ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การสร้างนวัตกรรมพัฒนาทักษะการ่อานจับใจความสำคัญ

การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือ

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและหาคุณภาพเครื่องมือทั้ง 4 ชนิด โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ทั้งนี้จะแสดงรายเอียดของการดำเนินการสร้างเครื่องมือแต่ละชนิดนั้นไปโดยลำดับ ดังนี้

1. แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสนอแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง ใช้เวลาสอน 12 ชั่วโมง มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน รวมทั้งหมด 12 ชั่วโมง ดังนี้

1.1 ศึกษารายละเอียดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านดงซ่อม

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สาระที่ 1 การอ่าน รวมถึงศึกษาเอกสารประกอบการใช้หลักสูตรเพื่อศึกษาจุดมุ่งหมายของหลักสูตรเนื้อหา และจุดประสงค์การเรียนรู้ภาษาไทย

1.2 ศึกษาเอกสารตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ และ

การจัดการเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL

1.3 ศึกษาและคัดเลือกบทอ่านให้ตรงกับตัวชี้วัดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

1.4 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หัวข้อการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก ซึ่งแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นตอน การจัดการเรียนรู้ดังนี้

1.4.1 การเตรียมความพร้อมและให้ความรู้พื้นฐานด้านการอ่านจับใจความ และการเรียนรู้ตามขั้นตอนของรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกได้แก่

1.5 การเตรียมความพร้อมและให้ความรู้พื้นฐานด้านการอ่านจับใจความและ การเรียนรู้ตามขั้นตอนของรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกได้แก่

1.5.1 ชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้

1.5.2 ชี้แจงกิจกรรมการเรียนรู้และการบันทึกข้อมูลแบบฝึก KWDL

1.6 การจัดกิจกรรมฝึกความสามารถด้านการอ่านตอนมีขั้นตอน ดังนี้

3.2.1 นำเข้าสู่บทเรียน ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ทบทวนขั้นตอนการเรียนรู้ตามเทคนิค KWDL และการเขียนตอบ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ ให้เวลา 10 นาที

3.2.2 ขั้นกิจกรรมการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL มี 4 กิจกรรม ดังนี้

1) นำเข้าสู่บทเรียน ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ทบทวนขั้นตอนการเรียนรู้ตามเทคนิค KWDL และการเขียนตอบ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ ให้เวลา 10 นาที

2) ขั้นกิจกรรมการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL มี 4 กิจกรรม ดังนี้

2.1) กิจกรรมที่ 1 ขั้น K (What we know) คือ ครูสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่นักเรียนเคยรู้จัก ครูให้นักเรียน อ่านชื่อเรื่อง นิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น และตอบคำถาม กิจกรรมที่ 1 ฉันรู้

2.2) กิจกรรมที่ 2 ขั้น W (What we want toknow) คือ 1. อธิบายเรื่องการตั้งคำถาม การตอบคำถาม กระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันคิดและตั้งคำถามถึงสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้เกี่ยวกับ “นิทานเรื่อง..........” ในกิจกรรมที่ 2 ฉันอยากรู้ โดยครูคอยช่วยเหลือแนะนำ และตั้งคำถามเพิ่มเติมร่วมกับนักเรียน เช่น ในเรื่องนี้มีใครบ้าง เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นที่ไหน เหตุการณ์สำคัญของเรื่องนี้มีอะไรบ้าง เหตุการณ์ตอนจบของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ข้อคิดของนิทานเรื่องนี้คืออะไร ถ้านักเรียนเป็น.........นักเรียนควรทำอย่างไร

2.3) กิจกรรมที่ 3 ขั้น D (What we do to find out) คือ ครูให้นักเรียนอ่านแบบฝึกอ่าน จับเวลาในการอ่าน 15 นาที ครูให้นักเรียนหาคำศัพท์ พร้อมความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ในกิจกรรมที่ 3 คำศัพท์แสนกล โดยครูชี้แนะ ให้ความช่วยเหลือในการเปิดหาความหมาย

