หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

การทำหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ(passport)
โพสต์เมื่อวันที่ : 16 มิ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7046 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(50.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

  การทำหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ

 

หนังสือเดินทาง (Passport)

- ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่
- บุคคลบรรลุนิติภาวะ
- ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
- ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์
- การรับหนังสือเดินทาง
- หนังสือเดินทางสูญหาย
- การตรวจลงตรา(Visa)
- สถานที่ติดต่อ

หนังสือเดินทางทั่วไป หนังสือเดินทางราชการ
หนังสือเดินทางชั่วคราว หนังสือเดินทางฑูต

ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง
โปรดนำเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาแสดงให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการยื่นคำร้องกรณีผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และ ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ หากเอกสารที่นำมาแสดงไม่ครบถ้วน ท่านจะต้องนำเอกสารดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมในวันรับเล่ม ซึ่งจะทำให้การรับเล่มล่าช้า เนื่องจากต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำมาแสดงเพิ่มเติมลงในระบบให้ครบถ้วน



ขั้นตอนการยื่นขอหนังสือเดินทางใหม่
รับบัตรคิว
ยื่นบัตรประจำตัวประชาชนที่มีเลข 13 หลัก(หากไม่มีเลข 13 หลัก ต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านมาแสดง) พร้อมเอกสารหลักฐานอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หากเปลี่ยนชื่อสกุล ต้องมีหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล ทะเบียนสมรส ฯลฯ มาแสดง เพื่อตรวจสอบข้อมูล

- บันทึกข้อมูลชีวภาพ (วัดส่วนสูง เก็บลายพิมพ์นิ้วมือนิ้วชี้ซ้ายและนิ้วชี้ขวาด้วยเครื่องสแกนเนอร์ และถ่ายรูปใบหน้า )

- แจ้งความประสงค์หากต้องการขอรับเล่มทางไปรษณีย์

ชำระค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (และค่าส่งไปรษณีย์ 35 บาทหากประสงค์ให้จัดส่งทางไปรษณีย์) รับใบเสร็จรับเงิน และรับใบนัดรับเล่ม


ท่านจะได้รับหนังสือเดินทาง ดังนี้
หากยื่นที่กรมการกงสุล ผู้ร้องสามารถรับหนังสือเดินทางได้ 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ

หากยื่นที่สำนักงานสาขาในกรุงเทพฯ (ปิ่นเกล้าและบางนา) ผู้ร้องจะได้รับเล่มภายใน 2 วันทำการไม่นับวันยื่นคำร้อง หากรับทางไปรษณีย์จะได้รับใน 5 วันทำการ

กรณียื่นคำร้องที่สำนักงานสาขาในต่างจังหวัดและขอให้จัดส่งทางไปรษณีย์ผู้ร้อง (ในเขตเมือง) จะได้รับหนังสือเดินทางภายใน 5 วันทำการ

โดยที่กระทรวงฯ ได้ติดตั้งเครื่องอ่านหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จำลองเพื่อผู้ร้องสามารถทดสอบการผ่านเข้า-ออกท่าอากาศยานโดยอัตโนมัติไว้ 1 เครื่อง ที่กรมการกงสุล ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้ขอหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มารับเล่มด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ถือหนังสือเดินทางมีความคุ้นเคยกับการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์และระบบตรวจคนเข้าเมืองอัตโนมัติ

ในกรณีจำเป็น สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นรับแทนหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์ (EMS)


บุคคลบรรลุนิติภาวะ
เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของบุคคลบรรลุนิติภาวะ

- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวงมหาดไทยฉบับจริง (ในกรณีที่เป็นบัตรข้าราชการให้นำสำเนาทะเบียนบ้านมาด้วย)

- หากมีรายการแก้ไขชื่อสกุล หรือวันเดือนปีเกิด ฯลฯ ซึ่งไม่ตรงกับบัตรประชาชนให้นำหลักฐานการแก้ไขที่เกี่ยวข้องมาแสดงด้วย

ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท




ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ป

ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ป

ผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องนำสูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนาถูกต้องจาก อำเภอ/เขตมาแสดงพร้อมผู้มีอำนาจปกครอง หากผู้มีอำนาจปกครองไม่สามารถมาดำเนินการได้ สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้ โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของบิดามารดาและ/หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริงมาแสดง ทั้งนี้หนังสือมอบอำนาจและหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศต้องผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต

เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี
- สูติบัตรฉบับจริง หากเป็นสำเนาสูติบัตรต้องได้รับการรับรองจากอำเภอ/เขต
- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรที่ใช้แทนได้ตามกฎกระทรวงมหาดไทย ของบิดา มารดา หรือผู้มีอำนาจปกครองฉบับจริง หากชื่อนามสกุลบิดา มารดาในสูติบัตรไม่ตรงกับบัตรประจำตัวประชาชน ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ หรือ นามสกุลที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย ในกรณีที่มารดาหย่า และจดทะเบียนสมรสใหม่ และใช้นามสกุลใหม่ตามสามีให้นำหลักฐานการหย่าและการสมรสที่เป็นต้นฉบับมาแสดงด้วย

- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศและบัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของบิดามารดาที่ไม่มา ในกรณีที่บิดา/มารดาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถมาแสดงตัวได้

- เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรอง บุตรหรือรับบุตรบุญธรรม บันทึกการหย่า ซึ่งมีข้อความระบุให้บุตรอยู่ในความดูแลของบิดา หรือมารดา เป็นต้น

- กรณีบิดา มารดาผู้เยาว์เสียชีวิต / บิดาหรือมารดาผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติมิได้จดทะเบียนสมรสและ ไม่สามารถตามหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาให้ความยินยอมได้ / บิดามารดามิได้จดทะเบียนสมรสแต่บุตรอยู่ในความดูแลของบิดาฝ่ายเดียวมาตลอด และไม่สามารถตามหามารดาได้ ให้นำคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจปกครองมาแสดง

ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท




ผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์

ระเบียบการขอหนังสือเดินทางของผู้เยาว์อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์

ผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ ที่ทำบัตรประชาชนแล้วสามารถติดต่อขอทำ หนังสือเดินทางด้วยตนเอง โดยมีหนังสือยินยอมของบิดาและมารดา หรือ ผู้มีอำนาจปกครองที่ยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ / เขตมาแสดงประกอบการยื่นคำร้อง หากไม่มีหนังสือยินยอม บิดาและมารดาหรือผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ต้องมาลงนามต่อหน้าเจ้าหน้าที่ในวันที่ยื่นคำร้อง (หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมาไม่ได้ ให้มาลงนามในวันรับเล่ม) หรือ มีหนังสือยินยอม จากฝ่ายที่มาไม่ได้มาแสดง เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องผ่านการรับรองสำเนาถูกต้อง จากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น



เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางธรรมดาของผู้เยาว์ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์

- บัตรประจำตัวประชาชนที่ยังมีอายุใช้งาน หรือ บัตรประจำตัวที่ใช้แทนตามกฎกระทรวง มหาดไทย

- หนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศที่ผ่านการรับรองจากอำเภอ/เขต และบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครองพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

- เอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็น อาทิ หลักฐานใบเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุล เอกสารหลักฐานการรับรองบุตรหรือรับบุตรบุญธรรมใบสำคัญการสมรส ทะเบียนสมรส ทะเบียนหย่า ทะเบียนบ้าน คำสั่งศาลกรณีระบุผู้มีอำนาจปกครองแทนบิดามารดา เป็นต้น

ค่าธรรมเนียม
- การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท




ความหมายของผู้มีอำนาจปกครอง
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส บิดาและมารดาต้องมาลงนาม(ต่อหน้าเจ้าหน้าที่)ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้อง ให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง


- กรณีที่ผู้มีอำนาจปกครองอยู่ในต่างประเทศ ให้ทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลไทยในประเทศที่พำนักอยู่ หากผู้เยาว์อายุต่ำกว่า 15 ปี และผู้ปกครองไม่สามารถมาดำเนินการด้วยตนเองและประสงค์จะมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ และหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ โดยหนังสือทั้ง 2 ฉบับ ต้องผ่านการรับรองจาก สอท./สกญ. (สถานทูต/สถานกงสุล) กรณีบิดามารดาหย่าตามกฎหมาย ให้ผู้มีอำนาจปกครองผู้เยาว์ตามที่ระบุในบันทึกการหย่าเป็นผู้ลงนามพร้อมแสดงทะเบียนหย่า และบันทึกการหย่า - ผู้เยาว์ที่เกิดจากบิดามารดาไม่ได้จดทะเบียนสมรส มารดาสามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดยให้ทำ บันทึกคำให้การจากอำเภอ/เขต ยืนยันว่าไม่ได้จดทะเบียนสมรสพร้อมแสดงหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนที่มีอายุใช้งานเป็น “นางสาว” ต่อเจ้าหน้าที่รับคำร้อง - มารดาผู้เยาว์ที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแต่ใช้คำนำหน้า “นาง” สามารถลงนามได้ฝ่ายเดียว โดย นำหนังสือรับรองการอุปการะบุตรแต่เพียงผู้เดียวจากอำเภอ/เขต มาแสดง

- ผู้เยาว์เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มารดาต้องมาลงนามให้ความยินยอม บิดา ไม่สามารถลงนามยินยอมให้ผู้เยาว์เพียงฝ่ายเดียวได้ เว้นแต่ว่ามีคำสั่งศาลมาแสดงว่าศาลให้บิดาเป็นผู้อุปการะผู้เยาว์แต่ผู้เดียว

- บิดามารดาผู้ให้กำเนิดผู้เยาว์ที่ได้ยกผู้เยาว์ให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่นแล้ว ไม่สามารถลงนาม แทนบิดามารดาบุญธรรมได้ต้องให้บิดา มารดาบุญธรรมเป็นผู้ลงนาม - เอกสารที่นำมายื่นขอหนังสือเดินทางต้องเป็นต้นฉบับหากเป็นสำเนาต้องได้รับการรับรองสำเนา ถูกต้องจากหน่วยงานที่ออกเอกสารดังกล่าวเท่านั้น


ข้อควรปฏิบัติในวันมายื่นคำร้อง
กรณีบิดาและมารดาจดทะเบียนสมรส บิดาและมารดาต้องมาลงนาม(ต่อหน้าเจ้าหน้าที่)ในคำร้องขอหนังสือเดินทางทั้งสองฝ่าย หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สะดวกมาลงนามในวันที่ผู้เยาว์ยื่นคำร้อง ให้มาลงนามในวันรับเล่มได้ หรือทำหนังสือยินยอมให้ผู้เยาว์เดินทางไปต่างประเทศ ผ่านอำเภอ/เขต พร้อมบัตรประชาชนที่มีอายุใช้งานบิดา มารดาตัวจริง




หมายเหตุ
1. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์มีอายุการใช้งาน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุ เมื่อหมดอายุต้องทำเล่มใหม่เสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

2. หนังสือเดินทางที่สามารถใช้งานได้จะต้องมีอายุการใช้งาน 6 เดือน โปรดตรวจสอบหนังสือเดินทางของท่าน เพื่อให้มีเวลายื่นคำขอทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ก่อนกำหนดการการเดินทาง หากมีอายไม่ถึง 6 เดือน จะไม่สามารถใช้เดินทางได้




