หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

การขุดพลอย..เผาพลอย..ภูมิปัญญาท้องถิ่น..ชาวจันทบุรี..
โพสต์เมื่อวันที่ : 10 มิ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7049 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(79.18%-49 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ภูมิปัญญาในการขุดพลอย ชาวจันทบุรี

Print E-mail

 

Image 

)

ภูมิปัญญาในการขุดพลอยนั้น  นอกจากอาศัยโชคช่วยแล้ว ยังมีเทคนิควิธีการเฉพาะตัวในการค้นหาด้วย เช่น สังเกตสีของดิน  ดูจากขี้พลอยซึ่งก็คือแร่ "ไพร็อกซิน" ที่มีสีดำคล้ายนิลตะโก  กระจายบนผิวดิน  บางรายสังเกตจากเพื่อนพลอยจำพวกเพทายหรือพลอยน้ำค้าง  นอกจากนั้นยังสังเกตได้จาก "ตัวตุ๊กตา" ที่เคยเชื่อกันว่าเป็นอาหารของพลอยซึ่งที่แท้ก็คือ "แร่ไมก้า" ชนิดหนึ่งนั่นเอง  เมื่อพบร่องรอยเหล่านี้จึงเริ่มลงมือขุด  โดยขุดหน้าดินทิ้งไปก่อน  เพราะเป็นชั้นหินกรวดที่เรียกว่า "ชั้นกะสะ" ซึ่งก็คือหินบะซอลต์ หรือหิน "โคบก" ที่ชาวบ้านเรียกว่า "ลูกร่อน" จึงจะแน่ใจว่ามีพลอย  เพราะพลอยจะอยู่ในชั้นกะสะนี้เอง  ชั้นกะสะนี้จะมีความหนาตั้งแต่ 10-30 ซ.ม.  บริเวณใดมีกะสะหนามาก  บริเวณใดพลอยน้อย  คนขุดมักจะเรียกบริเวณนั้นว่ามี "พลอยห่าง" เมื่อได้ดินในชั้นกะสะขึ้นมาจึงจะนำมาล้างและร่อนในตะแกรงเพื่อแยกพลอยออกจากดินและก้อนกรวด  แหล่งที่มักพบคนร่อนพลอย คือ แถบห้วยสะพานหิน  บ้านแสงส้ม  บ้านบ่อเวฬุ


 