2.4) กิจกรรมที่ 4 ขั้น L (what we have Learned) คือ กระตุ้นให้นักเรียนบอกสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วหลังจากการอ่านนิทานลงในแบบฝึก กิจกรรมที่ 4 ฉันเข้าใจ ให้นักเรียนช่วยกันตรวจสอบความรู้ที่นักเรียนรู้แล้ว กับสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้ที่ตั้งคำถามไว้ในขั้น W (What we want to know) ว่าได้ตอบคำถามครบทุกข้อหรือใม่ โดยครูยกตัวอย่างการตั้งคำถามก่อนอ่าน แบบฝึกอ่าน และหลังจากการอ่านแบบฝึกอ่านแล้วครูสามารถตอบคำถามของตนเองได้ ครูกระตุ้นให้นักเรียนจัดลำดับเนื้อหาที่ได้อ่านจากนิทาน และตอบคำถามในกิจกรรมที่ 5 ฉันตอบได้ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ผลเป็นอย่างไร และนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ครูสรุปกิจกรรมจากการอ่านแบบฝึกอ่าน

1.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกจำนวน 6 แผน ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องจากนั้นปรับปรุงตามข้อแนะนำ

1.6 นำแผนจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ได้แก่จำนวนผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนการสอนและด้านการวัดผลประเมินผล ตรวจสอบความถูกต้องและความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์ เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ ( Index of Item Objective Congruence: IOC) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 177) ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้

ให้คะแนนเท่ากับ 1+ เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์

ให้คะแนนเท่ากับ 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าแผนจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์

ให้คะแนนเท่ากับ –1 เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้ไม่มีความ สอดคล้องกับจุดประสงค์

จากนั้นคำนวณค่า IOC จากสูตร

IOC = (∑▒R)/N

IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์

R หมายถึง คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน

∑▒R หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

N หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องกันในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เมื่อนำผลจากการพิจารณา IOC ของผู้เชี่ยวชาญทั้งคน 3 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผลมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00

1.7 นำแผนการจัดการเรียนรู้มาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญโดย ปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการสอนเพิ่มเติม

1.8 นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญแล้วไปใช้เป็นเครื่องมือในการวิจัย

2. แบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL มีรายละเอียดการสร้างและการหา ประสิทธิภาพของเครื่องมือซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างและพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยยึดลำดับขั้นตอนการสอน ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ซึ่งบทอ่านมีความเหมาะสมกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คือ เรียงลำดับแบบฝึกจากง่ายไปหายากมีภาพประกอบเพื่อดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียนทั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้สื่อประเภท นิทานอีสป ซึ่งแบบฝึกผู้วิจัยได้จัดสร้างขึ้นด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL มีนิทานทั้งหมด 6 เรื่อง ดังนี้

แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น

แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง ลากับตั๊กแตน

แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง เม่นกับงู

แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายกับเต่า

แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายตื่นตูม

แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง คนตัดไม้กับเทพารักษ์

2.1 ศึกษาหลักสูตร แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแบบฝึก

2.2. ศึกษาวิธีการสร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความจากงานวิจัยและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความ

2.3 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

2.4 ศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL

2.5 ศึกษาความสนใจในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยสัมภาษณ์จากครูผู้สอนวิชาภาษาไทย โรงเรียนบ้านดงซ่อม ในระดับชั้นประถมศึกษา และสอบถามจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เกี่ยวกับความสนใจในการอ่านของนักเรียน แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อคัดเลือกเนื้อหาจากความสนใจในการอ่านของนักเรียน ประกอบด้วย นิทานอีสป โดยได้กำหนดเกณฑ์ร่วมกันระหว่างครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สรุปว่าควรเลือกเรื่องที่มีลักษณะดังนี้

2.5.1 ภาษาที่ใช้มีความยากง่ายเหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของนักเรียน

2.5.2 เนื้อเรื่องแต่ละประเภทมีความยาวพอเหมาะกับช่วงความสนใจของนักเรียน

2.5.3 เนื้อเรื่องที่นำมาให้อ่านเป็นเนื้อเรื่องที่นักเรียนไม่เคยอ่านหรือไม่เคยทำแบบฝึกหัดมาก่อน

2.6 สร้างแบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง ลากับตั๊กแตน แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง เม่นกับงู แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายกับเต่า แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายตื่นตูม แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง คนตัดไม้กับเทพารักษ์ จะมีกิจกรรมตามขั้นตอนในการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL

2.7 เสนอแบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความถูกต้องจากนั้นปรับปรุง แก้ไขแบบฝึกการอ่านจับใจความตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

2.8 นำแบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุง แล้วไปให้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) แล้วหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ ( Index of Objective Congruence: IOC) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 177) ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้

ให้คะแนนเท่ากับ 1+ เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์

ให้คะแนนเท่ากับ 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าแผนจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์

ให้คะแนนเท่ากับ –1 เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้ไม่มีความ สอดคล้องกับจุดประสงค์

จากนั้นคำนวณค่า IOC จากสูตร

IOC = (∑▒R)/N

IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์

R หมายถึง คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน

∑▒R หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

N หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องกันในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เมื่อนำผลจากการพิจารณา IOC ของผู้เชี่ยวชาญทั้งคน 3 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผลมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00

2.9 นำแบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจเรียบร้อยแล้วมาปรับปรุงแก้ไขตามข้อแนะนำต่างเกี่ยวกับภาพประกอบในการสื่อความ ๆ โดยปรับเปลี่ยน ให้สื่อความหมายได้ดีดึงดูดความสนใจโดยเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีการเรียงลำดับเนื้อหาของแบบฝึกการอ่านจับใจความ จากนิทานทั้ง 6 เรื่อง จากง่ายไปยาก แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง ลากับตั๊กแตน แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง เม่นกับงู แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายกับเต่า แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายตื่นตูม แบบฝึกอ่านจับใจความนิทานเรื่อง คนตัดไม้กับเทพารักษ์ โดยแบบฝึกแต่ละชุดมีขั้นตอนที่ไม่สับสนง่ายต่อการเข้าใจ ข้อความอธิบายชี้แจงในแต่ละกิจกรรมของแบบฝึก มีการปรับเปลี่ยนให้มีความสมบูรณ์เพื่อให้สามารถสื่อความได้ชัดเจนและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

3. แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความเป็นข้อสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกทั้งหมด 10 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนและหลังเรียน ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

3.1 ศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

3.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ และวิธีการสร้างเครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา วิเคราะห์

เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้

3.3 สร้างตารางวิเคราะห์ข้อสอบ โดยศึกษาจากเนื้อหาและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ซึ่งข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้และครอบคลุมเนื้อหาในแบบฝึกและแผนการเรียนรู้

3.4 วิเคราะห์ข้อสอบ ข้อคำถามสอดคล้องกับผลการเรียนรู้และครอบคลุมเนื้อหาในแบบฝึกและแผนการเรียนรู้

3.5 สร้างแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความ ที่เป็นข้อสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 1 ฉบับรวม 15 ข้อ จากนั้นคัดเลือกข้อสอบที่มีคุณภาพ 10 ข้อ มาใช้ในการวิจัย

3.6 เสนอแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความต่อผู้เชี่ยวชาญ

เพื่อตรวจสอบการใช้ภาษาความถูกต้อของข้อคำถาม จากนั้นปรับปรุงและแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญวิทยานิพนธ์

3.7 นำแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการวัดผล และประเมินผล ตรวจสอบการใช้ภาษา ความถูกต้องของข้อคำถาม แล้วหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่างจุดประสงค์ เนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ (Index of Item Objective Congruence: IOC) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 186) โดยมีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

ให้คะแนนเท่ากับ 1+ เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์

ให้คะแนนเท่ากับ 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าแผนจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์

ให้คะแนนเท่ากับ –1 เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้ไม่มีความ สอดคล้องกับจุดประสงค์

จากนั้นคำนวณค่า IOC จากสูตร

IOC = (∑▒R)/N

IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์

R หมายถึง คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน

∑▒R หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

N หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องกันในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เมื่อนำผลจากการพิจารณา IOC ของผู้เชี่ยวชาญทั้งคน 3 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผลมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00

3.8 นำแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไป ทดลองใช้(Tryout) กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 โรงเรียนบ้านดงซ่อม อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร จำนวนที่เคยเรียนเรื่องการอ่านจับใจความมาแล้ว 15 คน

