หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

โรคสุดฮิตกลุ่มคนทำงานกับคอมพิวเตอร์...การป้องกันและรักษา
โพสต์เมื่อวันที่ : 26 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7046 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(51.43%-7 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

โรคสุดฮิตกลุ่มคนทำงานกับคอมพิวเตอร์

ข้อมูลของสื่อ
File Name: 
338-017
เล่ม: 
338
เดือน-ปี: 
06/2007

โรคสุดฮิตกลุ่มคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์

ดร.คีรินท์ เมฆโหรา คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

โรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานสามารถแบ่งได้หลายรูปแบบตามอวัยวะที่มีปัญหา ได้แก่ กล้ามเนื้ออักเสบ เส้นประสาทอักเสบ เอ็นอักเสบ และข้ออักเสบ ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ จะมีโรคเส้นประสาทที่ข้อมืออักเสบเป็นโรคสุดฮิต ที่มีการอักเสบของเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ที่มีชื่อเรียกว่า carpal tunnel      syndrome (CTS) และ guyon cannel syndrome (GCS)    โดย CTS จะมีปัญหาการอักเสบของเส้นประสาทมีเดียน ขณะที่ GCS เป็นการอักเสบของเส้นประสาทอัลนาร์ ดังมีรายละเอียดดังนี้
      
อาการและอาการแสดง
เนื่องจากกลุ่มโรคนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการอักเสบของเส้นประสาท  ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อบางตัวของแขนส่วนล่างและมือ นอกจากนั้นยังนำกระแสประสาทจากตัวรับรู้สึกที่มือและแขนส่วนล่างไปยังไขสันหลังและต่อไปยังสมอง
ดังนั้น เมื่อเกิดความผิดปกติของเส้นประสาทเหล่านี้ ก็จะส่งผลต่ออาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทนี้ไปเลี้ยง และขณะเดียวกันอาจมีการสูญเสียความรู้สึกสัมผัสบริเวณมือ ขึ้นอยู่กับว่าเส้นประสาท ใดมีการอักเสบหรือถูกกดทับ และอาการจะถูกกระตุ้นเมื่อทำงานและอากาศที่เย็น
อาการของ CTS
- อาการชาทางด้านฝ่ามือของนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งซีกของนิ้วนาง (ทางด้านใกล้นิ้วโป้ง)
- ถ้าอาการมากขึ้นจะส่งผลต่ออาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งมือ และโคนนิ้วโป้ง 
- มีอาการเจ็บเมื่อทำงานหรือเมื่อข้อมืออยู่ในลักษณะงอ พับ กระดกข้อมือ หรือมีแรงกดบริเวณข้อมือ
 

อาการของ GCS
- อาการชาทางด้านฝ่ามือและหลังมือของนิ้วก้อย และครึ่งซีกของนิ้วนาง (ทางด้านใกล้นิ้วก้อย)
- ถ้าอาการมากขึ้นจะส่งผลต่ออาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งมือ และกล้ามเนื้อโคนนิ้วก้อย
-  มีอาการเจ็บเมื่อทำงานหรือเมื่อข้อมืออยู่ในลักษณะกระดกข้อมือ หรือมีแรงกดบริเวณข้อมือ (ทางด้านใกล้นิ้วก้อย)
สาเหตุ
พบว่าภายในข้อมือมีอุโมงค์เล็กๆ ที่มีผนัง ๒ ด้านเป็นกระดูกโคนฝ่ามือ มีหลังคาเป็นเอ็นเหนียวๆ ภายในอุโมงค์นี้มีเอ็นของกล้ามเนื้อ ๙ กล้ามเนื้อ มีหลอดเลือด และเส้นประสาทที่มีชื่อเรียกว่า เส้นประสาทมีเดียน    (median nerve) เมื่อมีการงอข้อมือ หรือบิดข้อมือ ก็จะทำให้อุโมงค์ แคบลง และเมื่อใช้มือในการกำหรือเหยียด หรือขยับนิ้ว ในลักษณะพิมพ์ดีด จะมีผลทำให้เอ็นของกล้ามเนื้อขยับไปมาตลอดเวลา ถ้ามีการใช้แรงมือมากๆ ร่วมกับการงอของข้อมือ หรือมีการกดทับที่ข้อมือ ย่อมมีสิทธิ์ทำให้มีการบีบรัดต่อเส้นประสาทมีเดียน และหลอดเลือด บริเวณนั้นได้ ส่งผลต่ออาการอักเสบและการบวมของเส้นประสาทมีเดียน ซึ่งไปรับความรู้สึกทางด้านฝ่ามือของนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งซีกของนิ้วนาง และเลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งมือและโคนนิ้วโป้ง สามารถทำให้เกิดอาการชาบริเวณดังกล่าว และเกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทไปเลี้ยง
            
