หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายกรม ศรีบาล
จากจังหวัด นครราชสีมา

ข้อควรระวัง...การค้ำประกัน
โพสต์เมื่อวันที่ : 10 มิ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6900 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(26.67%-3 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

กฏหมายที่น่า...ออนซอน

.....

ค้ำประกัน  คืออะไร

                        ค้ำประกัน  คือ  สัญญาที่บุคคลหนึ่งเรียกว่า 

ผู้ค้ำประกัน    สัญญาว่าจะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ถ้า

หากลูกหนี้ไม่ยอมรับชำระหนี้  (ป.พ.พ.  มาตรา  680)

หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาค้ำประกัน

                        สัญญาค้ำประกันต้องทำตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวต่อไปนี้

                        1. ต้องทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง

                       2. ต้องลงลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน  จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันได้

                        หากไม่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันแล้วก็จะไม่ได้ผลประโยชน์เพราะไม่สามารถฟ้องบังคับผู้ค้ำประกันได้

 

ชนิดของสัญญาค้ำประกัน

                        สัญญาค้ำประกันแบ่งออกได้เป็น  2  ชนิด  คือ

                        1. สัญญาค้ำประกันอย่างไม่จำกัดจำนวน

                        กล่าวคือ  ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้หนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นจำนวนเท่าใด  ผู้ค้ำประกันต้องชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ในจำนวนเท่ากันกับลูกหนี้ด้วย  คือรับผิดชอบในต้นเงิน  ดอกเบี้ย   ค่าเสียหายในการผิดนัด  ชำระหนี้  ค่าภาระติดพัน  ตลอดจนค่าธรรมเนียมในการฟ้องร้องบังคับคดีด้วย

                        2. สัญญาค้ำประกันจำกัดความรับผิดชอบ

                        กล่าวคือ  ผู้ค้ำประกันได้ระบุจำนวนไว้ว่าจะรับผิดชอบไม่เกินจำนวนตามที่ระบุไว้เท่านั้น  ดังนั้นหากผู้ลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แล้ว  ผู้ค้ำประกันจะใช้หนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้เฉพาะเท่าจำนวนที่ตนระบุไว้เท่านั้น  เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้เมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใด  เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้เมื่อนั้น

 

ผู้ใดจะเข้ามาเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้บุคคลอื่นนั้น  ควรปฏิบัติดังนี้ 

1.               อ่านสัญญาค้ำประกันให้ครบถ้วนทุกข้อก่อนลงชื่อในสัญญาค้ำประกัน

             2.    หากประสงค์ที่จะค้ำประกันหนี้เพียงบางส่วนก็ให้เขียนระบุไว้โดยแจ้งชัดในสัญญาค้ำประกันว่าประสงค์ที่จะค้ำประกันเป็นจำนวนเท่าใด

3.   หากไม่ประสงค์ที่จะไม่รับผิดร่วมกันกับลูกหนี้ในฐานะลูกหนี้ร่วมกันแล้ว  ก็ต้องดูสัญญาว่ามีข้อความที่ระบุไว้ว่า ให้ตนรับผิดร่วมกันกับลูกหนี้หรือไม่จึงค่อยลงสัญญาค้ำประกัน  ถ้าผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว  ผู้ค้ำประกันมีสิทธิอย่างไร ถ้าผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว  ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาคืนจากลูกหนี้เท่าจำนวนที่ตนได้ชดใช้แทนลูกหนี้ไปแล้ว

 

 ในกรณีดังกล่าวต่อไปนี้ผู้ค้ำประกันย่อมพ้นความรับผิดชอบ  ไม่ต้องชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้

1. ถ้าผู้ลูกหนี้ที่ตนค้ำประกันนั้นได้กำหนดวันชำระหนี้ไว้แน่นอนแล้วต่อมาเจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่เจ้าหนี้แล้ว  ผู้ค้ำประกันเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิด  (ป.พ.พ.  มาตรา  700) 

2. เมื่อหนี้กำหนดชำระแล้วผู้ค้ำประกันขอชำระแทนลูกหนี้  ถ้าเจ้าหนี้ไม่ยอมรับชำระ  หนี้ผู้ค้ำประกันก็เป็นอันหลุดพ้นจากความผิด 

(ป.พ.พ.  มาตรา  701) 

 

                ---------------------------------------------------------------------------------------------

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ข้อควรระวัง...การค้ำประกัน
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายกรม ศรีบาล
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายกรม ศรีบาล..