.....วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา อาสาฬหบูชา หรือ อาสาฬหปุรณ
มีบูชาในวันนี้เป็นวันที่พระพุทธ เจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธศาสนาถือได้ว่าเป็นวันแรกที่มี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ครบองค์พระรัตนตรัย
ต่อเนื่องมาในวันแรม 1 ค่ำเดือน 8
ซึ่งเป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญด้วยเป็น วันเข้าพรรษา ซึ่งการเข้าพรรษาเป็นพุทธบัญญัติกำหนดให้พระภิกษุหยุดอยู่กับที่ไม่เดินทางไปพักค้าง ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอดฤดูฝนเป็นเวลาสามเดือน ซึ่งการที่พระภิกษุอยู่ประจำที่ทำให้มีโอกาสได้สงเคราะห์กุลบุตรที่ประสงค์จะอุปสมบท เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ได้สงเคราะห์ พุทธบริษัททั่วไปช่วงพรรษา จึงเป็นอีกโอกาสดีที่พุทธศาสนิก ชนจะได้ตั้งมั่นรักษาศีล ปฏิบัติธรรม ลด ละเลิกอบายมุขทั้งหลายทั้งปวง
นอกจากนี้เมื่อถึงวันเข้าพรรษา
ไม่เพียงการทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังเทศน์ฟังธรรมแต่ยังมีการนำ ผ้าอาบน้ำฝน ถวายแด่พระภิกษุรวมอยู่ด้วย ไพฑูรย์ ปานประชา นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรมให้ความรู้พร้อมบอกเล่าประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝนที่ยังคงปฏิบัติสืบต่อกันมาว่า ปกติผ้าที่พระภิกษุใช้จะมีเพียงสามผืน ในช่วงเข้าพรรษาซึ่งเป็นฤดูฝน ผ้าที่ใช้อาจเปียกบ่อย จึงมีการถวายผ้าชนิดหนึ่งที่เรียกกันว่า ผ้าอาบน้ำฝน ให้กับพระได้ใช้ผลัดเปลี่ยน
การถวายผ้าอาบน้ำฝนเป็นประเพณี
ที่มีเรื่องเล่ามาแต่ครั้งพุทธกาลซึ่งตามที่ทราบกันนางวิสาขาเป็นคนแรกที่กราบทูลขอพระพุทธเจ้า ถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระภิกษุซึ่งถึงวันนี้ยังคงเป็นประเพณีที่ชาวพุทธปฏิบัติต่อเนื่องมาซึ่งผู้ที่ทำบุญถวายผ้าอาบน้ำฝนจะได้รับอานิสงส์เหมือนการถวายผ้าชนิดอื่น ๆ
“เมื่อถึงวันเข้าพรรษานอกจากทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ปฏิบัติธรรมก็จะมีการถวายผ้าอาบน้ำฝนรวมอยู่ด้วย การถวายผ้าอาบน้ำฝนแม้จะไม่มีการกำหนดวัน แต่โดยมากจะทำบุญถวายกันในวันเข้าพรรษา การถวายนั้นมีทั้งถวายแบบเจาะจง ถวายแบบสังฆทานไม่เจาะจงพระรูปหนึ่งรูปใดและในรูปแบบนี้จัดเป็นแบบสลากภัต
การทำบุญเป็นเรื่องของการชำระใจให้สะอาด สุขใจที่ได้ทำในสิ่งดี ๆ และหากมีความตั้งใจทั้งก่อนให้ ขณะที่ให้และหลังจากการให้ จิตใจที่ปลื้มปีติทั้งสามเวลาเหล่านี้ก็จะก่อเกิด บุญเกิดความปีติสุขใจ”
การถวายผ้าอาบน้ำฝนแต่เดิมกล่าวกันว่า
ถวายกันเพียงแต่ผ้า แต่ต่อมาภายหลังถวายเครื่องบริวารตามที่เหมาะสม อย่าง สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน กระดาษชำระ ฯลฯ ร่วมด้วย แต่อย่างไรก็ดีในการเลือกสิ่งของเพื่อนำมาถวายพระนั้นต้องไม่ละเลยพิจารณาถึงสิ่งของที่จะนำมาใช้ สิ่งของนั้นยังคงใช้ได้ ไม่หมดอายุหรือหมดสภาพ เช่นเดียวกันกับผ้าอาบน้ำฝนควรพิจารณาถึงเนื้อผ้า ซึ่งต้องไม่บางเกินไป
นอกจากการถวายผ้าอาบน้ำฝนในวันเข้าพรรษา นักวัฒนธรรมท่านเดิมยังกล่าวถึงการทำบุญเพิ่มว่า
การทำบุญที่ครบพร้อมด้วยบุญนั้น การทำบุญจะต้องมีใจเต็มเปี่ยมที่อยากให้ผู้รับต้องเหมาะสมกับการเป็นผู้รับ ส่วนสิ่งของทำบุญที่ตั้งใจให้ต้องบริสุทธิ์ได้มาโดยสุจริตและเมื่อเจตนาครบพร้อมทั้งก่อนให้ ระหว่างให้หรือหลังจากให้การทำบุญจึงก่อเกิดบุญอย่างเต็มเปี่ยม