3.9 นำผลการทดสอบมาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อหาประสิทธิภาพรายข้อ โดยหาค่า ความยากง่าย (p) และค่าอำนาจจำแนก (r ) คัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.25-0.80 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20-0. 67 โดยคัดเลือกข้อสอบที่มีค่าความยากง่ายและอำนาจจำแนก

ตามเกณฑ์มาใช้จำนวน 10 ข้อ

3.10 วิเคราะห์ความเชื่อมั่น (Reliability) ตามสูตร KR-20 ของคูเดอร์ และริชาร์ดสัน

(Kuder and Richardson) ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความเท่ากับ 0.78

3.11 นำแบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านจับใจความที่สมบูรณ์แล้วไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ทดสอบก่อนการทดลอง และทดสอบหลังการทดลอง

4. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการที่เรียนรู้ด้วยด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกมีขั้นตอน ดังนี้

4.1 ศึกษาการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นจากเอกสาร ตำราที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบรูปแบบโครงสร้างและหลักการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น

4.2 แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 3 ที่ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การพัฒนาการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกมาตราส่วนประเมินค่า(Rating Scale) 3 ระดับ คือ 3 หมายถึง มาก 2 หมายถึง ปานกลาง 1 หมายถึง น้อย จำนวน 8 ข้อ

ใช้สำหรับสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนรายบุคคล ซึ่งคำถามที่ใช้มีการกำหนดค่าความคิดเห็น 3 ระดับ ดังนี้ เห็นด้วยมาก เห็นด้วยปานกลางและเห็นด้วยน้อย รายละเอียดดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 เกณฑ์การกำหนดค่าความคิดเห็น

ระดับความคิดเห็น ค่าคะแนนเชิงนิมาน

มาก 3

ปานกลาง 2

น้อย 1

สำหรับการให้ความหมายของค่าเฉลี่ยคิดเห็นที่วัดได้ ผู้วิจัยกำหนดเกณฑ์ ดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 เกณฑ์การแปลความหมายของค่าระดับความคิดเห็น

ค่าเฉลี่ย ระดับความคิดเห็นเชิงนิมาน

2.50 – 3.00 มาก

1.50 – 2.49 ปานกลาง

1.00 – 1.49 น้อย

4.3 นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและครอบคลุมของด้านคำถามจากนั้นปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถามความคิดเห็นตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

4.4 นำแบบสอบถามความคิดเห็นที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านการสอน และด้านการวัดและประเมินผลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ในการถาม (Index of Item Objective Congruence: IOC) (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 197) ซึ่งมีเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้

ให้คะแนนเท่ากับ 1+ เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์

ให้คะแนนเท่ากับ 0 เมื่อไม่แน่ใจว่าแผนจัดการเรียนรู้มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์

ให้คะแนนเท่ากับ –1 เมื่อแน่ใจว่าแผนการจัดการเรียนรู้ไม่มีความ สอดคล้องกับจุดประสงค์

จากนั้นคำนวณค่า IOC จากสูตร

IOC = (∑▒R)/N

IOC หมายถึง ดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้กับจุดประสงค์

R หมายถึง คะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่าน

∑▒R หมายถึง ผลรวมของคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด

N หมายถึง จำนวนผู้เชี่ยวชาญ

ค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไปถือว่ามีความสอดคล้องกันในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เมื่อนำผลจากการพิจารณา IOC ของผู้เชี่ยวชาญทั้งคน 3 ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ ด้านเนื้อหาด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผลมาคำนวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 - 1.00

4.5 นำแบบสอบถามความคิดเห็นไปใช้สอบถามความคิเห็นของนักเรียนหลังจาก

จัดกิจกรรมการเรียนรู้การสอนอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบฝึกครบทั้ง 5 แผนการจัดการเรียนรู้

การดำเนินการทดลอง

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีขั้นตอนในการดำเนินการทดลองดังนี้

1. การเตรียมความพร้อมและให้ความรู้พื้นฐานด้านการอ่านจับใจความและ การเรียนรู้ตามขั้นตอนของรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกได้แก่

1.1 ชี้แจงจุดประสงค์การเรียนรู้

1.2 ชี้แจงกิจกรรมการเรียนรู้และการบันทึกข้อมูลแบบฝึก KWDL

2. การจัดกิจกรรมฝึกความสามารถด้านการอ่านตอนมีขั้นตอน ดังนี้

2.1 นำเข้าสู่บทเรียน ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ ทบทวนขั้นตอนการเรียนรู้ตามเทคนิค KWDL และการเขียนตอบ ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน จำนวน 10 ข้อ ให้เวลา 10 นาที

