หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายเฉลิมพล จันทรดี
จากจังหวัด อุดรธานี

ระเบียบแถวลูกเสือเบื้องต้น
โพสต์เมื่อวันที่ : 1 มิ.ย. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7151 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(74.22%-83 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

ระเบียบแถวลูกเสือ

.....

 

ระเบียบแถวเบื้องต้น

1.  การทำความเคารพ

                การเคารพเป็นการแสดงความอ่อนน้อมนับถือตามวินัยของลูกเสือ  ลูกเสือชั้นผู้น้อยจะต้องทำความเคารพผู้บังคับบัญชาซึ่งเป็นผู้ใหญ่  ทั้งแสดงให้เห็นว่าเป็นคนมีมารยาทเรียบร้อย  มีความรักใคร่นับถือซึ่งกันและกันตามหลักการของลูกเสือ

                การทำความเคารพของลูกเสือ  (สามัญ)  เมื่ออยู่ในเครื่องแบบ  มีวิธีทำความเคารพ  2  วิธีคือ

              1.  ทำวันทยหัตถ์  ให้ทำวันทยหัตถ์  3  นิ้วโดยยกมือขวาขึ้น  นิ้วหัวแม่มือกดปลายนิ้วก้อยไว้นิ้วชี้  นิ้วกลางและนิ้วนาง  เหยียดชิดติดกัน  ให้ปลายนิ้วชี้แตะที่ขอบหมวกปีก  ประมาณตรงหางคิ้วขวาหรือมิได้สวมหมวกให้ปลายนิ้วชี้แตะที่หางคิ้วขวา

 

 

             2.  การทำวันทยาวุธ  คือการทำความเคารพในขณะที่ลูกเสือถือไม้พลองอยู่  ได้แก่  การทำวันทยาวุธเมื่ออยู่ในท่ายืนตรงพลองชิดลำตัวด้านขวา  ปลายพลองอยู่ในร่องไหล่มือขวาจับพลอง  มือซ้ายแสดงรหัสลูกเสือ  รวบนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วก้อยจรดกัน เหลือนิ้วชี้ นิ้วกลางนิ้วนาง  เหยียดชิดติดกัน  งอศอกยกแขนซ้ายให้อยู่ในแนวเสมอไหล่ ฝ่ามือคว่ำให้ปลายนิ้วชี้แตะพลองที่ร่องไหล่ขวา

                โอกาสแสดงความเคารพ  ใช้ในโอกาสต่าง ๆ ต่อไปนี้

                1.   เคารพต่อธงสำคัญๆช่นธงชาติธงคณะลูกเสือแห่งชาติธงลูกเสือประจำจังหวัดธงประจำกองทหารฯลฯ

                2.  เคารพในขณะที่บรรเลงเพลงชาติ  เพลงสรรเสริญพระบารมี  เพลงมหาฤกษ์  เพลงมหาชัย  เพลงสรรเสริญเสือป่า

                3.  เคารพแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถและบุคคลที่ควรเคารพ  นายทหาร  นายตำรวจที่แต่งเครื่องแบบ

                4.  เคารพต่อลูกเสือด้วยกัน

               


รหัสลูกเสือ  เป็นเครื่องหมายที่แสดงให้รู้กันเฉพาะในวงการลูกเสือเท่านั้น  ซึ่งลูกเสือทุกคนเมื่อเห็นรหัสนี้  ก็จะรับรู้และเข้าใจความหมายซึ่งกันทันทีว่า  เราเป็นพวกเดียวกัน 

         วิธีการแสดงรหัส

ลูกเสือไทยใช้แสดงรหัสแบบอังกฤษ คือ ยืนในท่าตรงยกมือขวาขึ้นเสมอไหล่ข้อศอกชิดลำตัวหันฝ่ามือไปข้างหน้านิ้วหัวแม่มือกดปลายนิ้วก้อยไว้อีกสามนิ้วที่เหลือเหยียดขึ้นตรงนิ้วชิดติดกันนิ้วทั้งสามที่เหยียดขึ้นไปนั้นมีความหมายถึงคำปฏิญาณของลูกเสือ  3  ข้อ

