หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

หัวใจหลักของวิทยากร (Heart of Trainer)
โพสต์เมื่อวันที่ : 19 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6898 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

หัวใจหลักของวิทยากร (Heart of Trainer)

หัวใจหลักของวิทยากร (Heart of Trainer)

ก่อนอื่นกระผมต้องขอขอบพระคุณคุณพัฒนะ มรกตสินธุ์ ผู้ที่สร้างสรรค์บทความดี ดี แบบนี้ขึ้นมา ในวันนี้ผมจึงขอนำบทความนี้มาลงใน blog เพื่อเป็นการกระจายความรู้แก่ผู้อ่านทุกท่านครับ............

ปัจจุบันในแต่ละองค์กรเริ่มให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรมากขึ้นตามลำดับ...ผู้ที่จะมาเป็นวิทยากรก็เริ่มมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

 

แต่จะมีคุณภาพมากน้อยหรือไม่นั้น...

ต่างก็ขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบของตัววิทยากรเอง

 

ความรับผิดชอบในที่นี้ผมหมายถึง...

 

ความรับผิดชอบต่อเนื้อหาความรู้ ที่ถูกต้องชัดเจนและต้องรู้จริง

 

หมดสมัยแล้วครับ!!...กับวิทยากรที่พูดได้ทุกเรื่อง...

 

นอกเสียจากว่าวิทยากรท่านนั้นจะเป็นที่ต้องการและมีการเรียกร้อง

 

อยากฟังการบรรยายกันเอง...นั่นก็ถือเป็นเรื่องหนึ่ง...

 

จากประสบการณ์ที่ต้องเป็นวิทยากรเอง...

และการรับฟังการบรรยายจากท่านอื่นๆ

 

ทำให้ผมได้แนวคิดกับวิทยากรในปัจจุบันว่าควรจะเป็นเช่นไร

 

คุณสมบัติของวิทยากรในปัจจุบันควรจะต้องเป็นดังนี้

 

  1. รู้จริงในเนื้อหา

     

วิทยากรต้องมีความเชี่ยวชาญหรือศึกษาค้นคว้าในสาขาวิชา และความรู้ที่ตนเองจะบรรยายได้ถูกต้องชัดเจน ต้องรู้กว้าง รู้ลึกซึ้ง โดยเฉพาะหากมีประสบการณ์ตรงที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง ก็จะเป็นสิ่งที่ดี จะทำให้ผู้เข้าอบรมมองเห็นภาพของเรื่องที่บรรยายชัดเจน จะเป็นสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งหากเราหยิบยกเอาเหตุการณ์จากข่าวในปัจจุบันมาเป็นตัวอย่างประกอบการบรรยายนั้นๆ ตัววิทยากรเองต้องทำความเข้าใจกับเนื้อหามาก่อนเป็นอย่างดี ต้องพยายามให้เนื้อหานั้นๆ แตกฉานในความรู้สึก เรียกได้ว่า...สามารถจับทุกๆ ประเด็นในเนื้อหานั้นมาโยงใยให้ต่อเนื่อง สิ่งสำคัญคือหากมีทฤษฎีใดๆ ที่หยิบยกมา ควรจะกล่าวอ้างถึงที่มาด้วย...เพื่อเป็นการให้เกียรติผู้ที่เป็นเจ้าของตัวจริง

 

  1. รู้วิชาการถ่ายทอด

     

การถ่ายทอดความรู้นั้นถือเป็นหัวใจหลักของเนื้อหาที่จะบรรยายครับ เพราะหากผู้เข้ารับการอบรมไม่เข้าใจ ก็จะทำให้การอบรมนั้นๆ น่าเบื่อหรือไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง

ควรอย่างยิ่งที่วิทยากรต้องถ่ายทอดความรู้จากตัวตน (Tacit Knowledge) ไปยังผู้ฟังด้วยภาษาง่ายๆ เข้าใจได้เหมือนๆ กัน หลีกเลี่ยงภาษาวิชาการ คำศัพท์เฉพาะ (Technical Term) หรือแม้กระทั่งภาษาอังกฤษ เพื่อที่จะแสดงว่าเราเป็นผู้เชี่ยวชาญ (Professional) เพราะผู้ฟังอาจจะไม่เข้าใจในเรื่องที่เราจะนำเสนอ วิทยากรโดยส่วนใหญ่ชอบใช้ศัพท์ทางเทคนิควิชา ในการบรรยาย เพราะอาจจะเห็นว่าดูมีมนต์ขลังดี (มนต์ขังความรู้ให้อยู่กับตัวเองมากกว่า) แต่ผลปรากฏว่าผู้ฟัง ผู้เข้าอบรมไม่เข้าใจความหมาย แล้วก็จะเกิดการต่อต้าน ไม่สนใจฟังและละเลยเนื้อหา รอคอยเวลาจบการบรรยาย หากจำเป็นที่จำต้องใช้จริงๆ ควรแปลด้วยว่าสิ่งที่เราพูดหมายความว่าอะไร?

