หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายสุรงค์ โพชนิกร
จากจังหวัด ศรีสะเกษ

สารพัดวิธีตามความเชื่อประจำมหา'ลัย
โพสต์เมื่อวันที่ : 25 มิ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7056 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(33.33%-3 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

สารพัดวิธีตามความเชื่อประจำมหา'ลัย
 
นักศึกษากับความเชื่อ
       ซิ้ว ติดเอฟ เรียนไม่จบ เรียนซ้ำปี  เรื่องแบบนี้ ไม่บอกก็เดาได้ว่าเป็นเรื่องสุดยอดแห่งความกลัวของเหล่าบรรดานิสิตนักศึกษาที่ไม่อยากจะต้องกลายเป็นปู่รหัส ย่ารหัสเฝ้ามหา'ลัย แถมยังต้องนั่งเรียนร่วมชั้นกับโหลนเหลนรหัสของตัวเองแบบเคอะๆเขินๆ ในช่วงจิตใจที่กำลังโหวงเหวงกังวลพร้อมไปกับความเครียดที่มากับบทเรียน สารพันวิธีที่เรียกความสบายใจต่างก็ผุดมาพร้อมกับ ความเชื่อสุดคลาสสิค ที่หลายคนมักนำมายึดเหนื่ยวจิตใจและยินดีปฎิบัติตามแบบไม่มีข้อแม้ และผลพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

หน้าคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
       1.ห้ามเด็ดใบชงโค – ห้ามถ่ายรูปกับบันไดนาคเทวาลัย
       บริเวณแถบคณะอักษรศาสตร์จะมีต้นไม้ ต้นใหญ่ที่มีมานาน กว่า 30 ปี คือต้นชงโค โดยชาวคณะอักษรฯเชื่อกันว่า ใบชงโคหน้าคณะนั้น “ห้ามเด็ด เด็ดขาด” เพราะจะถือว่านำใบไม้ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำสถาบัน พร้อมกับห้ามถ่ายรูปหน้าบันไดนาคที่เทวาลัย หากใครถ่ายก็จะเรียนไม่จบสมควรเก็บไว้ถ่ายตอนวันสำเร็จการศึกษาแล้วเท่านั้น
       
       "ปราง" วิชญา ศิระศุภฤกษ์ชัย นิสิตเก่าคณะอักษรศาสตร์จุฬา หนึ่งในผู้ที่ปฎิบัติตามความเชื่อ บอกเล่าว่าตนได้ยินความเชื่อมาจากรุ่นพี่ แต่ส่วนตัวนั้นไม่ได้เชื่อมากนักแต่ก็ไม่ลบหลู่และก็ปฎิบัติตามอย่างไม่มีเงื่อนไขและคำถาม
       
        "คณะอักษรฯเชื่อว่า ห้ามเด็ดใบชงโค ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำคณะ ห้ามขึ้นไปบนสี่เสา ซึ่งเป็นอนุสรณ์ของตึกอักษรฯ และห้ามถ่ายรูปกับบันไดนาคที่เทวาลัย จะถ่ายได้ก็ต่อเมื่อเรียนจบเป็นบัณฑิตแล้วเท่านั้น ไม่อย่างนั้นจะเรียนไม่จบ ซึ่งมันเป็นความเชื่อส่วนบุคคลและของคนที่คณะด้วย ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะคิดยังไงเท่านั้น"

ประเพณีวิ่ง 8 กรกฎ
       2. วิ่ง “8 กรกฎ” ไม่ถึงไม่ได้ “เอ”
       โอ้โห!! มีความเชื่ออย่างนี้ด้วย ล่องไปทางภาคตะวันออกอย่าง มหาวิทยาลัยบูรพา ก็เป็นอีกหนึ่งสถาบันที่เชื่อเรื่องนี้เช่นกัน แต่ความเชื่อของที่นี่ต้องใช้ความทรหดเอาการ ในความเชื่อที่แลกด้วยความอดทนต่อการวิ่งและจะได้มาซึ่งเกรดเอที่ปรารถนา
       