          แร่รัตนธาตุ  จังหวัดจันทบุรีเป็นแหล่งแร่รัตนชาติที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นแหล่งกำเนิดพลอยหลากสีสัน ไม่ว่าจะเป็นพลอยสีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีเขียว โดยพบที่ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง ฯ โดยเฉพาะพลอยสีแดงที่ได้รับการขนานนามว่า ทับทิมสยาม พบที่ตำบลเขาวัว อำเภอท่าใหม่ และที่ตำบลบ่อเวฬุ ตำบลตกพรม อำเภอขลุง พลอยเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามานานกว่า ๗,๐๐๐ ปีมาแล้ว
               กำเนิดพลอย  ก่อนที่พลอยจะเกิดขึ้นมาอย่างที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ต้องผ่านการบ่มเพาะมานานนับร้อยล้านปี เริ่มจากลาวาอันร้อนระอุปะทุขึ้นสู่ผิวโลก เมื่อแข็งตัวก็จะกลายเป็นหินอัคนีเนื้อละเอียดที่เรียกว่า หินบะซอลต์ แต่ในขณะที่ลาวายังอ่อนตัวอยู่ ถ้าได้สัมผัสดูดซับอลูมินาในหินฟิลไลต์ที่อยู่ใกล้เคียง และได้ผสมกับออกซิเจนในบรรยากาศ ก็จะกลายเป็นผลึกอะลูมิเนียมออกไซด์ ปราศจากสี เรียกว่า แร่คอรันดัม หรือ กากะรุน ที่มีคุณสมบัติเป็นแร่รัตนชาติที่มีความแข็งเป็นรองก็แต่เพชรเท่านั้น
                แร่คอรันดัมจะกลายเป็นพลอยหลากสีในสกุลแซฟไฟร์ได้ก็ต่อเมื่อมีแร่ธาตุอื่น ๆ เข้าไปผสมอยู่ในเนื้อ
แม้เพียงเล็กน้อยก็จะทำให้พลอยกลายเป็นสีต่าง ๆ ได้คือ
                    - ถ้าเป็นอะลูมิเนียมออกไซด์ล้วน  จะไม่มีสีเลย
                    - ถ้ามีไททาเนียมกับเหล็กปนอยู่  จะให้สีน้ำเงิน
                    - ถ้ามีโครเมียมปนอยู่เล็กน้อย  จะให้สีชมพู
                    - ถ้ามีโครเมียมปนอยู่มากพอ  จะให้สีแดงเข้ม คือทับทิม
                    - ถ้ามีเหล็กปนอยู่  จะให้สีเขียวและสีเหลือง
            ส่วนพลอยสาแหรกเกิดจากโมเลกุลของคอรันดัมเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอแนบแน่นคล้ายไม้ระแนงวางก่ายกัน เมื่อมีแสงมากระทบจึงสะท้อนกลับเป็นรูปดาว
               แหล่งพลอย  ในเขตจังหวัดจันทบุรี พบแหล่งพลอยในสภาพภูมิประเทศที่หลากหลาย เช่น ตามภูเขา ไหล่เขา และในพื้นที่ราบกระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด แหล่งที่มีพลอยแบ่งออกได้เป็นสองเขตใหญ่ ๆ คือ
               เขตแรก  เป็นแหล่งพลอยที่อยู่ทางซีกตะวันตกของจังหวัด แถบอำเภอท่าใหม่และอำเภอเมือง ฯ  มีอาณาบริเวณตั้งแต่เขาวัว เขาพลอยแหวน เขาสระแก้วและบ้านบางจะกะ  พลอยที่พบส่วนใหญ่เป็นพลอยสีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง พลอยสาแหรก และพลอยจำพวกเพทายและโกเมน
               เขตที่สอง  เป็นแหล่งพลอยที่อยู่ทางซีกตะวันออกของจังหวัด แถบสระบาปในเขตอำเภอขลุง และอำเภอมะขาม บริเวณบ้านบ่อเวฬุ บ้านสีเสียด บ้านตกพรม บ้านบ่อเอ็ด บ้านกลาง บ้านงูปลาไหล บ้านตกชี บ้านสะตอ ห้วยสะพานหิน (บ้านทัพนคร) บ้านแสงแดงและบ้านแสงส้ม  พลอยที่พบส่วนใหญ่เป็นพลอยสีแดงและสีน้ำเงิน
               คุณภาพของพลอย การพิจารณาคุณภาพของพลอยมีวิธีสังเกตหลายประการคือ
                    - ความแข็ง มีค่าวัดเป็นโมส์สเกล ไม่ต่ำกว่า ๖ (เพชร เท่ากับ ๑๐)
                    - ความงามของสี  คือสร้างความลึกให้หินมีค่าด้วย
                    - ความมันวาว คือลักษณะที่สะท้อนแสงที่ส่องตัวเองไปเป็นมุมหักเห
                    - การกระจายแสงออก คือการเปลี่ยนแปลงการหักของแสง
                    - การหักเหของแสงอย่างมาก ขึ้นอยู่กับการเรียงตัวของอะตอมสารนั้น ๆ
                    - ความใส คือลักษณะที่ปล่อยให้แสงผ่านได้
                    - ทนต่อปฏิกิริยาทางเคมี มีความเฉื่อย ทนต่ออากาศและปฏิกิริยาเคมี
                    - เหมาะในการเจียรหินตกแต่ง

