หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายหนูเหลี่ยง ชิณแสน
จากจังหวัด บึงกาฬ

เหตุการณ์ ?4 มิถุนายน? ปี 32 ณ จัสตุรัสเทียนอันเหมิน
โพสต์เมื่อวันที่ : 4 มิ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7048 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(50.00%-4 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

               เหตุการณ์ “4 มิถุนายน”

               ณ จัสตุรัสเทียนอันเหมิน

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2532 ชาวจีนนับแสนล้อมรูปจำลองรูปปั้นเทพีแห่งเสรีภาพในนิวยอร์ก(กลาง) สูง 10 เมตร ขณะนั้นฝูงชนปักหลักเรียกร้องประชาธิปไตยแม้รัฐบาลประกาศกฎอัยการศึกในกรุงปักกิ่งแล้ว
       เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์--ภาพหลอนเหตุการณ์ปราบปรามกลุ่มประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยนำโดยกลุ่มนักศึกษาที่จัตุรัสเทียนอันเหมินลอยเด่นขึ้นมาในห้วงความคิดกลุ่มผู้นำจีนคอมมิวนิสต์อีกครั้งในสัปดาห์นี้ อันเป็นครั้งที่กลุ่มผู้นำจีนระวังอย่างหนัก ด้วยเป็นวาระครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์ฯ
       

       
กลุ่มผู้นำจีนฉลองวันครบรอบเหตุการณ์นี้ด้วยความเงียบอีกเช่นเคย พร้อมจัดกำลังเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนจัตุรัสเทียนอันเหมิน ระวังมิให้มีกิจกรรมที่รัฐบาลไม่พึงประสงค์ ที่อาจมาสะกิดบาดแผลทางอารมณ์ของผู้นำจีน
       

       แม้ไม่อยากจำแต่ผู้นำจีนก็ไม่อาจลืมว่าวันพฤหัสฯที่ 4 มิถุนายนนี้ เป็นวันครบรอบ 20 ปีที่ผู้นำจีนสั่งการกองกำลังปลดแอกประชาชนแห่งชาติจีน เข้าบดขยี้กลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างไม่ปราณีปราศรัยจนเลือดนองจัตุรัสประวัติศาสตร์ของประเทศ ปลิดชีวิตหลายร้อยคน บางกลุ่มประมาณว่าน่าจะเป็นพัน
       
       ขณะที่กลุ่มที่เจ็บปวดและจดจำเหตุการณ์ดังกล่าว อย่าง ฉี จื่อหย่ง วัย 53 ปี ผู้สูญเสียขาไปข้างหนึ่งด้วยลูกปืนของทหารที่ยิงใส่กลุ่มประท้วง บอกว่า “ประชาชนจดจำเรื่องนี้ เพราะต้องการให้พรรคคอมมิวนิสต์รับผิดชอบต่ออาชญากรรมที่พวกเขาก่อขึ้น”

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 หวัง ตัน (กลาง) ผู้นำนักศึกษาที่มีความเห็นไม่สอดคล้องกับรัฐบาล และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กำลังแถลงการณ์แก่กลุ่มผู้สื่อข่าวในกรุงปักกิ่ง
       กลุ่มรณรงค์เชิญชวนให้ประชาชนแต่งชุดขาว ซึ่งเป็นสีไว้ทุกข์ตามประเพณีจีน เพื่อรำลึกดวงวิญญาณของผู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่สังเวยชีวิตท่ามกลางห่ากระสุน ใต้ล้อเหล็กของขบวนรถถัง
       
       
โศกนาฏกรรมดังกล่าวอุบัติขึ้นในปี 2532 (1989) อันเป็นปีหายนะของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั่วโลก ขณะที่ผู้นำคอมมิวนิสต์จีนต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย ที่ลุกขึ้นท้าทายอำนาจเบ็ดเสร็จของรัฐบาลแห่งประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ลัทธิคอมมิวนิสต์ในเยอรมนีตะวันออกโงนเงนและล่มสลายไปในที่สุด กำแพงเบอร์ลินถูกทลายราบในเดือนพฤศจิกายน 1989 ขณะที่สถานการณ์ในแดนคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตก็ร่อแร่เช่นกันและล่มสลายในเดือนธันวาคม 1991
       

