ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมบทความการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา


บทความการศึกษา 8 ก.พ. 2559 เวลา 20:04 น. เปิดอ่าน : 18,689 ครั้ง

Advertisement

ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา

"ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา" บทความที่น่าสนใจจากโอเคเนชั่นบล็อกยอดนิยมของไทย ที่โพสต์โดยสมาชิกชื่อคุณ โชดก ที่โพสต์เรื่องนี้ไว้ตั้งแต่ วันศุกร์ ที่ 5 กันยายน 2557 แต่เป็นเนื้อหาที่อ่านแล้ว ทำให้เราเข้าใจอะไรเกี่ยวกับระบบการศึกษาของฟินแลนด์ได้มากขึ้น ผ่านวิธีการเขียนที่อ่านเข้าใจง่าย ใช้ภาษาเป็นกันเอง ลองอ่านดูนะครับ แล้วท่านจะได้อะไรดีๆ มาคิดต่ออีกเยอะเลยครับ


วันศุกร์ ที่ 5 กันยายน 2557
ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา
Posted by โชดก www.oknation.net/blog/ministryoflearning

สวัสดีคุณผู้อ่าน สัปดาห์ที่ผ่านมาเว้นว่างไปเนื่องจากผมได้เข้าร่วมการประชุม “มองไทย – มองเทศ เปลี่ยนเพื่อเรียนรู้การศึกษาไทย” จัดโดยสถาบันอาศรมศิลป์ซึ่งได้เชิญนักการศึกษาจากประเทศฟินแลนด์มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้คร่ำหวอดในวงการศึกษาไทย เพื่อระบุปัญหาและหาทางออกกันอย่างเข้มข้นเป็นระยะเวลา 3 วันเต็ม นับเป็นโชคดีของผมที่ได้เรียนรู้แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษาจากกรณีศึกษาที่น่าจับตาที่สุดของโลกเทียบกับมุมมองในการวิเคราะห์ปัญหาของผู้มีประสบการณ์ระดับประเทศ

สำหรับการศึกษาของฟินแลนด์นั้น คุณผู้อ่านน่าจะทราบดีอยู่แล้วว่านักการศึกษาทั่วโลกยกย่องในความเป็นเลิศขนาดไหน เคยสงสัยมั้ยว่าเขาทำอะไรและทำอย่างไร ซึ่งใน Ministry of Learning สัปดาห์นี้จะมาไขความลับที่ว่านั้นให้คุณผู้อ่านได้รับทราบกันในเชิงของกรณีศึกษาเปรียบเทียบง่าย ๆ แล้วกัน โดยผมได้เรียบเรียงประเด็นน่าสนใจว่ามีจุดไหนที่ต่างกันแบบจะจะ แบ่งเป็น 7 ประเด็นดังต่อไปนี้

ประเด็นที่ 1 ฟินแลนด์ต้องการอะไรจากการศึกษา? คำตอบคือ “สร้างประชากรที่ดีของโลก” ซึ่งของไทยคือ “เก่ง ดี มีความสุข” ก็เก๋ทั้งคู่แหละ ทั้งนี้สิ่งที่น่าสนใจคือตอนจัดจริง ๆ มากกว่า เนื่องจากฟินแลนด์ใช้การศึกษาเป็น “กลไก” ในการพัฒนาเยาวชนให้มีความรู้และความพร้อมที่จะมาอยู่ร่วมกันในอนาคตโดยการบ่มเพาะค่านิยมที่จำเป็น รวมถึงส่งเสริมให้เด็กค่อย ๆ ค้นพบศักยภาพของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ต่างกับบ้านเราที่มองการศึกษาเป็น “เครื่องประดับ” เอาไว้ชูหน้าชูตา เราถึงเห็นความพยายามในการยกระดับคะแนน O-Net เอย คะแนน PISA เอย หรือแต่ละบ้านที่ตั้งธงไว้ว่าลูกต้องจบปริญญาตรี สาขาอะไรจบมาเหอะ แค่นี้ก็เห็นภาพชัดแล้วนะว่าอะไรอื่น ๆ จะต่างกันอีกแค่ไหน

ประเด็นที่ 2 ฟินแลนด์มีกระทรวงศึกษาธิการหรือไม่? คำตอบคือ “มี” แต่มีอำนาจน้อยมาก เพราะพื้นฐานแล้วฟินแลนด์เป็นสังคมเกษตรที่ประชากรกระจายตัวไปอยู่อาศัยกันในพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้แต่ละท้องถิ่นต้องทำหน้าที่ในการจัดการศึกษาขึ้นมาเอง กระทรวงศึกษาธิการฟินแลนด์มีหน้าให้แนวทาง กรอบหลักสูตร ตัวอย่างข้อสอบ และ ระบบการสนับสนุนอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการแต่งตั้ง โยกย้าย ปรับขั้น ซึ่งรวบ ควบ และ กระจุกตัวกันอยู่ที่กระทรวงศึกษาธิการแบบบ้านเรา ดังนั้นเขาไม่ต้องเสียเวลาเรื่องการกระจายอำนาจ หรือ การจัดสรรงบ เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นและเบ็ดเสร็จได้เองในแต่ละพื้นที่เป็นอิสระจากกัน ทำให้การทำงานคล่องตัว ลดขั้นตอน และ พิธีการที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนได้มาก