การรับหนังสือเดินทาง
ประสงค์จะขอให้ผู้อื่นมารับแทน จะต้องทำอย่างไร

- หากมารับด้วยตนเองหรือบุคคลในครอบครัวสามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมใบรับหนังสือเดินทาง

- หากให้บุคคลอื่นรับแทนต้องแสดงสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ถือหนังสือเดินทาง ใบรับหนังสือเดินทางไปแสดง พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนาของผู้รับแทน

มีการบริการจัดส่งหนังสือเดินทางทางไปรษณีย์หรือไม่

- มี สามารถแสดงความจำนงเมื่อยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง ณ ที่ทำการ




หนังสือเดินทางสูญหาย

หากทำหนังสือเดินทางสูญหาย ต้องทำอย่างไร

- สูญหายในประเทศ ต้องติดต่อแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจและรับแจ้งความจากเจ้าพนักงาน ตำรวจมายื่นขอทำหนังสือเดินทางฉบับใหม่และยกเลิกการใช้งานหนังสือเดินทางฉบับที่สูญหาย

- สูญหายในต่างประเทศ ต้องแจ้งความหนังสือเดินทางสูญหายต่อทางการท้องถิ่น และนำใบรับแจ้งความดังกล่าวนั้นพร้อมเอกสารแสดงการมีสัญชาติไทยของตนหรือเอกสารทะเบียนราษฎรที่มีอยู่ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ฯลฯ ไปติดต่อที่สถานทูต สถานกงสุลไทยที่ใกล้ที่สุด เพื่อขอหนังสือเดินทางเล่มใหม่

หากในกรณีที่ผู้ทำหนังสือเดินทางสูญหายต้องการเดินทางกลับประเทศไทยเป็นการเร่งด่วน ไม่สามารถรอรับหนังสือเดินทางได้ สถานทูตสถานกงสุลจะออกเอกสารเดินทาง(Certificate of Identity) ให้ใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้ครั้งเดียว เมื่อกลับถึงประเทศไทยแล้วเอกสารเดินทางจะหมดอายุการใช้งาน




การแก้ไขและการทำนิติกรณ์ในหนังสือเดินทาง
หากบุคคลทำการแปลงเพศแล้ว ประสงค์จะแก้ไขคำนำหน้าชื่อ สามารถทำได้หรือไม่
- ไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากกฎหมายไทยถือเพศของบุคคลจากการเกิดเท่านั้น



การตรวจลงตรา(Visa)
หากมีการตรวจลงตรา(visa) ที่ยังมีอายุอยู่ในหนังสือเดินทางฉบับเก่า จะสามารถนำไปผนวกกับเล่มหนังสือเดินทางฉบับใหม่ได้หรือไม่

- ไม่สามารถผนวกเล่มเดิมกับเล่มใหม่ แต่สามารถยื่นคำร้องขอบันทึกการถือหนังสือเดินทางเล่มเดิมในเล่มใหม่ และสามารถนำวีซ่าในเล่มเดิมที่ยังมีอายุใช้งานคู่กับหนังสือเดินทางเล่มใหม่



ทำไมการเดินทางไปต่างประเทศจึงต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุมากกว่า 6 เดือน

- ถือเป็นหลักปฏิบัติและเป็นกฎเกณฑ์สำหรับบางประเทศที่จะต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุมากกว่า 6 เดือนก่อนการเดินทางออกนอกประเทศ หากหนังสือเดินทางกำลังจะหมดอายุก่อน จะต้องต่ออายุ หรือยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทางใหม่ ทังนี้ ควรตรวจสอบกับสถานทูตสถานกงสุลของประเทศที่กำลังจะเดินทางเกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ ก่อนเดินทาง



สถานที่ติดต่อ

กรมการกงสุล
123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0-2981-7171-99 , 0-2981-7257-8
โทรสาร 0-2981-7256

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า
อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์ (ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม.10700
โทรศัพท์ 0-2446-8111-2 โทรสาร 0-24468118-9