2.2 ขั้นกิจกรรมการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL มี 4 กิจกรรม ดังนี้

2.2.1 กิจกรรมที่ 1 ขั้น K (What we know) คือ ครูสนทนาเกี่ยวกับนิทานที่นักเรียนเคยรู้จัก ครูให้นักเรียน อ่านชื่อเรื่อง นิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น และตอบคำถาม กิจกรรมที่ 1 ฉันรู้

2.2.2 กิจกรรมที่ 2 ขั้น W (What we want toknow) คือ 1. อธิบายเรื่องการตั้งคำถาม การตอบคำถาม กระตุ้นให้นักเรียนร่วมกันคิดและตั้งคำถามถึงสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้เกี่ยวกับ “นิทานเรื่อง..........” ในกิจกรรมที่ 2 ฉันอยากรู้ โดยครูคอยช่วยเหลือแนะนำ และตั้งคำถามเพิ่มเติมร่วมกับนักเรียน เช่น ในเรื่องนี้มีใครบ้าง เหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นที่ไหน เหตุการณ์สำคัญของเรื่องนี้มีอะไรบ้าง เหตุการณ์ตอนจบของเรื่องนี้เป็นอย่างไร ข้อคิดของนิทานเรื่องนี้คืออะไร ถ้านักเรียนเป็น.........นักเรียนควรทำอย่างไร

2.2.3 กิจกรรมที่ 3 ขั้น D (What we do to find out) คือ ครูให้นักเรียนอ่านแบบฝึกอ่าน จับเวลาในการอ่าน 15 นาที ครูให้นักเรียนหาคำศัพท์ พร้อมความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ในกิจกรรมที่ 3 คำศัพท์แสนกล โดยครูชี้แนะ ให้ความช่วยเหลือในการเปิดหาความหมาย

2.2.4 กิจกรรมที่ 4 ขั้น L (what we have Learned) คือ กระตุ้นให้นักเรียนบอกสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้วหลังจากการอ่านนิทานลงในแบบฝึก กิจกรรมที่ 4 ฉันเข้าใจ ให้นักเรียนช่วยกันตรวจสอบความรู้ที่นักเรียนรู้แล้ว กับสิ่งที่นักเรียนต้องการรู้ที่ตั้งคำถามไว้ในขั้น W (What we want to know) ว่าได้ตอบคำถามครบทุกข้อหรือใม่ โดยครูยกตัวอย่างการตั้งคำถามก่อนอ่าน แบบฝึกอ่าน และหลังจากการอ่านแบบฝึกอ่านแล้วครูสามารถตอบคำถามของตนเองได้ ครูกระตุ้นให้นักเรียนจัดลำดับเนื้อหาที่ได้อ่านจากนิทาน และตอบคำถามในกิจกรรมที่ 5 ฉันตอบได้ ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ผลเป็นอย่างไร และนิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ครูสรุปกิจกรรมจากการอ่านแบบฝึกอ่าน

3. การวัดและประเมินผล โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน ตรวจผลงานและให้ข้อมูลย้อนกลับครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผล

4. แบบฝึกอ่านจับใจความด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL หมายถึงสื่อการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ตามแนวคิดด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความร่วมกับกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดงซ่อม ประกอบด้วยนิทาน 6 เรื่อง มีกิจกรรมการเรียนรู้โดยเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยากดังนี้

4.1 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง มดง่ามกับจักจั่น โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย

- กิจกรรมฉันรู้ (K)

- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)

- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)

- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)

4.2 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง ลากับตั๊กแตน

- กิจกรรมฉันรู้ (K)

- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)

- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)

- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)

4.3 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง เม่นกับงู

- กิจกรรมฉันรู้ (K)

- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)

- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)

- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)

4.4 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายกับเต่า

- กิจกรรมฉันรู้ (K)

- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)

- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)

- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)

4.5 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง กระต่ายตื่นตูม

- กิจกรรมฉันรู้ (K)

- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)

- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)

- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)

4.6 อ่านจับใจความนิทานเรื่อง คนตัดไม้กับเทพารักษ์

- กิจกรรมฉันรู้ (K)

