หน้าแรก | ครูบ้านนอกบล็อก
ศูนย์รวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ของคุณครู สมาชิกเว็บไซต์ ครูบ้านนอก.คอม ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านที่ตั้งใจทำเพื่อสังคมครับ
เจ้าของโพสต์นี้
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
จากจังหวัด ชุมพร

เล่าให้ฟัง"เรื่องครูที่ดีและมีประสิทธิภาพ"
โพสต์เมื่อวันที่ : 16 พ.ค. 2552 IP : เปิดอ่าน : 6902 ครั้ง
คะแนนของ BLOG นี้
(68.89%-9 ผู้โหวต)
☰แชร์เลย >  
  Share on Google+   LINE it!  
เพิ่มเพื่อน
ไม่พลาดข่าวการศึกษา
ครูบ้านนอก Line Official
กดเพิ่มเพื่อนเลย

Advertisement

.....

ครูที่ดีและมีประสิทธิภาพ
          ในหนังสือจิตวิทยาการศึกษาที่อาจารย์สุรางค์  โค้วตระกูล (2544 : 13-16)[1] แต่งขึ้นได้กล่าวถึงครูที่ดีและมีประสิทธิภาพไว้ดังนี้

           การเป็นครูที่ดีและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา แต่มักจะคิดกันว่ายากที่จะทำได้ บางคนคิดว่าการเป็นครูที่ดีมีประสิทธิภาพนั้นจะต้องมีพรสวรรค์ หรือเกิดมาด้วยความเป็นครูอยู่ในตัว ที่จริงแล้วถ้าหากครูมีความรักอาชีพครู รักนักเรียน และอยากจะช่วยเหลือนักเรียน  การเป็นครูที่ดีและมีประสิทธิภาพย่อมเป็นไปได้สำหรับทุกคน


ลักษณะของครูที่ดีและมีประสิทธิภาพ

            ครูที่ดีและมีวิธีสอนอย่างมีประสิทธิภาพ  หมายถึงครูที่มีการสอนที่รับรองได้ว่านักเรียนจะเกิดการเรียนรู้  นักจิตวิทยาการศึกษาหลายท่านได้ทำการวิจัยหรือหาตัวแปรที่ทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ ศาสตราจารย์ จอห์น แคร์รอล (John Carroll, 1963) ได้เขียนบทความจิตวิทยาการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุด บทความนี้ชื่อว่า “A model of School Learning” แคร์รอลได้อธิบายความหมายของครูที่มีประสิทธิภาพว่า เป็นครูที่สอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ให้เวลาแก่นักเรียนแต่ละคนได้เรียนรู้โดยพิจารณาความแตกต่างของบุคคล และวิชาที่สอน บางคนต้องการเวลามากแต่บางคนต้องการเวลาน้อย ซึ่งขึ้นกับวิชาที่ครูสอน รวมทั้งจัดกิจกรรมและ ประสบการณ์เพื่อจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ แคร์รอล กล่าวต่อไปว่าการสอนที่มีประสิทธิภาพไม่ได้ขึ้นกับการสอนของครูเท่านั้น แต่ขึ้นกับตัวนักเรียนด้วย  คุณลักษณะของนักเรียนมีส่วนให้นักเรียน เรียนรู้ ในอัตราความเร็วแตกต่างกันด้วยคือ

            1. ความถนัด (Aptitude) หมายถึง ความสามารถของนักเรียนที่จะเรียนรู้
            2. ความสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่ครูสอน (Ability to Understand Instruction)
            3. ความเพียรพยายาม (Perseverance) นักเรียนใช้เวลาสำหรับการเรียนรู้ ซึ่งมักจะเนื่องมาจากการที่นักเรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้
            4. การมีโอกาส ครูให้เวลานักเรียนในการเรียนรู้สิ่งที่ครูสอน  โดยคิดถึงความสามารถและความถนัดของนักเรียน
            โดยสรุป ครูสามารถสอนอย่างมีประสิทธิภาพ หมายถึงการสอนของครูที่สามารถให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามความถนัดและความสามารถของทุกคน

โบรฟี่ (Brophy, 1992)[2] นักจิตวิทยาการศึกษาที่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการสอน-การเรียนรู้ก็ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้และให้ความหมายของการเป็นครูที่ดี และมีประสิทธิภาพว่าเป็นครูที่สามารถสอนให้นักเรียนมีสัมฤทธิผลในการเรียนและสามารถนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

            จากการวิจัยของนักจิตวิทยาการศึกษาที่เกี่ยวกับคุณลักษณะของครูที่ดีและมีประสิทธิภาพหลายท่าน ก็ได้ผลคล้ายคลึงกันและอาจสรุปได้ว่าคุณลักษณะสำคัญของครูที่ดีและมีประสิทธิภาพดังต่อไปนี้ (Ryans, 1964 ; Emmer, Evertson and Anderson, 1980, Good and Grows, 1979; Housner& Gniffy, 1983)

           1. ต้องเป็นนักมนุษยนิยม (Humanist) คือเป็นผู้ที่ยอมรับนักเรียนอย่างจริงใจ ให้ความอบอุ่น มีความเข้าใจนักเรียน มีความยุติธรรม และมีคุณลักษณะของครูตามทัศนะของนักจิตวิทยา-มนุษยนิยม และเป็นกัลยาณมิตรของนักเรียน
           2. เป็นผู้ที่มีความรู้ และมีความเข้าใจเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนการสอนคือ ครูต้องเข้าใจธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้และสามารถที่จะให้วิธีสอนที่เหมาะสม และจูงใจให้นักเรียนอยากเรียนรู้  ครูจะต้องใช้วิธีการประเมินผลที่สามารถบอกได้ว่าการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นจริง

           3. เป็นผู้ที่รู้จักนักเรียน ครูไม่เพียงแต่เป็นผู้สอนนักเรียนทางวิชาการเท่านั้น แต่เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางบุคลิกภาพของนักเรียนด้วย ดังนั้นครูต้องมีความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการเพื่อจะช่วยนักเรียนให้มีพัฒนาการทั้งด้านสติปัญญาและด้านบุคลิกภาพด้วย โดยทำตนเป็นผู้ส่งเสริมการพัฒนาบุคลิกภาพของนักเรียนให้ไปในทางบวก เพื่อนักเรียนจะได้เจริญเติบโตเป็นบุคคล ที่มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า มีความภูมิใจในตัวเองและมีความสุข
           4.  เป็นผู้ที่มีคุณวุฒิทางวิชาการ โดยเฉพาะในวิชาต่างๆ ที่ตนจะต้องสอนสำหรับความรู้ด้านวิชาการนั้น เมื่อนิสิตนักศึกษาครูเรียนจบหลักสูตรแล้ว ก็อาจจะเชื่อได้ว่าได้รับการเตรียมตัวพร้อมที่จะเป็นผู้สอนได้  และนอกจากนี้ถ้านิสิตนักศึกษาเป็นผู้ที่พยายามขวนขวายหาความรู้อยู่เสมอไม่ว่าจะด้วยการอ่านค้นคว้าด้วยตนเอง หรือไปอบรมต่อในวิชาที่ตนสอนก็จะเป็นบุคคลที่มีคุณวุฒิทางวิชาการที่ทันสมัยเสมอ
           5.  เป็นผู้นำที่ดีและเป็นผู้ฟังที่ดี  สามารถจะช่วยนักเรียนให้มีความเข้าใจซึ่งกันและกันในกรณีที่มีความขัดแย้งกัน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
           6.  มีทักษะในการจัดการห้องเรียนให้เอื้อการเรียนรู้
           7.เป็นผู้ที่นิยมในวิธีการวิทยาศาสตร์และเข้าใจกฎแห่งพฤติกรรมและเป็นนักวิทยาศาสตร์พฤติกรรม
           8. จะต้องมีทักษะของชีวิต (Life Skills) คือเป็นผู้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี และมีความสันพันธ์อันดีหรือต้องมีมนุษยสัมพันธ์ สามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้ มีสุขภาพดีทั้งกายและใจจะต้องมีจุดมุ่งหมายของชีวิตและมีใจรักอาชีพที่เลือก