 

โอกาสแสดงรหัส  ใช้ในโอกาสต่อไปนี้

                1.  เมื่อลูกเสือกล่าวคำปฏิญาณในพิธีปฏิญาณตนเข้าประจำกองและพิธีอื่น ๆ ที่มีการทบทวนคำปฏิญาณ

                2.  เมื่อพบกับลูกเสือชาติเดียวกันหรือต่างชาติเป็นการรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน

2.  การจับมือ

                การจับมือทักทายกันของลูกเสือนั้นใช้จับด้วยมือซ้าย  และปฏิบัติต่อกันเช่นนี้ในหมู่ลูกเสือทั่วไป  ทำได้โดยต่างคนต่างยื่นมือซ้ายออกไป  แล้วจับกันเหมือนกับการจับมือขวาตามธรรมดา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



3.  คติพจน์ของลูกเสือสามัญ

                คติพจน์  คือข้องความที่เป็นหลักหรือแบบอย่างให้ลูกเสือได้ยึดถือ  และปฏิบัติเพื่อตนเองและส่วนรวม

                คติพจน์ของลูกเสือสามัญ  คือ  จงเตรียมพร้อม  หมายความว่า  ลูกเสือจะต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอทั้งทางกายและใจต่อการที่จะปฏิบัติหน้าที่

                จงเตรียมพร้อมทางกาย  ได้แก่  การทำตัวให้แข็งแรงว่องไวสามารถทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม  และเหมาะแก่โอกาสที่ทำ

                จงเตรียมพร้อมทางใจ  ได้แก่  การทำตัวให้อยู่ในระเบียบวินัย  และพร้อมเสมอเมื่อมีอุบัติเหตุ  หรือเหตุการณ์เกิดขึ้นจะต้องรู้ว่าจะพึงปฏิบัติให้ถูกต้องอย่างไร

                คติพจน์ของลูกเสือทุกประเภทรวมกันว่า  เสียชีพอย่าเสียสัตย์  สัตย์  แปลว่า  คำปฏิญาณ  หมายความว่าลูกเสือต้องรักษาคำปฏิญาณของตนยิ่งกว่าชีวิต  เพราะเมื่อให้คำมั่นสัญญาไปอย่างใดแล้วย่อมปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ได้ให้ไว้เสมอ  หากลูกเสือถูกบีบบังคับให้ละเว้น  หรือไม่ปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาแล้ว  แม้จะถึงแก่ชีวิตก็ไม่เสียดาย


สัญญาณมือและสัญญาณนกหวีด

1.        สัญญาณมือ

               

 ในการฝึกระเบียบแถว  ผู้กำกับลูกเสืออาจสั่งด้วยสัญญาณมือ  ลูกเสือจึงจำเป็นต้องเรียนรู้สัญญาณมือเพื่อจะได้แปลสัญญาณมือที่ได้รับและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว  สัญญาณมือที่ลูกเสือจำเป็นต้องเรียนรู้มีดังนี้

1)  เตรียมคอยฟังคำสั่งหรือหยุด

การให้สัญญาณ ผู้กำกับจะเหยียดแขนขวาขึ้นตรงเหนือศีรษะ  มือแบ  นิ้วทั้งห้าเรียงชิดติดกัน  หันฝ่ามือไปข้างหน้า

เมื่อเห็นสัญญาณนี้ให้ลูกเสือ  หยุดการเคลื่อนไหว  หรือหยุดการกระทำการต่าง ๆ ที่กำลังทำอยู่หันหน้าไปทางผู้บังคับบัญชาเพื่อคอยฟังคำสั่ง  ถ้าอยู่ในแถวให้ยืนอยู่ในท่าตรง

 

 

 