การบรรยายก็ควรจะมีหนัก เบา เข้มข้น แตกต่างกันออกไปบ้าง โดยเฉพาะอารมณ์ขัน จำเป็นที่จะต้องสอดแทรกเป็นช่วงๆ ตามความเหมาะสม

 

 

  1. รู้ต่อยอดความแปลกใหม่

     

ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากกับการดำเนินชีวิต หมดสมัยแล้วครับ...กับแผ่นใส,เครื่อง Over Head หรือที่เรียกภาษาไทยว่า เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะไร้มารยาท และคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ในการบรรยายเป็นอย่างมาก

ถ้าเป็นไปได้วิทยากรอาจจำเป็นที่จะต้องเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook มาไว้ประจำตัว เพราะเราจะมีลูกเล่นมากมายที่จะนำมาใช้ประกอบในการบรรยาย หากมีเพียง Thumb Drive หรือ Handy Drive เพื่อไปใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ เกรงว่าอาจจะขลุกขลักได้ เผลอๆ ติดไวรัสมาด้วยแล้วจะแก้กันลำบาก และแผ่น Slide ของเรา เราก็ควรจะทำเอง เพื่อที่จะได้ทราบว่าเราจะพูดอะไร?

โปรแกรมพื้นฐานที่ต้องเรียนรู้ได้แก่ Microsoft Word, Microsoft Power Point โดยเฉพาะ Power Point ถือเป็นเครื่องมือหากินของวิทยากร เพราะสามารถใช้งานได้ยอดเยี่ยมกว่าแผ่นใส แถมยังมีลูกเล่นให้เลือกใช้อย่างมากมาย แต่ก็อย่ามากเกินไป จนกลายเป็นพวกมือใหม่หัดใช้คอมนะครับ...

พยายามค้นหาสื่อเช่น โฆษณา แผ่นพับ หรือการเรียนรู้ในแบบที่แตกต่าง เรียกว่าการสรรค์สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่แปลกแหวกแนวจากการบรรยายโดยทั่วไป

ผู้ฟังหรือผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่คิดว่าการเข้าอบรมต้องนั่งภายในห้องสี่เหลี่ยม จึงเกิดอาการท้อแท้และเบื่อหน่ายกับการบรรยาย

ลองปรับเปลี่ยนบรรยากาศจากความเครียด ความกดดันเหล่านั้น ให้เกิดภาพที่แตกต่างกันออกไป เช่น บรรยายในห้องที่ไม่มีเก้าอี้ อาจจะเป็นการนั่งกับพื้น เป็นการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน การนำปัญหามาคุยกับและระดมสมอง (Brainstorm) เพื่อให้แต่ละคนคิดหาวิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

บรรยายไป ก็กินขนมขบเคี้ยวกันไปได้ ไม่ต้องซีเรียสกับเรื่องที่บรรยายจนเกินไปนัก...

เพราะปัจจุบันผู้เข้าอบรมต้องการความแปลกใหม่มาเติมพลังชีวิต มัวแต่ทำแบบเดิม บรรยายแบบเดิมๆ ไม่ทันกินหรอกครับ...ต้องเน้นความแปลกและแตกต่าง เพื่อให้ผู้เข้าอบรมรู้สึกว่า นี่ไม่ใช่การอบรม แต่เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

 

  1. รู้ใส่ใจในผู้ฟัง

     

วิทยากรไม่ใช่สักแต่ว่าพูดๆๆ เท่านั้นนะครับ ต้องรู้จักว่าผู้ที่เข้ามารับการฟังบรรยายนั้นเป็นกลุ่มคนแบบไหน? อาชีพอะไร? เรียกง่ายๆ ว่าต้องวิเคราะห์ผู้ฟังให้ชัดเจน กลุ่มคนแบบไหนที่มาเข้าฟังการบรรยายมากที่สุด เพื่อที่จะได้ใช้ภาษาและการสื่อความหมายได้ถูกต้องเข้าใจง่าย

ต้องหมั่นสังเกตว่าผู้เข้ารับการอบรมเริ่มเบื่อหน่ายหรือยัง พยายามให้ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้สึกว่า วิทยากรให้ความสำคัญ สนใจและเป็นห่วง หมั่นถาม หมั่นกระตุ้นให้เกิดแนวร่วม เพื่อช่วยสร้างบรรยากาศในการบรรยาย เพราะบางครั้งผู้เข้าอบรมนั่นแหละครับ...เน้นว่าประเภทหัวโจกของกลุ่ม...ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เพื่อนๆ เกิดอารมณ์ร่วมคล้อยตามที่เราบรรยาย ทำให้การบรรยายในครั้งนั้นประสบความสำเร็จเกินคาดคิดก็เป็นได้...

 

  1. รู้ยับยั้งกิริยา

     

กิริยาอาการของวิทยากรก็เป็นเรื่องสำคัญที่ละเลยไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องของบุคลิกการแต่งกาย ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ต้องสุภาพ ให้เกียรติผู้ฟัง งดหรือละเว้น การแต่งกายที่สบายเกินไป นอกเสียจากว่า เนื้อหาของการบรรยายที่วิทยากรจะถ่ายทอดต้องการให้มีความเป็นกันเอง แต่ก็ต้องระมัดระวังตลอดเวลาครับ อย่าให้ดูลำลองจนกลายเป็นอยู่กับบ้าน...

