ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมข่าวการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

สมศ.จวกยับ ผลวิจัย สสค.ใช้ไม่ได้


ข่าวการศึกษา 21 ม.ค. 2558 เวลา 06:55 น. เปิดอ่าน : 4,042 ครั้ง
สมศ.จวกยับ ผลวิจัย สสค.ใช้ไม่ได้

Advertisement

❝ “ชาญณรงค์”บ่นอุบผลวิจัย สสค.ทำสังคมเข้าใจคลาดเคลื่อน ใช้ฐานคิดผิด ชี้หากครูวางแผนการสอนตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัว ด้าน “ไกรยศ” ยันผลวิจัยเป็นไปตามหลักวิชาการ หากไม่เชื่อแนะให้ลงพื้นที่ เชื่อความจริงจะปรากฏ ❞

วันนี้ (20 ม.ค.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า ตามที่งานวิจัยเรื่อง กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเยาวชน (สสค.) ระบุว่ากิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องใช้เวลามากที่สุดเป็นอันดับแรกคือ การประเมินจากหน่วยงานภายนอก 43 วัน โดยใช้เวลากับการประเมิน สมศ.มากที่สุด 9 วันนั้น ตนขอชี้แจงว่า ผลวิจัยดังกล่าวน่าจะมีความคลาดเคลื่อน และเป็นงานวิจัยที่นำไปประยุกต์ใช้ไม่ได้ เพราะดูจากฐานคิดก็ผิดแล้ว ซึ่งในแผนภูมิอธิบายผลใช้ฐาน 1 ปี แต่การประเมินของ สมศ. เข้าไปประเมิน 1 ครั้งใน 5 ปี และ 1 ครั้ง เข้าไปประเมิน 3วัน เฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น ดังนั้นจะมาคิดรวมอยู่ในฐาน 1 ปีไม่ได้

“ผลวิจัยดังกล่าวชี้นำสังคมไปในทางที่ไม่ถูก ทำให้สังคมเข้าใจคลาดเคลื่อน เมื่อชี้นำผิดแบบนี้ สมศ.ก็ตกเป็นจำเลยสังคมแล้วใครจะรับผิดชอบ ซึ่งงานวิจัยของไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นแบบนี้ และไม่สามารถนำไปใช้ได้ อีกทั้งยังทำให้เกิดผลกระทบในทางลบ ดังนั้นคุณภาพงานวิจัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าวและว่า ความจริงแล้ว หากครูดำเนินไปตามข้อปฏิบัติที่ต้นสังกัดกำหนด มีการวางแผนการสอนอยู่ตลอดเวลา เมื่อ สมศ.เข้ามาประเมินก็สามารถใช้เอกสารเหล่านั้นได้เลย โดยไม่ต้องเตรียมตัว แต่ชีวิตจริงครูส่วนหนึ่งไม่ได้ทำแบบนี้เลย สอนโดยไม่บันทึก ไม่มีแผนการสอน เมื่อ สมศ.มาประเมินก็ต้องมานั่งทำเอกสาร ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตครูไม่ใช่วิถีชีวิตคุณภาพ

ดร.ไกรยศ ภัทรวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ผลการวิจัยชิ้นนี้ได้ดำเนินการตามหลักวิชาการ โดยสุ่มตัวอย่างจากครูสอนดีทุกตำบลทั่วประเทศ ซึ่งผลการวิจัยที่ระบุว่าใช้เวลากับการประเมิน สมศ.มากที่สุด 9 วันนั้น มาจากคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องมีการเตรียมการ เช่น การจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเดินทาง และการพบปะกับเจ้าหน้าที่ว่าต้องใช้เวลากี่วัน ดังนั้นผลการวิจัยนี้จึงรวมถึงเวลาในการเตรียมการด้วย ไม่ใช่เวลาที่เข้ามาประเมินเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามคำถามนี้มีครูที่ตอบว่าใช้เวลามากกว่า 9 วัน เป็นจำนวนมาก แต่เราก็นำมาหาค่าเฉลี่ยจนได้ผลวิจัยที่ 9 วัน

“ผลการวิจัยมาจากเสียงสะท้อนของครูทั่วประเทศ เราจำเป็นต้องฟัง และมาร่วมกันหาคำตอบ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ของครูที่ไม่เคยส่งเสียงมาให้สังคมได้รับทราบเลย ซึ่ง สสค.ไม่สามารถจะมาแก้ตัวเลขที่ครูบอกได้ เรามีแต่ข้อเท็จจริง มีเอกสารเป็นตั้งๆ และไม่ได้มุ่งชี้ผลการวิจัยไปที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ดังนั้นอยากให้ลองลงพื้นที่ไปสอบถามครูดู และความจริงก็จะปรากฏ”ดร.ไกรยศ กล่าว