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา
ศูนย์การค้าเซ็ลทรัลซิตี้ บางนา บริเวณลานจอดรถ ชั้น P9
โทรศัพท์ 0-2383-8401-3 โทรสาร 0-2383-8398

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น
ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ จังหวัดขอนแก่น
โทรศัพท์ 0-4324-2707, 0-4324-3462, 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่
ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา
ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน อ.เมือง จ.สงขลา 9000
โทรศัพท์ 0-7432-6510-1 โทรสาร 0-7432-6506

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธาน
อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด
โทรศัพท์ 0-4524-2313-4 โทรสาร 0-4524-2301





WLC ศูนย์แนะแนวศึกษาต่อประเทศจีน (Thailand)
37/3-4  ซอยเพชรบุรี 17 (ตรงข้ามห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า)
ถนนเพรชบุรี แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

Tel. (02) 255-4084-5 , Mobile: (081) 703-5288 , Fax: (02) 255-5055

ลักษณะของผู้ต้องการทำหนังสือเดินทาง (Passport) เล่มใหม่



1.ไม่เคยมีหนังสือเดินทางมาก่อน
2. เคยมีหนังสือเดินทาง แต่ต้องการทำเล่มใหม่
3. ไม่สามารถต่ออายุหนังสือเดินทางได้ ว่าด้วยระเบียบการต่ออายุ
4. หนังสือเดินทางสูญหาย หรือชำรุด
5. มีหนังสือเดินทางอยู่ และไปเปลี่ยนทั้งชื่อ- นามสกุล

หลักฐานที่ต้องใช้ในการทำหนังสือเดินทาง (Passport)

*ใช้หลักฐานตัวจริงเท่านั้น* ++ ไม่ต้องใช้รูปถ่าย ++ ค่าธรรมเนียม 1,073 บาท

1. ผู้ชาย (อายุระหว่าง 17-45 ปี) ต้องใช้หลักฐาน บัตรประชาชน พร้อมหลักฐานทางทหาร
2. ผู้หญิง ต้องใช้หลักฐาน บัตรประชาชน
3. ผู้เยาว์ (เด็กที่มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์) ต้องใช้หลักฐาน
-สูติบัตร หรือ ถ้าอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ใช้บัตรประชาชนหรือบัตรเหลืองที่มีรูปถ่าย
-บัตรประชาชนของบิดา และมารดา
-ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่าของบิดา และมารดา
-บิดา และมารดาลงนามให้ความยินยอม

ระเบียบการต่ออายุหนังสือเดินทาง

1. เล่มหนังสือเดินทางจะต้องไม่เคยต่ออายุมาก่อน เพราะการต่ออายุจะได้เล่มเดิม ใช้งานได้อีก 5 ปี
2. หนังสือเดินทางจะต้องมีอายุ ก่อนหมดอายุ 6 เดือน หรือหลังหมดอายุไม่เกิน 6 เดือน
3. หนังสือเดินทางเล่มใหญ่แบบเก่าจะใช้ต่ออายุไม่ได้ เพราะยกเลิกการใช้แล้ว
4. การยื่นเรื่องเพื่อต่ออายุ จะได้รับหนังสือเดินทางวันถัดไป (ช่วงวันทำการ)
5. การยื่นเรื่องไม่สามารถกระทำแทนกันได้ ถึงแม้จะเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน


หลักฐานที่ต้องใช้ในการต่ออายุหนังสือเดินทาง
ค่าธรรมเนียม 1,015 บาท

1. ผู้ชาย และผู้หญิง
-บัตรประชาชน ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
-หนังสือเดินทาง ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
-รูปถ่ายไม่เกิน 2 นิ้ว 1 ใบ

