หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
นายหนูเหลี่ยง ชิณแสน
จากจังหวัด บึงกาฬ

ร่วมสืบสาน วัฒนธรรม ประเพณีที่งดงาม ของ"หนังตะลุง" ชาวใต้
โพสต์เมื่อวันที่ : 17 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7054 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(50.00%-34 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

ประเพณี วัฒนธรรม ควรน้อมนำใส่ใจ อนุรักษ์พิทักษ์ไว้ให้ลูกบ้านหลานเมือง

.....

                                    หนังตะลุง

                  หนังตะลุงเป็นการแสดงประเภทเล่าเรื่องด้วยการเชิดรูปเล่นเงา  เล่าเรื่องด้วยบทเจรจา  บทบรรยาย  และใช้บทกลอนประกอบ  บทกลอนใช้ทั้งบรรยายความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร  บรรยายฉากและบรรยากาศ  สอดแทรกคำสอน  และช่วยในการเดินเรื่อง  ความสำคัญอยู่ที่นายหนังหรือคนเชิด  ลีลาการเชิดมีรูปแบบเฉพาะตัว ต่างกันไปตามลักษณะนิสัยและบทบาทเช่น เทวดา ยักษ์  มนุษย์  ประเภทเจ้าเมือง  ผู้ดี  คนชั่ว  พระ  นาง  นักพรต  และตัวตลก  ซึ่งมีขนบธรรมเนียมในการแสดงเป็นการเฉพาะตัว

            ชาวนครศรีธรรมราช  เรียกชื่อหนังตะลุงแตกต่างกันออกไป เป็นต้นว่า  หนังลุงบ้าง  หนังควนบ้าง  หนังควายบ้าง  หนังโหม่งบ้าง  ในจังหวัดเรามีนายหนังตะลุงที่มีชื่อเสียงมากมายหลายคน ปัจจุบันนี้หนังตะลุงเริ่มหมดความนิยมจากคนในเมืองเพราะคนในเมืองนิยมการละเล่นอื่น ๆ ที่ทันสมัยมากกว่า เป็นต้นว่า  ภาพยนต์  วงดนตรี  แต่อย่างไรก็ตามหนังตะลุงยังเป็นที่นิยมของคนทั่วไปในชนบทอยู่อีกมาก

 

รูปหนังตะลุง

 

                      1. ประวัติ  ของหนังตะลุงที่มีแสดงอยู่โดยทั่วไปในภาคใต้นั้น ยังหาข้อยุติที่แน่ชัดลงไปไม่ได้ว่า มีความเป็นมาอย่างไร  บางท่านก็กล่าวว่าได้รับอิทธิพลมาจากชวา มลายู  บางท่านกล่าวหนังตะลุงในภาคใต้นี้มีขึ้นครั้งแรกที่จังหวัดพัทลุง คนทั่วไปจึงเรียกหนังตะลุง  ที่มาจากพัทลุงว่าหนังพัทลุง หรือหนังพัดลุง  จนกลายมาเป็นหนังลุงหรือหนังตะลุง

                      2. เรื่องที่นิยมเล่น  ในสมัยก่อน  นิยมเล่นเรื่อง   พระอภัยมณี  เงาะป่า  สังข์ทอง  ขุนช้างขุนแผน  ลักษณะวงศ์  รามเกียรติ์  แก้วหน้าม้า  ปัจจุบันมีการแทรกการเสียดสีสังคม และการเมืองเข้าไปในเรื่องที่เล่นด้วย 

                     3.  เครื่องดนตรี  ที่ใช้ในสมัยก่อนมี  6 - 7  อย่าง  ได้แก่  โหม่ง 1 ตู่  ทับหรือโทน 1 คู่  กลองตี 1 ใบ  ปี่ชวา 1 เลา  กลับหรือแกระ 1 คู่  และฉาบ  บางแห่งก็มีซอด้วย  แต่  ในปัจจุบันหนังตะลุงส่วนใหญ่จะนำเครื่องดนตรีสากลเข้ามาแทรกด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเร้าอารมณ์และจูงใจผู้ชม

 

                                          

                                                       ดนตรีหนังตะลุง

 

                 4.  รูปหนัง  สิ่งที่สำคัญที่ขาดเสียมิได้  ได้แก่รูปหนัง  ซึ่งลักษณะการผลิตรูปหนัง ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว หนังตะลุงคณะหนึ่งจะมีรูปหนังประมาณ  150 - 300  ตัว  โดยจัดเป็น 3 ประเภท  ได้แก่