2)  รวมหรือกลับมา

การให้สัญญาณ  ผู้กำกับจะเหยียดแขนขวาขึ้นตรงเหนือศีรษะ  แบมือไปข้างหน้านิ้วมือทั้งห้านิ้วชิดติดกันและหมุนมือเป็นวงกลมจากซ้ายไปขวา

เมื่อเห็นสัญญาณนี้  ให้ลูกเสือรวมกองรีบมาเข้าแถวรวมกัน

 

 

 

 

 

3)  จัดแถวหน้ากระดาน

การให้สัญญาณ  ผู้กำกับจะเหยียดแขนทั้งสองออกไปด้านข้างเสมอไหล่  ฝ่ามือแบไปข้างหน้านิ้วเรียงชิดติดกัน

เมื่อเห็นสัญญาณนี้ให้ลูกเสือ  เข้าแถวหน้ากระดาน  หันหน้าไปหาผู้ให้สัญญาณ

 

 

 

 

 

 


4)  จัดแถวตอน

การให้สัญญาณ  ผู้กำกับลูกเสือจะเหยียดแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้า  แนวเดียวกับไหล่  แขนขนานกัน  ฝ่ามือแบเข้าหากัน

เมื่อเห็นสัญญาณนี้  ให้ลูกเสือเข้าแถวตอน

 

 

 

 

 

 

 

 

5)  เคลื่อนที่ไปยังทิศที่ต้องการ

การให้สัญญาณ  ผู้กำกับจะหันหน้าไปยังทิศที่ต้องการชูแขนขวาขึ้นเหนือศีรษะสุดแขน  ฝ่ามือแบไปข้างหน้า  นิ้วชิดกันแล้วลดแขนลงเสมอไหล่

เมื่อเห็นสัญญาณนี้  ให้ลูกเสือ  วิ่งไปยังทิศทางที่มือผู้ให้สัญญาณชี้ไป

 

 

 

 

6)  เร่งจังหวะหรือทำให้เร็วขึ้น

การให้สัญญาณ  ผู้กำกับจะงอแขนขวามือกำเสมอบ่าแล้วชูขึ้นตรงเหนือศีรษะแล้วลดลงหลาย ๆ ครั้งติดต่อกัน

เมื่อเห็นสัญญาณนี้  ให้ลูกเสือรีบวิ่งหรือเร่งจังหวะสิ่งที่ทำอยู่ให้เร็วขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 


7)  นอนลงหรือเข้าที่กำบัง

การให้สัญญาณ  ผู้กำกับจะเหยียดแขนขวาตรงไปข้างหน้าเสมอแนวไหล่ฝ่ามือแบคว่ำลง  นิ้วชิดกันแล้วลดแขนลงและยกขึ้นที่เดิมหลาย ๆ ครั้ง

เมื่อลูกเสือเห็นสัญญาณนี้ให้รีบนอนหรือเข้าที่กำบังทันที

8)  ลุกขึ้น

การให้สัญญาณ  ผู้กำกับจะเหยียดแขนขวาตรงไปข้างหน้าเสมอไหล่ฝ่ามือแบหงายขึ้นนิ้วชิดและลดลงที่เดิมหลาย ๆ ครั้ง

เมื่อลูกเสือเห็นสัญญาณนี้ให้รีบลุกขึ้นทันที

2.  การใช้สัญญาณมือเป็นคำสั่งแถว

1) สัญญาณมือพักตามระเบียบ

การให้สัญญาณในขณะที่ลูกเสืออยู่ในแถว  หากผู้กำกับจะสั่งให้พักจะทำสัญญาณมือเป็น  2  จังหวะดังนี้

จังหวะที่  1  กำมือขวา  งอแขนตรงข้อศอกให้มือที่กำอยู่ประมาณตรงหัวเข็มขัดหันฝ่ามือที่กำเข้าหาเข็มขัด

จังหวะที่  2  สลัดมือที่กำและหน้าแขนออกไปทางขวา  เป็นมุม  180  องศาประมาณแนวเดียวกับเข็มขัดเมื่อเห็นสัญญาณนี้ 
ให้ลูกเสือพักตามระเบียบ

