ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมสุขศึกษาและพลศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เรื่องของหมากรุก


สุขศึกษาและพลศึกษา เปิดอ่าน : 45,891 ครั้ง
เรื่องของหมากรุก

Advertisement

หมากรุก เป็นเกมกระดานชนิดหนึ่ง มีลักษณะจำลองจากการสงคราม ใช้เล่นระหว่างผู้เล่น 2 คน แต่ละฝ่ายต้องพยายามรุกจนขุนของอีกฝ่ายให้ได้ โดยกติกาและตัวหมากอื่นๆ จะแตกต่างกันแล้วแต่ชนิดของหมากรุก

ประวัติหมากรุก

        การเล่นหมากรุกปรากฏในประเทศอินเดียมาหลายพันปี ชาวอินเดียอ้างว่าหมากรุกเกิดขึ้นเมื่อครั้งพระรามไปล้อมเมืองลงกา นางมณโฑเห็นทศกัณฐ์เป็นกังวลกับการสงคราม จึงได้นำกระบวนสงครามตั้งทำเป็นหมากรุกขึ้นให้ทศกัณฐ์เล่นแก้รำคาญ ชาวอินเดียเรียกหมากรุกว่า "จัตุรงค์" เพราะเหตุที่นำกระบวรพล ๔ เหล่าทำเป็นตัวหมากรุก คือ พลช้าง 1 พลม้า 1 พลเรือ 1 พลราบ (เบี้ย) 1 มีพระราชา (ขุน) เป็นจอมทัพ ตั้งเล่นบนแผ่นกระดานจัดขึ้นเป็นตาราง 64 ช่อง วิธีเล่นหมากรุกเดิมที่เรียกว่าจัตุรงค์นั้น ไม่เหมือนอย่างที่เล่นกันในปัจจุบัน มีอธิบายอยู่ในหนังสือมหาภารตะว่า เป็นตัวหมากรุก 4 ชุด แต้มสีต่างกัน สีแดงชุดหนึ่ง สีเขียวชุดหนึ่ง สีเหลืองชุดหนึ่ง สีดำชุดหนึ่ง ในชุดหนึ่งนั้น ตัวหมากรุกมีขุน 1 ตัว ช้าง (โคน) 1 ตัว ม้า 1 ตัว เรือ 1 ตัว เบี้ย 4 ตัว รวมเป็นหมากรุก 8 ตัว สมมติว่าเป็นกองทัพของประเทศหนึ่ง ชุดทางขวามือสมมติว่าอยู่ประเทศทางตะวันออก พวกทางซ้ายมือว่าอยู่ประเทศตะวันตก ชุดข้างบนอยู่ประเทศทางทิศเหนือ ชุดข้างล่างอยู่ประเทศทิศใต้ คนเล่น 4 คนต่างถือหมากรุกคนละชุด แต่การเล่นนั้น พวกที่อยู่ทแยงมุมกัน เป็นสัมพันธมิตรช่วยกันรบกับอีกฝ่ายหนึ่ง ลักษณะเดินตัวหมากรุกอย่างจัตุรงค์นั้น ขุน ม้า เบี้ย เดินอย่างกับหมากรุกที่เราเล่นกัน แต่ช้างเดินอย่างเราเดินเรือกันทุกวันนี้ ส่วนเรือนั้นเดินทแยง (อย่างเม็ด) แต่ให้ข้ามตาใกล้เสีย 1 ตา แต่การที่จะเดินต้องใช้ทอดลูกบาต ลูกบาตนั้นทำเป็นสี่เหลี่ยมแท่งยาวๆ มี 4 ด้าน 2 แต้มด้านหนึ่ง 3 แต้มด้านหนึ่ง 4 แต้มด้านหนึ่ง 5 แต้มด้านหนึ่ง คนเล่นจะทอดลูกบาตเวียนกันไป ถ้าทอดได้แต้ม 5 บังคับเดินขุนหรือเบี้ย ถ้าทอดได้แต้ม 4 ต้องเดินช้าง ถ้าทอดได้แต้ม 3 ต้องเดินม้า ถ้าทอดได้แต้ม 2 ต้องเดินเรือ ต่อมา ราว พ.ศ.200 มีมหาอำมาตย์คนหนึ่งชื่อ สัสสะ ได้นำการเล่นจตุรงค์มาคิดดัดแปลงให้เล่นได้ 2 คน และเลิกวิธีทอดลูกบาต ให้เดินแต้มโดยใช้ปัญญาความคิดเอาชนะกัน เช่นเดียวกับอุบายการสงคราม

