.....
หล่อเทียน..หลอมใจ..ในวันเข้าพรรษา...
จากเศษขี้ผึ้งและน้ำตาเทียนชิ้นน้อย หลอมรวมกลายเป็นเทียนพรรษา...ที่พุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาจัดทำขึ้น เพื่อถวายแด่ภิกษุสำหรับจุดในโบสถ์ในช่วงระยะเวลานับตั้งแต่ต้นกล้าเริ่มแตกกอ ไปจนถึงช่วงฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งเป็นเวลาที่พระสงฆ์ประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน ไม่ออกแสวงบุญจาริกไปยังที่ใด
ในอดีตชาวพุทธจะทำเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย โดยการเอารังผึ้งร้างมาต้มเอาขี้ผึ้ง แล้วฟั่นเป็นเทียนเล่มเล็ก ๆ มีความยาวตามต้องการ เช่น ยาวเป็นคืบ หรือเป็นศอกแล้วใช้จุดบูชาพระ ซึ่งหากเป็น เทียนพรรษา ก็จะมีขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น แต่ในปัจจุบัน การหล่อเทียนพรรษากลายเป็นเพียงความทรงจำในอดีต หลายชุมชนเลือกซื้อเทียนพรรษาที่จัดทำสำเร็จรูป แทนการหลอมเทียนถวายวัดในช่วงเข้าพรรษา ภาพความสามัคคีในชุมชนและแก่นแท้ของวันสำคัญทางศาสนาเริ่มห่างหายไป เหลือแต่เพียงเปลือกนอกของพิธีกรรม การแห่แหนเฉลิมฉลองที่กลายเป็นอีกเทศกาลหนึ่งเท่านั้น
แสงเทียนส่องธรรม
เทียนพรรษา เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ชาวพุทธจะยึดถือเป็นประเพณี นำเทียนไปถวายพระภิกษุในเทศกาลเข้าพรรษา เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้เฉลียวฉลาด มีไหวพริบ ประดุจแสงสว่างของดวงเทียน
การทำเทียนพรรษา มีวิวัฒนาการมาเป็นลำดับ จากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่นเป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็กๆ หลายๆ เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายกับ ต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษา
ในทางพระพุทธศาสนา กล่าวถึงการทำบุญเข้าพรรษาว่า เป็นเรื่องของการ “หยุด” เพื่อจะได้พักทบทวนตัวเองเกี่ยวกับเรื่องการประพฤติปฏิบัติ ซึ่งในหลักของชาวพุทธนั้น มีหลักของการทำบุญอยู่สามประการ คือ หนึ่ง เพื่อทำให้ได้ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา สอง เพื่อศึกษาหลักธรรม และสาม เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งนั่น พระมหาสง่า ธีรสังวโร แห่งวัดผาลาด จังหวัดเชียงใหม่บอกว่า นับเป็นอานิสงส์ของการทำบุญเข้าพรรษา
“ถ้าเรานึกถึงกรอบสังคมในอดีต ช่วงนอกพรรษาจะเป็นฤดูของการทำไร่ทำนา เป็นช่วงเวลาของการลงไร่ พอเสร็จแล้วถึงช่วงของการเข้าพรรษาส่วนใหญ่จะปลูกข้าวเสร็จแล้ว รอแต่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวหลังจากออกพรรษาเสร็จ ในระหว่างนี้ก็จะเป็นช่วงที่พระสงฆ์เองหยุดการเดินธุดงค์ จึงน่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ชาวบ้านจะได้ถือโอกาสนี้เข้าวัดในวันพระ จะได้ฟังเทศน์ฟังธรรม ขณะที่พระสงฆ์เองก็จะได้มีเวลาหยุดเพื่อทบทวนศึกษาหลักธรรมในพระไตรปิฎก และก็เมื่อถึงวันพระจะได้นำหลักธรรมต่างๆ ในพระไตรปิฎก เอาความรู้ที่ได้จากการจาริกธุดงค์มาเล่าและเทศน์ให้บรรดาญาติโยมได้ฟัง” พระมหาสง่าอธิบายให้เห็นถึงหัวใจสำคัญของช่วงเวลาเข้าพรรษาของพุทธศาสนิกชนในอดีตให้ฟัง
