หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
รัชนี คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด ยโสธร

บทความที่ดีเป็นอย่างไร แนะเทคนิคพิชิตใจผู้อ่าน....โปรดอ่าน!!!
โพสต์เมื่อวันที่ : 21 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6899 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(72.50%-16 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

 

บทความที่ดีเป็นอย่างไร แนะเทคนิคพิชิตใจผู้อ่าน

 ต้องรู้ลึก จนตกผลึกแห่งความคิด

การเขียนบทความที่ดีถือว่าเป็นศิลปะของการถ่ายทอดอย่างหนึ่ง เพราะการจะทำให้คนทั่วไปอยากเข้าอ่านบทความ โดยอ่านแล้วก็ต้องเข้าใจในเนื้อหา และคล้อยตามจุดประสงค์ที่คนเขียนต้องการนั้น ต้องใช้ทักษะและเทคนิคในการเขียนกันพอสมควร อย่างไรก็ดี การเขียนบทความที่ดีนั้น ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าใครเป็นมือใหม่ก็ต้องใช้เวลาฝึกฝน เพราะว่าเรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับความขยัน และทักษะในด้านภาษา ซะมากกว่าซึ่งเทคนิคการเขียนบทความ มีดังนี้

1.ต้องเข้าใจว่า บทความที่จะเขียนนั้น มีจุดประสงค์ หรือ คอนเซ็ปต์อะไร
ผู้เขียนต้องรู้ว่า บทความนั้นมีคอนเซ็ปต์อย่างไร ต้องการสื่อให้ผู้อ่านกลุ่มไหน เพื่อที่จะได้วางโครงเรื่อง และใช้ภาษาอย่างเหมาะสม
ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นงานทางการ ก็ควรใช้ภาษาที่เป็นทางการ ห้ามเล่นมากเกินไป
แต่ถ้าเป็นงานเขียนเพื่อให้เด็กๆ หรือวัยรุ่นอ่าน หรือ ต้องการให้อ่านง่ายๆ สบายๆ ก็ใช้ภาษาวัยรุ่น หรือภาษาพูดบางคำได้

2.ต้องรู้ลึก จนตกผลึกแห่งความคิด
การเขียนบทความที่ดีนั้น ผู้เขียนจะต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเขียน จนผู้เขียนเองมีความเข้าใจในเรื่องราวนั้น จนสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้

3.พาดหัว ให้โดนใจ และจับประเด็นให้อยู่หมัด
เวลาพาดหัวต้องใช้คำที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกอยากอ่านแต่ต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาในบทความ ไม่ใช่เปิดเข้าไปผิดหวังเพราะเนื้อหาคนละเรื่องกับหัวข้อ และต้องมีความหมายครอบคลุมเนื้อหาที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อให้ผู้อ่านได้รับทราบ อย่างเช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) : พลังงานจากธรรมชาติ...เพื่อธรรมชาติและต้องเขียนให้มีประเด็นย่อยในทุกๆ ย่อหน้า โดยประเด็นย่อยเหล่านี้ต้องไปในทิศทางเดียวกับคำพาดหัวด้วย

4.ร้อยเรียงประโยคให้ดี
นักเขียนมือใหม่หลายท่านชอบลืมคำเชื่อมระหว่างประโยค ทำให้เกิดอาการสะดุด ไม่ลื่นไหล ระหว่างการอ่าน
เคล็ดลับก็คือ เวลาเขียนเสร็จแล้ว ให้พักซักครู่ แล้วอ่านทวนอีกครั้ง ถ้าอ่านประโยคไหนแล้วรู้สึกสะดุด ก็ใส่คำเชื่อม หรือเรียบเรียงใหม่ให้ดีขึ้น

5.โครงสร้างของบทความ
โครงสร้างบทความนั้นมีหลากหลายมาก แล้วแต่ผู้เขียนจะดำเนินเรื่องไปในทิศทางไหน เช่น ขึ้นต้นด้วยบทนำ, เนื้อเรื่อง และลงท้ายด้วยบทสรุปที่เปิดให้ผู้อ่านคิดเองต่อ, ขึ้นต้นด้วยการบรรยายทั่วไป, เนื้อเรื่อง และจบด้วยบทสรุปที่ฟันธงไปเลย หรือขึ้นเรื่องด้วยการเปิดประเด็น, เนื้อเรื่อง และจบด้วยบทสรุปที่เปิดกว้าง และอื่นๆอีกมากมาย โดยบทความส่วนใหญ่จะขึ้นต้นด้วยบทนำเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าสู่เนื้อเรื่องได้เร็วขึ้น 

มาดูความหมายของส่วนประกอบในบทความกันดีกว่า ว่ามีอะไรบ้าง

5.1 บทนำ คือ สิ่งที่จะพาให้ผู้อ่านเริ่มเข้าใจว่า บทความนั้นๆ พยายามจะสื่ออะไรกับผู้อ่าน ตัวอย่างของบทนำเช่น
หากจะพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอยุธยา เมืองหลวงของเราแต่ก่อนแล้ว ท่านผู้อ่านคงต้องนึกถึง ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร หรือสถานที่ในประวัติศาสตร์ หรือวัดเก่าแก่ต่างๆ อย่างแน่นอน ใช่แล้วค่ะ วันนี้เราจะพาท่านผู้อ่านไปเที่ยวชมวัด .... ในจังหวัดอยุธยานั่นเอง...

