หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
จิราภรณ์ หอมกลิ่น
จากจังหวัด ยโสธร

อ่านบทความ.....อัตลักษณ์และวาทกรรมนิราศ....ของมหากวี สุนทรภู่
โพสต์เมื่อวันที่ : 20 มิ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6900 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(50.94%-53 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ช่วงนี้จะลงบทความเกี่ยวกับสุนทรภู่มากเป็นพิเศษค่ะ  เพราะมีพันธะกับนักเรียน  ให้เขาทำกิจกรรมหลายอย่าง  เลยต้องหาข้อมูลให้  เพื่อที่เขาจะได้ศึกษาค้นคว้าไปทำกิจกรรมตามที่กำหนด   และวันนี้เอาบทความของคุณมหา สุรารินทร์  ที่ลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 8 มิถุนายน 2552  มาให้อ่านค่ะ  เป็นบทวิเคราะห์ที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่ง....

สุนทรภู่ นับเป็นมหากวีสามัญชนที่โดดเด่นในหมู่กวีประจำชาติ ซึ่งเต็มไปด้วยเชื้อพระวงศ์เสียทั้งสิ้น  ทั้งนี้สังคมไทยที่มีสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากสมัยอยุธยา ทั้งยังชีวิตในแวดวงของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรงของความเปลี่ยนแปลง มีความสอดคล้องกับทัศนคติและค่านิยมของพวกกระฎุมพี

'กระฎุมพีไทย' (ในที่นี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า bourgeois หมายถึง คนมั่งมี หรือสามัญชนที่สร้างฐานะจนร่ำรวยขึ้นมา) ไม่มีกำเนิดเป็นอิสระจากระบบศักดินา ไม่ใช่กลุ่มบุคคลที่หนีอำนาจทางการเมืองของพวกศักดินา ไปอยู่ในชุมชนที่สร้างใหม่ตามชุมชนทางคมนาคมและพัฒนาเมืองขึ้นเป็นฐานอำนาจอิสระของตนเอง มีรายละเอียดอธิบายอยู่ในงานเขียนชุด 'ปากไก่และใบเรือ' ของศาสตราจารย์ ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

วรรณกรรมนิราศของสุนทรภู่ทั้ง 8 เรื่อง คือ นิราศเมืองแกลง, นิราศพระบาท, นิราศภูเขาทอง, นิราศวัดเจ้าฟ้า, โคลงนิราศสุพรรณ, นิราศประธม, นิราศเมืองเพชร และรำพันพิลาป จึงเป็นสะพานเชื่อมวาทกรรมกับคนชายขอบที่เป็นมุมมองคนเมืองอย่างที่สุนทรภู่มองเห็นวิถีชีวิตชาวบ้าน คือ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ การแต่งกาย วัฒนธรรม และสำเนียงภาษา เป็นสิ่งกำหนด 'ความเป็นอื่น' ต่างจากสังคมกระแสหลักในคนบางกอก ที่ค่อนข้างละเอียดกว่านิราศที่มีมาก่อนหน้านี้

นิราศเรื่องต่างๆ ของสุนทรภู่มองผ่านการสร้าง 'วาทกรรม' ในนิราศกับวิถีชีวิตคนชายขอบที่เป็นทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มคนชายขอบที่เรียกตัวเองว่าเป็น 'คนไทย' หมายถึง ผู้คนในศูนย์กลางอำนาจรัฐของวัฒนธรรมชั้นสูงในกรุงรัตนโกสินทร์ อาจเปรียบเทียบสำเนียงเสียง 'เหน่อ' ที่ไม่ใช่คนเมืองหลวงกับสำเนียงพูด 'เยื่อง' ของคนบางกอกและกลุ่มคนชายขอบที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์อื่น เช่น มอญ ลาว เขมร เจ๊ก จีน จาม และลูกผสม เป็นต้น