2) สัญญาณมือท่าตรง

การให้สัญญาณ  ขณะที่กำลังพักตามระเบียบ  ผู้กำกับจะสั่งให้ตรงด้วยการทำสัญญาณมือเป็น 2  จังหวะดังนี้

จังหวะที่  1  กำมือขวา  แขนเหยียดตรงไปทางขวา  ให้มือกำอยู่ในระดับเข็มขัด

จังหวะที่  2  กระตุกหน้าแขนเข้าหาตัว  ให้มือที่กำกลับมาอยู่ตรงหัวเข็มขัด

เมื่อเห็นสัญญาณนี้  ให้ลูกเสือชักเท้าซ้ายมาชิดเท้าขวา  ลดแขนที่ไขว้หลังมาอยู่ในท่าตรง

 

 

 

               

 

 

 

 

 

 

 

 

                2.  สัญญาณนกหวีด

                ในการออกคำสั่งแก่ลูกเสือ  ผู้กำกับลูกเสืออาจสั่งด้วยสัญญาณนกหวีดก็ได้  ลูกเสือจึงเข้าใจความหมายของสัญญาณนกหวีด  เพื่อจะได้ปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วสัญญาณที่ควรรู้มีดังนี้

                1.  สัญญาณหยุดหรือฟัง  เสียงหวีดยาว 1 ครั้ง  หวีด”(-)เป็นสัญญาณให้ลูกเสือหยุดกระทำการใด ๆ หรือเตรียมตัวคอยฟังคำสั่งที่ผู้กำกับลูกเสือจะสั่งต่อไป

                2.  สัญญาณทำต่อไป  เสียงหวีดยาว  2  ครั้ง  หวีดหวีด  (  )  เป็นสัญญาณให้ลูกเสือทำงานต่อ  เดินต่อไปหรือเคลื่อนที่ต่อไป

                3.  สัญญาณเกิดเหตุ  เสียงหวีดสั้น  1  ครั้งยาว  1 ครั้งสลับกันไปหลาย ๆ ครั้ง วิดหวีด” “วิดหวีด” “วิดหวีด”( . - . - . - )เป็นสัญญาณให้ลูกเสือระวังตัวเพราะเกิดเหตุฉุกเฉินหรือเกิดเหตุร้ายขึ้น

                4.  สัญญาณรวมกอง  เสียงหวีดสั้นติดกันหลาย ๆ ครั้ง วิดวิดวิดวิดวิดวิดวิดวิดวิด..วิด” ( …. )  เป็นสัญญาณให้ลูกเสือรวมกอง  หรือมาประชุม

                5.  สัญญาณเรียกนายหมู่  เสียงหวีดสั้น  3  ครั้งยาว  1  ครั้ง  สลับกันไป วิดวิดวิดหวีด,วิดวิดวิดหวีด,วิดวิดวิดวิดหวีด  (…-  …-)  เป็นสัญญาณให้นายหมู่หรือรองนายหมู่ไปหาผู้ให้สัญญาณเพื่อรอรับคำสั่ง

หมายเหตุ  เมื่อจะใช้สัญญาณตามข้า 2  3  4 และ 5  จะต้องใช้สัญญาณในข้อ  1  ก่อน  ทุกครั้ง

 

               


3.  การตั้งแถวและการเรียกแถว

                ในการฝึกระเบียบแถวของลูกเสือ  ผู้กำกับลูกเสือมักจะใช้สัญญาณมือซึ่งเป็นสัญญาณเงียบ  ลูกเสือจะต้องเข้าใจ  เพื่อจะได้ปฏิบัติตามได้ถูกต้อง  รวดเร็ว  การเข้าแถวของลูกเสือนั้น  มีหลักการว่านายหมู่จะต้องอยู่หัวแถว และรองนายหมู่จะต้องอยู่หางแถว

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ระเบียบแถวลูกเสือเบื้องต้น
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายเฉลิมพล จันทรดี
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายเฉลิมพล จันทรดี..