หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
รัชนี คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด ยโสธร

" PowerPoint :: การบูรณาการ ICT กับการเรียนการสอน
โพสต์เมื่อวันที่ : 22 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7045 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(56.47%-17 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

  " PowerPoint :: การบูรณาการ ICT กับการเรียนการสอน  

การบูรณาการ ICT กับการเรียนการสอน
       ในศตวรรษแห่งภูมิปัญญามีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT: Information Communication and Technology มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนหลายรูปแบบ เช่นการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (Computer Assisted Instruction) การเรียนในรูปแบบอิเลคทรอนิกส์ (e-Leaning) การเรียนโดยใช้การสื่อสารทางไกล (Distance Learning) ภายใต้ความเชื่อเกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะให้ผู้เรียนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมาย หรือในโลกแห่งความรู้ (World Knowledge) ซึ่งผู้เรียนมีความสามารถที่จะเรียน เวลาใด สถานที่ใด หรือแม้กระทั่งจะเรียนรู้กับใครก็ได้ตามความสนใจของแต่ละคน จึงเกิดความยืดหยุ่นในการเรียนรู้มากขึ้น  
 
      การนำ ICT มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ โดยเฉพาะการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้น ผู้เรียนต้องมีทักษะและปฏิสัมพันธ์เพื่อการเรียนรู้กับผู้สอน ผู้เรียนหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมบนเครือข่ายและการออกแบบการเรียนการสอนจึงเป็นปัจจัยหลักที่ผู้สอนจะต้องหากลยุทธ์ต่างๆ ที่จะสามารถจูงใจผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ และเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนในมิติที่ไม่มีขอบเขตจำกัดด้วยระยะทางและเวลาที่แตกต่างกันของผู้เรียน (Learning without boundary) จะเป็นสิ่งที่ช่วยสนับสนุนศักยภาพการเรียนด้วยตนเอง กล่าวคือผู้เรียนสามารถเลือกสรรเนื้อหาบทเรียนที่นำเสนอในรูปแบบต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนด้วยตนเอง โดยเลือกเนื้อหาบทเรียนตามความต้องการและเรียนตามกำหนดเวลาเหมาะสมและสะดวกของตนเอง

      การเรียนการสอนผ่านเครือข่ายเป็นการประยุกต์วิธีการสอนแบบพุทธิพิสัย (Cognitive) ภายใต้สิ่งแวดล้อมการเรียนแบบการสรรค์สร้างความรู้ (Constructivist) และการเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Collaborative learning) โดยอาศัยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered) และการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น (Learner interaction) ที่จะนำไปสู่การต่อเติมจากความรู้และประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียนซึ่งแตกต่างกันและเน้นบทบาทของแรงจูงใจจากภายในของผู้เรียนมีทักษะในการตรวจสอบและควบคุมการเรียนของตนเอง ทั้งนี้จุดเด่นคือในการเรียนแบบนี้ผู้สอนจะเสนอเนื้อหาและเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับฐานความรู้และประสบการณ์ของผู้สอน หรือเชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลภายนอก (External link) ผู้เรียนจะเลือกข้อมูล เนื้อหาและเชื่อมโยงตามประสบการณ์และพื้นฐานความรู้เดิมที่เรียนอยู่เพื่อการเรียนรู้ของตนเอง การควบคุมการเรียนจะอยู่ที่ตัวผู้เรียนโดยสมบูรณ์ ดังนั้นผู้เรียนควรมีวุฒิภาวะที่เหมาะสมและมีทักษะในการตรวจสอบการคิดของตนเอง (Metacognitive skill) และมีแนวทางในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-directed learning) ควบคุมและตรวจสอบตนเองได้ (Self-monitoring)

      การออกแบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต้องคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ดังนี้

1. การกำหนดจุดประสงค์การเรียน พร้อมทั้งเนื้อหาสาระหลักโดยไม่คำนึงถึงเนื้อหาสนับสนุนอื่นๆ ทั้งนี้เป็นการยืดหยุ่นกับผู้เรียน สามารถเลือกศึกษาตามความสนใจ แต่อาจจัดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องสนับสนุนการเรียนเพื่อจุดประสงค์หลัก โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาต่างๆ แบบภายใน (Internal Link) หรือใช้เนื้อหาของกลุ่มผู้สอนอื่นๆ ที่ได้ตรวจสอบแล้วว่าจะให้เนื้อหาที่เป็นประโยชน์สนับสนุนเนื้อหาหลัก และทำการเชื่อมโยงไปสู่ภายนอกได้ (External link) ผู้เรียนสามารถเลือก ควบคุมเนื้อหา จุดหมายปลายทางของการสอนจึงมีผลออกมาที่แตกต่างในแต่ละผู้เรียน

2. เนื้อหาสาระ การเรียนที่เน้นจุดประสงค์เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ แต่ต้องเป็นวิธีที่ยืดหยุ่นและเอื้อต่อการติดตามประสบการณ์ของผู้เรียนด้วย ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาหนึ่งไปยังอีกเนื้อหาหนึ่ง ซึ่งเป็นพื้นฐานความคิดของการใช้พื้นฐานความรู้อย่างหนึ่งที่เอื้อต่อเนื้อหาใหม่ เพื่อการเรียนแบบต่อยอดและสังเคราะห์ความรู้ขึ้นใหม่