สุนทรภู่ เป็นกวีไม่กี่คนในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้สัมผัสกับวิถีชีวิตชาวบ้านและพบเห็นคนชายขอบเหล่านี้และมีส่วนในการเผยแพร่การมองคนชายขอบผ่าน 'อัตลักษณ์' จากสายตา 'คนส่วนใหญ่' ในบางกอกที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างอัตลักษณ์คนชายขอบ สื่อสารผ่านทั้งในแง่ กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น และเศรษฐกิจ การเมืองของช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่ส่งอิทธิพลมาจนถึงปัจจุบัน
 

นิราศภูเขาทอง เป็นวรรณคดีประเภทนิราศ แต่งด้วยกลอนแปดมีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น สุนทรภู่แต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ขณะบวชเป็นพระภิกษุไปเมื่อราวเดือนสิบเอ็ด ปีชวด พ.ศ.2371 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 3
 

แม้จะเป็นนิราศสั้นๆ ไม่ยาวมากนัก แต่มีความไพเราะและเรียบง่ายตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึก ขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดินทางผ่านไป มีหลายบทที่เป็นที่รู้จักและท่องจำกันได้

 ภิญโญ ศรีจำลอง อธิบายเส้นทางการเดินทางไปภูเขาทองของสุนทรภู่ในหนังสือ 'ท่องโลกกวี เทิดอักษร สุนทรภู่' ไว้ว่า...  "สุนทรภู่เดินทางไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่พระนครศรีอยุธยาพร้อมด้วยเณรหนูพัด โดยเรือจากวัดราชบูรณะ ตามลำน้ำเจ้าพระยา ผ่านพระบรมมหาราชวัง-บางจาก-บางพลู-บางพลัด-บางโพ-บ้านญวน-วัดเขมาภิรตาราม-ตลาดแก้ว-ตลาดขวัญ-นนทบุรี-ปากเกร็ด-บางพูด-บางเดื่อ-สามโคก-บ้านงิ้ว-เกาะใหญ่ราชครามและถึงกรุงเก่า คือ พระนครศรีอยุธยา ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศดีที่สุด มีสำนวนคมคายและแฝงไว้ด้วยปรัชญาและสุภาษิตอันลึกซึ้งตามคติพระพุทธศาสนาและค่านิยมของคนไทยในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เต็มไปด้วยสำนวนบอกถึงความสงบสำรวม ไม่โลดโผนตามวิสัยฆราวาสเหมือนในนิราศเรื่องอื่นๆ ของท่าน"
 

คุณค่าทางวรรณศิลป์ในกลอน นิราศภูเขาทอง คือการเลือกใช้คำดีเด่นต่างๆ ดังนี้
 สัมผัสสระ คือ คำที่ใช้สระตัวเดียวกัน
 สัมผัสอักษร คือ คำที่มีอักษรคล้องจองกัน การซ้ำเสียง คือ การสัมผัสอักษรอย่างหนึ่ง นับเป็นการเล่นคำที่ทำให้เกิดเสียงไพเราะ

การซ้ำเสียงจะต้องเลือกคำที่ให้จินตภาพแก่ผู้อ่านอย่างแจ่มชัดด้วย การใช้กวีโวหาร มีภาพพจน์ลักษณะต่างๆ ที่กวีเลือกใช้ ทำให้ผู้อ่านได้เข้าถึงความคิด ความรู้สึกของกวี
 

ภาพพจน์อุปมา คือโวหารที่เปรียบเทียบของสองสิ่งว่าเหมือนกัน มักใช้คำว่า เหมือน คล้าย ดุจ ดูราว ราวกับ
ภาพพจน์กล่าวเกินจริง คือ การที่กวีอาจกล่าวมากหรือน้อยกว่าความเป็นจริง เพื่อสื่อให้เกิดความเข้าใจและมองเห็นภาพในความคิดคำนึงได้ดีขึ้น

