หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
รัชนี คุณานุวัฒน์
จากจังหวัด ยโสธร

ฝากนักเรียนด้วย...เทคนิคอ่านหนังสือเรียนให้สนุก...
โพสต์เมื่อวันที่ : 20 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7053 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(56.00%-5 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

เทคนิคอ่านหนังสือเรียนให้สนุก

                อ่านหนังสือ แค่ได้ยินคำๆนี้ คำพูด/ตัวอักษรไม่กี่คำไม่กี่ตัวเสมือนคำต้องสาปอันน่าสะพรึง ที่ทำให้ใครต่อใครโหยหวนด้วยความขยาดมาก็มาก (เราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นล่ะ)  แน่นอน หลายคนคงเถียงทันทีว่าใช่ที่ไหน หนังสือพวกการ์ตูนหรือนิยาย และกลุ่มที่จัดอยู่ในหมวดพวกประเทืองอารมณ์ความบันเทิงของเรานั้น มีออกเกลื่อนไป เรื่องอะไรจะไปหาความสยองใส่ตัว

 ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์อย่างหนึ่งก็ว่าได้ที่ไม่ค่อยจะชอบทำ/ คิด หรือริเริ่มที่จะทำอะไรให้ตัวเองต้องอยู่หรือแค่จะเข้าใกล้สภาวะความรู้สึกทุกข์นักหรอก แต่ในเมื่อหากถึงเวลาที่เราต้องเผชิญหน้ากับมันอย่างเลี่ยงไม่ได้ จะด้วยความเต็มใจหรือไม่ก็ตาม เช่น การอ่านหนังสือสอบ, การอ่านหนังสือวิชาการเพราะสงสัยใคร่รู้สิ่งที่อยู่นอกตำราเรียน แต่เราอยากหามาอ่านของเราเอง ฯลฯ แม้หนังสือจำพวกหลังมันอาจจะก่อความรู้สึกของเราที่ค่อนไปทางแง่ลบมากกว่าหนังสือประเภทแรกที่เอ่ยมาก็ตาม

                  แต่ดิฉันคิดว่า หากสามารถมีวิธีรับมือกับมันได้ดี บางทีการอ่านหนังสือที่ส่วนตัวของแต่ละคนคิดว่าหนังสือเล่มนี้มันช่างน่าเบื่อ ยาก อ่านไม่เคยจะเข้าใจ มันอาจจะกลายมาเป็นหนังสือที่อ่านสนุก รู้เรื่อง ให้ความเพลิดเพลินเหมือนกับที่เราอ่านหนังสืออ่านเล่นนิยาย/การ์ตูน ฯลฯ เลยก็ได้นะ ซึ่งวิธีแก้ปัญหาที่ว่า เป็นวิธีที่เราได้อ่านได้ฟังมาจากผู้รู้ท่านอื่นๆแล้วลองดัดแปลง เลือกตรงนั้นนิดตรงนี้หน่อยที่คิดว่าเราทำแล้วมันเหมาะกับตัวเราในที่สุด

คำเตือน::

คำแนะนำเหล่านี้ไม่ได้บังคับว่าต้องทำกันนะ แค่แนะนำเทคนิคที่ดิฉันใช้อยู่ให้เพื่อนๆฟัง

กัน ซึ่งใครที่คิดว่าดีแล้วอยากลองเอาไปทำดูบ้างก็ยินดีค่ะ  ไม่หวงลิขสิทธิ์(เพราะไม่มีลิขสิทธิ์ให้จด 555+)

ปัจจัยที่(อาจ)ช่วยให้เราอ่านหนังสือที่ไม่ชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักๆมีดังนี้ 

(1.)  อุปกรณ์ออกศึก!

