หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
รัชนี คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด ยโสธร

ปมด้อยนี้...ได้แต่ใดมา...>>>>>
โพสต์เมื่อวันที่ : 23 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7045 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(26.67%-3 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ปมด้อยนี้?ได้แต่ใดมา

                                                                              343484.gif

                                                                                       

วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังติดเพื่อนขนาดหนัก
ฉะนั้น จึงมักเกิดการเปรียบเทียบ ทำให้เขารู้สึกวิตกกังวลในทุกๆ เรื่อง
เช่น ร่างกาย รูปร่าง หน้าตา ความสามารถ การเรียน ครอบครัว ฐานะ ฯลฯ

 

พักนี้ กว่านายต้นจะออกจากบ้านได้ ต้องหมุนซ้ายหมุนขวาหน้ากระจกจนแม่เวียนหัว เปลี่ยนชุดเข้าออกอยู่นั่น แถมบางอาทิตย์ก็อยู่ติดบ้านผิดปกติจนน่าแปลกใจ ถามไปถามมาได้ความว่า

 

" โธ่ ! สิวเม็ดเบ้อเริ่มขนาดนี้ ขืนออกไป คนอื่นเป็นได้หัวเราะตามเลยแม่ "

 

บางทีก็กลับมากระฟัดกระเฟียดกับพ่อแม่ ว่าเลี้ยงเขายังไงให้ตัวเล็กกว่าคนอื่น หลายอย่างที่อยากทำเลยหมดโอกาส ไม่ก็ทำได้ดีไม่เท่าเพื่อนๆ

 

นี่แหละครับ สัญญาณที่บอกให้รู้ว่า ลูกกำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่น…วัยที่เขาจะสนใจตัวเองอย่างสุด…สุดๆ และเข้าใจว่า กำลังถูกคนรอบข้างจ้องมองอยู่ตลอดเวลา ราวกับเป็นนักแสดงที่ยืนอยู่บนเวที มีไฟส่องหน้า…อะไรประมาณนั้น

 

ภาษาจิตวิทยาเขาเรียกอาการแบบนี้ว่า Self Consciousness ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเหลือเกิน สำหรับวัยรุ่น เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและรวดเร็วที่เกิดขึ้นทั้งทางร่างกาย ความคิด และอารมณ์

 

ความสนใจตัวเอง ถือเป็นพัฒนาการทางจิตใจอีกขั้นของวัยนี้ครับ อันจะส่งผลให้พวกเขา มีความตระหนักรู้ในตนเอง กังวลต่อภาพตัวเองในสายตาผู้อื่น และอ่อนไหวกับปฏิกิริยาของคนรอบข้าง เรียกว่าแค่ลมพัดเบาๆ อารมณ์ก็ปลิวแล้ว

 

ที่มาของปมด้อย

 

แม้เจ้าอาการสนใจตัวเองอย่างมากมายนี้ จะเป็นปรากฏการณ์ปกติ แต่บางครั้งก็ทำให้เกิดปัญหาได้เช่นกันครับ

 

อย่างที่ทราบกันว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังติดเพื่อนขนาดหนัก ฉะนั้น จึงมักเกิดการเปรียบเทียบ ทำให้เขารู้สึกวิตกกังวลในทุกๆ เรื่อง เช่น ร่างกาย รูปร่าง หน้าตา ความสามารถ การเรียน ครอบครัว ฐานะ ฯลฯ ประเด็นหลักก็อยู่ที่ความต้องการการยอมรับ และเป็นที่ชื่นชมของคนรอบข้างนั่นเอง อะไรที่ไม่ได้มาตรฐาน อย่างที่ถูกคาดหวัง จะทำให้เกิดความรู้สึกคับข้องใจ ยิ่งถูกย้ำในความบกพร่องนั้นบ่อยๆ จะมีผลให้กลายเป็น คนขาดความยอมรับนับถือตนเอง (Selfesteem) อันเป็นที่มาของปมด้อยในใจ

 

เด็กผู้หญิงหลายคนอยากมีหุ่นผอมบางเหมือนนางแบบและกังวลอย่างหนักกับรูปร่าง จนรู้สึกเป็นปมด้อย ก็อาจพยายามอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ทั้งๆ ที่เป็นวัยกำลังเจริญเติบโต เรื่องนี้ในสหรัฐอเมริกาค่อนข้างรุนแรงครับ จากการสำรวจพบว่า ร้อยละ 80 ของวัยรุ่น เป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับการรับประทานอย่างน้อย 1 โรคเลยทีเดียว

 

เด็กที่เรียนอ่อน ซึ่งปกติมักรู้สึกต่อตัวเองไม่ดีอยู่แล้ว มาเจอพ่อแม่หรือครูตอกย้ำอีกแรง ("โง่") ปมด้อยย่อมเข้ามาเคาะประตูถามหา พานให้เบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากเรียน หันไปพึ่งยาบ้า ยาเสพย์ติดในที่สุด

 

ท่าทีของพ่อแม่

 