ภาษาพูดหรือเรื่องแนวทะลึ่งก็จำเป็นที่จะต้องคัดเลือก อย่าให้โจ๋งครึ่ม หรือน่าเกลียด เพราะจะทำให้วิทยากรถูกมองในแง่ลบ ผู้เข้าอบรมมีความเชื่อมั่นศรัทธาน้อยลง

การเรียกชื่อผู้เข้าอบรม หรือการเชื้อเชิญให้ตอบคำถามควรใช้การผายมือเชิญอย่างสุภาพ ไม่ใช่การชี้นิ้ว เพราะจะเหมือนกับการสั่ง อย่าลืมว่าเรากำลังขอร้องให้เขาปฏิบัติตามเรา หรือเราเป็นผู้ชี้แจง ไม่ใช่การบังคับข่มขู่หรือกดดันผู้เข้าอบรม

 

  1. รู้เวลาจบบรรยาย

     

วิทยากรบางท่านใส่อารมณ์มาเกินไปหน่อย จนลืมเวลาจบการบรรยาย หรือประเภทที่สรุปแล้ว สรุปอีก แต่ก็ไม่จบซะที

บางครั้งเนื้อหาที่เตรียมไว้มีมาก ก็พูดเกริ่นเสียยืดยาว ทั้งๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่จะพูดเท่าที่ควร พอได้เวลาพูดเข้าเนื้อเรื่อง เวลาก็อาจจะล่วงเลยมาเป็นครึ่งชั่วโมง ดังนั้นไอ้ที่เตรียมมาก็ต้องสปีดคันเร่ง จนผู้เข้าอบรมฟังไม่ทัน

วิทยากรต้องหมั่นตรวจสอบเวลาให้พอดีกับเรื่องที่พูด โดยส่วนใหญ่ห้องที่จัดการฟังบรรยายมักจะมีนาฬิกาติดไว้ฝั่งตรงข้ามกับผู้บรรยายหรือฝาผนังห้องด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งวิทยากรต้องหมั่นสังเกตให้แน่นอนก่อนว่านาฬิกาอยู่ที่ไหน? จะได้ไม่ต้องก้มมองนาฬิกาข้อมือให้เสียบุคลิก และจะกลับกลายเป็นผลเสีย ผู้เข้าอบรมก็จะเหลือบมองตาม ทำให้การจดจ่อกับเรื่องที่บรรยายขาดช่วงทันที

 

มี Case Study อยู่ Case หนึ่ง ท่านจะเคร่งเครียดการตรงต่อเวลาเป็นอย่างมาก ท่านที่จะต่อว่าเสมอ เมื่อพิธีกรหรือผู้บรรยายท่านอื่นๆ ล่วงล้ำก้ำเกินเวลาของท่าน หรือบางครั้งท่านก็เน้นย้ำว่า ตรงเข้าตรงเวลาเป๊ะๆ

พอเวลาที่เราให้ท่านตรงตามที่ต้องการ ท่านก็ไม่รักษาเวลาในการจบเนื้อหาของท่าน กลับพูดยืดยาวต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการเหน็บว่า...

เนื้อหาที่ผมต้องพูด เวลาแค่ชั่วโมงเดียวไม่พอหรอก!!”

ก็แล้วทำไม่ท่านไม่ตัดทอนตอนเกริ่นนำออกให้มากๆ ก็มิทราบได้ อรัมภบทเป็นนานสองนาน แล้วก็ไปเบียดเบียนเวลาของผู้บรรยายท่านอื่น ที่เวลาในการบรรยายน้อยกว่าท่านมาก ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงด้วยซ้ำไป...

แบบนี้เรียกว่า ไม่รู้เวลาจบบรรยายอย่างแท้จริง...อย่างนี้ก็ไม่ได้นะครับ เพราะธรรมชาติของคนไทยแล้ว...

เวลามา มาสายได้...แต่เวลาจบต้องตรงเวลา มิเชนนั้นอารมณ์จะเสีย...

 

ทั้งหมดเป็นแนวทางคร่าวๆ สำหรับผู้ที่กำลังจะเป็นวิทยากรมือใหม่ หรือวิทยากรมืออาชีพ ที่บางครั้งก็อาจจะลืมสิ่งเบื้องต้นเหล่านี้ไป...

รู้จริงในเนื้อหา รู้วิชาการถ่ายทอด

รู้ต่อยอดความแปลกใหม่ รู้ใส่ใจในผู้ฟัง

รู้ยับยั้งกิริยา รู้เวลาจบบรรยาย

 

เหล่านี้คือหัวใจของวิทยากร ความสำคัญที่ต้องตระหนักโดยตลอดเวลาครับ...

 

 

 

ที่มา:จากบทความเรื่อง "หัวใจหลักของวิทยากร (Heart of Trainer)" โดย คุณพัฒนะ  มรกตสินธุ์  www.oknation.net/blog/pattman

Posted by : Ajarn Boo RAC
เวลา : 15:36

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง หัวใจหลักของวิทยากร (Heart of Trainer)
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..