ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet

งานวิจัยในชั้นเรียน

เรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet

รายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2

ชื่อผู้วิจัย นางสาวอุไรวรรณ เทียนทอง

ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

ทักษะการเรียนรู้เป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน การได้รับหรือเข้าถึงสื่อต่าง ๆ ก็มีส่วนสำคัญในการสร้างความสนใจในการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างดีด้วย สำหรับนักเรียนแล้ว การพัฒนาความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ควรได้รับการเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นความสนใจของนักเรียนทั้งด้านสติปัญญาและด้านพฤติกรรม เพื่อให้การเรียนรู้มีความสมบูรณ์และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในการเรียนระดับสูงและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้

เป้าหมายของรายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 มุ่งเน้นให้นักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะ การเขียนโปรแกรมเพื่อฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ (coding) การนำความรู้ ทักษะการทำงานและ การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการจากเว็บไซต์หรือแหล่งข้อมูลอื่นไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทักษะ การเขียนโปรแกรมและการเรียนรู้ด้านวิทยาการคำนวณเป็นทักษะพื้นฐานที่สำคัญและจำเป็นในปัจจุบันไปแล้ว

จากความเป็นมาและความสำคัญข้างต้น เห็นได้ถึงความสำคัญของการการเรียนรู้วิชารายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 ผู้วิจัยจึงให้ความสำคัญและทำการศึกษาเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet รายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเรียนการสอนและต่อยอดความรู้ในการฝึกฝนและพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้หรือค้นหาตนเอง พร้อมทั้งนำผล การพัฒนาไปใช้ในการเรียนรู้รายวิชาอื่น เพื่อนำนักเรียนไปสู่การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพพร้อมเกิดความรู้และทักษะกับนักเรียนอย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อเสริมสร้างทักษะและพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet

2. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ในรายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2

สมมติฐานการวิจัย

เมื่อพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ในรายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 แล้วพบว่า นักเรียนมีความรู้/ทักษะการเขียนโปรแกรม พฤติกรรมการเรียนรู้ที่ดีและสูงกว่าก่อนใช้กิจกรรม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้ร่วมกันในกิจกรรมการเรียนรู้แบบออนไลน์ด้วยกระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ได้

2. ครูมีแนวทางในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนานักเรียนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ มาตรฐานตัวชี้วัดของรายวิชาและตามธรรมชาติของนักเรียน

ขอบเขตการวิจัย

ตัวแปรที่ทำการศึกษา

ตัวแปรต้น / ตัวจัดกระทำคือ การเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet

ตัวแปรตาม คือ ทักษะ/พัฒนาการและพฤติกรรมการเรียนรู้

ขอบเขตด้านเนื้อหา

ศึกษาการพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ในรายวิชา

ว22103 วิทยาการคำนวณ 2

ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษา/

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

โรงเรียนวัดธรรมจริยาภิรมย์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

เอกสารหรือวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

สุรางค์ โค้วตระกูล (2553: 185) กล่าวว่า การเรียนรู้หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือจากการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความรู้ของผู้เรียน

สื่อการเรียนการสอน (ทิศนา แขมมณี ,2550,หน้า10)

สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สื่อกลางที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่ไม่รู้หรืออยากจะเรียนรู้ ทำให้เกิดความคิด ความอ่านและเกิดความเจริญงอกงามทางสติปัญญาซึ่ง องค์ประกอบที่สำคัญ ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้

จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย (Gagne) ประกอบด้วย

ผู้เรียน (Learner) มีระบบสัมผัสและระบบประสาทในการรับรู้ สิ่งเร้า (Stimulus) คือสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจาก การเรียนรู้สื่อประสมหรือสื่อ มัลติมีเดีย (Multimedia) หรือสื่อหลายแบบ โดยในปัจจุบันมีการใช้สื่อกลาง ที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อยู่มากมายและเพื่อสอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอน ดังนี้