            นอกจากคุณลักษณะทั่วไปดังกล่าว ยังมีลักษณะเฉพาะที่นักจิตวิทยา เอมเมอร์และคณะ (Emmer, Evertson and Anderson, 1980) ผู้ศึกษาความแตกต่างของครูที่มีการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และครูที่ไม่มีประสิทธิภาพได้พบตัวแปรหรือเทคนิคที่ทำให้ครูมีประสิทธิภาพดังต่อไปนี้

            1. อธิบายวัตถุประสงค์ของบทเรียน หน่วยเรียนที่ต้องการให้นักเรียนเรียนรู้อย่างแจ่มแจ้ง
            2. ใช้อุปกรณ์วัสดุเกี่ยวกับการสอนหลายชนิด
            3. เตรียมการสอนและเครื่องใช้ที่จะใช้ในการสอนอย่างพร้อม
            4. ใช้หนังสือ  ประสบการณ์ กิจกรรมที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
            5. บอกนักเรียนถึงเหตุผลว่าทำไมบทเรียนที่ครูสอนจึงมีความสำคัญ และนักเรียนต้องตั้งใจเรียนให้เกิดการเรียนรู้
            6. รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ทุกวินาที  และปรับเนื้อหาให้เหมาะสมโดยคิดถึงระยะเวลา ความใส่ใจของนักเรียน
            7. ครูควรจะสอนนักเรียนให้มีอัตราความสำเร็จในการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
            8. เนื้อหาที่สอนเป็นที่สนใจแก่นักเรียน
            9. การตั้งความคาดหวังของครู และการตั้งเกณฑ์ของความสำเร็จของนักเรียนจะต้องเหมาะสม ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป

            นอกจากตัวแปร 9 อย่าง ดังกล่าว เอมเมอร์ และคณะยังพบว่า ครูจะต้องมีความสามารถในการสื่อสาร เพราะการที่ครูจะสอนหรือพูดให้นักเรียนเข้าใจได้ ครูจะต้องมีทักษะในการพูด  สามารถจะสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่ครูต้องการให้นักเรียนเรียนรู้ได้ และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือครูจะต้องรู้จักหลักการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feed back) เช่น นอกจากจะบอกนักเรียนว่าทำถูกหรือผิดครูจะต้องให้คำชมเวลานักเรียนทำถูกและไม่ติว่านักเรียนเป็นส่วนตัวเวลาผิด เช่นเธอนี่โง่จริงแต่บอกนักเรียนให้ทราบว่าทำไมถึงผิด

เอกสารอ้างอิง
สุรางค์
  โค้วตระกูล, จิตวิทยาการศึกษา,(กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
เขียน    วันทนียตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา. ส.ทรัพย์การพิมพ์
:เชียงใหม่, 2548.


                  [1] สุรางค์  โค้วตระกูล, เรื่องเดิม, หน้า 13-16
                  [2] สุรางค์  โค้วตระกูล, จิตวิทยาการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544), หน้า 13

Advertisement


เรื่องน่าสนใจจากสมาชิกท่านอื่น
 

ไม่มีความเห็น
เกี่ยวกับเรื่อง เล่าให้ฟัง"เรื่องครูที่ดีและมีประสิทธิภาพ"
 
 


 
เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้

สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)
เจ้าของบล็อกนี้
Advertisement
Advertisement
เรื่องราวล่าสุด ของ
สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)..