       การเคลื่อนไหวที่เทียนอันเหมินเริ่มขึ้นกลางเดือนเมษายน จากการเดินขบวนแสดงความอาลัยแด่การจากไปของผู้นำนักปฏิรูป หู เย่าปัง อดีตเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ บานปลายเป็นการเดินขบวนเรียกร้องปฏิรูปการเมืองและปราบปรามคอรัปชั่นนำโดยกลุ่มนักศึกษา
       
       กลุ่มนักศึกษายึดครองจัตุรัสเทียนอันเหมิน “ทุกตารางนิ้วของบริเวณจัตุรัสเต็มไปด้วยป้ายเรียกร้องการปฏิรูป มันเป็นการเดินขบวนครั้งแรกในประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน” หวัง ตัน หนึ่งในผู้นำกลุ่มนักศึกษา รำลึกเหตุการณ์
       
       เสียงกู่ร้องประชาธิปไตย และเสรีภาพดังก้องจัตุรัส ที่เป็นสัญลักษณ์อำนาจการเมืองของประเทศจีน ผู้คนหลายพันอดอาหารประท้วง ผู้นำนักศึกษา อู๋เอ่อร์ ไคซี ได้ท้ายทายนายกรัฐมนตรีหลี่ เผิง ระหว่างการประชุมที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์
       
       ขณะนั้นกลุ่มสื่อทั่วโลกกำลังหลั่งไหลมายังกรุงปักกิ่งเพื่อเกาะติดรายงานข่าวการเยือนระหว่างประเทศครั้งประวัติศาสตร์ ประธานาธิบดีมิกฮาอิล กอร์บาชอฟ จากแดนคอมมิวนิสต์ของพญาหมีขาวมาเยือนจีน และกลุ่มสื่อเหล่านี้ก็ได้ข่าวใหญ่ที่สำคัญมากยิ่งกว่า

ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม จ้าว จื่อหยางเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน(กลาง) กำลังพูดกับกลุ่มนักศึกษาที่กำลังอดอาหารประท้วงในตอนเช้าที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ขณะนั้นจ้าว จื่อหยางถึงกับหลั่งน้ำตาพลางบอกให้นักศึกษากลับไป จ้าวถูกปลดออกจากตำแหน่งโทษฐานแสดงความเห็นใจนักศึกษา ถูกกักบริเวณในบ้านพักเกือบ 16 ปี จนเสียชีวิตในปี 2548
       ในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน กลุ่มประท้วงอยู่ระหว่างลิ่มอำนาจกลุ่มผู้นำหัวรั้นนำโดนนายกฯหลี่ เผิง และกลุ่มที่ยึดถือการปฏิบัติสายกลางนำโดย จ้าว จื่อหยาง เลขาธิการพรรคฯ
       
       ในที่สุด กลุ่มผู้นำหัวรั้นก็ชนะด้วยการสนับสนุนของผู้นำสูงสุดเติ้ง เสี่ยวผิง จ้าว จื่อหยาง ถูกปลดออกจากตำแหน่ง นับจากนั้นจ้าวก็ถูกกักบริเวณในบ้านพักเป็นเวลาถึง 16 ปี กระทั่งวันสิ้นลมหายใจในปี 2548
       
       กลุ่มนักศึกษาประกาศ “การกบฏต่อปฏิปักษ์ปฏิวัติ” ขณะที่กลุ่มทหารเคลื่อนสู่เมืองหลวง บดขยี้ความฝันของกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย โดยเปิดศึกรุนแรงในวันที่ 3 และ 4 มิถุนายน จำนวนผู้เสียชีวิตยังคงเป็นปริศนามาถึงวันนี้ ตัวเลขรัฐบาลระบุยอดผู้เสียชีวิต 241 คนโดยเป็นนักศึกษา 36 คน ขณะที่กลุ่มที่มีความคิดเห็นไม่ลงรอยกับรัฐบาลระบุตัวเลขถึงหลักพัน
       