 การเลียนเสียง คือ กวี ทำให้เสียงที่ได้ยินมาบรรยายให้เกิด มโนภาพและความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
 การเล่นคำ คือ การใช้ถ้อยคำคำเดียวในความหมายต่างกันเพื่อให้ การพรรณนาไพเราะน่าอ่าน และมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ประเพณีการแต่งคำประพันธ์ด้วยฉันทลักษณ์ร้อยกรองอย่าง 'จดหมายเหตุ' มีมาแล้วตั้งแต่ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา เช่น ยวนพ่าย-ทวาทศมาส ที่แต่งเป็นบันทึกการเดินทางก็มี เช่น โคลงหริภุญไชยของล้านนา แต่ที่เป็นต้นแบบบันทึกการเดินทางอย่างจดหมายเหตุ คลุกเคล้าด้วย จดหมายรัก คือ กำสรวลสมุทรที่รู้จักกันดีชื่อ กำสรวลศรีปราชญ์
 นิราศ หรือ เพลงยาว คือ กลอน มีรากเหง้าเค้าเดิมมาจากคำคล้องจองในชีวิตประจำวันของกลุ่มชนตระกูลไทย-ลาว การเขียนนิราศอาจเป็น บันทึกการเดินทางและการอ่านเพื่อเข้าถึงเรื่องเล่าท้องถิ่น

บันทึกการเดินทางอย่างจดหมายเหตุ แล้วคร่ำครวญหวนในลักษณะจดหมายรัก คงเป็นที่นิยมกว้างขวางตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าบรมโกศสืบมาจนถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ ก่อนเสียกรุงเมื่อ พ.ศ.2310 เพราะมีต้นฉบับเพลงยาวตกทอดมาจำนวนไม่น้อย รวมเรียกว่าเพลงยาวความเก่า ขณะที่ เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา ในปลายรัชสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราช นั้นถือเป็นลักษณะหนังสือสนเท่ห์ อิงกับคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาในเรื่องพุทธทำนาย
 

นิราศที่ปรากฏในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้ทูตไปเจริญทางพระราชไมตรีกับเมืองจีน พระยามหานุภาพที่ได้ไปด้วย ก็แต่งบันทึกการเดินทาง เรียกกันภายหลังว่า นิราศกวางตุ้ง

ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์กลอนนิราศที่ถือว่าเป็นเรื่องแรก คือ เพลงยาวนิราศรบพม่าท่าดินแดง พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช นิราศเรื่องทรงพระราชนิพนธ์เมื่อคราวศึกรบพม่าที่ตำบลท่าดินแดง พ.ศ.2329 ปีเดียวกับที่ สุนทรภู่ เกิดที่วังหลังพอดี 

อีกบทหนึ่งคือเพลงนิราศฯที่เป็นพระราชนิพนธ์ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ซึ่งจะต้องทรงแต่งอย่างชำนาญมาแต่ครั้งรับราชการอยู่กรุงศรีอยุธยาแล้ว

เพลงยาวที่แต่งอย่างนิราศมีต้นฉบับเหลืออยู่ให้เห็นเป็นหลักฐานคือเพลงยาวของหม่อมภิมเสนถือเป็นเก่าที่สุด และตำนานท้าวปาจิตนางอรพิม ตำนานเมืองพิมายที่เขียนในสมัยกรุงธนบุรีต้นฉบับค้นพบที่พระราชวังหลัง หรือบริเวณโรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน เป็นลักษณะกลอน 8 ที่ส่งสัมผัสแพรวพราว

จากนั้นได้มีพัฒนาการสืบมาจนถึงนิราศแบบสุนทรภู่ และลีลากลอน 8 แบบสุนทรภู่ยุคต้นกรุงเทพฯ ที่บรรดากวียุคหลังถือเป็น 'ครู' แล้วนิยมแต่งนิราศแบบสุนทรภู่กันอย่างแพร่หลายมาจนถึงทุกวันนี้

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง อ่านบทความ.....อัตลักษณ์และวาทกรรมนิราศ....ของมหากวี สุนทรภู่
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

จิราภรณ์ หอมกลิ่น
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
จิราภรณ์ หอมกลิ่น..