       “แพร- กิรดา แท่งหอม” ซีเนียร์สาว ภาควิชานิเทศศาสตร์ บอกว่า ความเชื่อของที่นี่เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานแล้ว ถ้าไม่ทำจะเรียนไม่จบ คือ ทุกปีในวันที่ 8 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันเกิดของมหาวิทยาลัย รุ่นพี่จะนำนักศึกษาน้องใหม่ชั้นปีที่ 1 วิ่งจากเขาสามมุก กลับมาที่มหาวิทยาลัยเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร และพอเมื่อวิ่งมาถึงประตูหน้ามหาวิทยาลัยแล้วก็ จะมีตัวเอให้เหยียบ ถือเป็นเคล็ดให้สอบได้เกรดเอ
       
       
“ มันเป็นความเชื่อที่มากับประเพณี ในช่วงรับน้องแรกๆ เพื่อแสดงให้น้องเห็นถึงความพยายามกว่าจะถึงเส้นชัย ก็จะมีความยากลำบาก แต่หากใครขี้เกียจวิ่งหรือเหนื่อยก่อนกลางทางไม่ได้มาเหยียบเอตรงบริเวณประตูหน้ามหาวิทยาลัยก็จะเชื่อกันว่าว่าจะเรียนไม่จบ ตรงนี้จะเชื่อไม่เชื่อขึ้นอยู่กับแต่ละคน แต่น้องๆส่วนใหญ่ก็จะปฎิบัติตามทุกคน”...

พิธีครอบครู
       3. ห้ามข้ามเครื่องแต่งกาย และอย่าหยิบหัวโขนมาใส่เล่น
       วิทยาลัยนาฎศิลป์
       
       เรื่องนี้เป็นความเชื่อของหลากหลายสถาบันที่มีการเรียนการสอนนาฎศิลป์ไทย ที่โดยเชื่อกันในเรื่องความเป็นศิษย์และความเป็นครู ซึ่งแต่ละปีนั้นจะจัดพิธีสำคัญอย่างพิธีครอบครูขึ้นมาเพื่อความเป็นสิริมงคลให้กับนักเรียนนักศึกษา
       
       "พิธีครอบครู" หมายถึง การนำศีรษะครูมาครอบ (รับเป็นศิษย์) และครูจะคอยควบคุมรักษา ครูจะอยู่กับศิษย์คอยช่วยเหลือให้ศิษย์มีความจำในกระบวนการรำ จังหวะดนตรี หากมีสิ่งใดที่ไม่งามจะเกิดขึ้นกับศิษย์ ครูจะช่วยปัดเป่าให้พ้นจากตัวศิษย์ ทำให้ผู้เรียนมีกำลังใจ มีความมั่นใจมากขึ้น และพิธีครอบครูนั้น ผู้ศึกษานาฏศิลป์ทุกคนถือว่าเป็นพิธีสำคัญ และจำเป็นสำหรับผู้ที่ศึกษาปฏิบัติท่ารำที่อยู่ในระดับสูง เช่น การรำเพลงหน้าพาทย์ ก่อนจะรำผู้ศึกษาจะต้องผ่านพิธีครอบครูก่อนจึงจะต่อท่ารำให้ได้รับครอบเป็นประธานประกอบพิธีไหว้ครูและครอบครูต่อไป
       โดยอีกหนึ่งวิธีความเชื่อที่ปรากฎมาเป็นวิธีปฎิบัติต่อความเชื่อ ในทีนี้ คือ หากนักเรียน หรือนักศึกษาสาขานาฎศิลป์คนไหนยังไม่ได้ทำการครอบครู ก็เชื่อกันว่า ห้ามสวมเครื่องแต่งกายและหัวโขนมาใส่ในการแสดง จะไม่เป็นมงคลและอาจเกิดอำนาจลี้ลับว่าอาจจะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับผู้นั้นได้
       
       ขวัญ –เฉลิมขวัญ ศิษย์เก่าวิทยาลัยนาฎศิลป์ กรุงเทพ บอกเรื่องความเชื่อในครูที่เป็นสิ่งลี้ลับประจำเครื่องแต่งกาย ประจำเครื่องดนตรี และประจำเครื่องประกอบการแสดงชั้นสูง เป็นความเชื่อที่สำคัญและถูกปลูกฝังกันแบบรุ่นสู่รุ่นและปฎิบัติกันมาอย่างเคร่งครัด
       