               การขุดพลอย  การขุดพลอย นอกจากอาศัยโชคช่วยแล้ว ยังมีวิธีการเฉพาะตัวในการค้นหาด้วย เช่น สังเกตสีของดิน ดูจากขี้พลอยซึ่งก็คือ แร่ไพร็อกซินที่มีสีดำคล้ายนิลตะโก กระจายอยู่บนผิวดิน บางรายสังเกตจากเพื่อนพลอยจำพวกเพทาย หรือพลอยน้ำค้าง นอกจากนั้นยังสังเกตได้จากตัวตุ๊กตุ่น ที่เคยเชื่อกันว่าเป็นอาหารของพลอยซึ่งก็คือแร่ไมก้าชนิดหนึ่ง
                เมื่อพบร่องรอยดังกล่าวข้างต้นจึงเริ่มลงมือขุด โดยขุดหน้าดินทิ้งไปก่อน เพราะเป็นชั้นที่ยังไม่มีพลอย ชาวบ้าน เรียกดินชั้นนี้ว่า อีหลอก แล้วขุดต่อไปจนลึกประมาณ ๒ - ๓ ศอก หากพบชั้นหินกรวดที่เรียกว่า ชั้นกะสะ ซึ่งก็คือ หินบะซอลต์ หรือหินโคบกที่ชาวบ้านเรียกว่า ลูกร่อน จึงจะแน่ใจว่ามีพลอย เพราะพลอยจะอยู่ในชั้นกะสะซึ่งมีความหนา ๑๐ - ๓๐ เซนติเมตร บริเวณใดมีกะสะหนามากอย่างที่เรียกว่า หนาขนาดศอก จะมีพลอยหนาแน่นมาก บริเวณใดพลอยน้อย คนขุดจะเรียกบริเวณนั้นว่า พลอยห่าง
                เมื่อได้ดินในชั้นกะสะขึ้นมาจึงจะนำมาล้างและร่อนในตะแกรงตามลำห้วยที่อยู่ไม่ไกลจากแหล่งพลอย เพื่อแยกพลอยออกจากดินและก้อนกรวด

                การขุดพลอยอีกแบบหนึ่งคือการใช้รถตักดิน โดยตักดินในชั้นที่ไม่มีพลอยออกไป แล้วขุดเอาชั้นกะสะที่มีพลอยมากองไว้ จากนั้นจึงใช้น้ำท่อใหญ่ฉีดไล่ล้างดินออกไป ปล่อยให้ส่วนของกรวดและพลอยไหลตามราง ลงไปที่จิ๊ก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า แย็ก ซึ่งก็คือเครื่องแยกพลอยออกจากกรวด จากนั้นจึงใช้แรงงานคัดพลอยด้วยมือ การขุดพลอยแบบนี้เรียกว่า เหมืองฉีด
                พลอยเป็นทรัพยากรที่ทำรายได้ให้แก่จังหวัดจันทบุรีเป็นจำนวนมาก ตลาดขายพลอยขนาดใหญ่อยู่ที่ถนนอัญมณี มีการซื้อขายในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ มีมูลค่านับหมื่นล้านบาทต่อปี งานฝีมือฝังพลอยและงานเจียระไนพลอยของช่างจังหวัดจันทบุรีมีชื่อเสียงมาก

 

 

 

     
 

การเผาพลอยถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าทึ่ง  เพราะเป็นการนำเอาเทคนิคการใช้ความร้อนมาทำให้พลอยเกรดต่ำ ราคาถูก กลายเป็นพลอยน้ำงามราคาแพง  วิธีการเผา คือ การนำความร้อนตั้งแต่ 1,000 องศาเซลเซียสขึ้นไปเผาพลอยที่ต้องการขจัดความขุ่นในเนื้อพลอยออกโดยใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 4 ชั่วโมง  พลอยที่ได้จากการเผาจะมีสีเข้ม สวย และน้ำใสสะอาดขึ้น  ปัจจุบันพลอยแทบทุกเม็ดจะผ่านการเผาเพื่อความงามอันหมดจด  แต่การเผาพลอยนี้มิใช่ว่าจะประสบความสำเร็จทุกเม็ดไป  ผู้ที่มีความรู้ความชำนาญและมีประสบการณ์เท่านั้น จึงจะรู้ว่าพลอยชนิดไหนสามารถเผาได ้และควรเผาด้วยอุณหภูมิเท่าไร  ด้วยกรรมวิธีใด  เป็นประสบการณ์สั่งสมสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น  เป็นสมบัติของตระกูล  สายใครสายมัน  เป็นเคล็ดวิชาที่เกิดจากการปฏิบัติโดยแท้  ไม่ต้องมีใบประกาศและปราศจากปริญญา  เคล็ดวิชาอันเป็นที่ยอมรับไปทั่วโลก  เคล็ดวิชาเผาพลอย ("35 ปี ตระกูลลิ้ม  จันทบุรี". 2546. เทคนิคการพิมพ์  จันทบุรี. หน้า 102 และ 104)