“การทำบุญในทางพุทธศาสนาไม่ได้มีเพียงการให้ทาน ทำบุญที่วัด หากแต่สามารถทำได้อีกหลายวิธีอย่างการทำบุญที่เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ 10 หรือสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ 10 ประการนั้นอย่างที่กล่าวมา บุญหมายถึงการทำความดีสิ่งดีเป็นเครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ บุญจึงเป็นเสมือนเครื่องกำจัดสิ่งเศร้าหมองให้ออกจากใจ
บุญยังช่วยให้ลด ละ เลิกความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ
อันเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์และ บุญยังทำให้ก้าวไปสู่การทำคุณงามความดียกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ก่อเกิดความอิ่มเอิบใจ ซึ่งการให้ทานเป็นหนึ่งในสิบวิธี แต่ยังมีอีกเก้าวิธีที่ไม่ต้องใช้สิ่งของ ได้แก่ การรักษาศีล การเจริญภาวนา อ่อนน้อมถ่อมตน ขวนขวายช่วยเหลือ การชื่นชมส่วนบุญของผู้อื่นให้ผู้อื่นได้ร่วม ทำบุญ อนุโมทนาบุญ การฟังธรรมฟังในเรื่องที่ดี การพูดคุยในเรื่องที่ดี เห็นถูกต้องตามทำนองครองธรรมไม่ถือทิฐิ เอาแต่ความคิดของตนเป็นใหญ่ แต่รู้จักแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น เข้าใจในเรื่องต่าง ๆ ถูกต้องตามธรรมอยู่เสมอซึ่งเหล่านี้เป็นการทำบุญทั้งสิ้น”
ขณะที่การถวายผ้าอาบน้ำฝนเป็นหนึ่งในประเพณีเข้าพรรษา ในช่วงเวลานี้ยังมี ประเพณีการหล่อเทียนพรรษา ซึ่งเป็นการนำเทียนขี้ผึ้งที่มีอยู่ ของแต่ละบ้านหลอมหล่อรวมกันเมื่อเทียนแห้งแล้วก็นำไปถวายพระที่วัด
“การหล่อเทียนประเพณีที่ยังคงมีปฏิบัติต่อกันมา ในบางชุมชนร่วมมือร่วมใจกันเมื่อหล่อเทียนเสร็จสมบูรณ์ก็จะช่วยกันตกแต่งให้สวยงามก่อนนำไปถวายพระที่วัด ระหว่างทางก็จะมีการแห่เทียน ร้องรำกันไป เดิมทีแท่งเทียนเล่มหนึ่งจะไม่ใหญ่โตอะไรมากจะเหมาะสมเพียงพอแก่การใช้ของพระในช่วงจำพรรษาและนอกจากการทำบุญสร้างกุศลร่วมกัน ในประเพณีนี้ยังถ่ายทอดให้เห็นถึงความสามัคคีการร่วมมือร่วมใจกันของชุมชน”
นอกจากนี้ช่วงเทศกาลเข้าพรรษายังมีประเพณีท้องถิ่น
ที่ได้รับการกล่าวขานเป็นที่รู้จักอย่าง การทำบุญตักบาตร ดอกไม้ ดอกเข้าพรรษา อีกทั้งยังมีกิจกรรมที่ดีอีกมากมายที่ใช้ช่วงเวลาที่มีความหมายนี้เป็นการเริ่มต้น อย่าง การงดเหล้าเข้าพรรษา งดอบายมุขหรือแม้แต่การรณรงค์ปลูกต้นไม้ ฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพอากาศอีกทั้งยังช่วยลดภาวะโลกร้อน นักวัฒนธรรมกล่าวทิ้งท้าย
จากสองวาระสำคัญทางพุทธศาสนาวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาในปีนี้
นับเป็นอีกโอกาสดีต่อการตั้งมั่นทำบุญสร้างกุศล ตั้งจิตอธิษฐานปฏิบัติตัวเริ่มต้นทำสิ่งดีงาม ลด ละ เลิกอบายมุขทั้งหลายทั้งปวง บุญกุศลที่เกิดขึ้นก็จะก่อเกิดความสุขความปีติเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตทั้งต่อตนเองและคนรอบข้าง
ทำบุญด้วยอะไร? >>>> http://radio.sanook.com/music/player/ทำบุญด้วยอะไร/2427/
ขอบคุณที่มาข้อมูลschoolnet.nectec.or.th/library
ทำบุญด้วยอะไร
ธานินทร์ อินทรเทพ
ผู้หญิงที่สวยอย่างคุณ ทำบุญไว้ด้วยอะไร จึงสวยน่าพิศมัย
น่ารักน่าใคร่ พริ้งพราว คงถวายมะลิไหว้พระ วรรณะจึงได้นวลขาว
เนตรน้อยดังสอยจากดาว กระพริบพร่างพราว หนาวใจ
ตักบาตร คงใส่ด้วยข้าวหอม จึงสวยละม่อมละไม
บุญทานคงทำด้วยเต็มใจ เธอคงได้พรสี่ประการ อายุ วรรณะ
สุขะ พละ และ ปฏิภาณ เพียงพบเจ้านั้นไม่นาน พี่ซมพี่ซาน ลุ่มหลง.
Advertisement