ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

ความรู้เรื่องวัฒนธรรม


สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เปิดอ่าน : 14,808 ครั้ง
ความรู้เรื่องวัฒนธรรม

Advertisement

ความรู้เรื่องวัฒนธรรม

 

พระยาอนุมานราชธน พระยาอนุมานราชธน (๒๔๓๑ - ๒๕๑๒)

..........นักปราชญ์สำคัญของชาติ บุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ให้ความหมาย เนื้อหา ประเภท ลักษณะความเจริญแห่งวัฒนธรรม ความเป็นไปแห่งวัฒนธรรม ระยะแห่งวัฒนธรรม สรุปได้ดังนี้
ความหมาย
..........พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒: ๔๕ - ๔๘) ได้ให้บทนิยาม คำ "วัฒนธรรม"ว่า
.......... วัฒนธรรม คือ "สิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีแห่งชีวิตของส่วนรวม ถ่ายทอดกันได้ เอาอย่างกันได้
..........คือผลิตผลของส่วน รวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา
..........คือความรู้สึก ความคิดเห็น ความประพฤติ และกิริยาอาการ หรือการกระทำใดๆ ของมนุษย์ใน ส่วนรวมลง รูปเป็นพิมพ์เดียวกัน และสำแดงออกมาให้ปรากฏเป็นภาษา. ศิลปะ ความเชื่อถือ ระเบียบประเพณี เป็นต้น
..........คือมรดกแห่งสังคม ซึ่งสังคมรับและรักษาไว้ให้เจริญงอกงาม เป็นผลิตผลของส่วนรวมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนแต่ก่อนสืบต่อเป็นประเพณีกันมา

ประเภทของวัฒนธรรม

..........พระยาอนุ มานราชธน (๒๕๓๒ : น.๕๐ )ได้จำแนกประเภทของวัฒนธรรมออกเป็น
..........๑. วัฒนธรรมทางวัตถุ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขกายเพื่อให้ได้อยู่ดีกินดีมีความสะดวกสบายในการ ครองชีพ ได้แก่สิ่งความจำเป็นเบื้องต้นในชีวิต ๔ อย่างและสิ่งอื่นๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ ตลอดจนเครื่องอาวุธยุทโธปกรณ์เครื่องป้องกันตัว
..........๒. วัฒนธรรม ทางจิตใจ เป็นสิ่งที่ทำให้ปัญญาและจิตใจมีความเจริญงอกงาม ได้แก่ การศึกษา วิชาความรู้อันบำรุงความคิดทางปัญญา ศาสนา จรรยา ศิลปะ และวรรณคดี กฎหมายและระเบียบประเพณี ซึ่งส่งเสริมความรู้สึกทางจิตใจให้งอก งามหรือสบายใจ

ลักษณะความเจริญแห่งวัฒนธรรม

..........พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒ : น.๕๓ ) ได้อธิบายลักษณะความเจริญ งอกงามของวัฒนธรรมดังนี้คือ
..........๑. ต้องมีการสั่งสม และการสืบต่อ ตกทอดกันไปไม่ขาดตอนมีมรดกแห่งสังคมอันเกิดจากผลิตผลของสังคมที่สร้างสมไว้
..........๒. ต้องมีแปลกมีใหม่มาเพิ่มเติมของเดิมให้เข้ากันได้
..........๓. ต้องส่งเสริมเพื่อให้แพร่หลายไปในหมู่ของตนและตลอดไปถึงชนหมู่ อื่นด้วย
..........๔. ต้องปรับปรุงและแก้ไขให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม และสภาพของเหตุการณ์