ในขณะที่ข้อมือทางด้านนิ้วก้อยจะมีปุ่มกระดูกของข้อมือที่มีเส้นประสาทอัลนาร์ (ulnar nerve) วิ่งโค้งผ่านมาข้างๆ ในลักษณะเหมือนคลองในช่วงโค้ง
เส้นประสาทนี้จะรับความรู้สึกจากนิ้วก้อยและครึ่งซีกของนิ้วนาง รวมทั้งเลี้ยงกล้ามเนื้อบางมัดในมือ หากการทำงานที่ต้องวางข้อมือบนโต๊ะและมีการขยับข้อมือไปมา เช่น การใช้เมาส์ หรือการเขียนหนังสือ อาจส่งผลต่อการกดของเส้นประสาทอัลนาร์ได้ และเมื่อเส้นประสาทนี้เกิดการอักเสบ ก็จะเกิดอาการชาที่นิ้วก้อยและครึ่งซีกของนิ้วนาง ทั้งด้านฝ่ามือและหลังมือ รวมทั้งอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อบางมัดในฝ่ามือ
             
กลุ่มโรคเหล่านี้ พบในผู้หญิงมากกว่าในผู้ชาย ประมาณ ๓ ต่อ ๑ อาจเป็นเพราะอุโมงค์ที่บริเวณข้อมือ ของผู้หญิงจะเล็กกว่าของผู้ชาย และพบในกลุ่มคนอายุประมาณ ๒๐ ถึง ๕๐ ปี ในผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้มือ มีแรงกดที่ข้อมือ  
             
อย่างไรก็ตาม อาจสังเกตได้ว่า ในกลุ่มคนที่ทำงาน เหมือนๆ กัน แต่บางคนเป็นโรคนี้ บางคนไม่เป็น อาจ  มีสาเหตุมาจากลักษณะโครงสร้างไม่เหมือนกัน ขนาดของอุโมงค์ไม่เท่ากัน และความแข็งแรงของร่างกายแตกต่างกัน หรือบางคนอาจมีมีโรคอื่นๆ เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว โดยโรคเหล่านี้เป็นโรคที่ทำให้มีผลต่อการบวม เช่น ผู้ที่มีปัญหาไฮโพไทรอยด์ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคอ้วน และผู้ที่เป็นเบาหวานที่มีปัญหาการอักเสบของปลายประสาท

การตรวจร่างกาย
การตรวจร่างกายเพื่อหาความผิดปกติของการอักเสบของเส้นประสาททำได้ไม่ยาก โดยดูจากการทำงานของเส้นประสาท ซึ่งมีหน้าที่หลักคือสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงาน และรับความรู้สึก บุคคลทั่วไปสามารถ ทำการตรวจได้ดังนี้
- สังเกตความรู้สึกบริเวณมือว่ามีความผิดปกติไปหรือไม่ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอาจเป็นความรู้สึกชา หรือแปร่งๆ แปลกไปจากเดิมหรือไม่เท่ากันในแต่ละข้าง
- ใช้นิ้วโป้งไล่ถูวนที่ปลายนิ้วแต่ละนิ้ว ทั้ง ๒ ข้างพร้อมๆ กัน หากพบว่าความรู้สึกสัมผัสไม่เท่ากันในแต่ละนิ้วแสดงว่าอาจมีความผิดปกติ
-  ทำการตรวจสอบที่ละเอียดไปกว่านั้นโดยใช้สำลีลูบหากพบว่าไม่สามารถรับรู้สึกได้หรือการรับรู้สึกเปลี่ยนไปหรือลดลงไป แสดงว่าอาจมีข้อบกพร่องในการทำงานของเส้นประสาท อย่างไรก็ตาม ควรเปรียบเทียบบริเวณเดียวกันของแขนทั้ง ๒ ข้าง เมื่อทำการเคาะตามเส้นประสาท (อาจทดลอง เคาะตามแขนส่วนล่าง) อาจพบว่าบางจุด บางบริเวณมี อาการแปล๊บๆ วิ่งไปปลายมือ
- อาจพบอาการอ่อนแรง เมื่อทดลองหนีบนิ้วเข้าหากัน หรือกางนิ้วออก บางคนอาจสังเกตจากแรงหยิบจับของลดลง
- สำหรับ CTS อาจทำการทดสอบด้วยท่างอข้อมือให้สุดแล้วค้างไว้ประมาณ ๑ นาที หากพบอาการชา บริเวณนิ้วโป้ง ชี้ กลาง และนาง ถือว่าผลเป็นบวก
นอกจากนั้น เป็นการตรวจพิเศษด้วยเครื่องมือ เช่น การตรวจการนำกระแสประสาท การตรวจคลื่นไฟฟ้า ดูการทำงานของกล้ามเนื้อ และการใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ เพื่อดูการเคลื่อนไหวและขยับตัวของเส้นประสาท ซึ่งการตรวจเหล่านี้เป็นการตรวจโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เท่านั้น

