หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายกรม ศรีบาล
จากจังหวัด นครราชสีมา

ผู้จัดการมรดก กับ หน้าที่
โพสต์เมื่อวันที่ : 24 มิ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6903 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(61.43%-14 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

กฏหมายน่าออนซอน

.....

 

หลังจากที่ศาลมีคำสั่งตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว  สิทธิและหน้าที่ของผู้จัดการมรดกย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดกซึ่งได้บัญญัติถึงสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบและการเพิกถอนผู้จัดการมรดก  ตลอดถึงการรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงิน  และการชำระหนี้กับแบ่งปันทรัพย์มรดก  นอกจากนี้ได้บัญญัติถึงกรณีมรดกที่ไม่มีผู้รับและอายุความมรดก  เพราะผู้จัดการมรดกถือเป็นตัวแทนของทายาททุกคนในอันที่จะรวบรวมทรัพย์มรดก   ทั้งจัดแบ่งทรัพย์มรดกและมอบทรัพย์มรดกแก่ทายาท  โดยต้องชำระหนี้กองมรดกก่อน(ถ้ามี)  มิใช่ว่าเมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว  ผู้จัดการมรดกจะทำได้ตามอำเภอในตนเองโดยโอนทรัพย์สินเป็นของตนเองโดยลำพังและไม่แจ้งหรือปรึกษาบรรดาทายาทก่อนทั้งที่กฎหมายกำหนดบทบาทของผู้จัดการมรดกไว้แล้วในที่นี้จะขอกล่าวแต่เฉพาะที่เห็นว่าจำเป็นและควรรู้เท่านั้น  ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

 

1.  หน้าที่ผู้จัดการมรดก

1.  หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลเริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว (ม.๑๗๑๖)

2.  หน้าที่ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายใน  ๑๕  วัน  นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดก (วันฟังคำสั่งศาลหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว  ตามข้อ ๑) (ม.๑๗๒๘)

3.  ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายใน    เดือน  หากไม่เสร็จภายใน    เดือน  ผู้จัดการมรดกร้องขอต่อศาลอนุญาตขยายเวลาอีกได้  แต่ต้องขอขยายก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน (ม.๑๗๒๙)

4.  บัญชีทรัพย์มรดกต้องมีพยาน    คน  และต้องเป็นทายาทที่มีส่วนได้เสียในกองมรดก (ม.๑๗๒๙ วรรค  ๒)

(ข้อสังเกต*  คำว่าบัญชีทรัพย์มรดกซึ่งจัดทำขึ้นโดยผู้จัดการมรดกหมายถึง  บัญชีทรัพย์ซึ่งผู้จัดการมรดกที่ได้รับแต่งตั้งจากศาลเป็นผู้ทำ  หาใช่บัญชีทรัพย์ที่ยื่นพร้อมคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกไม่เพราะขณะทำบัญชีทรัพย์ถือว่ายังไม่มีหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดก (คำพิพากษาฎีกาที่  ๑๒๙๒-๑๒๙๓/๒๕๑๒)

                        - มาตรา    ๑๗๒๘,  ๑๗๒๙  เป็นบทบังคับให้ทำบัญชีทรัพย์มรดกไม่ใช่บทบังคับให้ทำบัญชีรับและจ่ายทรัพย์มรดก

                        -  บัญชีทรัพย์มรดกต้องมีรายการแสดงว่าเป็นทรัพย์สิน, สิทธิเรียกร้องอะไรบ้างเงินมูลค่าเท่าใดและแจ้งจำนวนเจ้าหนี้ว่ามีใครบ้าง   เป็นเงินรวมเท่าใด

5.  ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จภายในกำหนดเวลาและตามแบบที่กำหนดหรือบัญชีไม่เป็นที่พอใจแก่ศาล  เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือการทุจริต  หรือความไม่สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก  ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้               (ม.๑๗๓๑)

6.  ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่  และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและแบ่งปันมรดกให้เสร็จภายใน    ปี  นับแต่วันฟังคำสั่งศาล  หรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้วเว้นแต่ทายาทโดยจำนวนข้างมาก  หรือศาลจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น (ม.๑๗๓๒)

7.  ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดกเว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทจำนวนข้างมากจะได้กำหนดไว้ (ม.๑๗๒๑)

8.  ผู้จัดการมรดกจะทำพินัยกรรมใด ๆ  ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกไม่ได้  เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้หรือได้รับอนุญาตจากศาล (ม.๑๗๒๒)

9.  ผู้จัดการมรดกต้องจัดการมรดกด้วยตนเอง (ม.๑๗๒๓)

10.  ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอก  โดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใด    หรือประโยชน์อื่นใด  อันบุคคลภายนอกได้ให้    หรือได้ให้คำมั่นว่าให้เป็นลาภส่วนตัวย่อมไม่ผูกพันทายาท  เว้นแต่ทายาท   เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย (ม.๑๗๒๔  วรรค ๒)

11.  ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อกำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มรส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร       (ม.๑๗๒๕)

12.  ทายาทจะต้องบอกทรัพย์สินมรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดก (ม.๑๗๓๕)

