการสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา   ปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา  ทั้งด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ  มีค่าเฉลี่ยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับ ดีมาก  คือ  มีค่าเฉลี่ย  = 4.5  และ4.86  ตามลำดับ  อยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก  ผู้วิจัยกำหนดให้มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่  3.5  ขึ้นไป   ประสิทธิภาพ ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้  คือ  90 : 90  โดยผลการทดลองกับกลุ่มเป้าหมาย  กลุ่มทดลองภาคสนาม  จำนวน  50  คน  ได้ค่าเกณฑ์ประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์มีค่าเท่ากับ  90.67 : 95.50  ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา  ผลการวิจัยพบว่า  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.01 โดยคะแนนทดสอบหลังเรียนเฉลี่ย (T2 = 11.46) สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ย  (T1 = 6.12)  ค่าสถิติที  (t - test  dependent)  =  21.64  ผลการวัดเจตคติต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การบริหารจิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  รายวิชา    33102  พระพุทธศาสนา  เป็นรายการแสดงความคิดเห็นและเมื่อพิจารณาเรียงลำดับเจตคติต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  พบว่า ทางบวก          ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งทุกข้อ  (X-  =  4.72)   ทางลบในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยน้อยที่สุดเกือบทุกข้อ  (X- = 4.58) 

 

 

 

 

                       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง งานวิจัยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การบริหารจิต ชั้น ม.3 (บทคัดย่อ)
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

โชติกา ชินินทร
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
โชติกา ชินินทร..