                  >> คงไม่มีนักรบคนไหนหรอกนะ ที่เก่งกล้ามาแต่ชาติปางก่อนริจะสู้ศึกมือเปล่า ขนาดนักรบยังต้องพึ่งอุปกรณ์คู่กาย ก็ไม่ต่างอะไรกับพวกเราๆนัก ที่จะเตรียมตัวอ่านหนังสือ มันก็ต้องหาอาวุธที่ว่ามาลับฟันกับเขาบ้าง    

พวกดินสอ ปากกา ยางลบ liquid ปากกาเน้นข้อความ อะไรก็แล้วแต่สารพัดสารเพที่ท่านจะสรรหามาใช้ตามความพอใจของแต่ละคนก็หามาซะ  (แต่อยากให้เลือกซื้อตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงนะคะ ใช้เท่าที่จำเป็นและมีประโยชน์อย่างคุ้มค่า ไม่ใช่ซื้อมาก็วางไว้บูชาซะอย่างนั้น เสียดายเงินบุพการีค่ะ ) โดยเฉพาะพวกปากกาสีๆทั้งหลาย ถ้าใช้ได้หลายสีจะยิ่งดีมาก เพราะจากข้อมูลหลายๆแห่ง บอกว่าการใช้สีหลายๆสี มีส่วนช่วยในการท่องจำได้ดีด้วยล่ะ 

                      อันนี้เป็นอาวุธของดิฉันเองค่ะ(3 กล่องดินสอ)  ซื้อมาเกือบจะทุกสีแล้วมั้ง

ปล. หากอยากเปลี่ยนอะไรใหม่ๆให้มันดูสดชื่น กระตุ้นให้อยากจับ อยากขีดอยากเขียนมากยิ่งขึ้น การเลือกซื้อกล่องดินสอน่ารักๆ ก็มีส่วนช่วยไม่มากก็น้อยเลยนะค่ะ อย่างของเราเอง กล่องทรงกระบอกที่เป็นลายขนม ซื้อขนมมาเพื่อต้องการเอากล่องไปทำเป็นที่ใส่ดินสอเท่านั้น นอกจากจะราคาของกล่องขนมไม่แพงมากแล้ว ยังอิ่มท้อง เป็นอาหารตา(ยามพักสายตาจากการอ่านหนังสือ)ได้ด้วย อิอิ  

(2.) ทำเล จุดยุทธศาสตร์!

                    หาอาวุธพร้อมแล้วต่อมาก็ต้องรู้จักเลือกสนามฝึกซ้อมให้ดีด้วย เพื่อประสิทธิภาพในการลับฝีมือ(สมอง)  เราเห็นหลายครั้งเลยนะค่ะ ประเภทชอบนั่งอ่านหนังสือในห้าง ร้านอาหาร หรืออาจเป็นนอกอาคารที่ดูเหมือนจะสงบ แต่สภาพแวดล้อมจุดที่ท่านตั้งใจนั่งเพื่อสร้างสมาธินั้นกลับมีเสียงดัง ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ก็อาจทำให้เราไม่มีสมาธิได้นะค่ะ   พนันได้เลยว่ากว่าจะตั้งใจ ทำสมาธิให้ไม่หลุดหรือฟุ้งซ่านได้ก็นานแล้ว ดีหน่อยก็หากตั้งจิตให้มั่นง่าย แต่ก็ยังมีเสียงแตรรถ? เพื่อนๆในกลุ่มที่กำลังเล่นกีฬากันอยู่? สายตาเราจ้องไปที่ตัวอักษรจริง แต่หูทั้งสองคงจะผึ่งหึ่งๆบินไปเพ่งสมาธิเรื่องเมาท์แตกของใครต่อใครไม่มากก็น้อยแล้วล่ะ จริงไหมค่ะ