การเรียนการสอนด้วย E-Learning ยุค e มีวิวัฒนาการเริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2533 เมื่อมีเทคโนโลยีซอฟต์แวร์เบราเซอร์ที่ ช่วยให้การใช้อินเตอร์เน็ตทําได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทําให้เกิดการปฏิรูปทางด้านสารสนเทศอย่างกว้างขวาง รวมทั้งด้านการศึกษาด้วย จนพูดได้ว่ามนุษยชาติได้เข้าสู่ยุค e ตัวอักษร e แทนคําว่า อิเล็กทรอนิกส์ เช่น e-mail , e-Commerce, e-Learning ฯลฯ ปัจจุบันจึงไม่แปลกเลยที่ หลาย ๆ วงการ และสาขาวิชาชีพต่าง ๆ จะให้ความสําคัญกับคําว่า e-Learning รวมทั้งวงการการศึกษา ในประเทศไทยด้วยกิจกรรม e-Learning ในไทยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2542โดยได้มีการจัดฝึกอบรมเรื่อง e-Learning แก่คณาจารย์ของราชมงคลทั่วประเทศที่วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ ต่อมาสถาบันราชภัฏก็ได้มีการฝึกอบรมคณาจารย์จํานวนมากให้เข้าใจถึงการ เรียนแบบ e-Learning มากขึ้นแต่ก็ยังมีสถานศึกษาอีกหลาย ๆ ที่ที่มีระบบการเรียนการสอนแบบ e-Learning โดยการนําไฟล์ประกอบการเรียนการสอนภายในห้องเรียนต่างๆ นําไปแขวนบนระบบ การจัดการเรียนรู้ LMS (Learning Management System) แล้วให้นักเรียน นักศึกษา ดาวน์โหลดไปอ่านเป็นรูปแบบสื่อเสริมสื่อเติม ซึ่งจะไม่มีความแตกต่างจากการเรียนจากหนังสือมากนัก การเรียนการสอนแบบ e-Learning ที่จะทําให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดควรที่ประยุกต์นําทฤษฏีทางการศึกษาเข้ามาร่วมด้วย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอน (Instruction Design) สําหรับการเรียนการสอนแบบ e-Learning โดยเฉพาะ จนไปถึงการจัดกิจกรรมบนระบบ ระบบการจัดการเรียนรู้ โดยส่วนนี้ผู้สอนจะมีบทบาทมากขึ้นในการจัดการการเรียนการสอน eLearning บางครั้งเราคิดว่าการเรียนการสอนแบบ e-Learning จะทําให้อาจารย์ผู้สอนสบายขึ้นแต่จริง ๆ แล้วอาจารย์ผู้สอนมีหน้าที่และบทบาทมากขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบการเรียนการสอน 16 สําหรับ e-Learning ติดต่อประสานงานผู้ออกแบบสื่อ หรือบางครั้งอาจจะต้องรับบทบาทผู้ออกแบบและสร้างสื่อเสียเอง จัดกิจกรรมต่าง ๆ บนระบบการจัดการเรียนรู้และต้องคอยติดตามรายงานผลของข้อมูลนักเรียน นักศึกษา กรณีที่เป็นรายวิชาที่ต้องจัดการเรียนการสอนภายในห้องเรียนด้วยก็เป็นที่แน่นอนว่าอาจารย์ผู้สอนต้องรับบทบาทเป็นสองเท่า การจัดกิจกรรมบนระบบการจัดการเรียนรู้อย่างสมํ่าเสมอจะทําให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นและเข้ามาเรียนรู้อย่างจริงจัง การจัดกิจกรรมบนระบบการจัดการเรียนรู้เราสามารถที่จะนําทฤษฏีทางการศึกษาต่างๆ เข้ามาร่วมด้วย เช่น ทฤษฏีการเรียนแบบร่วมมือ (Co-operative Learning) ปัจจุบันระบบการจัดการเรียนรู้ LMS (Learning Management System) ที่ได้มาตรฐานสามารถที่จะโต้ตอบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเองได้อย่างง่ายดาย การฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเป็นคนที่มีความสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่จะทําให้การเรียนการสอนแบบ e-Learning เกิดประสิทธิภาพสูงสุด วิธีการเรียนแบบ e-Learning ไม่ได้เป็นเพียงการเรียนโดยการรอรับความรู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่เป็นการเรียนโดยที่ผู้เรียนต้องเป็นคนที่มีความสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงได้รับการฝึกฝนทักษะในการค้นหาข้อมูล การเรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งความรู้ การเลือกวิธีการเรียนรู้และวิธีการประมวลความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้การที่คนมีความสามารถในการเรียนรู้จะทำให้เกิดการพัฒนาอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง ซึ่งหากประเทศชาติมีประชาชนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่จะทำให้เกิดผลดีต่อประเทศในแง่ของการสร้างองค์ความรู้ของคนไทยและการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องและยังยืนการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย เครือข่ายการเรียนรู้(Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูล ข่าวสาร ประสบการณ์และการเรียนรู้ระหว่างบุคคลกลุ่มบุคคลองค์การและแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกันส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม เครือข่ายการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี การเรียนรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมทางการศึกษาของมนุษย์ทั้งในระดับประถมศึกษามัธยมศึกษาอุดมศึกษาและการศึกษาผู้ใหญ่โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์โปรแกรมที่ใช้ควบคุมระบบการทำงานและเครือข่ายการสื่อสาร การศึกษาในเครือข่ายการเรียนรู้นับเป็นการศึกษาแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning) เป็นการเรียนการสอนที่ไม่จำกัดเวลา สถานที่และบุคคลซึ่งผู้เรียน สามารถเรียนเวลาใด สถานที่ใดกับบุคคลใดก็ได้ โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบเครือข่ายภายในสถานศึกษาและเชื่อมต่อไปสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

