หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด จันทบุรี

ฟ้า-ดิน หยิน-หยาง จากธรรมชาติสู่การจัดการความรู้..
โพสต์เมื่อวันที่ : 21 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7048 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(42.86%-7 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

หยิน-หยาง: จากธรรมชาติสู่การจัดการความรู้
http://www.kroobannok.com/show_all_article.php?cat_id=40&page=41http://www.hotlinepayakorn.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538671053&Ntype=7http://www.pornkruba.net/webboard_395625_4913_thhttp://www.the-arokaya.com/web/index.php?option=com_content&task=view&id=226&Itemid=41
หลักการของยิน-หยางนี้ เกิดมาจากคนจีนโบราณเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ และพบรูปแบบร่วมกันอย่างหนึ่งว่า อันปรากฏการณ์และสรรพสิ่งทั้งมวลนั้นขับเคลื่อนด้วยพลัง 2 ขั้วที่ตรงกันข้ามกัน

       เคยอ่านบันทึกของ ดร. ประพนธ์ ผาสุขยืด (http://gotoknow.org/blog/beyondkm/37255) ที่เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) กับ ความรู้ฝังลึกในคน (Tacit Knowledge)  เหมือน หยิน-หยาง แห่งลัทธิเต๋า ที่แทนด้วยสัญลักษณ์ เป็นรูปกลม ๆ แบ่งเป็นสองส่วนด้วยเส้นโค้งคล้ายตัว S  ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจมากนัก จนต่อมาพบข้อเขียนของ ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ (http://gotoknow.org/blog/science) ในเสาร์สวัสดี ฉบับวันที่ 31 มีนาคม 2550 จึงได้ทราบรายละเอียดของหยิน-หยางมากขึ้น จึงขอนำมาเล่าต่อดังนี้
          ทฤษฎียิน
-หยาง ที่คนไทยนิยมออกเสียงว่า หยิน-หยาง นั้นที่จริงไม่ได้เริ่มต้นมาจากลัทธิเต๋า  คนจำนวนมากเข้าใจผิดว่ายิน-หยางมาจากลัทธิเต๋า เพราะในหนังจีนจะเห็นนักพรตเต๋ามีสัญลักษณ์ ยิน-หยาง ติดอยู่ด้วยเสมอ  แต่เมื่อสืบค้นประวัติดูว่า ทฤษฎี ยิน-หยางเป็นอย่างไร ? มาจากไหน ? จึงทราบว่าหลักการของยิน-หยางนี้ เกิดมาจากคนจีนโบราณเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในธรรมชาติ และพบรูปแบบร่วมกันอย่างหนึ่งว่า อันปรากฏการณ์และสรรพสิ่งทั้งมวลนั้นขับเคลื่อนด้วยพลัง 2 ขั้วที่ตรงกันข้ามกัน เช่น มีสว่างก็มีมืด มีชายก็มีหญิง มีขาวก็มีดำ มีดวงอาทิตย์ก็มีพระจันทร์ ฯลฯ