2. ผู้เยาว์ (อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์)
-สูติบัตร หรือบัตรประชาชน ตัวจริง พร้อมสำเนา 2 ชุด
-หนังสือเดินทาง (ถ่ายเอกสารหน้าที่มีรูป) สำเนา 2 ชุด
-บัตรประชาชนบิดา และมารดา ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
-ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนหย่าของบิดา มารดา ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
-ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล ของบิดา,มารดา หรือผู้เยาว์ ตัวจริง พร้อมสำเนา 1 ชุด
-รูปถ่ายไม่เกิน 2 นิ้ว (ผู้ชาย 4 ใบ), (ผู้หญิง 3 ใบ)
-บิดา มารดา ต้องมาลงนามให้ผู้เยาว์ต่อหน้าเจ้าหน้าที่

การรับเล่มหนังสือเดินทาง

1. รับด้วยตนเอง นำใบรับ พร้อมบัตรประชาชนมายื่น
2. ผู้อื่นรับแทน นำใบรับ พร้อมบัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าของ
3. บัตรประชาชนตัวจริงของผู้รับแทน และถ่ายสำเนา กรอกรายละเอียดบัตรคนรับแทน



การยื่นเรื่องขอหนังสือเดินทางใหม่ (ใช้เวลา 4 วันทำการ)
การต่ออายุหนังสือเดินทาง (ใช้เวลา 1 วันทำการ)
การยื่นขอแก้ไขหนังสือเดินทาง (ใช้เวลา 1-5 วันทำการ แล้วแต่กรณี)

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
กองหนังสือเดินทาง กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ www.mfa.go.th
สถานที่ติดต่อ
123 ถนนแจ้งวัฒนะ
เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ 0-2981-7171-99
0-2981-7257-8
โทรสาร 0-2981-7256

 Pre-Departure Information

How to get a U.S. Passport

The cost is approximately $97 for a new passport and $67 for a renewal. You will need to apply for a new passport if:

  • You have never had one before

  • If your passport was issued before your 16th birthday or

  • If your passport is more than 15 years old.

Passport information is available online at the U.S. Department of State. Passport applications are available at the county clerk's offices, some post offices, public libraries or online at the U.S. Department of State Applications and Forms page.
If you are applying for a passport for the first time, you must apply in person. To search for the passport application location nearest you, visit the U.S. Department of State Passport Facility page. When you apply you will need to provide:

  • Valid proof of citizenship (certified copy of your birth certificate)

  • Valid picture ID (valid driver's license and social security card)

  • Your expired passport (if you are renewing)

  • Two recent passport-size (2’ x 2’) photos

It takes at least 6 weeks to receive your passport, but this is not guaranteed. It typically takes longer the closer to summer you apply. In 2007, due to changes in policy, there were delays of up to three months in processing new passport applications. For a fee, you may expedite the passport application process and receive your passport in approximately 2 weeks (not guaranteed).

You may apply for renewal of your passport by mail as long as you satisfy certain conditions. Check the U.S. Department of State Passports page for details.  

Be sure to make a copy of the identity page of your passport to keep with you in a location that is different from where you store your passport, in case of loss or theft, and a copy to give to your parent/guardian. You should also provide a copy to your study abroad program director or advisor.


Do I need a Visa to Study Abroad?

U.S. Students: Students who are U.S. citizens and carry a U.S. passport do not need a visa to participate on most of GPC's study abroad programs. There are a few exceptions so please read the information for each individual  program carefully. Most of the time if a visa is required it will be included in the program costs.  

International Students: Permanent Residents who do not carry a U.S. passport may need a visa depending on their country of origin and the host country they wish to travel to. You will need to contact the embassy of the country to which you want to travel to find out if a visa is required. If you do need a visa you will have to provide your letter of acceptance to the study abroad program when you apply. When you travel it is advisable to carry your Permanent Resident Card, Passport and your letter of acceptance to the study abroad program. When you return to the U.S. after your program you will want to have these documents with you and you may be asked to fill out a Form 1-94 at the airport. International Student Advising & Admissions can help you determine what documentation you may need in order to travel.

 


Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง การทำหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ(passport)
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..