คุณลักษณะพิเศษของเครือข่ายการเรียนรู้

- เป็นการเรียนร่วมกันและทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม

- สร้างกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กระทำมากกว่าเป็นผู้ถูกกระทำ

- จัดให้เครือข่ายการเรียนรู้เป็นเสมือนชุมชนของการเรียนรู้แบบออนไลน์

เมื่อนำระบบเครือข่ายการเรียนรู้เข้ามาใช้กับระบบการศึกษาทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างมากมายในวงการศึกษาดังนี้

• รูปแบบการเรียนการสอน

• บทบาทของผู้สอน

• บทบาทของผู้เรียน

• บทบาทของการเรียนการสอน

• ห้องเรียนสำหรับผู้สอน

• ศูนย์เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียน

• ฐานบริการข้อมูลการเรียน

• Student Homepage การเรียนการสอนออนไลน์ ( Online Teaching and Learning )

e-Book, e-Journal คือการเปลี่ยนหนังสือ/ตำรา (book) และวารสารวิชาการ (journal) ให้อยู่ในรูปแบบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์และมักจะเรียกดูได้ผ่าน Web รูปแบบที่นิยมคือ จัดให้อยู่ในรูปแบบของเอกสาร HTML หรือเอกสาร PDF (Portable Data Format) เอกสาร PDF ก็คือเอกสารที่ เตรียมด้วย Microsoft Word แต่แปลงให้เป็นไฟล์ PDF เพื่อที่ผู้ใช้สามารถอ่านและพิมพ์ได้เท่านั้น e-Library หรือ Virtual Library มีความหมายเดียวกันคือ ความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือที่ทําให้การเข้าถึงสารสนเทศที่อยูในห้องสมุดจะทําที่ใดก็ได้ผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่การสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการ การอ่านสารสนเทศที่ต้องการ ตลอดจนการยืม-คืนสารสนเทศที่ต้องการ ในปัจจุบันมหาวิทยาลัย/ห้องสมุดเป็นจํานวนมากมีความพยายามในการแปลงองค์ความรู้ที่สร้างขึ้นให้อยู่ในรูป ของ e-Book เช่น วิทยานิพนธ์/ ปริญญานิพนธ์ของนิสิต/นักศึกษา งานวิจัยและผลงานทางวิชาการของ อาจารย์และบุคลากร รวมทั้งเอกสารทุกชนิดที่จัดทําโดยมหาวิทยาลัย e-Educationหรือ Virtual Education หรือ Online Teaching and Learning คือรูปแบบการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหนึ่งที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือหลักในการดําเนินงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนที่ใดก็ได้ (anywhere) เมื่อใดก็ได้ (anytime) ซึ่งเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนทางไกล โดยที่ Online Teaching and Learning จะเน้นระบบและกลไกในการดําเนินงานแบบออนไลน์ Courseware คือเอกสารประกอบการเรียนการสอนที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สําหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบันนิยมทําในรูปของเอกสารเว็บ Courseware ที่ดีจะต้องได้รับออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีการแบ่งเนื้อหาออก เป็นบทเรียนแต่ละบทเรียนจะมีการกำหนดแนวคิดและวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน มีการนําเสนอเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน แหล่งวิทยาการที่เกี่ยวข้อง (resources) โดยเน้นที่องค์ความรู้จาก ห้องสมุดเสมือนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถจะเข้าถึงได้ทันที มีการทดสอบเพื่อประเมินว่า ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ในระดับใด มีการออกแบบให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อหาวิชา ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การสื่อสารผ่านเครือข่าย นอกจากนั้นแล้วการออกแบบ Courseware ที่ดีนั้นต้องใช้ความสามารถของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในสิ่งที่การนําเสนอในรูปแบบที่เอกสารสิ่งพิมพ์ ทําไม่ได้หรือทําได้ยาก