หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

มาตรฐานเด็กไทย ตกต่ำ..แก้ที่ใคร? ครู ผ้บริหาร ผู้ปกครอง หรือ...?
โพสต์เมื่อวันที่ : 29 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7044 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(78.57%-14 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

บริหารงานอย่างมืออาชีพที่รู้ว่าจะทำอย่างไร (How to?) ไม่ใช่รู้ว่าจะทำอะไร (What do?) อย่างเดียว

.....

บริหารอย่างไร มาตรฐานเด็กไทย จึงจะไม่ตกต่ำ

 

                ประชาชนชาวไทยเป็นจำนวนมาก  คงจะตกใจกับข่าวเมื่อเร็ว ๆ นี้  เกี่ยวกับวิกฤตการณ์การศึกษาของชาติ  ชี้มาตรฐานการศึกษา ของไทยต่ำกว่า “เวียดนาม”
                สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจพบว่า  ประชากรของประเทศเกือบ  20  ล้านคน  ยังมีการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา นอกจากนี้  ผลการสอบโอเนตปี  2549  คะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ  วิชาภาษาไทย  ร้อยละ  50.33  มีนักเรียนสอบได้ศูนย์  ทั้งที่ภาษาไทยเป็นภาษา ประจำชาติ  และวิชาสังคมศึกษา  คะแนนเฉลี่ยเพียงร้อยละ  37.94  ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยใช้งบประมาณสำหรับเรื่องการศึกษามากกว่าประเทศ เวียดนามหลายเท่า  และเด็กที่จบชั้นมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาไม่สามารถหางานทำได้  แสดงว่าระบบการศึกษาไทยล้มเหลว  (ไทยรัฐ  11  มิถุนายน  2550 : 15)

 

               จากข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงดังกล่าว  ผู้ที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้เลย  คือ  ผู้กำหนด นโยบาย และวางแผนการศึกษาแห่งชาติ  และผู้บริหารสถานศึกษา  ซึ่งรับทอดอำนาจ ในการบริหาร จัดการโรงเรียนทั้งหมด  ทั่วประเทศ  มีส่วนให้เยาวชนของชาติไม่สามารถสร้าง ชีวิตและพลังเพียงพอ ที่จะนำประเทศชาติไปสู้กับโลกแห่ง การแข่งขันได้
                ผู้เขียนได้สัมผัสกับวิถีทางในการผลิตเยาวชนของประเทศที่พัฒนาแล้ว  วิเคราะห์ได้ว่า ทิศทางหรือ นโยบายของการศึกษาของเรา  ผิดแผกจากนโยบายของประเทศอื่นโดยสิ้นเชิงเพราะ เขาเริ่มต้นจากสิ่งที่เขา มีอยู่  เป็นอยู่  แล้วตั้งเป้าที่ควรจะเป็นในอนาคต  ลักษณะความคิด  ความเข้าใจ  และความต้องการของคนทั่ว ประเทศใกล้เคียงหรืออยู่ในแนวเดียวกัน 

               ขณะที่คนในประเทศไทยมีความต้องการและความมุ่งหวังที่แตกต่าง  เริ่มตั้งแต่ความคิดของคนในครอบครัว  ครอบครัวเป็นจำนวน มาก ไม่เน้นให้ลูกหลานเจริญรอยสืบสานธุรกิจ หรืออาชีพที่ตนมีอยู่ หรือดำเนินการอยู่  เช่น  พ่อแม่ทำนา  มีนาอยู่  100  ไร่  สิ่งประเสริฐที่สุด ของลูกหลานก็คือพ่อแม่ได้สร้างงาน  สร้างทุนไว้ให้แล้ว  แต่ลูก ๆ ที่เกิดมาถูกเบี่ยงเบนจากคนในครอบครัว  และสังคม  ให้รังเกียจสิ่งที่พ่อแม่ ทำอยู่  กลับมุ่งแสวงหาโอกาสอื่น ๆ ให้กับตนเอง  คือมองหาอาชีพอื่น  โดยทอดทิ้งความเป็นพื้นฐานดั้งเดิมของอาชีพตน