ภาพ:Champs2.jpg


        กระบวนหมากรุก ที่ว่า มหาอำมาตย์สัสสะ คิดถวายใหม่นั้น คือรวมตัวหมากรุกซึ่งเดิมเป็น 4 พวกนั้นให้เป็นแต่ 2 พวก ตั้งเรียงฝ่ายละฟากกระดาน (เช่นเดียวกับหมากรุกที่เราเล่นกันทุกวันนี้) เมื่อจัดเป็นกระบวนเป็น 2 ฝ่าย จะมีพระราชาฝ่ายละ 2 องค์ไม่ได้ จึงลดขุนเสีย 1 ตัว คิดเป็นตัวมนตรี (เม็ด) ขึ้นมาแทน หมากรุกอย่างที่มหาอำมาตย์สัสสะคิดแก้ไขนี้ ต่อมาแพร่หลายไปถึงนานาประเทศ ชาวประเทศอื่นจึงได้คิดดัดแปลงแก้ไขตามนิยมกันในประเทศนั้นอีกชั้นหนึ่ง หมากรุกที่เล่นในนานาประเทศทุกวันนี้จึงผิดเพี้ยนกันไปบ้าง แต่เค้ามูลยังเป็นแบบเดียวกัน เพราะต้นแบบแผนได้มาจากอินเดียเช่นเดียวกัน

หมากรุกรุ่นแรกของโลก

        มีการบันทึกทางประวัติศาสตร์ไว้ว่าหมากรุกรุ่นแรกของโลกเป็นเกม 4 กองทัพระหว่าง 4 ผู้เล่น ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องมีตัวหมาก 4 ชุด แม้จนถึงปัจจุบันก็ยังมีการใช้ชื่อของหมากรุกรุ่นแรก คือ Chatrang (เป็นสันสกฤตตรงกับคำว่า "จตุรงค์") โดยคำว่า จตุร แปลว่า สี่ และ รงค์ แปลว่าสี หรือ ฝ่าย

ภาพ:Set4Chaturanga.jpg
จาตุรงค์ หรือ Chatrang เป็นหมากรุกรุ่นแรกของโลก ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 สี 4 ฝ่าย เล่นโดยใช้ลูกเต๋า เป็นตัวกำหนดหมากที่จะเดิน

 


        ชื่อ Chatrang เท่าที่พบก็มีวรรณกรรมสมัยราชวงศ์ Sasanid(242-651) แห่งเปอร์เซีย เขียนขึ้นด้วยภาษาปาลาวีชื่อ Chatrang namakwor(A Manual of Chess) มาถึงเปอร์เซียยุคใหม่ก็ใช้ชื่อซึ่งแทบจะไม่แตกต่างคือ Shatranj คำนี้มีการวิเคราะห์ถกเถียงกันด้วยความเห็นที่แตกต่าง บ้างก็ว่าน่าจะมาจากความเชื่อในยุคอินเดียโบราณในเรื่องธาตุทั้ง 4 คือ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ แต่บ้างก็ว่าอาจจะมาจากฤดูทั้ง 4 และก็ยังมีการกล่าวถึงทฤษฎีอารมณ์ทั้ง 4 คือ รัก, โลภ, โกรธ, หลง แต่ก็ล้วนใช้เลข 4 เป็นกุญแจหลักทั้งสิ้น

        คำว่า Chess (หมากรุก) มาจากคำว่า Shah(King)ในภาษาเปอร์เซีย และ Checkmate(รุกจน) ก็มาจากคำว่า Shah mat (King died)

        ตัวหมากทั้งหมดที่ยังมีใช้อยู่ในหมากรุกหลากหลายชนิดของโลกจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย

        เป็นที่น่าสังเกตุว่าไม่ว่าจะเป็นชื่อตัวหมาก หรือวิธีการเดินหมากแทบจะไม่แตกต่างจากยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะหมากรุกไทย (ส่วน Elephant เดินเหมือน เฉีย หรือช้างของหมากรุกจีน)

  • King (ขุน)
  • Queen (เม็ด)
  • Bishop (ช้าง)
  • Knight (ม้า)
  • Rook (เรือ)
  • Pawn (เบี้ย)

