หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายกรม ศรีบาล
จากจังหวัด นครราชสีมา

กู้เงิน ...ระวัง !!!
โพสต์เมื่อวันที่ : 13 มิ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7049 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

กฏหมายน่าออนซอน

.....

การกู้ยืมเงิน  คือ  สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า  ผู้กู้  ได้ขอยืมเงินจำนวนหนึ่งตามที่ได้กำหนดไว้จากบุคคลหนึ่งเรียกว่า  ผู้ให้กู้  เพื่อผู้กู้จะได้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้สอยตามที่ประสงค์และผู้กู้ตกลงว่าจะคืนเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่ผู้ให้กู้ตามเวลาที่กำหนดไว้โดยผู้กู้ยินยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้ตามอัตราที่ตกลงกันไว้เป็นการตอบแทน

                   การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท  จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือที่แสดงข้อความว่าได้มีการกู้เงินกันจริงโดยต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้ หรือ ลายพิมพ์นิ้วมือประทับในหนังสือดังกล่าวโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของผู้กู้อย่างน้อย ๒ คน  หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือดังกล่าวแล้ว  ผู้ให้กู้จะฟ้องร้องต่อศาลให้บังคับให้ผู้กู้ชำระเงินตามสัญญาไม่ได้  (ป.พ.พ.  มาตรา ๖๕๓)หลักฐานในการกู้ยืมเงิน  เช่น

 

                        ข้าพเจ้านายเอกได้กู้เงินจากเถ้าแก่จู๋เป็นจำนวนเงิน ๕๐,๐๐๐  บาท  โดยข้าพเจ้าสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนให้ภายในวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๒๘

ลงชื่อ  นายเอก  ผู้กู้

  อัตราดอกเบี้ย

       ๓. หนังสือสัญญากู้จะต้องทำขึ้นอย่างน้อย ๒ ฉบับ  โดยผู้ให้กู้ถือไว้ฉบับหนึ่ง  และผู้กู้ถือไว้อีกฉบับหนึ่ง

      ๔. ผู้กู้จะต้องนับเงินที่ตนกู้ให้เท่ากับจำนวนที่ตนได้กู้ไปตามสัญญาให้ครบถ้วนเสมอหากมิฉะนั้นแล้วก็จะเป็นปัญหา   กล่าวคือหากได้เงินไม่ครบแต่ผู้กู้ได้ลงมือชื่อในสัญญาให้แก่ผู้ให้กู้แล้ว  ผู้ให้กู้อาจโกงผู้กู้ในภายหลังว่า  ได้มอบเงินให้แก่ผู้กู้ไปจนครบถ้วนแล้ว

        ๕. พยานลงชื่อในสัญญากู้ ควรเป็นพยานของฝ่ายผู้กู้จำนวน ๑ คน ลงเป็นพยานในสัญญากู้ด้วย

      ....ทุกย่างก้าวของชีวิต  จะไม่มีอุปสรรคนั่นอย่าหวัง ความไม่ประมาท นั่นคือเกราะคุ้มภัยของชีวิต..

          การกู้ยืมเงินนั้นกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ  ๑๕  ต่อปีหรือในอัตราร้อยละ  ๑.๒๕  ต่อเดือน  หากผู้ให้กู้คิดดอกเบี้ยเกินกว่าดอกเบี้ยดังกล่าวแล้ว  ผลก็คือดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะทั้งหมด  ผู้ให้กู้คงเรียกให้ผู้กู้ยังต้องติดคุกเพราะมีความผิดทางอาญาฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  อาจถูกจำคุกไม่เกิน    ปี  หรือปรับไม่เกิน    พันบาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ  (ตาม พ.ร.บ.  ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา  พ.ศ. ๒)

                        แต่ในกรณีที่ไปกู้เงินจากธนาคารหรือสถาบันทางการเงินอื่น ๆ  เช่น บริษัททรัสต์,  บริษัทเงินทุน,  โรงรับจำนำ  ฯลฯ  นั้นกฎหมายยินยอมให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินดังกล่าวคิดดอกเบี้ยได้เกินกว่าอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ตามอัตราดอกเบี้ยที่กระทรวงการคลังได้กำหนดไว้

 

 ข้อควรปฏิบัติในการชำระหนี้

        ๑. ต้องเรียก  ใบรับเงินชำระหนี้  ทุกครั้งที่ชำระโดยให้ผู้ให้กู้  (เจ้าหนี้)  ทำหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้  ว่าได้รับเงินคืนแล้วเป็นจำนวนเท่าใดหรือได้รับคืนครบถ้วนแล้ว

 

อายุความในการฟ้องร้อง

 เมื่อได้ทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว  หากจะต้องมีการฟ้องร้องต่อศาลให้ชำระคืนแล้วเจ้าหนี้จะต้องฟ้องร้องต่อศาลให้ชำระคืนเจ้าหนี้จะต้องฟ้องภายใน  ๑๐ ปี  นับจากวันที่ถึงกำหนดชำระตามสัญญา  ถ้าพ้นกำหนดนี้แล้วคดีเป็นอันขาดอายุความ  ผู้ให้กู้  (เจ้าหนี้)  ไม่มีสิทธิจะฟ้องคดีต่อศาลได้

     ข้อควรระวังในการกู้      

      . จะต้องไม่เซ็นชื่อหรือลงลายพิมพ์นิ้วมือลงในกระดาษเปล่าให้แก่ผู้ให้กู้

      ๒. จำนวนเงินในช่องว่างในสัญญากู้ยืมเงินนั้นจะต้องลงจำนวนเงินที่กู้กันจริง ๆ เท่านั้นและต้องเขียนจำนวนเงินที่กู้กันนั้นเป็นตัวหนังสือกำกับตัวเลขจำนวนเงินดังกล่าวด้วยเสมอเพื่อป้องกันมิให้ผู้ให้กู้เติมตัวเลข 

        ๒. กรณีที่ผู้กู้ได้ชำระเงินคืนให้แก่ผู้ให้กู้จนครบถ้วนแล้ว  ผู้กู้จะต้องขอรับหนังสือสัญญากู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้มาทำลายเสีย

       ๓. ในกรณีที่ผู้กู้ชำระเงินคืนเพียงบางส่วน  นอกจากมีใบรับเงินแล้ว  ผู้กู้จะต้องให้ผู้กู้บันทึกไว้เป็นหลักฐานในหนังสือสัญญากู้ว่าได้มีการชำระเงินคืนไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใดโดยผู้ให้กู้จะต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้เป็นหลักฐานพร้อมทั้งวันที่

                        หากผู้กู้ไม่ทำตามข้อ ๑-๓  แล้วหากมีการโต้เถียงกันว่าได้มีการคืนเงินกันแล้วเป็นจำนวนเท่าใดผู้กู้ก็จะตกเป็นฝ่ายที่เสียเปรียบผู้กู้ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง  ผู้กู้จึงต้องระมัดระวังให้ดี  จะอาศัยความเชื่อใจอย่างเดียวไม่ได้  มิฉะนั้นจะต้องเสียใจในที่สุดเสียรู้คนและต้องเสียทั้งเงินซ้ำอีกครั้ง

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง กู้เงิน ...ระวัง !!!
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายกรม ศรีบาล
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายกรม ศรีบาล..