ลักษณะความเป็นไปแห่ง วัฒนธรรม ๓ ประการ

..........พระยาอนุมานราชธน (๒๕๓๒ : น.๕๗ ) กล่าวถึงลักษณะความเป็นไปของวัฒนธรรม เมื่อเกิดการขยายอำนาจ หรือการรุกรานดังนี้คือ
..........๑. วัฒนธรรมของฝ่ายแพ้จะต้องสูญไป ถ้าฝ่ายแพ้ไม่มีวัฒนธรรมอันเป็นบุคลิกลักษณะของตนอยู่ในระดับสูง หรือเท่ากับฝ่ายชนะ เช่นให้เลิกศึกษาภาษาของตน แต่ให้มาศึกษาของฝ่ายชนะ หรือไม่ ฝ่ายชนะพยายามทำลายวัฒนธรรมของฝ่ายแพ้ให้หมดไปทันที
..........๒. ถ้าทั้งสองฝ่าย คือทั้งแพ้และชนะมีวัฒนธรรมอยู่ในระดับทัดเทียมกัน วัฒนธรรมของฝ่ายแพ้ก็ จะต้านทานฝ่ายชนะไว้ได้ วัฒนธรรมของทั้งสองฝ่ายจะเข้าระคนปนกันทีละน้อยๆ เมื่อเป็นเวลานานจะเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่มีอำนาจดีกว่าเดิม เพราะได้กำลังทั้งสองฝ่ายมารวมกัน
..........๓. ถ้าฝ่ายแพ้มีวัฒนธรรมอยู่ในระดับสูงกว่าฝ่ายชนะ ก็จะสามารถดึงดูดเอาวัฒนธรรมของฝ่ายชนะเข้าประสานและอยู่ในครอบงำของฝ่ายแพ้ ถ้าฝ่ายชนะมีจำนวนคนน้อยกว่าฝ่ายแพ้ การพ่ายแพ้ในทาง วัฒนธรรมของฝ่ายชนะจะเร็วขึ้น

..........ชาติใดไม่กระตือรือร้นในการบำรุงและส่งเสริมวัฒนธรรมของตนให้มีความเจริญงอกงาม และแพร่หลายได้ทันท่วงที ชาตินั้นอาจเป็นผู้ถูก ชาติอื่นรุกรานในทางวัฒนธรรม ดังนั้นเพื่อไม่ให้ถูกรุกรานหรือรุกรานก็ต้านอยู่ ก็จะต้องรู้จักปรับปรุงวัฒนธรรมของตนให้เจริญ สิ่งแปลกใหม่ไม่ใช่ว่าจะเป็นของดีมีประโยชน์แก่ตนเสมอไป ถ้าสิ่งแปลกใหม่นั้นไม่เข้ากันได้ดีกับราก ฐานแห่งวัฒนธรรมของตน

ระยะแห่งวัฒนธรรม
..........๑. สมัยนรปศุธรรม ( Stone Age Culture ) ได้แก่สมัยแรกเริ่มป่า เถื่อนตั้งแต่ยุคหิน จึงใช้คำว่า นร - ปศุธรรม ครึ่งคนครึ่งสัตว์
..........๒. สมัยอนารยธรรม (Barbarian Culture) ค่อยเจริญขึ้นแล้วแต่ยังป่าเถื่อนอยู่
..........๓. สมัยอารยธรรม (Civilization) มนุษย์มีความเจริญแล้ว อารยธรรมคือ วัฒนธรรมที่พ้นจากความป่าเถื่อนแล้วหรือพยายามให้พ้น และใช้คำว่า Culture ปนกันไปก็มี

การที่วัฒนธรรมจะเปลี่ยนแปลงไปได้นั้นมี ๔ ระยะ คือ

..........๑. เปลี่ยนไปเล็กน้อย
..........๒. เกิดจากค้นพบสิ่งใหม่ๆ ( discovery) หรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้น (invention) สภาพภาวะเปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมจึงเปลี่ยนไป
..........๓. มีคู่แข่งขึ้น เช่น เกวียนไปไม่ได้ รถไปได้
..........๔. การยืมวัฒนธรรมอื่นเขามา (Cultural borrowing)