ซึ่งแตกต่างจากในปัจจุบันนี้ชาวบ้านจะยึดติดกับประเพณีมากกว่า พอถึงฤดูกาลเข้าพรรษาก็นำเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระสงฆ์ เพราะความเข้าใจว่าเทียนพรรษา พระสงฆ์จะนำไปส่องธรรมเข้าศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย อานิสงส์ก็คือจะทำให้ได้สติปัญญา แล้วในขณะเดียวกันพระสงฆ์ไม่มีผ้าสำหรับเปลี่ยนในการสรงน้ำ การถวายผ้าอาบน้ำจึงเพื่อไม่ให้พระสงฆ์มีปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับของผ้านุ่ง ซึ่งจริงๆ แล้วกรอบสังคมของอดีตที่ผ่านมากับปัจจุบัน เรื่องของการถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝนก็ยังคงมีอยู่ ถือว่าในส่วนของประเพณีชาวพุทธในปัจจุบันยังได้ยึดถือเอาไว้
“แต่ในส่วนของการปฏิบัติเป็นส่วนที่เราต้องทำความเข้าใจว่า การจุดเทียนเพื่อส่องธรรม ชาวพุทธควรจะถือโอกาสนี้จุดเทียนส่องชีวิต หยุดในเรื่องของบาปกรรมทั้งหลายในช่วงของการเข้าพรรษา ตลอดระยะเวลาที่เราได้ทำไร่ไถนา เราอาจจะได้ไปล่วงเกินชีวิตสรรพสัตว์ หรือดื่มเหล้าสรวลเสเฮฮา พอถึงฤดูกาลเข้าพรรษาอย่างน้อยที่สุดก็สามเดือน หยุดในเรื่องของเหล้า การตกปลาล่าสัตว์ ทุกอย่างจะหยุดหมดในช่วงสามเดือน โดยประเพณีนี้เราไม่รู้ว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ในเมืองไทยชาวพุทธแม้คนที่ดื่มเหล้าจัดๆ พอถึงฤดูกาลเข้าพรรษาก็หยุดกันได้”
“การหลอมเทียนต้องมีจุดสำคัญจุดหนึ่ง ไม่ใช่ใครอยากจะทำก็ทำได้ อย่างน้อยต้องมีวัดเป็นศูนย์กลาง เพราะไม่ใช่แค่การหลอมเทียนอย่างเดียวเท่านั้น แต่เราได้เอาคนทั้งหมดในชุมชนมาหลอมใจร่วมกัน”
ทิ้งท้ายด้วยคำสอนของพระมหาสง่าที่ฝากถึงพุทธศาสนิกชนในวันเข้าพรรษา ที่นับเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติอีกวันหนึ่งด้วย ว่าแท้จริงแล้วแก่นสำคัญของการถวายเทียนในประเพณีนี้ของชาวพุทธนั้น อยู่ที่ใด...
“เทียนพรรษาที่พุทธศาสนิกชนถวายจะนำไปจุดเพื่อเป็นพุทธบูชา ในเมืองที่มีไฟฟ้าใช้อาจจะดูว่าไม่ค่อยมีความจำเป็น แต่ก็จะมีการจุดในตอนทำวัตรเช้าทำวัตรเย็นในการสวดมนต์ ในส่วนท้องถิ่นที่อยู่ห่างไกลที่ไฟฟ้าไปไม่ถึงอันนี้จำเป็น แม้ในบางจุดที่ไฟฟ้าไปถึงแต่ยังไม่สะดวก มีการดับไฟ เทียนก็เป็นสิ่งจำเป็น ฉะนั้น การถวายเทียนนอกจากที่มองว่าพระท่านจะได้นำไปใช้แล้ว อาจจะเป็นสิ่งที่ดีอันหนึ่ง ที่จะบอกว่าจริงๆ แล้ว การย้อนกลับไปสู่วิถีชีวิตที่ดั้งเดิม อาจจะเป็นความสุขที่แท้จริง”
ขอบคุณที่มาข้อมูล www.esanclick.com/newstour.php?No=04490 -
คาราโอเกะ ...อดีตรักวันเข้าพรรษา
|
อดีตรักวันเข้าพรรษา
เฉลิมพล มาลาคำ
(พี่หำ)
น้ำมูลไหลหลั่ง สองฟากฝั่ง อุบลฯ วารินฯ
แว่ว เสียงแคนเสียงพิณ ซึ้งใจอ้าย บ่ลืมหลง
เข้าพรรษา ปี กลาย ยังได้ เคียงคู่อนงค์
แห่เทียน เป็นขบวนร้องส่ง สองเรายังคง รักกันชื่นบาน
แต่ในงาน ปีนี้ ไม่มีน้องเจ้า
พี่ยัง มาคอยเหมือนเก่า แม้น แต่เงา น้องก็ไม่มี
นี่หรือใจคน สาวอุบลฯ ที่ว่าใจดี
จากกัน ก็เพียงหนึ่งปี แต่มาบัดนี้ น้องลืมสัญญา
(ลำ) มองดูฟ้าเห็นแต่เมฆาบัง อ้ายแทบจังบออยู่
ซูเอ๋ยซูต่างบ้านสั่งมาต้มหลอกกัน
วันที่อ้าย ตั่งตัวมาดน
บัดว่าวนมาถึง สางบอมาน่อเจ้า
เสียงแคนเป่า เขาแห่ เทียนเข้าพรรษา
แว่ว ดังมา เหมือนเสียงสั่งจากสาวอุบลฯ
เหมือนบอกว่าเขาลืมเราแล้วลืมแล้วสัญญารักคนจน
ปีนี้ ตัวพี่หมองหม่นสาวเมืองอุบลฯน้องไม่กลับมา
ตา เหม่อ มอง น้ำมูล ไหลหลั่ง
ไหล ไปวั่งๆ ไม่กลับหลัง คืนมา
น้อง ก็คงเหมือนกัน ใจเจ้านั้น ดั่งสายธารา
รักเรา วันเข้าพรรษา เดี๋ยวนี้มาเป็นอดีตแล้วเอย
(ลำ) ใจคนเอ๋ยผู้สาวเมืองบัวบาน
บ้านพี่น้อง แสนซือ
เจ้าคือบอ คึดพ้อ คำเว้าต่อกัน
จากมือนั้น จน มาฮอด มือนี่
พี่บ่เปลี่ยน แปรไป
บัดว่าใจของนาง สางมาโอ้ยลืม อ้าย
|
Advertisement