หมากรุกไทย

        หมากรุกไทย เป็นเกมกระดานที่พัฒนามาจากหมากรุกของอินเดียที่ชื่อเกมว่า จตุรงค์ ลักษณะการเล่นเกมใกล้เคียงกับหมากรุกฝรั่ง นอกจากนี้ในประเทศกัมพูชามีเกมหมากรุก ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับหมากรุกไทยนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย

ภาพ: ตารางหมากรุกไทย.jpg
ตารางหมากรุกไทยตอนเริ่มเล่น

 

        หมากรุกไทย มีประวัติเริ่มในอินเดีย โดยมาจากตำนานของรามเกียรติ์ ตามตำนานกล่าวว่า ฝ่ายทศกัณฐ์นั้น เมื่อมีศึกเข้าประชิด นางมณโฑ มเหสีของทศกัณฐ์ เห็นทศกัณฐ์เครียดกับการศึกจึงคิดหาเกมให้สวามีได้ผ่อนคลาย โดยคิดเป็นเกมหมากรุกขึ้น โดยแต่เดิมใช้คนเล่น 4 คน เรียกว่า จตุรงค์ แต่ในภายหลังได้รับการปรับปรุงจนสามารถใช้ผู้เล่นเพียง 2 คนได้

ตัวหมากรุก

ขุน เป็นตัวหมากรุกที่สำคัญที่สุด มีการเดินและกินไปในทิศทางรอบตัวได้ แต่ไม่สามารถเดินเข้าไปในตากินของฝ่ายตรงข้ามได้ เม็ด มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้าน โคน มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้านและเดินไปทางข้างหน้า ม้า มีการเดินและกินเป็นรูปตัว L ในทิศทางรอบตัว สามารถข้ามหมากตัวอื่นได้ เรือ มีการเดินและกินไปในแนวตั้ง-แนวนอน ระยะยาว ไม่สามารถเดินข้ามตัวอื่นๆได้ เบี้ย มีการเดินไปทางข้างหน้าและกินในแนวทแยงด้านหน้า เมื่อเบี้ยไปถึงแนววางเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามจะกลายเป็นเบี้ยหงาย และมีการเดินและกินเช่นเดียวกับเม็ดทุกประการ

กติกาการเล่น

  • ผู้เล่นแต่ละคนผลัดกันเดินหมากของฝ่ายตนเองครั้งละ 1 ตัว
  • ถ้าเดินหมากของฝ่ายตัวเองไปในตำแหน่งที่หมากของฝ่ายตรงข้ามตั้งอยู่ หมากของฝ่ายตรงข้ามจะถูกกินและนำออกนอกกระดาน ยกเว้นขุนจะถูกกินไม่ได้
  • ถ้าเดินหมากไปในตำแหน่งที่ตาต่อไปสามารถกินขุนของฝ่ายตรงข้ามได้ จะเรียกว่ารุก โดยตาต่อไป
  • ฝ่ายตรงข้ามต้องป้องกันหรือเดินหนีไม่ให้ขุนอยุ่ในตำแหน่งที่จะถูกกิน
  • ถ้าขุนถุกรุกอยู่และไม่สามารถเดินหนีหรือป้องกันการรุกได้ จะถือว่ารุกจนและเป็นฝ่ายแพ้
  • ถ้าขุนไม่ถูกรุก แต่ในตาต่อไปไม่สามารถเดินหมากตัวใดๆได้เลย จะเรียกว่าอับ และจะเสมอกัน

 การนับศักดิ์

การนับศักดิ์กระดาน

        การนับโดยวิธีนี้ไม่ว่าจะมีตัวหมากอยู่บนกระดานกี่ตัวก็ตามให้เริ่มนับตั้งแต่ 1 เป็นต้นไปโดยฝ่ายเป็นรองเป็นผู้นับฝ่ายเดียว เมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเบี้ยคว่ำโดยฝ่ายเป็นรองหลือหมากตั้งแต่สองตัวขึ้นไปให้เริ่มนับศักดิ์กระดานตั้งแต่ 1 ถึง 64 โดยฝ่ายเป็นต่อจะต้องรุกให้จนใน 64 ตามิเช่นนั้นให้เสมอกัน ถ้าระหว่างนับศักดิ์กระดานฝ่ายเป็นรองถูกกินหมากตัวอื่นจนเหลือขุนเพียงตัวเดียวให้เปลี่ยนมานับศักดิ์หมาก เมื่อเริ่มนับศักดิ์กระดานแล้วฝ่ายเป็นต่อกลับกลายเป็นรองก็มีสิทธ์นับศักดิ์กระดานเพื่อหาเสมอได้


