หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

การบริหาร : การจัดองค์กรโรงเรียน(2)
โพสต์เมื่อวันที่ : 16 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6904 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
-ไม่มีผลโหวต-
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

การบริหาร : การจัดองค์กรโรงเรียน 

เรียบเรียงโดย พระครูปลัดจิตติชัย จิตฺติชโย[1]

การจัดองค์การ

การจัดองค์การเป็นกระบวนการทางการบริหาร ที่จะช่วยให้ทราบถึงโครงสร้างของการบริหารงาน อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ช่องทางของการติดต่อสื่อสารของบุคลากรประจำตำแหน่งต่าง ๆ นอกจากนี้จะช่วยให้ทราบความสัมพันธ์ของหน่วยงาน ทราบวิธีประสานงาน เพื่อให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานทุกคนจะได้รวมกำลังกันปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารสมัยใหม่ ปัจจุบันนี้นิยมนำแนวคิดของ Gulick และ Urwick ซึ่งมองว่าเป็นกระบวนการ โดยเรียกว่า POSDCORB มี 7 กระบวนการด้วยกัน คือ

1. Planning
2. Organizing
3. Staffing
4. Directing
5. Co – ordinating
6. Reporting
7. Budgeting

= การวางแผน
= การจัดองค์การ
= การบริหารงานบุคคล
= การอำนวยการ
= การประสานงาน
= การรายงาน
= การจัดทำงบประมาณ

(นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์, 2525 : 127)
 

ดังนั้นการจัดองค์การของโรงเรียน ควรจัดให้โรงเรียนได้แสดงตามบทบาทหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ การที่จะมีหน่วยงานหรือบุคลากรตำแหน่งอะไรบ้าง ประสานงานกันอย่างไร สื่อสารอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับสภาพความพร้อมของโรงเรียนในด้านบุคลากร อาคารสถานที่ ทรัพยากรของโรงเรียน  และชุมชน  การจัดองค์การมีความหมายครอบคลุมถึงกระบวนการจัดระบบ ตลอดระเบียบการทำงานทั้งหมดภายในองค์การ การจัดองค์การที่ดีนั้นควรจะต้องมีการวิเคราะห์งานจากบทบาทหน้าที่ด้วย ดังนั้นโรงเรียนชุมชนจะมีหน่วยงานย่อย ๆ หน่วยใดบ้าง แต่ละหน่วยมีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไร  สมควรจะเริ่มต้นดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
            1. กำหนดจุดประสงค์และนโยบายของโรงเรียนให้ชัดเจน มีส่วนไหนที่บ่งชัดในแนวคิดของโรงเรียนชุมชน
           
2. กำหนดลักษณะของตำแหน่งงาน เช่น งานวิชาการ งานธุรการ หรืองานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
           
3. ระบุขอบเขตของอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ เช่น งานวิชาการ รับผิดชอบงานหรือกิจกรรมใด งานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนรับผิดชอบงานใด ซึ่งควรชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกัน
           
4.  การแบ่งงาน และการกำหนดงานที่ต้องการคนมีความชำนาญเฉพาะอย่าง นั่นก็คือ การกำหนดตำแหน่งของบุคลาการประจำงานแต่ละอย่างว่าต้องการคนที่มีคุณสมบัติใด เช่น คุณวุฒิ วัย ประสบการณ์ ฯลฯ
           
5. การจัดสายการบังคับบัญชา สายการบังคับบัญชาจะบ่งบอกอำนาจหน้าที่      ความรับผิดชอบและช่องทางการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ระหว่างงานกับงาน ตำแหน่งกับตำแหน่ง ทำให้ทราบบุคคลที่เป็นผู้บังคับบัญชา และผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา

            การจัดสายการบังคับบัญชาที่ดี ควรให้เกิดเอกภาพในการบังคับบัญชาช่วงการควบคุมงานไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป การติดต่อสื่อสารต้องรวดเร็ว สะดวก และคล่องตัว ประสานงานไปสู่เป้าหมายขององค์การโดยมีความขัดแย้งให้น้อยที่สุด

            6. เขียนโครงสร้างความสัมพันธ์ให้เห็นความสัมพันธ์ตามสายงานและระหว่างสายงานหรือระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ให้ทุกคนในองค์การได้ทราบและเข้าใจตรงกัน

            โรงเรียนชุมชนส่วนใหญ่แล้วจะตั้งสถานที่อยู่ในชนบทจริง ๆ มีความไม่พร้อมในทรัพยากรหลาย ๆ ประการ โดยเฉพาะด้านบุคลากรและงบประมาณ ดังนั้นถ้าโรงเรียนได้จัดองค์การหรือองค์กรภายในให้ดี ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ บทบาทหน้าที่และความพร้อมในทรัพยากรที่มี จะก่อให้เกิดประโยชน์ ดังต่อไปนี้

                1. ทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
               
2. ทำให้งานทุกอย่างในองค์การดำเนินไปตามผลสำเร็จด้วยดี
               
3. ทำให้ประหยัดและคุ้มค่า เพราะไม่เกิดปัญหาความซ้ำซ้อนและล่าช้า
               
4. ทำให้องค์การสามารถพัฒนาและเจริญเติบโตต่อไป
               
5. ทำให้สมาชิกเกิดการร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน
               
6. ทำให้สมาชิกในองค์การมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

(พะยอม วงศ์สารศรี, 2531 : 94)


เอกสารอ้างอิง
        
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. แผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2535.
         เชาวน์ มณีวงษ์. การบริหารกิจการนักเรียน. กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์, 2528.
         นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. ก้าวเข้าสู่ผู้บริหารสถานศึกษา กรุงเทพมหานคร : อนงค์ศิลป์การพิมพ์, 2525.

         พยอม วงศ์สารศรี. องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : พรานนกการพิมพ์, 2531.
         หวน พินธุพันธ์. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางเขน, 2528.


[1] อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
  น.ธ.เอก, ศน.บ.(ปรัชญา), ศศ.ม.(การวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น)

 

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง การบริหาร : การจัดองค์กรโรงเรียน(2)
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..