เหตุแห่งความเจริญทางวัฒนธรรม

..........๑. การสะสม ต้องรับมรดกที่บรรพบุรุษมอบไว้ให้
..........๒. การปรับปรุง ถ้าหมดสมัยแล้วก็ต้องเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ สิ่งที่เป็นมาในอดีต (ทั้งฝ่ายนามธรรมด้วย) ที่ใช้ได้ก็ปรับปรุงให้เข้ากับสมัยปัจจุบัน
..........๓. การถ่ายทอด ต้องสืบต่อให้คนรุ่นหลัง ต้องเผยแพร่สั่งสอนกัน การจะทำให้วัฒนธรรมเจริญยั่งยืนนั้น เราต้องรักษาวัฒนธรรมมรดกตกทอดและปรับปรุงอดีตให้เหมาะสมกับปัจจุบัน

*คณะอนุกรรมการจัดพิมพ์เอกสารเนื่องในวาระครบ ๑๐๐ ปีพระยาอนุมานราชธน.

รวมเรื่องเกี่ยวกับ..............วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๑. ๓๐๖ หน้า

 


ข้อมูล จาก http://www.culture.go.th/knowledge/mean/01.htm


ความรู้เรื่องวัฒนธรรม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์

การกำเนิดของศาสนาพราหมณ์


เปิดอ่าน 107,875 ครั้ง
สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ 4


เปิดอ่าน 37,795 ครั้ง
เส้นทางสายไหม

เส้นทางสายไหม


เปิดอ่าน 22,347 ครั้ง
ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน

ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน


เปิดอ่าน 33,234 ครั้ง
วันวิสาขบูชา คือวันอะไร

วันวิสาขบูชา คือวันอะไร


เปิดอ่าน 6,579 ครั้ง
ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ

ประวัติจังหวัดอำนาจเจริญ


เปิดอ่าน 20,300 ครั้ง
ตำนานเมืองสุรินทร์

ตำนานเมืองสุรินทร์


เปิดอ่าน 30,448 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

พระสยามเทวาธิราช

พระสยามเทวาธิราช

เปิดอ่าน 20,422 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
เหรียญกล้าหาญ
เหรียญกล้าหาญ
เปิดอ่าน 18,937 ☕ คลิกอ่านเลย

หีบพระศพ
หีบพระศพ
เปิดอ่าน 24,077 ☕ คลิกอ่านเลย

ประวัติจังหวัดมุกดาหาร
ประวัติจังหวัดมุกดาหาร
เปิดอ่าน 16,798 ☕ คลิกอ่านเลย

ลี กวน ยู บุรุษผู้ยิ่งใหญ่
ลี กวน ยู บุรุษผู้ยิ่งใหญ่
เปิดอ่าน 13,880 ☕ คลิกอ่านเลย

140 ที่สุดในโลก
140 ที่สุดในโลก
เปิดอ่าน 45,948 ☕ คลิกอ่านเลย

การทอดผ้าป่า
การทอดผ้าป่า
เปิดอ่าน 51,807 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

EQ กับวัยทำงาน
EQ กับวัยทำงาน
เปิดอ่าน 12,484 ครั้ง

สรยุทธ แจง อมเงินโฆษณา อสมท 138ล.
สรยุทธ แจง อมเงินโฆษณา อสมท 138ล.
เปิดอ่าน 9,986 ครั้ง

แฉกลโกง40ขายตรงตุ๋นผู้บริโภคหมื่นล.
แฉกลโกง40ขายตรงตุ๋นผู้บริโภคหมื่นล.
เปิดอ่าน 17,853 ครั้ง

หลักสูตรการสอบภาค ข ครูผู้ช่วย สพฐ. ตามหนังสือ ว14/2558
หลักสูตรการสอบภาค ข ครูผู้ช่วย สพฐ. ตามหนังสือ ว14/2558
เปิดอ่าน 29,094 ครั้ง

บำรุงเลือดลม ช่วยย่อยอาหาร
บำรุงเลือดลม ช่วยย่อยอาหาร
เปิดอ่าน 12,977 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