เมื่อพ้นช่วง 13-17 ปี วัยรุ่นส่วนใหญ่จะค้นพบความจริงว่า ตัวเองไม่ได้ถูกเฝ้าสังเกต จากคนรอบข้างตลอดเวลาอย่างที่เคยเข้าใจ ความสนใจตัวเองแบบสุด…สุดจะค่อยๆ หายไปในช่วง 4-5 ปีนี้ ท่าทีของพ่อแม่นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมากครับ

 

สิ่งต้องห้ามก็คือ การกระทำที่จะสร้างความอับอายแก่ลูก เช่น วิพากษ์วิจารณ์ความบกพร่อง หรือดุว่าเขาต่อหน้าคนอื่น แสดงความรัก กอด หอม ในที่สาธารณะ พูดล้อเกี่ยวกับรูปร่าง และหน้าตาที่เปลี่ยนไป

 

กฎสำคัญประการหนึ่ง ได้แก่ ไม่ควรถกเถียงในสิ่งที่ลูกเชื่อ (ว่ามีคนเฝ้ามองเขาตลอดเวลา) เพราะมันจะยิ่งย้ำให้เขาคิดอย่างนั้นมากขึ้นไปอีก เช่น เมื่อลูกสาววัย 14 ยืนกรานที่จะไม่ออกไปไหน จนกว่าสิ่วหนึ่งเม็ดที่หน้าผากจะหายเสียก่อน แทนที่จะพูดว่า
" อย่าโง่ไปหน่อยเลยน่า ไม่มีใครสังเกตหรอก แค่สิวเม็ดเล็กๆ เอง " (ซึ่งมีความหมายพอๆ กับ " เธอดูน่าเกลียดจริงๆ น่ะแหละ") พ่อแม่ควรพูดว่า
" มันไม่ดูเลวร้ายหรือน่าเกลียดอะไรเลยสำหรับแม่ (พ่อ) และแม่ (พ่อ) ว่าคนอื่นๆ ก็คงคิดเหมือนกัน… มีใครพูดอะไรให้ลูกไม่สบายใจหรือเปล่าล่ะ ? "

 

นอกจากนั้น พ่อแม่ควรส่งเสริม ปมเด่น ให้เกิดขึ้นตามความถนัด เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงออก และคอยชื่นชมความสำเร็จนั้น แม้เรียนไม่เก่ง แต่ลูกอาจมีความถนัดด้านกีฬา ดนตรี หรือศิลปะ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ ความสำเร็จไม่ควรเกิดจากการเปรียบเทียบหรือแข่งขันกับเด็กคนอื่น เพราะอาจยิ่งทำให้ลูกเกิดปมด้อยซ้ำซ้อนขึ้นมาอีก

 

ที่ต้องไม่ลืมคือ พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างในการสร้าง ความภาคภูมิใจในตัวเอง ให้แก่ลูกด้วยครับ เพราะส่วนใหญ่เด็กมีปมด้อยมักขาดสิ่งนี้ หากลูกเห็นตัวอย่างที่ดี จะเกิดการเรียนรู้และเลียนแบบ เช่น แม้ยากจนแต่มีความภาคภูมิใจในความซื่อสัตย์ แม้ไม่สวยแต่ขยัน และมีความภาคภูมิใจ ในการทำงานให้ดี

 

สุดท้าย ความรักและความใกล้ชิดสนิทสนมนี่แหละ ที่จะช่วยทำให้ลูกเกิดความมั่นใจในตัวเอง ว่าเขาเป็นที่รักและได้รับการยอมรับ (อย่างน้อยก็จากพ่อแม่) อยู่เสมอ



สัญญาณบอกเหตุ

 

คุณหมอพนม เกตุมาน แนะวิธีสังเกตลูกว่ามีปมด้อยหรือเปล่า ไว้ในหนังสือ สุขใจกับลูกวัยรุ่น ดังนี้
  • บ่นหรือพูดซ้ำๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ตัวเองกังวล
  • แสดงความโกรธ หงุดหงิด และก้าวร้าวใส่พ่อแม่ ด้วยโทษว่า สาเหตุของปมด้อยนั้นมาจากพ่อแม่
  • แสดงความก้าวร้าวต่อผู้อื่น หรือต่อสังคม เช่น ละเมิดกฎของโรงเรียน มีเรื่องชกต่อยกับเพื่อน ทะเลาะกับครู จับกลุ่มยกพวกตีกัน
  • คบเพื่อนที่มีปัญหาคล้ายกัน
  • รักสวยรักงาม แต่งกายยั่วยวน ชอบทำตัวเป็นจุดเด่น เป็นการเสริมความมั่นใจให้ตัวเอง สร้างปมเด่นเพื่อกลบปมด้อย
  • ซึมเศร้า ท้อแท้ หมดหวัง และมองโลกในแง่ร้าย  ขี้ระแวง  ขี้อิจฉา
อย่าลืมสังเกตดูนะคะ  ยิ่งรู้เร็ว ก็ยิ่งตั้งรับได้ทันท่วงที..!!!

 

 

ขอบคุณที่มาข้อมูล                                                     343491.gif

                                                                                                 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ปมด้อยนี้...ได้แต่ใดมา...>>>>>
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

รัชนี คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
รัชนี คุณานุวัฒน์..