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วย รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า หากมองแบบเป็นกลางจะพบว่าทั้งข้อมูลการวิจัยของ สสค. และประเด็นที่ สมศ.ยกขึ้นมาชี้แจงนั้น ไม่ใช่ตัวเลขจริงทั้งหมด แต่เป็นตัวเลขการสำรวจครูบางกลุ่ม ดังนั้นต้องยอมรับว่า ไม่มีงานวิจัยใดที่สมบูรณ์จึงไม่ควรเสียเวลากับเรื่องวันที่ใช้มากน้อยเพียงใด แต่สิ่งสำคัญคือ ความรู้สึกกังวลใจ และความทุกข์ของครูที่เกิดขึ้นจริงผ่านกระบวนการประเมิน ซึ่งสิ่งที่ควรทำคือ การช่วยกันทบทวนการประเมิน เรื่องตัวชี้วัดต่างๆว่ามีคุณภาพเพียงพอ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างมีคุณภาพหรือไม่ และไม่เป็นภาระให้ครูด้วย.

 

 

ที่มา เดลินิวส์ วันอังคาร 20 มกราคม 2558

 


 

สมศ.ค้านผลวิจัย สสค.ชี้คลาดเคลื่อนทำตกเป็นจำเลยสังคม “ไกรยศ” ยันวิจัยยึดหลักวิชาการ-สะท้อนความทุกข์ครู

สมศ. เคืองใจผลวิจัย สสค. ระบุครูใช้เวลากับการประเมินของ สมศ. มากถึง 9 วัน เป็นงานวิจัยคลาดเคลื่อน ใช้ฐานคิดผิดแค่ 1 ปี ทั้งที่ สมศ. ประเมินรอบ 5 ปี เพียง 1 ครั้ง ใช้เวลาแค่ 3 วันเท่านั้น ระบุถ้าครูจัดการสอนตามแผนการศึกษา จะไม่มีปัญหาทั้งประเมินภายในและภายนอก ด้าน สสค. สวนกลับให้ลงพื้นที่ฟังเสียงสะท้อนของครู ยันทำวิจัยบนฐานวิชาการ และสุ่มจากครูสอนดีทั่วประเทศ ย้ำไม่ชี้ชัดไปองค์กรใดองค์กรหนึ่งแต่สะท้อนความทุกข์ครูด้วยข้อเท็จจริง

วันนี้ (20 ม.ค.) ที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผอ.สมศ. เปิดเผยว่า ตามที่งานวิจัยเรื่อง กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่กระทบต่อการจัดการเรียนการสอนของครู จัดทำโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพชีวิตเยาวชน (สสค.) ระบุว่า กิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องใช้เวลามากที่สุดเป็นอันดับแรก คือ การประเมินจากหน่วยงานภายนอก 43 วัน โดยใช้เวลากับการประเมิน สมศ. มากที่สุด 9 วันนั้น ตนขอชี้แจงว่า ผลวิจัยดังกล่าวน่าจะมีความคลาดเคลื่อน และเป็นงานวิจัยที่นำไปประยุกต์ใช้ไม่ได้ เพราะดูจากฐานคิดก็ผิดแล้ว ซึ่งในแผนภูมิอธิบายผลโดยใช้ฐาน 1 ปี แต่การประเมินของ สมศ. เมื่อครบรอบ 5 ปี จะประเมิน 1 ครั้ง ใช้เวลาประเมิน 3 วัน เฉลี่ยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อปีเท่านั้น จึงไม่สามารถนำมาคิดรวมอยู่ในฐาน 1 ปีไม่ได้

“เมื่อผลวิจัยดังกล่าวถูกเผยแพร่สู่สังคม ทำให้ประชาชนเข้าใจคลาดเคลื่อนเป็นการชี้นำสังคมไปในทางที่ไม่ถูก และเมื่อชี้นำผิด สมศ. ก็ตกเป็นจำเลยสังคมแล้วใครจะรับผิดชอบ ซึ่งงานวิจัยของไทยจำนวนไม่น้อยที่เป็นแบบนี้ ไม่สามารถนำไปใช้ได้ และยังทำให้เกิดผลกระทบในทางลบ ดังนั้น คุณภาพงานวิจัยจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก” ศ.ดร.ชาญณรงค์ กล่าว

ผอ.สมศ. กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ตนเชื่อว่า ถ้าวิถีชีวิตครูดำเนินไปตามข้อปฏิบัติที่ต้นสังกัดกำหนด ใครสอนอะไรให้เตรียมการสอนวิชานั้น ทั้งกำหนด วัตถุประสงค์ และประเมินเด็ก มีการวางแผนการสอน ประเมินการสอน และนำผลการประเมินนั้นมาพัฒนา ซึ่งเอกสารต่างๆ ที่ครูทำก็จะถูกนำมาใช้ในการประเมินภายในและประเมินภายนอกของ สมศ. ได้ แต่ชีวิตจริงไม่ใช่ ครูไม่ได้ทำ ครูสอนโดยไม่บันทึก ไม่มีแผนการสอน เมื่อ สมศ. ไปประเมิน ครูต้องมาทำเอกสารต่างๆ เพื่อการประเมิน แสดงว่าวิถีชีวิตครูไม่ใช่วิถีชีวิตคุณภาพ สมศ. จึงอยากให้ครูพัฒนาการเรียนการสอน