การนับศักดิ์หมาก

        การนับโดยวิธีนี้ให้นับตัวหมากของทั้งสองฝ่ายที่อยู่บนกระดานได้จำนวนเท่าใดก็ให้เริ่มนับศักดิ์หมากต่อไป เช่นมีตัวหมากอยู่บนกระดาน 7 ตัวก็ให้เริ่มนับ 8 โดยฝ่ายเป็นรองเป็นผู้นับฝ่ายเดียว เมื่อฝ่ายเป็นต่อมีหมากดังนี้

  • เรือลำเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 16 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
  • เรือสองลำต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 8 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
  • ม้าตัวเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 64 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
  • ม้าสองตัวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 32 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
  • โคนตัวเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 44 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
  • โคนสองตัวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองจนภายใน 22 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
  • สำหรับเม็ดและเบี้ยหงายนับ 64 ตาเดิน ไม่เช่นนั้นให้ถือว่าเสมอกัน
  • เมื่อได้เริ่มนับศักดิ์หมากแล้วถ้าฝ่ายเป็นรองกินหมากตัวใดตัวหนึ่งของฝ่ายเป็นต่อก็มิให้เปลี่ยนแปลงการนับเป็นอย่างอื่น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

- วิกิพีเดีย

- เว็บไซต์ ChessSiam

 
 


เรื่องของหมากรุก

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

กีฬาวิ่ง 31 ขา สามัคคี

กีฬาวิ่ง 31 ขา สามัคคี


เปิดอ่าน 33,445 ครั้ง
อาหารกับการออกกำลัง

อาหารกับการออกกำลัง


เปิดอ่าน 13,417 ครั้ง
พืชสมุนไพรพื้นบ้าน

พืชสมุนไพรพื้นบ้าน


เปิดอ่าน 46,031 ครั้ง
โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ

โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ


เปิดอ่าน 17,629 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

"พรมมิ" วัชพืชบำรุงสมอง

"พรมมิ" วัชพืชบำรุงสมอง

เปิดอ่าน 14,435 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะ
เปิดอ่าน 16,751 ☕ คลิกอ่านเลย

ขิงแก้ผมร่วง
ขิงแก้ผมร่วง
เปิดอ่าน 34,107 ☕ คลิกอ่านเลย

กินแอปเปิ้ล ลดไข้
กินแอปเปิ้ล ลดไข้
เปิดอ่าน 37,355 ☕ คลิกอ่านเลย

ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 7 ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่ 3
ฟุตซอล(Futsal): กติกาข้อ 7 ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่ 3
เปิดอ่าน 36,177 ☕ คลิกอ่านเลย

สรรพคุณของ "เสลดพังพอนตัวผู้"
สรรพคุณของ "เสลดพังพอนตัวผู้"
เปิดอ่าน 16,588 ☕ คลิกอ่านเลย

9 อาการป่วยเพราะน้ำ(ในตัว) ขึ้น-ลง
9 อาการป่วยเพราะน้ำ(ในตัว) ขึ้น-ลง
เปิดอ่าน 28,001 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

วงจรไฟฟ้า
วงจรไฟฟ้า
เปิดอ่าน 64,179 ครั้ง

ข้อสอบ O-NET รูปแบบอัตนัย ภาษาไทย ป.6 มีจำนวนกี่ข้อ กี่คะแนน และออกเนื้อหาอะไรบ้าง
ข้อสอบ O-NET รูปแบบอัตนัย ภาษาไทย ป.6 มีจำนวนกี่ข้อ กี่คะแนน และออกเนื้อหาอะไรบ้าง
เปิดอ่าน 27,559 ครั้ง

การประเมินผลการเรียนโดยการสัมภาษณ์
การประเมินผลการเรียนโดยการสัมภาษณ์
เปิดอ่าน 30,726 ครั้ง

สื่อวีดิทัศน์การพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้น ม.ต้น ผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
สื่อวีดิทัศน์การพัฒนาสมรรถนะการอ่านขั้นสูงสำหรับนักเรียนชั้น ม.ต้น ผ่านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
เปิดอ่าน 12,622 ครั้ง

คลิปรถตู้อุบลฯ รับผู้โดยสารแน่นคัน 15 ที่นั่ง ยืนอีกเป็นสิบ
คลิปรถตู้อุบลฯ รับผู้โดยสารแน่นคัน 15 ที่นั่ง ยืนอีกเป็นสิบ
เปิดอ่าน 10,798 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 096-7158383

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