                     เพราะงั้น ตัดใจซะ! ตั้งมั่นว่าวันนี้ต้องอ่านหนังสือให้ได้ ลด ละ เลิก (สิ่งยั่วๆกิเลสตัณหาอันเป็นภัยต่อการเสริมสร้างความรู้ทั้งหลาย)ให้หมด ให้ดีเลยคือ หาสถานที่เงียบๆเช่น ห้องสมุด จะในโรงเรียนหรือนอกก็ได้, หรือถ้าดันอยู่นอกบ้าน ก็พยายามหาจุดที่มันจะกวนเราได้น้อยที่สุดแล้วกัน  ให้ดีสุดๆไปเลยก็อ่านมันที่บ้านเนี่ยแหล่ะ สบายจะตาย มีข้าว(ขาว เหลือง แดง)ให้กินครบ 3 มื้อ+ขนมนมเนย  ทำเลก็ถิ่นเราเองทั้งนั้น ห้องน้ำพร้อม อากาศเป็นใจพร้อม มีอะไรจะน่าสุขีกว่านี้ไม่มีแน่นอน

                   ดิฉันชอบทำเล โต๊ะหนังสือที่บ้านมากที่สุดค่ะ รองลงมาก็หอสมุดในรพ. หรือห้องที่หอพัก จะหมกตัวอยู่ไม่ใกล้ไกลแถวนี้เท่าไหร่ค่ะ

ปล. ระวัง! ทำเลเยี่ยมพร้อมมากเกินไประวังล่ะ ยิ่งท้องตึงๆหนังตาเริ่มจะหย่อนตามแรงโน้มถ่วงโลก แถมอากาศก็เย็นสบาย ไม่พอ ยังอยู่ใกล้เตียงนอนอีก ผลคือ นอกจากจะได้ไปเข้าเฝ้าพระอินทร์ก่อนเวลาอันควรแล้ว ยังอาจเสริมสร้างชั้นไขมันในร่างกายเราให้อบอุ่นมากขึ้นก็ได้นะ โอะๆๆ

(3.) ยุทธวิธีแผนการรบ!

                   หรือก็คือ วิธีการอ่านหนังสือของแต่ละคนนั่นเอง

                   จริงๆไม่อยากแนะนำอะไรมาก เพราะล้านคนก็ล้านความคิด ล้านการกระทำ ขึ้นกับว่าใครชอบหรือถนัดแบบไหน ซึ่งหัวข้อนี้ เราไม่ขอออกความเห็นอะไรมาก แต่จะบอกเล่าวิธีที่เราทำอยู่ตอนนี้แทนนะ หากเพื่อนๆท่านไหนมีวิธีที่แตกต่างจากนี้ อยากนำเสนอให้เพื่อนๆท่านอื่นลองใช้กันบ้าง ก็โพสต์กันได้เลยนะฮะ ไม่ต้องอาย ช่วยๆกันเรียนนะ

ระบบการเรียนระดับอุดมศึกษาอาจจะต่างกับระดับมัธยมลงมานะคะ คือนอกจากมีอาจารย์สอนบรรยายให้บ้างในบางครั้ง นอกนั้นคือเป็นการเรียนแบบ Child Center อย่างแท้จริงเลย นิสิตต้องปรับตัวในการฝึกขวนขวายหาความรู้เอาเอง จะให้อาจารย์มานั่งป้อนความรู้เป็นอาหารสมองเหมือนแม่นกป้อนไส้เดือนใส่ปากลูกกะเจี๊ยบคงเป็นไปมิได้ (แต่อาจารย์บางท่านก็มีสไตล์การสอนแบบป้อนเด็ก ก็ถือว่าโชคดีไปนะคะ ขึ้นอยู่กับตัวอาจารย์และสถาบันด้วยค่ะ โหดๆหน่อยก็ตัวใครตัวมัน ไม่สอนเลยก็มี ฯลฯ

อย่างของเรา เวลาเรียนไม่มีหนังสือให้(หาซื้อเอง ซึ่งส่วนใหญ่เป็น Text  ยัดใส่กระเป๋าก็ไม่เข้า แบกมาเข้าเรียนก็ไม่ไหว  หลังเดาะพอดีวุ้ย) เอกสารก็ไม่มีแจก ก็ต้องหาสมุดโน้ตไปจดกันเองตามยถากรรม  เพราะจะให้เข้าไปนั่งฟังเฉยๆ บอกได้แค่ว่าเสียดายเวลาและโอกาสมาก เพราะอะไร?