                           4.1   รูปหัวหนัง  เป็นรูปบุคคลสำคัญ  เช่น ฤษี เจ้าเมือง และมเหสี

                            4.2   รูปเชิด    เป็นบุคคลทั่ว ๆ ไป  ยกเว้นรูปตลก  เช่น  รูปพระ  รูปนาง  รูปยักษ์

                            4.3  รูปกาก  เป็นพวกรูปผี  รูปสัตว์  ต้นไม้  และรูปตัวตลกทุกตัว

  

                                                            

 

                                                                          รูปฤษี

 

                                 

                                               รูปหนังตะลุงชนิดต่าง ๆ

 

                   5.  โรงหนัง  ปลูกเป็นเสายกพื้น  สูงประมาณ 2 เมตร  ใช้เนื้อที่ราว  2 - 3  เมตร  ฝา 3 ด้าน  กั้นด้วยจาก  หรือทางมะพร้าว  หลังเพิงเป็นเพิงหมาแหงน  ด้านหน้าใช้ผ้าขาวบางขึงเป็นจอ  มีต้นกล้วยยาวเกือบเท่ากับจอ วางไว้ใช้ปักรูปหนังตอนเล่น  บนหลังคาก็มีเชือกผูกไว้แขวนรูปหนัง  ในโรงหนังสมัยก่อนใช้ตะเกียงน้ำมัน  หรือตะเกียงเจ้าพายุ  แต่ปัจจุบันนิยมใช้ดวงไฟฟ้า เพราะสะดวกแก่การใช้ ดวงไฟฟ้าใช้แขวนใกล้จอ เพื่อให้รูปหนังเกิดเงาปรากฏบนจอ  และปัจจุบันโรงหนังบางคณะใช้โรงแบบสำเร็จรูป  เวลาไปแสดงที่ไหนก็ยกไปด้วย  ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและไม่เป็นภาระให้กับเจ้าภาพ

 

 6. วิธีการเล่น  อาจเล่นกันตลอดคืนหรือเล่นเพียงครึ่งคืนก็มี  ถ้าแสดงกันตลอดคืนก็มีการพักเที่ยงตอนเที่ยงคืน ประมาณ 1 ชั่วโมง  เริ่มต้นด้วยการโหมโรง  หรือลงโรง  เมื่อจบเพลงโหมโรงแล้ว  ก็จะมีเสียงปี่ทำจังหวะเอารูปฤษีออกเชิด  ตั้งนโม 3 จบ  ต่อด้วยคาถาอื่น ๆ จนจบ  ต่อจากนั้นก็ออกรูปอิศวรหรือรูปโค  และก็ออกรูปหน้าบทเพื่อคารวะผู้ชม  ขับบทไหว้ครู  อาจารย์  บิดา  มารดา พร้อมอวยพรผู้ชม ต่อจากนั้นก็ออกรูปตลก  ตัวหนังออกมาบอกเรื่องที่จะแสดง   และออกรูปเจ้าเมือง และมเหสี  เพื่อเปิดฉากดำเนินเรื่อง

                ที่กล่าวมานี้เป็นรูปแบบการเล่นเพื่อความบันเทิงทั่ว ๆ ไป  แต่หากเล่นประกอบพิธีกรรมจะมีรูปแบบเพิ่มขึ้น  การเล่นเพื่อประกอบพิธีกรรมมี 2 อย่าง คือ เล่นแก้บน และเล่นในพิธีครอบมือ  เล่นแก้บนเป็นการเล่นเพื่อบวงสรวงครูหมอหนังหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามพันธะที่บนบานไว้  หนังตะลุงที่เล่นแก้บนได้ต้องรอบรู้พิธีกรรมเป็นอย่างดี  และผ่านพิธีครอบมือถูกต้องแล้ว  การเล่นแก้บนจะต้องดูฤกษ์ดูยามให้เหมาะ  เจ้าภาพต้องเตรียมเครื่องบวงสรวงไว้ให้ครบตามที่บนบานเอาไว้  เล่นแบบเดียวกับการเล่นเพื่อความบันเทิง แต่เสริมการแก้บนเข้าไปในช่วงออกรูปปรายหน้าบท  โดยกล่าวขอร้องเชิญครูหมอหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มารับเครื่องบวงสรวง 

................................... 

  ขอบคุณครูสุภาพ เต็มรัตน์    supaptemrat@thaimail.com เอื้อเฟื้อข้อมูลสนับสนุน

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ร่วมสืบสาน วัฒนธรรม ประเพณีที่งดงาม ของ"หนังตะลุง" ชาวใต้
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

นายหนูเหลี่ยง ชิณแสน
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
นายหนูเหลี่ยง ชิณแสน..