ด้าน ดร.ไกรยศ ภัทรวาท ผู้เชี่ยวชาญนโยบายด้านเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ผลการวิจัยชิ้นนี้ดำเนินการตามหลักวิชาการ โดยสุ่มตัวอย่างจากครูสอนดีทุกตำบลทั่วประเทศ ซึ่งผลการวิจัยที่ระบุว่าใช้เวลากับการประเมิน สมศ. มากที่สุด 9 วันนั้น มาจากคำถามเกี่ยวกับกิจกรรมภายนอกชั้นเรียนที่ครูต้องมีการเตรียมการ เช่น การจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเดินทาง และการพบปะกับเจ้าหน้าที่ว่าต้องใช้เวลากี่วัน ดังนั้น ผลการวิจัยนี้จึงรวมถึงเวลาในการเตรียมการด้วย ไม่ใช่เวลาที่เข้ามาประเมินเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตามคำถามนี้มีครูที่ตอบว่าใช้เวลามากกว่า 9 วัน เป็นจำนวนมาก แต่เราก็นำมาหาค่าเฉลี่ยจนได้ผลวิจัยที่ 9 วัน

“ผลการวิจัยมาจากเสียงสะท้อนของครูทั่วประเทศ เราจำเป็นต้องฟัง และมาร่วมกันหาคำตอบ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นความทุกข์ของครูที่ไม่เคยส่งเสียงมาให้สังคมได้รับทราบเลย ซึ่ง สสค. ไม่สามารถจะมาแก้ตัวเลขที่ครูบอกได้ เรามีแต่ข้อเท็จจริง มีเอกสารเป็นตั้งๆ และไม่ได้มุ่งชี้ผลการวิจัยไปที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ดังนั้น อยากให้ลองลงพื้นที่ไปสอบถามครูดู และความจริงก็จะปรากฏ”ดร.ไกรยศ กล่าว

 

 

ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์ 20 มกราคม 2558


สมศ.จวกยับ ผลวิจัย สสค.ใช้ไม่ได้สมศ.จวกยับผลวิจัยสสค.ใช้ไม่ได้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

:: เรื่องปักหมุด ::

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)

เปิดอ่าน 311 ☕ 18 เม.ย. 2567

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
ด่วน! สพฐ.ประกาศสอบบรรจุ ตำแหน่งครูผู้ช่วย ปี พ.ศ. 2567 รอบทั่วไป
เปิดอ่าน 263 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
สพฐ.ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินภาคความเหมาะสมกับตำแหน่งเพื่อบรรจุฯ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38ค. (2)
เปิดอ่าน 311 ☕ 18 เม.ย. 2567

ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
ก.ค.ศ. จับมือ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบผลงานวิชาการครูขอเลื่อนวิทยฐานะ
เปิดอ่าน 240 ☕ 18 เม.ย. 2567

สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
สพฐ. แจงชัดให้อิสระโรงเรียนซื้อหนังสือ เน้นย้ำดำเนินการตามแนวทางการจัดซื้ออย่างเคร่งครัด
เปิดอ่าน 556 ☕ 17 เม.ย. 2567

การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
การส่งคืนอัตราพนักงานราชการ ตำแหน่งครูผู้สอน ที่ว่างจากการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2567
เปิดอ่าน 1,781 ☕ 15 เม.ย. 2567

OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
OECD ห่วงการศึกษาได้รับผลกระทบจาก AI
เปิดอ่าน 898 ☕ 15 เม.ย. 2567

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

"พิกุล" สรรพคุณดีกว่าที่คิด
"พิกุล" สรรพคุณดีกว่าที่คิด
เปิดอ่าน 11,551 ครั้ง

เทคนิคภาษาอังกฤษ
เทคนิคภาษาอังกฤษ
เปิดอ่าน 26,690 ครั้ง

รายงานการวิจัย สถานภาพการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรองรับการปฏิรูปการศึกษ
รายงานการวิจัย สถานภาพการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรองรับการปฏิรูปการศึกษ
เปิดอ่าน 19,344 ครั้ง

การศึกษาชำรุด-เด็กไม่รู้จักตัวเอง ปรับระบบสอบแค่แก้ปัญหาปลายเหตุ
การศึกษาชำรุด-เด็กไม่รู้จักตัวเอง ปรับระบบสอบแค่แก้ปัญหาปลายเหตุ
เปิดอ่าน 16,605 ครั้ง

อวกาศมีกลิ่นเหมือนอะไร?
อวกาศมีกลิ่นเหมือนอะไร?
เปิดอ่าน 23,974 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