กระบวนการผลิต (การคัดพลอยก้อน) PDF พิมพ์

วัตถุดิบ พลอยก้อนที่จะนำมาผลิตจะต้อง มีความสะอาดได้รูปร่าง และมีสีที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

การคัดพลอยก้อน -แยกพลอยก้อนที่มีคุณภาพ และแยกพลอยก้อนที่จะนำไปเผา ในกระบวณการการเผาพลอย

กระบวณการผลิต (การเผาพลอย)

กระบวณการเผาพลอย เป็นกระบวณการในการปรับปรุงคุณภาพพลอย ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยใช้ความร้อนสูงในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการเผาพลอยจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ และความชำนาญในการเผาพลอย บางครั้งการเผาต้องเผาถึง 4-5 ครั้ง เพื่อจะได้พลอยที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ

การเผาพลอยของบริษัท มีการใช้เตาเผาในการปรับปรุงคุณภาพอยู่ 2 ชนิด คือ เตาน้ำมันและเตาแก็ส บุคลากรในการเผาพลอยของบริษัทมีความรู้ ประสบการณ์การเผาพลอยมากกว่า 20 ปี

กระบวณการผลิต (การโกลนพลอย)

การโกลนพลอย เป็นการออกแบบรูปร่างพลอยและตำแหน่งสี(ตั้งน้ำ)

การตรวจพลอยโกลน เพื่อให้ได้พลอยที่สะอาด และมีรูปทรงได้คุณภาพตามมาตรฐาน

กระบวณการผลิต (การแต่งพลอย)

การแต่งพลอย เป็นการขึ้นรูปร่างพลอยอย่างละเอียด เพื่อให้ได้สัดส่วนตามมาตรฐาน

การตรวจพลอยแต่ง เพื่อให้ได้พลอยแต่งตรงตามมาตรฐาน ก่อนจะนำไปสู่กระบวณการเจียรไน

กระบวณการผลิต (การเจียรไน)

การเจียรไน เป็นกระบวณการเจียรเหลี่ยมมุมและขัดเงา เพื่อสร้างการหักเหของแสง

การตรวจสอบพลอยเจียรไน เพื่อตรวจสอบรูปร่าง, เหลี่ยมเงา,ความแวววาว,ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

กระบวณการผลิต

(การจัดเกรดพลอยและการตรวจสอบคุณภาพ)

การจัดเกรดพลอยสำเร็จ เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการผลิตพลอยของบริษัท โดยจัดชุดพลอยตามระดับสีและขนาด เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

การตรวจสอบคุณภาพ, จะได้รับการตรวจสอบคุณภาพครั้งสุดท้ายโดยผู้บริหาร ของบริษัท ผู้ซึ่งมีความรู้ ประสบการณมากกว่า 20 ปี ทำให้มั่นใจได้ในคุณภาพและมาตรฐานของบริษัท

   กระบวณการเผาพลอย เป็นกระบวณการในการปรับปรุงคุณภาพพลอย ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยใช้ความร้อนสูงในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการเผาพลอยจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ และความชำนาญในการเผาพลอย บางครั้งการเผาต้องเผาถึง 4-5 ครั้ง เพื่อจะได้พลอยที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ   คลิกค่ะ ดูภาพขนาดใหญ่


 

ชนิดของพลอย


 

พลอยที่มีถิ่นกำเนิดในจันทบุรีนี้ มีหลายชนิดเช่น พลอยแดง (Siam Rubies) หรือ (King Rubies) บุษาคัม (Yellow Sapphires หรือ Oriental Topaz) พลอยสตาร์ หรือ พลอยสาแหรก (Star Sapphires) พลอยเขียว (คราม) หรือ ไพลิน (Blue Sapphires) พลอยเขียวใบไม้ (มรกต) (Green Sapphires) พลอยโกเมน (Granets) และ พลอยเพทาย ( Zircon )

คลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริง

คลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริง

คลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริง

 คลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริงคลิกเพื่อดูขนาดจริง

 คลิกเพื่อดูขนาดจริง
คลิกเพื่อดูขนาดจริง

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง การขุดพลอย..เผาพลอย..ภูมิปัญญาท้องถิ่น..ชาวจันทบุรี..
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..