5.2 เนื้อเรื่อง คือ ส่วนที่บรรยายรายละเอียด ปลีกย่อย ที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อถึงผู้อ่าน โดยผู้เขียนจะต้องรู้รายละเอียดของเรื่องที่จะเขียนจนตกผลึก ซึ่งอาจจะมาจากการสัมภาษณ์ผู้รู้ หรือการวิจัยด้วยตนเอง หรือทั้งสองอย่างประกอบกัน ซึ่งการดำเนินเรื่องมีหลายลักษณะ เช่น

 เนื้อเรื่องแบบถาม-ตอบ คือ ดำเนินเรื่องแบบถาม ตอบผู้ถูกสัมภาษณ์เลย เป็นการถอดเทปตรงๆ เช่น
ถาม: พี่มีแนวคิดอย่างไรถึงได้ทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น
ตอบ: เนื่องจาก...

เนื้อเรื่องแบบวิเคราะห์ คือ การเขียนบทความเชิงวิเคราะห์โดยสื่อแนวคิดของผู้เขียนให้กับผู้อ่าน เพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรือนำไปคิดต่ออีกที การเขียนแบบนี้ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ในเรื่องที่จะเขียนอย่างลึกซึ้ง และมีแนวคิดวิเคราะห์ในเชิงตรรกะได้ดี จะเห็นบทความลักษณะนี้ในบทวิเคราะห์ข่าว หรือ คอลัมน์ต่างๆ ที่นำเสนอความคิดของผู้เขียนเป็นหลัก

เนื้อเรื่องที่ผสมผสานระหว่างบทสัมภาษณ์ บทวิจัย และบทวิเคราะห์เข้าด้วยกัน


5.3
บทสรุป คือ ส่วนที่ปิดท้ายบทความ ซึ่งก็มีหลายแบบ เช่น
สรุปแบบตั้งคำถามเพื่อให้ผู้อ่านคิดต่อ เช่น ถึงเวลาแล้วหรือยัง ที่เราต้องให้เวลากับคนรอบข้าง?
สรุปประเด็น แบบฟันธงไปเลย เช่น สังคมไทยทุกวันนี้ต้องหันมาช่วยกัน เพื่อให้ปัญหาแบบนี้ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป
สรุปด้วยบทสัมภาษณ์ที่เป็นประเด็นสำคัญที่กล่าวทิ้งท้ายไว้ เช่น
สิ่งที่ทำให้ผมประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ ก็คือ ความขยัน, อดทน, ซื่อสัตย์ต่ออาชีพ และการมีผู้ร่วมงานที่ดีนาย ข กล่าวทิ้งท้าย
หมายเหตุ บางบทความก็ไม่มีบทสรุป


6.
การแปลบทความ
เนื่องจากภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ อาจมีโครงสร้างทางภาษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นการแปลบทความจึง ไม่จำเป็นต้องแปลตัวต่อตัว แต่เน้นแปลให้เข้าใจ และต้องคงใจความสำคัญของแต่ละประโยคให้ได้

7.ต้องมีจริยธรรม
ผู้เขียนต้องมีจริยธรรมในวิชาชีพ โดยห้ามเขียนพาดพิงบุคคลอื่น หากไม่มีหลักฐานประกอบหรือไม่มีข้อมูลเพียงพอ และหากมีการใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่น ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย 

อย่าลืมว่าการจะเขียนบทความที่ดีนั้น ต้องหมั่นอ่านและสังเกตบทความอื่นๆ ด้วย เพราะนอกจากสามารถเรียนรู้คำใหม่ๆ แล้ว ยังสามารถเรียนรู้สไตล์การเขียนแบบต่างๆ ได้อีกด้วย เราไปดู ตัวอย่างบทความในวิชาการ.คอมที่มีผู้เข้าไปอ่านมากที่สุด

 

 

ขอขอบคุณ www.vcharkarn.com

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง บทความที่ดีเป็นอย่างไร แนะเทคนิคพิชิตใจผู้อ่าน....โปรดอ่าน!!!
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

รัชนี คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
รัชนี คุณานุวัฒน์..