- กิจกรรมฉันอยากรู้ (w)

- กิจกรรมคำศัพท์แสนกล (D)

- กิจกรรมฉันเข้าใจ , กิจกรรมฉันตอบได้ (L)

3. ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ

4. ทำการทดสอบหลังเรียน (Posttest) นำแบบทดสอบชุดเดียวกันกับแบบทดสอบก่อนเรียน นำมาทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 คน ใช้เวลา 15 นาที และให้นักเรียนทำแบบสอบถามความคิดเห็น

5. รวบรวมคะแนนจากการทดสอบที่ได้ไปหาค่าทางสถิติโดยรวบรวมคะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนเปรียบเทียบกับหลังเรียนเพื่อหาค่าคะแนนที่เพิ่มขึ้นของคะแนน ความสามารถด้านการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL

การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

การวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย

1. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือสำหรับการวิจัยครั้งนี้มีรายละเอียด ดังนี้

1.1 ตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หัวข้อ

การอ่านจับใจความที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสนอแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Item Objective Congruence: IOC) ซึ่งถ้าค่า IOC มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 0.5 (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 177) แสดงว่าแผนการจัดการเรียนรู้นั้นใช้ได้

1.2 ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความดำเนินการดังนี้

1.2.1 ตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบทดสอบวัดความสามารถใน

การอ่านจับใจความ โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Item Objective Congruence:IOC) ซึ่งถ้าค่า IOC มีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ .05 (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 177) แสดงว่าข้อสอบข้อนั้นใช้ได้ตรวจสอบค่าความยากง่าย (P) และค่าอำนาจจำแนก (r) ของแบบทดสอบ

1.2.2 ตรวจสอบค่าความยากง่าย (p) คือ สัดส่วนระหว่างจำนวนผู้ตอบข้อสอบถูกในแต่ละข้อต่อจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด โดยใช้เกณฑ์ความยากง่ายระหว่าง 0.20-0.80 (มาเรียม

นิลพันธุ์,2549: 188)

1.2.3 การตรวจสอบค่าอำนาจจำแนก (r) คือ การตรวจสอบว่าข้อสอบ สามารถจำแนกนักเรียนเก่งและอ่อนได้ดีเพียงใด โดยใช้เกณฑ์ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไปถือว่าข้อสอบสามารถจำแนกนักเรียนเก่งและอ่อนได้ดี (มาเรียม นิลพันธุ์, 2549: 186)

1.2.4 การตรวจสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability) คือ การตรวจสอบผลการวัดที่สม่ำเสมอและคงที่หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบใช้วิธีการของเดอร์ริชาร์ดสันคู จากสูตร KR 20

(มาเรียม นิลพันธุ์,2549: 182) โดยใช้เกณฑ์ค่าความเชื่อมั่นตั้งแต่ .70 ขึ้นไป

1.3 ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามความคิดเห็นที่ได้โดยการตรวจสอบ ความเที่ยงตรงโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ( Index of Item Objective Congruence: IOC)

1.4 การตรวจสอบสมมติฐาน

2. การวิเคราะห์ความสามารถในการอ่านจับใจความจากแบบทดสอบวัดความสามารถในด้านการอ่านจับใจความใช้ค่าสถิติดังนี้

2.1 ค่าเฉลี่ย (X)

2.2 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.)

2.3 การเปรียบเทียบความสามารถในด้านการอ่านจับใจความ ก่อนและหลัง การจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกวิเคราะห์ความแตกต่างโดยการทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent samples t-test) (มาเรียม นิลพันธุ์,2549: 197)

2.4 การวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยรูปแบบการสนอแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกโดยใช้ค่าร้อยละ

2.5 การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นแบบตรวจสอบรายการ (Rating Scale)

3 ระดับใช้ค่าเฉลี่ย (X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึก เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบแผนการวิจัยแบบก่อนทดลอง (Per-Experimental Design)

แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน ( The One-group Pretest-posttest Design) มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดงซ่อม จำนวน 15 คน ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง จัดการเรียนรู้และเก็บข้อมูลด้วยตนเองจากนั้นนำมาเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWDL ร่วมกับแบบฝึกใช้การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน(Dependent samples t-test) และข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามความคิดเห็น ใช้การวิเคราะห์ค่า