       “เรื่องการปฎิบัติตัวและข้อห้ามต่างๆครูก็จะเป็นผู้บอกว่าห้ามทำอย่างนี้ อะไรควรทำไม่ควรทำและก็จะมีรุ่นพี่คอยเตือนอีกรอบ โดยปกติวิทยาลัยนาฎศิลป์ก็จะครอบครูกันปีละครั้ง คนที่ยังไม่ได้ครอบครูก็จะห้ามใส่หัวโขน แต่หากครอบแล้วก็สามารถสวมหัวโขนขึ้นแสดงได้ แต่ถ้าหากนำมาใส่เล่น ตรงนี้จะเป็นสิ่งที่ห้ามกันเลย อีกทั้งยังห้ามเดินข้ามเครื่องแต่งกายชุดแสดงเพราะถือว่าเป็นผ้าไทยเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อกันว่าอาจจะโดนของเข้าได้หากทำผิดสิ่งที่ได้ห้ามบอกกันไว้ทั้งสองอย่างนี้”

วิ่งขึ้นดอย
       4. มช.วิ่งไม่ถึงดอยก็เรียนไม่จบ
       สุดท้าย ขึ้นเหนือไปที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมีประเพณีรับน้องขึ้นดอย โดยเชื่อว่าถ้า นักศึกษาปี 1 เดินจากมหาวิทยาลัยขึ้นไปถึงยอดดอยสุเทพระยะทาง 14 กิโลเมตรได้ จะเรียนจบภายใน 4 ปี ส่วนอีกความเชื่อเป็นเรื่องที่บอกต่อๆ กันมาว่าห้ามนักศึกษาที่ยังเรียนไม่จบถ่ายรูปกับศาลาธรรมที่อยู่ตรงประตูหน้ามหาวิทยาลัย เพราะจะทำให้เรียนไม่จบ และจะถ่ายได้ก็ต่อเมื่อเรียนจบแล้วเท่านั้น
       "อ้อม" นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ชั้นปีที่ 4 อ้อมบอกว่าประเพณีนี้สืบทอดกันมานานแล้วและในกิจกรรมประเพณีก็แฝงความเชื่อไว้ รุ่นน้องก็มักจะเชื่อตามนั้นด้วย
       "คิดว่าความเชื่อต่างๆ พวกนี้ไม่ใช่เรื่องที่งมงาย เชื่อไว้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร เพราะสุดท้ายจะเรียนจบหรือไม่จบนั้น ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวเราเอง การทำตามหรือไม่ทำตามความเชื่อไม่ใช่หลักสำคัญ อย่างประเพณีรับน้องขึ้นดอย ถึงแม้จะไม่มีความเชื่อเรื่องเรียนไม่จบมากำกับให้ทำ นักศึกษา มช.ทุกคนก็ทำอยู่แล้ว เพราะเป็นประเพณีอันดีงามที่นักศึกษาทุกคนภาคภูมิใจ ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตนักศึกษา มช. ต้องเข้าร่วมกิจกรรมนี้ให้ได้" ความรู้สึกของอ้อม ที่มีต่อความเชื่อ

       5. ห้ามขอพรเรื่องความรัก ม.รังสิต
       ปกติทุกรั้วมหาวิทยาลัยก็มักจะมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำสถาบันกันทุกแห่ง และแต่ละแห่งเราก็มักจะพบว่าบรรดานิสิตนักศึกษาที่ต้องการที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ทำการเข้ากราบไหว้ ขอพรต่างๆ ซึ่งก็หนีไม่พ้นเรื่องของความรัก การเรียน
       
       มณฑปพระศรีศาสดา ที่ตั้งอยู่ ณ ใจกลางมหาวิทยาลัยรังสิตที่เป็นดั่งศูนย์รวมแห่งศรัทธาในบวรพุทธศาสนา ก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่มีความเชื่อประกอบเช่นกัน บรรดาคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ตลอดจนผู้เดินทางมาเยี่ยมเยือนมหาวิทยาลัยรังสิตโดยทั่วไป ต่างก็กราบไหว้ขอพรกันตามปกติโดยสิ่งที่ผิดปกติไปจากรั้วถิ่นมหาวิทยาลัยอื่น ชาวรังสิตทุกคนจะรู้กันดีว่า คือ เรื่ององการขอพรหรือ "การบน"จากที่เคยสามารถขอพรกันได้หมดตามศรัทธา แต่สำหรับพระศรีฯหรือ ศรัทธาแห่งชาวรังสิตแล้ว
ห้ามขอในเรื่องของความรักเด็ดขาดเพราะมิฉะนั้นก็จะเรียนไม่จบ
       