         เมื่อลองนึกถึงภูเขาซึ่งต้องแสงแดด ด้านหนึ่งสว่าง เรียกว่า หยาง ส่วนอีกด้านหนึ่งที่มีเงามืด ร่มเย็น เรียกว่า ยิน ถ้าคิดตามแนวนี้ ก็จะบอกว่า อันร่างกายของคนเรานั้น แผ่นหลัง เป็น หยาง ส่วนด้านท้อง (ด้านหน้า) เป็น ยิน เพราะคนทำไร่ทำนานั้น ต้อง เอาหลังสู้ฟ้า เอาหน้าสู้ดิน  หลังโดนแดดสว่าง จึงเป็น หยาง ส่วนด้านหน้าหรือด้านท้องไม่โดนแดด จึงเป็น ยิน สำหรับเรื่องเพศสภาพนั้น ชาย เป็น หยาง และ หญิง เป็น ยิน....ส่วน เสือไบ นี่คนจีนเรียกว่า ยินหยางเหยิน (คำว่า เหยิน แปลว่า คน) 
        ยิน-หยาง มีสัญลักษณ์ 2 แบบ แบบแรกแทนด้วยเส้น เส้นเต็มคือ หยาง เส้นขาด คือ ยิน เดากันว่า สัญลักษณ์นี้มาจากการเสี่ยงทายด้วยหญ้าชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ซือ กล่าวคือ เส้นเต็มแทนหญ้าที่มีลำต้นสมบูรณ์ เส้นขาดแทนหญ้าที่ขาดท่อน
        สัญลักษณ์ยิน-หยางแบบที่สอง เป็นแบบที่คุ้นตากว่า เป็นรูปวงกลม  แบ่งเป็นสองส่วนด้วยเส้นโค้งคล้ายตัว S เป็นสีดำกับสีขาว ความโค้งของเส้นแบ่งบ่งถึงการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยบริเวณสีขาว (สว่าง) แทนหยาง บริเวณสีดำ (มืด) แทนยิน ทั้งยินและหยางแม้จะตรงกันข้าม แต่ก็เติมเต็มซึ่งกันและกัน  ขาดกันไม่ได้ โดยในสภาวะสมดุล หากยินเพิ่ม หยางก็ลด และ กลับกัน หากยินลดหยางก็เพิ่ม
         ทางการแพทย์จีนถือว่า สภาวะสมดุลองยิน-หยาง ทำให้ร่างกายเป็นปกติ แต่หากไม่สมดุล ก็จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
        ยังมีเรื่องราวละเอียดอีกมาก ท่านที่สนใจสามารถไปอ่านได้โดยตรงจากงานเขียนของ ดร. บัญชา และท่านยังแนะนำเว็บไซต์ไว้ให้สำหรับผู้สนใจอ่านเพิ่มเติม(เป็นภาษาอังกฤษ) อีก
ที่  http://www.shen-nong.com/eng/principles/whatyinyang.html 
หมวดหมู่: การบริหารจัดการ การจัดการความรู้
คำสำคัญ: หยิน-หยาง  สรรพสิ่ง  ธรรมชาติ  การจัดการความรู้

หยินและหยาง: พลังแห่งชีวิตและจักรวาล

ลัทธิเต๋า (道教)เป็นลัทธิและศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการมีชีวิตอยู่กับธรรมชาติ โดยคำว่า เต๋า แปลว่า "หนทาง" ไม่สามารถที่จะรู้จากอักษรและชื่อ ถ่ายทอดไม่ได้

เล่าจื๊อเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งที่ได้เขียนข้อความสื่อถึงเต๋าในชื่อหนังสือว่า เต๋าเต็กเก็ง (Tao Te Ching) (道德經)

หยินหยาง ยังมีชื่อเรียกอีกว่า คติทวินิยม, พุท, อัว หมายถึง ธรรมชาติที่เป็นของคู่ตรงกันข้าม ,สิ่งที่เป็นของคู่ ของคู่อันพึ่งทำลาย ของคู่อันทำให้สมดุล

ธรรมชาติประกอบด้วยของคู่

  1. หยาง คือพลังบวกมีลักษณะสีแดง เป็นพลังเพศชาย พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความอบอุ่น สว่างไสว มั่นคง สดใส เช่น ดวงอาทิตย์ ไฟ ฯลฯ
  2. หยิน คือพลังลบ มีลักษณะสีดำ เป็นพลังเพศหญิง พบในทุกสิ่งทุกอย่างที่ให้ความหนาวเย็น ความมืด อ่อนนุ่ม ชื้นแฉะ ลึกลับ และเปลี่ยนแปลง เช่น เงามืด น้ำ ฯลฯ