ประเด็นที่ 3 ฟินแลนด์ฝึกครูอย่างไร? คำตอบคือ “หนักมาก” นักศึกษาครูที่ฟินแลนด์จะเรียนจบปริญญาโท โดยประกอบด้วยปริญญาตรี 3 ปี และ ปริญญาโทอีก 2 ปี ในขณะที่ไทยเราจะเรียนปริญญาตรีอย่างเดียวแต่ใช้เวลา 4 และเพิ่งมาปรับเป็น 5 ปีในช่วงหลัง ๆ มานี้ แต่อย่าคิดว่าเรียนพอ ๆ กันอีกล่ะ เพราะปริญญาตรี 3 ปีของเขาเท่ากับ 180 หน่วยกิต (บวกกับปริญญาโทอีก 120 หน่วยกิต) หรือคิดง่าย ๆ คือเรียนเทอมละ 30 หน่วยกิต ทั้งนี้ปริญญาตรีสายครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์บ้านเราเรียนประมาณ 160 หน่วยกิตเท่านั้น นักศึกษาครูฟินแลนด์จะต้องเข้าไปเรียนรู้ในโรงเรียนจริง ๆ ตั้งแต่ ปีที่ 1 เพื่อสังเกต เก็บข้อมูล และ นำมาเปรียบเทียบกับทฤษฎีการเรียนรู้ระหว่างทางตลอด โดยใครอยากสอนมัธยมวิชาไหนก็จะต้องเลือกเรียนวิชาเฉพาะให้เข้มข้นกว่าคนอื่น ๆ คราวนี้ไม่ว่าใครจะจบจากมหาวิทยาลัยไหนมาไม่สน เพราะเขาไม่ให้ครูใหม่ป้ายแดงเดินตรงเข้าไปสอนนักเรียนเด็ดขาด แต่ละคนจะมีช่วงเวลา 1 – 2 ปีแรกที่จะต้องสอนเป็นทีม และ จะต้องมีพี่เลี้ยงประกบเพื่อช่วยให้มั่นใจว่าสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามคุณภาพที่ต้องการ ทางสหรัฐอเมริกาเรียกวิธีการทำงานแบบนี้ว่า Clinical Experience วิธีนี้ทำให้ครูทุกคนในฟินแลนด์คุ้นเคยกับการทำงานร่วมกันตั้งแต่เริ่มต้นอาชีพ ดังนั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การบริหารจัดการความรู้ในโรงเรียนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาไม่รู้จบ ต่างกับบ้านเราที่มีแค่การฝึกสอนในปีสุดท้าย จบแล้วได้ใบประกอบวิชาชีพครู และ สามารถเดินเข้าไปสอนในห้องเรียนได้เลย นี่คือประเด็นที่ต่างกันเห็น ๆ

ประเด็นที่ 4 ปรับหลักสูตรบ่อยมั้ย? คำตอบคือ “บ่อย” และบ่อยกว่าประเทศไทยมากซะด้วย เพราะฟินแลนด์จะทำการปรับหลักสูตรทุก ๆ 3 ปีเพื่อให้เนื้อหาทันสมัยอยู่เสมอ โดยเอาคะแนนการสอบประเมินผลระดับชาติมาเป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร โดยหน้าที่ในการปรับหลักสูตรจะเป็นของ “อาจารย์มหาวิทยาลัย” อย่างไรก็ดีแนวทางเรื่องหลักสูตรนี้เหมือนกับการศึกษาบ้านเราคือเป็นหลักสูตร “แกนกลาง” (เอ้า มีตรงกันบ้างล่ะน้า) ที่ให้กรอบขั้นพื้นฐานไปต่อยอด โดยครูจะต้องเขียนหลักสูตรโรงเรียนกันเอาเอง ซึ่งแนวทางนี้จะอยู่ในประเด็นต่อไป นอกจากนั้นกระทรวงศึกษาฟินแลนด์จะมี “ข้อสอบตัวอย่าง” ส่งไปให้ครูทั่วประเทศใช้เป็นแนวทางในการออกข้อสอบเพื่อวัดความรู้ของนักเรียนตัวเองด้วย โดยเกรดของครูถือเป็นที่สิ้นสุด แต่ครูต้องให้เหตุผลได้ด้วยนะว่าอะไรคือที่มาของคะแนนเหล่านั้น