1.)   ความรู้ที่อาจารย์ป้อนมาให้นั้นมีเยอะมาก  การที่หัวสมองน้อยๆของเด็กตาดำๆอย่างเราจะยัดใส่หน่วยความจำได้หมดอย่างมีประสิทธิภาพนั้นคงเป็นไปไม่ได้แน่ๆ  เว้นแต่จะเป็นพวกจีเนียส/ไบรท์/พวกเทพๆ หรือจะเรียกปีศาจ นั่นก็อีกเรื่อง เรามีเพื่อนหลายคนที่เป็นคนจำพวกนี้อยู่ วันๆเรียนอย่างน้อย 2-3 ชม. นิ้วไม่กระดิกจดอะไรเลย ฟังอย่างเดียว (แถมมีงีบอีกตะหาก) แต่หมดคาบเรียน ถามไรไป(แม่ง)ตอบได้หมด อ๊าก! ปีศาจเกินไปแล้ว><

2.) เพราะอย่างที่รู้กันว่าอาจารย์ไม่ค่อยจะมีเวลาว่างมาสอนเรามากเท่าตอนเด็กม.ปลาย ฉะนั้นเรียนกับอาจารย์ได้ก็ตั้งใจเรียนให้ได้มากที่สุดก็ดีที่สุดแล้ว เพราะหลายครั้งที่อาจารย์แกพ่นออกมา นั่นแหล่ะ Point ข้อสอบทั้งนั้น  หากเราตั้งใจเรียนเป็นเด็กดีมาตลอด เวลาสอบก็ชิวๆขำๆแล้วล่ะ (แต่ระวังไว้หน่อยละกัน เพราะฟังอาจารย์พ่นๆมาเยอะ บางทีไม่ใช่ point ไม่พอ มันจะแปรสภาพเป็น POISONs เนี่ยสิ นรกแตกเลย 555+)  

 ออกทะเลไปเยอะกลับมาเข้าเรื่องต่อ   อย่างรูปสมุดจดของเราอันนั้น สังเกตใช่ไหมว่ามันมีแหว่งๆโผล่ๆเหมือนฟันหลอชะมัด เพราะจดไม่ทันไม่ใช่ไรหรอก วิธีแก้คือ หลังเลิกเรียนวันนั้น ก็กลับมานั่งทบทวนสิ่งที่อาจารย์สอน/พ่นpointๆ ว่ามีอะไรบ้าง จากไหนก็นี่เลย

แหล่งคลังข้อมูลของเราที่ไว้ใช้ค้นคว้ายามยาก เพียงเราก็มานั่งอ่านเรื่องเดียวกับที่อาจารย์สอนแล้วก็จัดการสรุปใจความสำคัญ หรือแล้วแต่ใครจะถนัดยังไงนะ จัดการคัดลอกมาโปะฟันหลอของเราซะ แค่นี้ก็เรียบร้อย

ข้อมูลแน่นขึ้นเยอะเลย มีสีสันสวยงามอีกตะหาก หรือบางทีถ้าข้อมูลไม่พอก็จัดการหา post-it มาแปะเพิ่มก็ไม่ว่ากัน อย่างทางหน้าขวา post-it มันใส่ไม่พอ ก็หาA4 มาเย็บ Mc ติดกับหน้ากระดาษซะก็เป็นอันเสร็จ จบแล้วฮ่ะ

หลังจากเหนื่อยศึกกันมาเพียงพอแล้วก็ต้องรู้จักพักผ่อนให้พอเพียงและรักษาสุขภาพด้วยนะจ๊ะ สำหรับเรา วิธีผ่อนคลายที่ดีที่สุดก็นี่เลยค่ะ  โฮะๆๆๆ

ขอบคุณที่มาข้อมูล

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ฝากนักเรียนด้วย...เทคนิคอ่านหนังสือเรียนให้สนุก...
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

รัชนี คุณานุวัฒน์
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
รัชนี คุณานุวัฒน์..