เอกภพเกิดขึ้นโดยมีหยินและหยาง จากการปะทะกันของสองสิ่งนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างก็อุบัติขึ้นมา ทุกสิ่งทุกอย่างมีพลังทั้งสองนี้ทั้งนั้น บางครั้งหยินอาจมีพลังแข็งแรง แต่บางครั้ง หยาง ก็มีพลังมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น ท่อนไม้ ตามปกติเป็นหยิน แต่เมื่อโยนเข้าไปในกองไฟ ก็เปลี่ยนรูปเป็นหยางไป ในชีวิตหยินและหยางก่อให้เกิดความล้มเหลวและความสำเร็จเป็นต้น เช่นเดียวกัน หยางและหยินไม่ใช่เป็นตัวแทนของความดีและความชั่ว แต่ทั้งสองนี้มีความจำเป็นต่อกฏเกณฑ์และระเบียบของเอกภพ ทั้งสองนี้ไม่ใช่อยู่ในภาวะปะทะกันตลอดเวลา แต่ยามใดมีความสามัคคีกัน ทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นสิ่งดีด้วยกัน

 

ความคิดในเรื่องแบบแผนแห่งการหมุนวนของเต๋า ได้ถูกกำหนดเป็นโครงสร้างที่แน่นอนโดยการเสนอว่ามีขั้วตรงกันข้ามสองอันคือ หยิน กับ หยัง เป็นขั้วซึ่งกำหนดขอบเขตของวงเวียนแห่งการเปลี่ยนแปลง

 

เมื่อหยังถึงจุดสูงสุดก็ต้องถอยให้กับหยิน

 

เมื่อหยินถึงจุดสูงสุดก็ต้องถอยให้กับหยัง

 

ในทัศนะแบบจีน สิ่งปรากฏแสดงทั้งมวลของเต๋ามาจากการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของแรงแห่งขั้วทั้งสอง ความคิดนี้เป็นความคิดที่เก่ามาก และชนหลายรุ่นได้ถือเอาสัญลักษณ์แห่งหยิน หยังจนกระทั่งมันกลายเป็นความคิดพื้นฐานของจีน ความหมายเดิมของคำว่าหยินและหยัง คือส่วนที่เป็นเงาและส่วนที่ต้องแสงแดดของภูเขา ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ของความคิดทั้งสองได้เป็นอย่างดี สิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวมืดเดี๋ยวสว่างเรียกว่า เต๋า

 

นับแต่ยุคแรกสุด ขั้วทั้งสองของธรรมชาติไม่เพียงแต่แทนความสว่างและความมืดเท่านั้น แต่ยังแทนด้วยความเป็นชายและความเป็นหญิง แข็งและอ่อนข้างบนและข้างล่าง  หยังส่วนที่เป็นความเข้มแข็ง ความเป็นชาย พลังสร้างสรรค์นั่นคือฟ้า ในขณะที่หยินส่วนที่เป็นความมืด ความอ่อนโยน ความเป็นหญิงและความเป็นแม่นั่นคือดิน ฟ้าอยู่เบื้องบนและเต็มไปด้วยความเคลื่อนไหว ดิน ในทัศนะเดิม อยู่เบื้องล่างและสงบนิ่ง ดังนั้นหยังแทนความเคลื่อนไหวและหยินแทนการสงบนิ่งในเรื่องของความคิดหยินคือจิตใจที่ซับซ้อนแบบหญิงเป็นไปในทางญาณปัญญา  หยังคือจิตใจที่ชัดเจนมีเหตุมีผลอย่างชาย หยินคือความเงียบนิ่งอย่างสงบของปราชญ์ หยังคือการกระทำที่สร้างสรรค์อย่างมีพลังของจักรพรรดิ

 

ลักษณะการเคลื่อนไหวของหยินและหยัง ถูกแสดงด้วยสัญลักษณ์ของจีนโบราณที่เรียกว่า ไท้ จิ ถู หรือ แผนผังแสดงสัจธรรมสูงสุดแผนผังนี้แสดงสมมาตรระหว่างส่วนที่มืดคือหยินกับส่วนที่สว่างคือหยัง ทว่ามิใช่สมมาตรที่อยู่นิ่ง แต่เป็นสมมาตรแห่งการหมุนวนอันเปี่ยมไปด้วยพลัง  