ประเด็นที่ 5 ทำไมคนอยากเป็นครู? เงินเดือนครูในฟินแลนด์อยู่ในกลุ่มขอบคนที่มีเงินเดือนดีมาก แต่ก็ยังไม่ที่สุดเพราะน้อยกว่าหมอและทนายความ เหตุผลสำคัญที่คนหนุ่มสาวในฟินแลนด์อยากเป็นครูเพราะเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับนับถือ เป็นอาชีพที่มีเกียรติ ประเด็นที่สำคัญที่สุดคืออาชีพครูเป็นอาชีพที่เปิดโอกาสให้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพราะครูจะต้อง “ออกแบบ” กิจกรรมการเรียนการสอนเองตามกรอบหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งตรงนี้เป็นผลลัพธ์ที่การศึกษาฟินแลนด์สร้างคนให้ชอบคิดชอบทำอะไรใหม่ ๆ ตั้งแต่อ้อนแต่ออกนั่นเอง ประเด็นนี้ขอยกให้คุณผู้อ่านไปวิจารณ์ต่อกันเอาเอง เพราะผมไม่มีข้อมูลว่าครูราวสี่แสนคนในระบบการศึกษาบ้านเราอยากเป็นครูจริง ๆ ร้อยละเท่าไหร่

ประเด็นที่ 6 ฟินแลนด์มีการสอบ O-Net ในบ้านเราหรือไม่? คำตอบคือ “มี” แต่เป็นการสุ่มโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างมาสอบ โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างจะถือเป็นตัวแทนเพื่ออ้างอิงคุณภาพการศึกษาของทั้งประเทศ ต่างกับบ้านเราที่จัดสอบ O-Net แบบปูพรมเป็นหน้ากระดาน วิธีการของฟินแลนด์มีข้อดีเห็นได้ชัดเจน คือ 1) ประหยัดงบประมาณได้มาก 2) ทุกโรงเรียนต้อง “เต็มที่ตลอดเวลา” เพราะมีโอกาสโดนสุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน เพราะการประเมินดังกล่าวจะมีผลกับทุกโรงเรียนในประเทศ ส่วนที่แตกต่างจากบ้านเราคือการสอบดังกล่าวไม่นับเป็นเกณฑ์ในการประเมินสมรรถนะของโรงเรียน ซึ่งนี้แหละคือจุดของบ้านเราที่เอา KPI ไปผูกไว้กับ O-Net ทำให้โรงเรียนกลัวการสอบ O-Net มากกว่านักเรียน

ประเด็นที่ 7 ฟินแลนด์จัดอันดับโรงเรียนเหมือนประเทศอื่น ๆ หรือไม่? คำตอบคือ “ไม่” เพราะฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับ “ความเสมอภาค” อย่างมาก การจัดอันดับโรงเรียนถือเป็นการทำลายความเท่าเทียมกันดังกล่าวทันที โรงเรียนทุกแห่งของฟินแลนด์จะต้องมีคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่ทัดเทียมกันหมดไม่ว่าจะอยู่ตรงไหนของประเทศ ทั้งนี้รวมถึงการสอบของนักเรียนด้วยโดยคะแนนสอบของนักเรียนแต่ละคนจะถือเป็น “ความลับ” ที่จะมีแค่นักเรียนและผู้ปกครองเท่านั้นที่รู้ ไม่เอามาเทียบกันเพราะถือเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำ ต่างกับบ้านเราที่เน้นการจัดอันดับตั้งแต่ในห้องจนถึงจัดอันดับโรงเรียน นี่คืออีกภาพที่ตรงกันข้ามกันมาก ๆ อีกมุมหนึ่ง

ประเด็นสุดท้าย ทางฟินแลนด์มีหน่วยงานเหมือน สมศ. หรือไม่? คำตอบคือ “ไม่มี” การสังเกตชั้นเรียนของฟินแลนด์เป็นไปเพื่อ “ให้ความช่วยเหลือ” มากกว่าเข้าไปเพื่อ “ประเมิน” โดยใช้ระบบการให้ความช่วยเหลือแบบพี่เลี้ยง หรือ Mentoring System เทียบกับบ้านเราแล้วก็คือการมีระบบ “ศึกษานิเทศก์” มาให้ความช่วยเหลือที่ต้องมาช่วยจริง ๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของหน้าที่การงานของครูหรือโรงเรียนแต่อย่างใด ก็จะวนกลับไปตอบโจทย์ในประเด็นแรกว่าการศึกษาจัดเพื่อนักเรียนอย่างแท้จริง