การป้องกันและการดูแลรักษาด้วยตนเอง
การป้องกันไม่ให้เกิดกลุ่มอาการของโรคนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะหากปล่อยให้เกิดอาการขึ้น จะรักษาได้ยากและบางรายอาจมีความพิการหลงเหลืออยู่ ดังนั้น การรักษาควรทำตั้งแต่ระยะแรกๆ เมื่อพบอาการของโรค โดยให้สังเกตตามระยะของโรคคือ ถ้ามีอาการขณะทำงาน แล้วเมื่อนอนพัก ตื่นขึ้นมาไม่มีอาการคงค้างถือว่าเป็นในระยะเริ่มแรก ให้ทำการรักษาเองได้ แต่ต้องพยายามหาวิธีป้องกัน
       
วิธีป้องกันคือ การปรับสภาพงานและสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีทางการยศาสตร์ดังที่กล่าวมาในหมอชาวบ้านฉบับก่อนๆ เช่น การจัดสถานที่ทำงาน การระมัดระวังเรื่องแรงกดที่ข้อมือ และการเปลี่ยนหมุนเวียนงาน หากมีอาการอยู่ในระยะที่ ๒ หรือ ๓ ซึ่งเป็นระยะที่เมื่อนอนพักค้างคืนแล้วยังมีอาการหลงเหลืออยู่ ให้ไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดเพื่อทำการรักษา และต้องทำการปรับเปลี่ยนเรื่องงานด้วย
               
การออกกำลังกายมีส่วนช่วยในการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดโรค เพราะร่างกายที่แข็งแรงย่อมทนต่องานที่หนักได้ และเมื่อเกิดอาการก็จะไม่รุนแรงมากเท่าคนที่ไม่แข็งแรง ดังนั้นจำเป็นต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ สำหรับท่าออกกำลังกายที่ช่วยรักษาโดยเฉพาะเมื่ออยู่ในระยะที่ ๑ และช่วยป้องกันโรคนี้ผู้เขียนแนะนำดังนี้ ๑. ท่าออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อ โดยการยื่นมือและแขนของข้างที่ต้องการยืดไปข้างหน้า ใช้มืออีกข้างทำการช่วยกด งอข้อมือลง ค้างไว้ประมาณ ๑๐ วินาที ประมาณ ๕ ครั้ง โดยให้รู้สึกตึงประมาณ ๗/๑๐ โดย ๑๐ คือ ความรู้สึกที่ตึงมากที่สุดที่ทนไม่ไหว ดังนั้น จึงเป็นความรู้สึกที่ตึงแต่ไม่มากนัก
อีกท่าคือ การเหยียดแขนออกพร้อมกระดกข้อมือโดยใช้มืออีกข้างช่วยยืดให้ทำเหมือนกับท่าแรก ทั้ง ๒    ท่านี้ควรทำบ่อยๆ ไม่ควรทำครั้งละมากๆ และไม่ควรกระตุ้นอาการ โดยให้สังเกตว่าหากหยุดทำจะไม่มีอาการ คงค้างอยู่ หากมีอาการคงค้างอยู่ให้ลดแรง เวลา หรือจำนวนครั้งลง
๒. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยการใช้น้ำหนัก โดยอาจใช้น้ำใส่ขวดหรือ ตุ้มน้ำหนักก็ได้ แล้วทำการออกกำลังกายในท่าหงายมือ ยกน้ำหนัก และท่าคว่ำมือยกน้ำหนัก เช่นกันท่านสามารถออกกำลังโดยใช้หลักการว่าเมื่อทำแล้วจะไม่กระตุ้นอาการที่มีอยู่
๓. จากประสบการณ์และการทำงานวิจัยของผู้เขียน พบว่า รำไทยมีท่าคล้ายคลึงกับท่าที่ใช้ในการยืดเส้นประสาท และพบว่าสามารถช่วยผู้ป่วยที่มีอาการของโรคนี้ได้ เพียงแต่ต้องทำประมาณ ๕ นาทีสำหรับผู้ที่มีอาการ และมากกว่านั้นสำหรับผู้ที่ไม่มีอาการและอยากป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ อย่างไรก็ตาม อาจประยุกต์ท่ารำไทยมาใช้ในการยืดเส้นประสาทโดทำท่าดังรูป

 

 

 


 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง โรคสุดฮิตกลุ่มคนทำงานกับคอมพิวเตอร์...การป้องกันและรักษา
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..