|
|
• การวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น รายวิชาเพิ่มเติม ส40215
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น รายวิชาเพิ่มเติม ส40215
ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น รายวิชาเพิ่มเติม ส40215
ภูมิปัญญาท้องถิ่นนครไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3
ชื่อผู้เขียน นายวัลลภ เกษประสิทธิ์
ตำแหน่ง ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน โรงเรียนนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่จัดทำ 2552
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น รายวิชาเพิ่มเติม ส40215 ภูมิปัญญาท้องถิ่น นครไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนครไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 3 มีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร 4) การประเมินผลและการปรับปรุงหลักสูตร โดยทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนครไทย จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 45 คน โดยใช้เวลา 40 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) แบบสนทนากลุ่ม 4) แบบทดสอบ 5) แบบสังเกตพฤติกรรม 6) แบบประเมินผลงานนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ ( % ), การวิเคราะห์เนื้อหา ( Content analysis), ค่าเฉลี่ย ( Mean ), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D ), t test แบบ Dependent
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า รัฐบาลต้องจัดการศึกษาให้เกิดความรู้คู่คุณธรรม ให้องค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วม อนุรักษ์ ฟื้นฟู และ สืบสานมรดกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย และส่งเสริมให้จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชน สังคมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่า องค์ประกอบของหลักสูตร ประกอบด้วย หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง คำอธิบายรายวิชา ขอบข่ายเนื้อหา เวลาเรียน แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและประเมิน และมีแผนการจัดการเรียนรู้ 7 แผนการจัดการเรียนรู้ ขอบข่ายเนื้อหาประกอบด้วย การสืบสานความเป็นมาของอำเภอนครไทย การทำเกลือจากบ่อเกลือพันปี การผลิตน้ำปรุงรสจากใบกระทอน ศิลปะพื้นบ้านการแทงหยวก และมะเฮ็งไข่ปลา ผู้เชี่ยวชาญประเมินองค์ประกอบของหลักสูตรมีความสอดคล้องเหมาะสม ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นำหลักสูตรไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกผาปีที่ 4 โรงเรียนนครไทย โดยผู้สอนได้ร่วมกับผู้รู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนครไทย และนักวิชาการวัฒนธรรมอำเภอนครไทย มีกิจกรรมการเรียนการสอน โดยจัดทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นนครไทย จัดนิทรรศการโครงงานภูมิปัญญาท้องถิ่นนครไทย การนำเสนอสื่อ E book ผลการประเมินผลและปรับปรุงเหลักสูตร พบว่า นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นนครไทย ก่อนและหลังใช้หลักสูตรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 นักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคนและจัดทำผลงานได้ถูกต้องน่าสนใจ มีจิตสำนึกและเห็นคุณค่า ประโยชน์ที่ได้รับ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นักเรียน นักวิชาการวัฒนธรรมอำเภอนครไทย และครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรว่า แผนการจัดการเรียนรู้ ควรมีการปรับปรุงในเรื่องระยะเวลาให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะสมกับเนื้อหา
|
โพสต์โดย นายวัลลภ เกษประสิทธิ์ : [30 มี.ค. 2553] อ่าน [1217] ไอพี : 192.168.212.14, 202.
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก
|
|
|
|
|
|
|
โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2. ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป
3. สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น
7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป
** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**
|
|
|
|


เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด
|