โดยสรุปแล้วแนวคิดในการใช้ชีวิต การเมือง และ การศึกษาของฟินแลนด์สอดคล้องตรงกันทั้งหมด โดยฟินแลนด์ให้ความสำคัญกับการคิดงานทุกอย่างแบบลงละเอียด สามารถให้แนวทางทุกอย่างที่ประชาชนจะเอาไปทำเองได้อย่างถูกต้อง เพื่อลดการ “กำกับ และ ควบคุม” พลเมืองของเขาในทุก ๆ เรื่อง นับตั้งแต่การจราจรจนถึงความเป็นอยู่ในด้านอื่น ๆ ผลตรงนี้ทำให้โรงเรียนและครูได้รับการมอบอำนาจ (Empowering) ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่ (คล้าย ๆ เวลาไปทานอะไรในโรงอาหารของ IKEA เลย)

เป็นยังไงกันบ้างกับความแตกต่างระหว่างฟินแลนด์กับไทย โดยรวม ๆ แล้วเหมือนจะต่างกันหลายส่วนอยู่ ถ้าจะให้ดีต้องมาว่ากันที่วิธีการว่าจากสภาพการศึกษาไทยในปัจจุบันเราทำอะไรได้บ้าง ซึ่งในสัปดาห์หน้าผมจะมาลองรวบรวมแนวทางในการปฏิรูปการศึกษาไทยในแบบที่สามารถไล่ทำได้ตั้งแต่ง่ายไปยาก เพื่อให้เกิดแนวคิด ทางเลือก และ ความหวังที่จะสร้างความน่าเชื่อถือสู่การศึกษาไทยให้ได้อีกครั้งหนึ่ง

สำหรับ Ministry of Learning ฉบับนี้ก็สมควรแก่เวลาแล้ว ฉบับนี้ยาวหน่อยเพราะเนื้อหาเยอะมาก และพบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดี

 

ขอบคุณที่มาจาก OK NATION BLOG โดยสมาชิกชื่อคุณ โชดก  โพสต์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2557

 


ฟินแลนด์ vs ไทย อะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษาฟินแลนด์vsไทยอะไรคือกุญแจแห่งความสำเร็จทางการศึกษา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

ประเทศที่ประสบความสำเร็จเขาดูแลครูอย่างไร

ประเทศที่ประสบความสำเร็จเขาดูแลครูอย่างไร

เปิดอ่าน 61,431 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา
ข้อคิดและข้อควรระวังในการบริหารสถานศึกษา
เปิดอ่าน 32,251 ☕ คลิกอ่านเลย

เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เมื่อกล้าปราบคอร์รัปชั่น ก็ลองกล้าเปลี่ยนประเทศ ด้วยการปฏิรูปการศึกษา
เปิดอ่าน 8,050 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิรูปการศึกษาแล้ว ปฏิรูปการลูกเสือด้วยครับ โดย จารึก อะยะวงศ์
ปฏิรูปการศึกษาแล้ว ปฏิรูปการลูกเสือด้วยครับ โดย จารึก อะยะวงศ์
เปิดอ่าน 24,615 ☕ คลิกอ่านเลย

Active Learning กำลังจะมา แต่ผล Pisa ของไทยกำลังไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น… : โดย ณรงค์ ขุ้มทอง
Active Learning กำลังจะมา แต่ผล Pisa ของไทยกำลังไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี หนีไม่พ้น… : โดย ณรงค์ ขุ้มทอง
เปิดอ่าน 21,927 ☕ คลิกอ่านเลย

ปลูกวินัย "แม่พิมพ์ของชาติ"
ปลูกวินัย "แม่พิมพ์ของชาติ"
เปิดอ่าน 11,418 ☕ คลิกอ่านเลย

เจาะ 40 ปีการศึกษาไทย เป๋ไปเป๋มา...ดิ่งลงเหว!! : ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์
เจาะ 40 ปีการศึกษาไทย เป๋ไปเป๋มา...ดิ่งลงเหว!! : ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์
เปิดอ่าน 45,788 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

Verb Tenses (Past Tenses )
Verb Tenses (Past Tenses )
เปิดอ่าน 53,367 ครั้ง

ใช้ชีวิต Slow Life เพื่อความสุขยืนยาว ช้าแต่ชัวร์!!
ใช้ชีวิต Slow Life เพื่อความสุขยืนยาว ช้าแต่ชัวร์!!
เปิดอ่าน 21,455 ครั้ง

ทฤษฎีพัฒนาการเชาน์ปัญญาของเพียเจต์
ทฤษฎีพัฒนาการเชาน์ปัญญาของเพียเจต์
เปิดอ่าน 95,751 ครั้ง

แก่นขนุน
แก่นขนุน
เปิดอ่าน 21,562 ครั้ง

โด๊ปวิตามินหวังบำรุงร่างกาย อาจทำให้อายุสั้นได้
โด๊ปวิตามินหวังบำรุงร่างกาย อาจทำให้อายุสั้นได้
เปิดอ่าน 9,557 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