       จากนั้นคลื่นประณามจากทั่วโลกก็โถมซัดเข้าใส่ผู้นำจีน และจีนก็ถูกมองและปฏิบัติประหนึ่งพวกที่น่าเกียจเป็นเวลาหลายปี บรรดารัฐบาลในตะวันตกต่างเสนอให้ที่ลี้ภัยแก่กลุ่มนักศึกษา

ภาพถ่ายวันที่ 5 มิถุนายน เพียง 1 วันหลังจากเหตุการณ์ปราบปรามผู้ประท้วง ชายหนุ่มคนหนึ่งกระโดดเข้าขวางรถถังที่วิ่งดาหน้าอยู่บนถนนเทียนอัน ซึ่งอยู่ใจกลางกรุงปักกิ่ง แล้วยังปีนขึ้นไปบนหน้ารถถังเพื่อขอร้องพลขับ แต่ผู้เห็นเหตุการณ์พากันไปลากเขาลงมา
       ทว่า เมื่อกาลเวลาผ่านไป ท่าทีต่างๆก็เปลี่ยนไป ประชาคมโลกหันมาต้อนรับจีน ผู้นำคอมมิวนิสต์ในกรุงปักกิ่งยังคงกุมอำนาจ และผลักดันประเทศสู่ชาติอำนาจเศรษฐกิจใหญ่อันดับสามของโลก
       
       
แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนคือจุดยืนของผู้นำจีนที่มองว่าการประท้วงคุกคามการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ และจะต้องปราบให้ราบเพื่อรักษาการปฏิรูปเศรษฐกิจ
       

       “ความจริงที่ปรากฏพิสูจน์แล้วว่าเส้นทางสังคมนิยมด้วยบุคลิกจีนที่เราได้ยึดถือนั้นเป็นรากฐานผลประโยชน์ประชาชน” หม่า เจาซี่ว์ โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนกล่าวแก่ผู้สื่อข่าวในเดือนพฤษภาคม
       
       ขณะที่อดีตที่ปรึกษาของจ้าว จื่อหยาง เป่า ถง ผู้ถูกจำคุก 7 ปีหลังเหตุการณ์นองเลือดเทียนอันเหมิน ชี้ว่าประชาคมโลกล้มเหลวในการกดดันจีนให้เปิดกว้างเกี่ยวกับเหตุการณ์ปราบปรามกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยที่เทียนอันเหมิน เนื่องจากอิทธิพลบนเวทีโลกของจีนที่ขยายตัวมากขึ้น

******************************************************

เหตุการณ์นองเลือดเทียนอันเหมินเกิดขึ้นในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1989 หลังจากนักศึกษาและประชาชนชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน กลางกรุงปักกิ่งเป็นเวลา 7 สัปดาห์ รัฐบาลคอมมิวนิสต์จีนก็ตัดสินใจประกาศกฎอัยการศึก ส่งกำลังทหารกวาดล้างผู้ประท้วงในคืนวันที่ 3-4 มิถุนายน โศกนาฏกรรมนองเลือดครั้งนั้นคาดมีผู้สังเวยชีวิตนับพันคน และประเด็นการปราบปรามที่เทียนอันเหมินก็ยังคงเป็นเรื่องต้องห้ามมาจนถึงทุกวันนี้

.....ขอบคุณ...http://blog.eduzones.com/bluesky/25559

credit :

   ขอบคุณ  ASTV ผู้จัดการออนไลน์       

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง เหตุการณ์ ?4 มิถุนายน? ปี 32 ณ จัสตุรัสเทียนอันเหมิน
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายหนูเหลี่ยง ชิณแสน
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายหนูเหลี่ยง ชิณแสน..