               ความผิดพลาดในอุดมการณ์หรือความไม่ละเอียดอ่อนในการกำหนดนโยบายเหล่านี้  ทำให้ ขาดหลักการจากการเริ่มต้น  สิ่งที่ตนมีอยู่และเป็นอยู่  แต่ไขว่คว้าหาสิ่งอื่นที่อยู่ในโลกกว้างที่ยังมอง ไม่เห็น  และมาไม่ถึง  นี่คือสาเหตุเริ่มต้นของความล้มเหลวของชีวิตมนุษย์  การตั้งเป้าหมายของ การศึกษาที่ผิดพลาดและการว่างงานของคนภายในชาติก็ตามมา
                เช่นเดียวกับการเรียนภาษาไทย  รัฐบาลได้ทุ่มเงินอย่างมากมายมหาศาลกับการมุ่งเน้น การสอนภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาหลัก มีศูนย์การสอนทั่วประเทศ  อย่างน้อย 178  ศูนย์  เพื่อพัฒนา การเรียนภาษาอังกฤษ  ในขณะเดียวกัน  ละเลยการสอนภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาของตนอย่างจริงจัง  แทนที่เยาวชนไทยจะพูดภาษาไทยชัดทั้งอักษร ตัว  ร  ตัว  ล  ตัวควบกล้ำและสำนวนภาษาที่ สละสลวย คงความเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นไทยอย่างสง่าภาคภูมิ  กลับยอมรับภาษาที่ใช้กัน อย่างผิด ๆ และยอมให้ศัพท์แสลง  หรือภาษาวัยรุ่นเป็นภาษาทางการ  และเห็นความสำคัญของ การพูดภาษา อังกฤษให้ชัดเจน  เพื่อการสื่อสารกับชาวต่างชาติ  แต่รังเกียจที่จะพัฒนภาษาของตน ให้ดี

 
 

               นี่คือตัวอย่างของการเริ่มต้นที่ผิดพลาด  คือความไม่เห็นคุณค่าของตนเอง  บุคคลใด ที่ไม่รักในสิ่งที่ตนมีอยู่แล้ว  อย่าหวังเลยว่าบุคคลนั้นจะเจริญได้
                การวางแผนการศึกษาของประเทศไทย  เน้นหลักการและทฤษฎีมากเกินไป  แต่ขาด ความเอาใจใส่ในวิธีการปฏิบัติที่ได้ผล  เวลาส่วนใหญ่และเงินทุนมหาศาลจะถูกทุ่มเทไปกับ การพัฒนาหน่วยงาน  นโยบายและหลักการ  กฎเกณฑ์  หรือเนื้อหาสาระที่มีรายละเอียด มากมาย  แต่ขาดการทดลองปฏิบัติในพื้นที่ภาคสนาม 
                สิ่งที่ผู้กำหนดนโยบายควรจะทุ่มเทเป็นพิเศษ  คือหันมาสนใจการปฏิบัติงานของ ผู้บริหารสถานศึกษา  และครูผู้สอนในห้องเรียน  ซึ่งจะต้องเป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อความ สัมฤทธิ์ผลของนักเรียนอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม

                เป็นการดีที่มีกฏระเบียบให้ผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่งมีพื้นฐานการศึกษาให้ตรงกับการบริหารการศึกษาโดยตรง  และสนับสนุน ให้ผู้บริหารได้มีวุฒิหรือดีกรีที่สูงขึ้น  แต่นั่นหาได้เป็นเครื่องการันตีว่าผู้บริหารเหล่านี้  จะสามารถบริหารให้นักเรียนเป็นคนดี  เก่งและมีสุข  ตามอุดมการณ์แห่งการศึกษาแนวใหม่ไม่  ถ้าผู้บริหารขาดความจริงใจในการปฏิบัติ
                ถ้าจะให้เยาวชนไทยมีมาตรฐานกว่าเดิม  ผู้บริหารต้องสลัดทุกอย่างที่เป็นตัวตน  เริ่มจาก  ต้องมีอุดมการณ์  ขยัน  ใฝ่เรียน  ใฝ่รู้  เป็นนักวิชาการที่มีจริยธรรม  คุณธรรมและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ  และบริหารงานอย่างมืออาชีพที่รู้ว่าจะทำอย่างไร  (How to?)  ไม่ใช่รู้ว่าจะทำอะไร  (What do?)  อย่างเดียว

          นักบริหารและครูผู้สอนที่มีอุดมการณ์  เด็กจะได้อะไร  เด็กและผู้ปกครองไม่ต้องเผชิญกับ ปัญหาคอรัปชั่นในวงการศึกษาทุกรูปแบบ  นับตั้งแต่เงินกินเปล่าตอนเข้าเรียน  ค่าสมุด  หนังสือ  เครื่องแบบนักเรียน  และเงินเพิ่มต้องจ่ายค่าห้องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสอน            รวมทั้งการเอาเปรียบเวลาสอนของนักเรียนโดยเข้าช้าออกก่อน  เป็นต้น พฤติกรรมที่เลวร้าย  รุนแรงที่ประเทศอื่นเขาไม่ทำกันนี่หรือเปล่าที่ทำให้เยาวชนไทยได้รับเต็ม ๆ ถ้าจะบริหารให้ดี  ก็ต้องเลิกจ้างผู้บริหาร  และครูที่ขาดอุดมการณ์เหล่านี้ให้เป็นอันดับแรก..

 
     

ตีพิมพ์ในวารสาร วิทยาจารย์  ปีที่  106  ฉบับที่  10  ประจำเดือนสิงหาคม  2550

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง มาตรฐานเด็กไทย ตกต่ำ..แก้ที่ใคร? ครู ผ้บริหาร ผู้ปกครอง หรือ...?
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..