3. แรงจูงใจต่อการเรียน จากความคิดในการสร้างความสัมพันธ์หรือปฏิกิริยาของผู้เรียนต่อคอมพิวเตอร์ (User interface) จะช่วยสร้างแรงจูงใจของผู้เรียน โดยการออกแบบบนจอภาพให้ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลและง่ายต่อการติดตามทั้งในแง่ของเนื้อหาและองค์ประกอบ และต้องแฝงไปด้วยความท้าทายความอยากรู้อยากเห็นของผู้เรียน เช่นการออกแบบเนื้อหาโดยวิธีการค้นพบ (Discovery-based instruction strategies) นอกจากแรงจูงใจจากการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับเนื้อหาบนจอคอมพิวเตอร์โดยผู้สอน แล้วแรงจูงใจต่อเนื่องยังได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและผู้เรียนอื่นๆ ด้วย

4. รูปแบบการจัดชั้นเรียน โดยจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเรียนด้วยคอมพิวเตอร์แล้วยังเปิดโอกาสหรือช่องทางให้สื่อสารกับผู้เรียนอื่นเพื่อการศึกษา รวมทั้งกับผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหานั้นๆ ซึ่งการสื่อสารบางครั้งได้พัฒนาการปฏิสัมพันธ์ในรูปแบบการสร้างเป็นชุมชนเสมือนจริง (Virtual community) ผู้เรียนสามารถติดต่อกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 5. กลยุทธการสอน โดยเน้นบทบาทของผู้เรียนให้มากขึ้น เช่น การเรียนแบบค้นพบ แบบบทบาทสมมติ แบบโครงการร่วม บทบาทผู้สอนจึงมีแนวโน้มเปลี่ยนไปเป็นผู้ที่แนะนำทาง ชี้นำวิธีเรียน เป็นพี่เลี้ยง ให้คำปรึกษาและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียน สนับสนุนให้ผู้เรียนใฝ่การเรียนรู้และเป็นผู้เรียนรู้ที่สามารถพึ่งตนเองและตรวจสอบตนเองได้
การประเมินผล โดยการป้อนกลับจากคอมพิวเตอร์หรือผู้สอนประเมินผลป้อนผลกลับและชี้แนะเป็นรายบุคคล และจำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตรวจสอบและประเมินตนเองกับจุดประสงค์การเรียน
 
6. การออกแบบกิจกรรมการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นยังต้องคำนึงถึงแบบการเรียนของผู้เรียน (Learning style) การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนโดยเฉพาะในเรื่องการปฏิบัติงานของผู้เรียน เพราะสิ่งเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคที่สำคัญยิ่งต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นแนวคิดการจัดกิจกรรมการเรียน โดยเน้นกระบวนการนั้น อาจยึดแนวปฏิบัติดังนี้

1. ผู้เรียนเป็นผู้กระทำ (Active learner) โดยที่ผู้เรียนจะต้องใส่ใจในกระบวนการเรียนรู้ ลงมือกระทำด้วยตนเอง และมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้
2. การสร้างสรรค์ความรู้ (Constructive) ผู้เรียนจะต้องปรับความคิดหรือความรู้ใหม่ให้เข้ากับความรู้ที่มีอยู่เดิม เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
3. การร่วมมือกันเรียนรู้ (Collaborative) ผู้เรียนจะต้องคำนึงถึงกิจกรรมการเรียนโดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีทักษะทางสังคม เชื่อมโยงประสบการณ์และแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคคลอื่นๆ ได้
4. มีความใส่ใจและสนใจ (Intentional) โดยผู้เรียนต้องมีความกระตือรือร้นและตระหนัก รวมทั้งใส่ใจเพื่อไปสู่เป้าหมายของการเรียน
5. การพูดคุย สื่อสาร (Conversational) ทั้งนี้ผู้เรียนจะต้องสร้างนิสัยหรือสร้างกระบวนการ ทักษะในการโต้ตอบกับบุคคลอื่นๆ ได้
6. การอยู่บนบริบทตามสภาพจริง (Contextualized) โดยที่งานการเรียนรู้ต่างๆ ต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคม อาจจัดในรูปสถานการณ์จำลองที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน
7. การสะท้อนผล (Reflective) ซึ่งผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาโต้ตอบเพื่อการสะท้อนผลความคิด หรือผลการเรียนรู้ของตนได้
 

สามารถ download powerpoint :: การบูรณาการ ICT กับการเรียนการสอน ได้ที่นี่ >>
         
      หรือเลือกที่ Attachment file ด้านล่างนะคะ ^^

ขอบคุณที่มาข้อมูล

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง " PowerPoint :: การบูรณาการ ICT กับการเรียนการสอน
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

รัชนี คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
รัชนี คุณานุวัฒน์..