หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

ทฤษฎีพัฒนาการของมนุษย์ ตามภูมิปัญญาของชาวล้านนาและอีสาน ...น่าทึ่งมาก
โพสต์เมื่อวันที่ : 16 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 7046 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(37.50%-8 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

บทความทางจิตวิทยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เขียน วันทนียตระกูล

กลไกในการป้องกันตัว (Defense Mechanism)
         
ฟรอยด์และบุตรีแอนนาฟรอยด์ ได้แบ่งประเภทกลไกในการป้องกันตัวดังต่อไปนี้

1. การเก็บกด (Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจ หรือความรู้สึกผิดหวัง ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึก จนกระทั่งลืม กลไกป้องกันตัวประเภทนี้มีอันตราย เพราะถ้าเก็บกดความรู้สึกไว้มากจะมีความวิตกกังวลใจมากและอาจทำให้เป็นโรคประสาทได้

2. การป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น (Projection) หมายถึง การลดความวิตกกังวล โดยการป้ายความผิดให้แก่ผู้อื่น ตัวอย่าง ถ้าตนเองรู้สึกเกลียดหรือไม่ชอบใครที่ตนควรจะชอบก็อาจจะบอกว่าคนนั้นไม่ชอบตน เด็กบางคนที่โกงในเวลาสอบก็อาจจะป้ายความผิดหรือใส่โทษว่าเพื่อนโกง

3. การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) หมายถึง การปรับตัวโดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง โดยให้คำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับสำหรับคนอื่น ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่ตีลูกมักจะบอกว่า การตีทำเพื่อเด็ก เพราะเด็กต้องการการทำโทษเป็นบางครั้งจะได้เป็นคนดี พ่อแม่จะไม่ยอมรับว่าตีเพราะโกรธลูก นักเรียนที่สอบตกก็อาจจะอ้างว่าไม่สบาย แทนที่จะบอกว่าไม่ได้ดูหนังสือ บางครั้งจะใช้เหตุผลแบบองุ่นเปรี้ยวเช่นนักเรียนอยากเรียนแพทย์ศาสตร์ แต่สอบเข้าไม่ได้ ได้วิศวกรรมศาสตร์ อาจจะบอกว่าเข้าแพทย์ไม่ได้ก็ดีแล้ว เพราะอาชีพแพทย์เป็นอาชีพที่เหน็ดเหนื่อย ไม่มีเวลาของตนเอง เป็นวิศวกรดีกว่า เพราะเป็นอาชีพอิสระการหาเหตุผลเข้าข้างตนเองแตกต่างกับการโกหกเพราะผู้แสดงพฤติกรรมไม่รู้สึกว่าตนเองทำผิด

4. การถดถอย (Regression) หมายถึงการหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้ตนมีความสุข ตัวอย่างเช่น เด็ก 2-3 ขวบ ที่ช่วยตนเองได้ มีน้อยใหม่ เห็นแม่ให้ความเอาใจใส่กับน้อง ความรู้สึกว่าแม่ไม่รักและไม่สนใจตนเท่าที่เคยได้รับ จะมีพฤติกรรมถดถอยไปอยู่ในวัยทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ ต้องให้แม่ทำให้ทุกอย่าง

5. การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction Formation) หมายถึงกลไกป้องกันตน โดยการทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเอง ที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคมอาจจะไม่ยอมรับ ตัวอย่างแม่ที่ไม่รักลูกคนใดคนหนึ่งอาจจะมีพฤติกรรมตรงข้าม โดยการแสดงความรักมากอย่างผิดปกติ หรือเด็กที่มีอคติต่อนักเรียนต่างชาติที่อยู่โรงเรียนเดียวกัน การจะแสดงพฤติกรรมเป็นเพื่อนที่ดีต่อนักเรียนผู้นั้นโดยทำตนเป็นเพื่อนสนิทเป็นต้น

6. การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming) กลไกป้องกันตัวประเภทนี้เป็นการสร้างจิตนาการ หรือมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ แต่เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นจึงคิดฝัน หรือสร้างวิมานในอากาศขึ้นเพื่อสนองความต้องการชั่วขณะหนึ่ง เป็นต้นว่านักเรียนที่เรียนไม่ดีอาจจะฝันว่าตนเรียนเก่ง มีมโนภาพว่าตนได้รับรางวัล มีคนปรบมือให้เกียรติ เป็นต้น

7. การแยกตัว (Isolation) หมายถึงการแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้ โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง ตัวอย่างเช่น เด็กที่คิดว่าพ่อแม่ไม่รักอาจจะแยกตนปิดประตูอยู่คนเดียว

8. การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจ ต่อคนหรือสิ่งของที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ เป็นต้นว่า บุคคลที่ถูกนายข่มขู่หรือทำให้คับข้องใจ เมื่อกลับมาบ้านอาจจะใช้ภริยา หรือลูกๆ เป็นแพะรับบาป เช่น อาจจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อภริยาและลูกๆ นักเรียนที่โกรธครู แต่ทำอะไรครูไม่ได้ ก็อาจจะเลือกสิ่งของเช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นสิ่งแทนที่ เช่น เตะโต๊ะเก้าอี้

9. การเลียนแบบ (Identification) หมายถึง การปรับตัว โดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง ตัวอย่างเช่น เด็กชายจะพยายามทำตัวให้เหมือนพ่อ เด็กหญิงจะทำตัวให้เหมือนแม่ในการพัฒนาการขั้นฟอลลิคของฟรอยด์ การเลียนแบบนอกจากจะเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมือนบุคคลที่ตนเลียนแบบ แม้ยังจะยึดถือค่านิยมและมีความรู้สึกร่วมกับผู้ที่เราเลียนแบบในความสำเร็จ หรือล้มเหลวของบุคคลนั้น การเลียนแบบไม่จำเป็นจะต้องเลียนแบบจากบุคคลจริงๆ แต่อาจจะเลียนแบบจากตัวเอกในละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์โดยมีความรู้สึกร่วมกับผู้แสดง เมื่อประสบความทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจ หรือเมื่อมีความสุขก็จะพลอยเป็นสุขไปด้วย

          กลไกในการป้องกันตัวเป็นวิธีการที่บุคคลใช้ในการปรับตัว เมื่อประสบปัญหาความคับข้องใจ การใช้กลไกป้องกันตัวจะช่วยยืดเวลาในการแก้ปัญหา เพราะจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียดความไม่สบายใจ ทำให้คิดหาเหตุผลหรือแก้ไขปัญหาได้

          สรุปแล้วทฤษฎีของฟรอยด์เป็นทฤษฎีที่มีอิทธิพลมากทั้งทางตรงและทางอ้อม ผู้ที่มีความเชื่อและเลื่อมใสในทฤษฎีของฟรอยด์ ก็ได้นำหลักการต่างๆ ไปใช้ในการรักษาคนที่มีปัญหาทางบุคลิกภาพ ซึ่งได้ช่วยคนมากกว่ากึ่งศตวรรษ ส่วนนักจิตวิทยาที่ไม่ใช้หลักจิตวิทยาก็ได้นำความคิดของฟรอยด์ไปทำงานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางบุคลิกภาพ จึงนับว่าฟรอยด์เป็นนักจิตวิทยาผู้มีอิทธิพลมากต่อพัฒนาการของวิชาจิตวิทยา (สุรางค์  โค้วตระกูล.  2544 : 37-39)[5]

               ทฤษฎีพัฒนาการของมนุษย์ ตามภูมิปัญญาของชาวล้านนาและอีสาน ซึ่งแสดงให้เห็นแนวความคิดที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการของมนุษย์ดังนี้

   อีสาน

   ล้านนา

   10 ปี อาบน้ำบ่หนาว

   10 ปี๋ อาบน้ำบ่อหนาว

   ซาว (20) ปี เว้าสาวบ่อเบื่อ

   ซาว (20) ปี๋ อู้สาวบ่ก่าย

   30 ปี ฮู้เมื่อก่อนไก่

   30 ปี๋ บ่อหน่ายสงสาร

   40 ปี ไปไฮมาไกว์ขา

   40 ปี๋ เยี่ยะก๋านเหมือนฟ้าผ่า

   50 ปี ไปนามาทอดฮุย

   50 ปี๋ สาวน้อยด่าบ่อเจ็บใจ๋

   60 ปี เป่าขลุ่ยบ่อดัง

   60 ปี๋  ไอเหมือนฟานโขก

   70 ปี เนื้อหนังคือน้ำฮ้อนลวก

   70 ปี๋ มะโหกเต็มตัว

   80 ปี หนักหนวกมาหาหู

   80 ปี๋ ใค่หัวเหมือนให่

   90 ปี พี่น้องมาดูฮ้องไห่

   90 ปี๋ ขี้ไหลบู่ฮู้

   100 ปี ไข่กะตายบ่ไข่ตะตาย

   100 ปี๋ ไข้ก่อต๋ายบ่ไข้ก่อต๋าย

หนังสืออ้างอิง
      เขียน  วันทนียตระกูล ,จิตวิทยาการศึกษา, ส.ทรัพย์การพิมพ์ : เชียงใหม่, 2545
.

  โค้วตระกูล, จิตวิทยาการศึกษา, กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
, จิตวิทยาการศึกษา, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2540.
      เพราพรรณ  เปลียนภู่
      สุรางค์


      [5]สุรางค์ โค้วตระกูล, จิตวิทยาการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544),หน้า

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง ทฤษฎีพัฒนาการของมนุษย์ ตามภูมิปัญญาของชาวล้านนาและอีสาน ...น่าทึ่งมาก
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..