       “อิง-จิราภรณ์ ตุลาผล” ศิษย์เก่าคณะศิลปศาสตร์ ขณะนี้ปฎิบัติงานเป็นเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ประจำมหาวิทยาลัยรังสิต อิงเล่าว่าเวลารับน้องนั้นรุ่นพี่จะบอกต่อๆกันมาถึงเคล็ดลับในการขอพรให้สำเร็จว่าให้ขอและตั้งจิตอธิษฐานดีๆโดยเฉพาะช่วงสอบ แต่สิ่งหนึ่งที่ห้ามขอเลยทีเดียวก็คือห้ามขอเรื่องความรัก
       
       
“จำได้ว่าอาจารย์ที่ม.รังสิตก็เคยพูดและรุ่นพี่ก็เคยบอก ทำให้ทุกคนที่เป็นนักศึกษาที่นี่ก็จะรู้ดี พอช่วงใกล้ๆที่จะมีการสอบหลายคนก็จะมาบนเรื่องเกรด และขอให้มีผลการเรียนที่ดี และถ้าหากสมหวัง อย่างที่ไม่รู้ว่าจะด้วยการบนหรือความพยายามของตัวเอง ตามความเชื่อทุกคนก็จะมาแก้บนด้วยการวิ่งรอบพระศรีฯกัน”
       


ความเชื่อเรื่องสวมชุดครุย
       ท้ายสุดป็นความเชื่อที่เชื่อว่าคงกระฉ่อนไปทุกรั้วหัวระแหงสถาบัน กับ เรื่องของชุดรับปริญญา
       
       6. ใครใส่ชุดครุย หรือสวมหมวกบัณฑิตก่อนเรียนจบ ก็จะเรียนไม่จบ!
       จริงแท้แน่นอนยังไงก็ไม่มีใครทราบได้ แต่ท้ายสุดแล้วนั่นก็เป็นความเชื่อที่เกิดขึ้นกันมาอย่างนมนาน ที่บรรดานิสิตนักศึกษาต่างๆก็ได้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป และปฎิบัติตามบ้างไม่ตามบ้างเป็นเรื่องธรรมดา
        
       “หนิง- นพรัตน์ ” รุ่นพี่ศิษย์เก่าจากรั้วมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือนพรัตน์เล่าย้อนอดึตไปสมัยใกล้จะศึกษาจบถึงความเชื่อดังกล่าวที่ตนก็ได้ปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัดเช่นกันในขณะที่เพื่อนของตนไม่ได้ปฎิบัติตาม สวมชุดครุยถ่ายรูปก่อนจะศึกษาจบ !
       
       
“ จำได้ว่าตอนใกล้จบก็มีแต่คนพูดกัน ถ้าถามว่าเราเชื่อไหม คงตอบว่าเฉยๆแต่ก็ไม่คิดที่จะท้าทาย ออกแนวไม่ลบหลู่ ในเรื่องของลางต่างๆแต่อย่างใด ก็ปฎิบัติตาม เอาไว้ใส่ตอนรับปริญญาและไปถ่ายรูปชุดครุยเตรียมการเอาไว้หลังจากเซ็นต์ใบจบแล้ว แต่ส่วนเพื่อนบางคนก็ไม่ถือสากับความเชื่อที่พูดถึงกัน เพราะเรื่องนี้ก็นานาจิตตัง”
       

       เอาล่ะ มาถึงตรงนี้ สรุปได้ว่า หลายคำบอกเล่าที่ตกทอดกันมา ท้ายสุดแล้วนั่นมันก็เป็นเพียง "ความเชื่อ" ที่นักศึกษาของแต่ละสถาบันอาจ "เชื่อ" หรือ "ไม่เชื่อ" ก็สุดแล้วแต่ หากกระนั้นเองในที่สุดแล้วพอเมื่อคืนวันผ่านไป ความเชื่อ ที่เป็นสิ่งลี้ลับ แม้จะยังคงอยู่หรือไม่ก็จะกลับมาเป็นความทรงจำดีดีเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย สถานที่ศึกษาอันเป็นที่รักให้กับนิสิต นักศึกษาได้ไม่น้อยเลยทีเดียว
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง สารพัดวิธีตามความเชื่อประจำมหา'ลัย
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายสุรงค์ โพชนิกร
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายสุรงค์ โพชนิกร..