 

 

เมื่อหยังหมุนกลับสู่จุดเริ่มต้น หยินก็เป็นใหญ่ แล้วก็หมุนไปสู่หยังอีก

 

จุดสองจุดในแผงผังแทนความคิดที่ว่า  เมื่อใดที่แรงหนึ่งแรงใดถึงจุดสูงสุดในตัวมันขณะนั้นก็มีพืชพันธ์ของสิ่งตรงข้ามอยู่ด้วยแล้ว

 

คู่ของหยินและหยังเป็นเสมือนอุปรากรที่เปิดแสดงซ้ำแล้วซ้ำเล่า แทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมของจีน และเป็นสิ่งกำหนดลักษณะทั้งมวลของวิถีตามแบบจีน จางจื้อกล่าวว่า ชีวิตคือการผสมผสานอย่างกลมกลืนของหยินและหยัง เนื่องจากเป็นประเทศเกษตรกรรมชาวจีนจึงคุ้นเคยกับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ และการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลและปรากฎการณ์แห่งการเจริญเติบโตและการเสื่อมสลายของธรรมชาติฝ่ายอินทรียวัตถุจึงถือได้ว่าเป็นการแสดงที่ชัดเจนของการขับเคี่ยวระหว่างหยินกับหยัง ระหว่างฤดูหนาวที่มืดและเยือกเย็นกับฤดูร้อนที่สว่างและร้อนแรง การขับเคี่ยวในฤดูกาลของขั้วต่างทั้งสอง สะท้อนออกมาในอาหารที่รับประทานซึ่งจะมีทั้งหยินและหยางในทัศนะของชาวจีนแล้ว อาหารที่มีคุณค่าต้องประกอบด้วยหยินและหยางในสัดส่วนที่สมดุลกัน  

 

            การประทะกันของหยินและหยาง

 

การแพทย์แผนโบราณของจีนก็เช่นกัน ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความสมดุลระหว่างหยินและหยังในร่างกายของมนุษย์ ความเจ็บไข้ใด ๆ เกิดจากสมดุลนี้เสียไป ร่างกายถูกแบ่งเป็นส่วนหยินและหยาง กล่าวรวม ๆ ว่าภายในร่างกายคือหยาง ผิวนอกร่างกายคือหยิน ด้านหลังคือหยัง ด้านหน้าคือหยิน อวัยวะต่าง ๆ ก็มีทั้งที่เป็นหยินและหยาง ความสมดุลระหว่างส่วนต่าง ๆ ทั้งหมดนี้ถูกหล่อเลี้ยงอยู่ด้วยการเลื่อนไหลของ ฉี้ หรือพลังงานแห่งชีวิต

 

ในทัศนะของชาวจีน มีน้อยเกินไป ดีกว่า มีมากเกินไป ไม่ได้ทำ ดีกว่า ทำมากเกินไป เพราะแม้ว่าถึงเราจะไม่ก้าวหน้าไปไกลแต่ก็แน่ใจได้ว่าเราจะไปถูกทาง เปรียบกับชายผู้ปรารถนาจะไปให้ไกลสุดทางตะวันออก ท้ายที่สุดจะกลับไปทางตะวันตก หรือผู้ปรารถนาจะสะสมเงินมาก ๆ เพื่อให้ตนเองร่ำรวย ท้ายสุดจะต้องกลับมาเป็นคนจน การที่สังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่กำลังพยายามอย่างต่อเนื่องในการเพิ่ม มาตรฐานการครองชีพจึงทำให้คุณภาพของชีวิตของสมาชิกในสังคมนั้น ๆ ลดลง นับเป็นภาพที่แสดงปัญญาของจีนโบราณดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ฟ้า-ดิน หยิน-หยาง จากธรรมชาติสู่การจัดการความรู้..
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายศุภวัฒน์ คุณานุวัฒน์..