ร้อยละ ความคิดเห็น 3 ระดับ ใช้ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

โพสต์โดย somphorn : [26 ก.พ. 2564 เวลา 11:44 น.]
อ่าน [2710] ไอพี : 223.207.224.215
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 17,349 ครั้ง
การส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งในย่าน UHF
การส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่ส่งในย่าน UHF

เปิดอ่าน 14,055 ครั้ง
สูตรอาหารแก้ท้องผูก
สูตรอาหารแก้ท้องผูก

เปิดอ่าน 31,060 ครั้ง
iPhone 6 เปิดตัวแล้ว ไอโฟน6 มีอะไรใหม่บ้าง มาดูกัน
iPhone 6 เปิดตัวแล้ว ไอโฟน6 มีอะไรใหม่บ้าง มาดูกัน

เปิดอ่าน 12,185 ครั้ง
พ่อกับลูกชาย คลิปซึ้งกินใจ ไว้เตือนใจตนครับ
พ่อกับลูกชาย คลิปซึ้งกินใจ ไว้เตือนใจตนครับ

เปิดอ่าน 17,838 ครั้ง
คํานาม
คํานาม

เปิดอ่าน 4,362 ครั้ง
กรมอนามัย เผย 6 วิธี ป้องกันโควิด-19 บนรถรับ-ส่งนักเรียน
กรมอนามัย เผย 6 วิธี ป้องกันโควิด-19 บนรถรับ-ส่งนักเรียน

เปิดอ่าน 33,263 ครั้ง
FOCUS ประเด็นจาก PISA : การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง
FOCUS ประเด็นจาก PISA : การศึกษาเวียดนาม: ทำไมนักเรียนจึงมีผลการประเมินสูง

เปิดอ่าน 32,619 ครั้ง
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เปิดอ่าน 10,938 ครั้ง
จะเลือกแปรงสีฟันแบบไหนดี ?
จะเลือกแปรงสีฟันแบบไหนดี ?

เปิดอ่าน 15,110 ครั้ง
บ้าเก่าไม่ทันหาย....บ้าใหม่กำลังมา
บ้าเก่าไม่ทันหาย....บ้าใหม่กำลังมา

เปิดอ่าน 21,342 ครั้ง
การวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศึกษา
การวิจัยระดับปริญญาโทและปริญญาเอกทางเทคโนโลยีการศึกษา

เปิดอ่าน 15,359 ครั้ง
ปลุกสมองตื่นตัวด้วย
ปลุกสมองตื่นตัวด้วย 'มื้อเช้า'

เปิดอ่าน 48,732 ครั้ง
ว่าด้วยเรื่อง ป.โทวิชาชีพครู
ว่าด้วยเรื่อง ป.โทวิชาชีพครู

เปิดอ่าน 10,711 ครั้ง
กลั้นปัสสาวะ เรื่องธรรมดาที่น่ากลัว
กลั้นปัสสาวะ เรื่องธรรมดาที่น่ากลัว

เปิดอ่าน 43,585 ครั้ง
กสศ. ผลิตสื่อให้ความรู้เรื่องโควิด-19 ฉบับภาษาถิ่น 4 ภาค
กสศ. ผลิตสื่อให้ความรู้เรื่องโควิด-19 ฉบับภาษาถิ่น 4 ภาค

เปิดอ่าน 21,097 ครั้ง
เทคนิคปลดหนี้ที่ควรรู้ หมดหนี้สินไว ๆ ต้องทำตามนี้
เทคนิคปลดหนี้ที่ควรรู้ หมดหนี้สินไว ๆ ต้องทำตามนี้
เปิดอ่าน 11,658 ครั้ง
โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (1)
โลกต้องให้ความสำคัญกับครู (1)
เปิดอ่าน 19,238 ครั้ง
การสะเดาะห์เคราะห์ด้วยการปล่อยปลา
การสะเดาะห์เคราะห์ด้วยการปล่อยปลา
เปิดอ่าน 217,211 ครั้ง
รูปแบบจำลอง S M C R Model
รูปแบบจำลอง S M C R Model
เปิดอ่าน 53,985 ครั้ง
พิชิตคณิตให้เป็นเรื่องง่าย
พิชิตคณิตให้เป็นเรื่องง่าย

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