13.  ผู้จัดการมรดกต้องจัดแบ่งสินมรดกและมอบโดยเร็วโดยชำระหนี้กองมรดก (ถ้ามี) เสียก่อน (ม.๑๗๔๔)

 

 

 

2.  ความรับผิดชอบของผู้จัดการมรดก

1.  ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดชอบต่อทายาทในฐานะผู้จัดการและตัวแทนของทายาท (ม.๑๗๒๐) กล่าวคือ

                        1.1  เมื่อทายาทมีความประสงค์จะทราบความเป็นไปของการที่ได้มอบหมายแก่ผู้จัดการมรดกนั้นในเวลาใด ๆ ซึ่งสมควรแก่เหตุ  ผู้จัดการมรดกก็ต้องแจ้งให้ทายาททราบอนึ่ง  เมื่อการเป็นผู้จัดการมรดกนั้นสิ้นสุดลงแล้ว  ผู้จัดการมรดกต้องแถลงบัญชีด้วย (ม.๘๐๙)

                        1.2  เงินและทรัพย์สินอย่างอื่นบรรดาที่ผู้จัดการมรดกได้รับไว้เกี่ยวด้วยการเป็นผู้จัดการการมรดกนั้น   ท่านว่าผู้จัดการมรดก  ต้องส่งให้แก่ทายาทจนสิ้น

                        ­อนึ่ง  สิทธิทั้งหลายที่ผู้จัดการมรดกขวนขวายได้มาในนามของตนเองแต่โดยฐานที่ทำการแทนทายาทนั้น  ผู้จัดการมรดกก็ต้องโอนให้แก่ทายาทจนสิ้น (ม.๘๑๐)

                        1.3  ถ้าผู้จัดการมรดกเอาเงินซึ่งควรจะได้ส่งแก่ทายาท  หรือซึ่งควรจะใช้ในกิจของทายาทนั้นไปใช้สอยเป็นประโยชน์ตนเสีย  ผู้จัดการมรดกต้องเสียดอกเบี้ยในเงินนั้นนับแต่วันที่ได้เอาไปใช้ (ม.๘๑๑)

                        1.4  ถ้ามีความเสียหายเกิดขึ้นอย่างใด ๆ   เพราะความประมาทเลินเล่อของผู้จัดการมรดกก็ดี  เพราะไม่ทำการเป็นผู้จัดการมรดกก็ดี  หรือเพราะทำการโดนปราศจากอำนาจ  หรือนอกเหนืออำนาจก็ดี  ผู้จัดการมรดกจะต้องรับผิด        (ม.๘๑๒)

                        1.5  ถ้าผู้จัดการมรดกกระทำอันใดอันหนึ่งโดยปราศจากอำนาจก็ดีหรือทำนอกเหนืออำนาจก็ดี  ย่อมไม่ผูกพันทายาท  เว้นแต่ทายาทจะให้สัตยาบันแก่การนั้น

                        ถ้าทายาทไม่ให้สัตยาบันผู้จัดการมรดกย่อมต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกโดยลำพังตนเองเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกนั้นได้รู้อยู่ว่าตนทำการโดยปราศจากอำนาจ  หรือทำนอกเหนือขอบอำนาจ (ม.๘๒๓)

2.  เมื่อศาลเห็นสมควรโดยลำพัง  หรือเมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอศาลอาจสั่งให้ผู้จัดการมรดก

                        1.  หาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของทายาทตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น

                        2.  แถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของทายาท (ม.๑๗๓๐ ประกอบ ม.๑๕๙๗)

3.  การเพิกถอนผู้จัดการมรดก

                        ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งให้ถอนผู้จัดการมรดกเพราะเหตุผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้  แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลง

                        แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี  ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุอันสมควรก็ได้  แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล (ม.๑๗๒๗)

4.  ข้อควรระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดก

                        ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้น  ผู้จัดการมรดกต้องมีจิตสำนึกว่าเป็นการจัดการแทนทายาทผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกในกรณีเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้  หรือจัดการแทนผู้รับพินัยกรรมในกรณีที่มีการทำพินัยกรรม  มิใช่กระทำเพื่อตัวผู้จัดการมรดกเอง  ผู้ที่เป็นผู้จัดการมรดกได้จึงต้องเป็นผู้เสียสละและมีความซื่อสัตย์สุจริตเพราะถ้ากระทำไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว  เช่น  เบียดบังทรัพย์มรดกเป็นของตนเองแล้งก็จะเป็นการกระทำผิดอาญาข้อหายักยอกทรัพย์มรดก  ซึ่งมีโทษถึงขั้นติดคุกได้

                        กรณีที่พนักงานอัยการได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดก  ซึ่งเป็นการดำเนินการคุ้มครองสิทธิ  เมื่อศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำร้องแล้ว  หากมีปัญหาในการจัดการมรดก  ผู้จัดการมรดกสามารถขอรับคำปรึกษาจากสำนักงานอัยการได้  เพราะเป็นหน้าที่ของพนักงานอัยการที่จะต้องคอยแนะนำช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาด้านกฎหมายอยู่แล้ว

          -------------------------------------------

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ผู้จัดการมรดก กับ หน้าที่
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายกรม ศรีบาล
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายกรม ศรีบาล..