e-Learning คือการเรียนรู้โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหลัก อาจจะเป็น การเรียนรู้อย่างไม่เป็นโครงสร้าง (unstructured) เช่น การสืบค้นสารสนเทศหรืออ่านสารสนเทศที่อยู่บนเว็บ เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง ตลอดจนถึงการเรียนรู้ที่เป็นโครงสร้าง (structured) หรือเป็นระบบ เช่น การเรียน Virtual University คือ มหาวิทยาลัยที่มีการเปิดการเรียนการสอนทางไกล โดยกิจกรรมหลัก ที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินการจัดการเรียนการสอนจะใช้ระบบออนไลน์เป็นหลัก ซึ่งก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ e-Commerce ทางการศึกษาการจัดการศึกษาแบบ Virtual University นี้อาจจะดําเนินการโดยใช้บุคลากรของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่อยู่คนละแห่งมาร่วมมือกันได้เป็นเครือข่ายการเรียนการสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดีย สื่อการสอนไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใด รูปแบบใดก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสําคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และทักษะต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสภาพสังคมปัจจุบันเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร การใช้สื่อการสอน ในรูปแบบที่เหมาะสมจึงมีความจําเป็นมากขึ้น เพราะสื่อจะช่วยให้การรับรู้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของสื่อและวิธีการเสนอสื่อนั้น ๆ ด้วยสื่อธรรมดาที่สุด เช่น ชอล์กและกระดานดําหรือ ไวท์บอร์ด หากมีการออกแบบการใช้ที่ดีก็อาจมีประสิทธิภาพในการสื่อความหมายมากกว่าการใช้สื่อที่ซับซ้อน และมีราคาแพงกว่าก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม สื่อแต่ละประเภทย่อมมีข้อดีและข้อจํากัดในตัวเอง สื่อมัลติมีเดีย ก็เช่นเดียวกับสื่ออื่น คือ มีทั้งข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ข้อได้เปรียบที่เห็นชัดเจนคือ ประสิทธิภาพของ เครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่มีขอบเขตจํากัด ทําให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถประมวลข้อมูล นําเสนอข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิภาพดังกล่าวนี้ เมื่อผนวกเข้ากับการออกแบบโปรแกรมที่ดียอมส่งผลดีต่อการเรียนการสอน ข้อเสียเปรียบของสื่อมัลติมีเดียก็มีอยู่ไม่น้อย ประการสําคัญคงเป็นราคาของคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็เป็นความซับซ้อนของระบบการทํางานซึ่งเมื่อเทียบกับสื่ออื่น ๆ นับว่า คอมพิวเตอร์เป็นสื่อที่มีความยุ่งยากในการใช้งานอย่างไรก็ตาม ความยุ่งยากของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ได้ลดลงตามลําดับ บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรม ได้พยายามทุกวิถีทางที่จะทําให้การใช้คอมพิวเตอร์มีความง่ายสําหรับคนทุกคนทุกอาชีพ เมื่อกล่าวถึง ความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์คนส่วนใหญ่จะคิดว่า ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่นั้น จะนํามาใช้งานอะไรได้บ้าง ตรงกับความต้องการหรือไม่ เพียงพอหรือไม่ ความคุ้มค่าอยู่ที่เราได้อะไรจากการใช้คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนนอกจากงานด้านบริหารจัดการแล้ว ความคุ้มค่าของการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ที่คุณภาพและปริมาณของสื่อมัลติมีเดียและแผนการใช้เพื่อการเรียนการสอนอีกด้วยสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้นคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดีทัศน์และข้อความเข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

- เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

- เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน คือ กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย padlet

ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย

ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษา การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ในรายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 ที่ได้ทำการวิจัย พบว่า เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้โดยใช้กระดานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ padlet ร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ของรายวิชา ว22103 วิทยาการคำนวณ 2 ไปแล้วนั้น มีจำนวนร้อยละของนักเรียนในห้อง ม.2 ที่มีผลการพัฒนาการเรียนรู้และพฤติกรรมการส่งงานที่ดีขึ้นร้อยละ 95 ของนักเรียนทั้งหมด และใช้แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนพบว่า นักเรียนมีความสุข สนุกสนานและร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้อย่างสนใจ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนเพื่อให้เกิดองค์ความรู้และมีกำลังใจในการทำงานและมีความพยายามในการเรียนรู้มากขึ้นในทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ ในทุกชั่วโมงจะมีการร่วมแสดงความคิดเห็นและช่วยเหลือเพื่อนที่พบเจอปัญหาในระหว่างทำกิจกรรมให้สามารถปฏิบัติได้จนประสบผลสำเร็จอย่างเป็นกัลยาณมิตรอีกด้วย

ข้อเสนอแนะ

1. การจัดเวลาสอนควรจัดให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับเวลาที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมผู้สอนต้องพยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมภายในเวลาที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยไป

2. ควรมีการแบ่งเวลาการซ่อมเสริมนักเรียนแต่ละวิชาอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดความเครียดกับการเรียนรู้ที่มากเกินไป

บรรณานุกรม

ทิศนา แขมณี. (2550). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพ ฯ:

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โพสต์โดย วรรณ : [2 ธ.ค. 2563 เวลา 13:47 น.]
อ่าน [6821] ไอพี : 1.10.233.227
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 19,321 ครั้ง
ตู้เก็บเอกสาร ในห้องเรียนมีประโยชน์อย่างไร
ตู้เก็บเอกสาร ในห้องเรียนมีประโยชน์อย่างไร

เปิดอ่าน 2,619 ครั้ง
ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้
ปลูกมะเขือเปราะกี่วันเก็บได้

เปิดอ่าน 13,028 ครั้ง
ทายนิสัยจากวิชาที่ชอบ
ทายนิสัยจากวิชาที่ชอบ

เปิดอ่าน 197,489 ครั้ง
บทบาทของครู
บทบาทของครู

เปิดอ่าน 15,168 ครั้ง
เลิกตามใจลูก ปลูกวินัยวัยเด็ก
เลิกตามใจลูก ปลูกวินัยวัยเด็ก

เปิดอ่าน 14,832 ครั้ง
ไฟล์ภาพ"GIF" อ่านว่า "จิฟ" ไม่ใช่"กิฟ!"
ไฟล์ภาพ"GIF" อ่านว่า "จิฟ" ไม่ใช่"กิฟ!"

เปิดอ่าน 10,920 ครั้ง
วิเคราะห์ทิศทางการเปิดประตูตามฮวงจุ้ย 7ส.ค.-7ก.ย.
วิเคราะห์ทิศทางการเปิดประตูตามฮวงจุ้ย 7ส.ค.-7ก.ย.

เปิดอ่าน 9,855 ครั้ง
"ส้มตำ" มีมานานหรือยัง?
"ส้มตำ" มีมานานหรือยัง?

เปิดอ่าน 15,681 ครั้ง
สรรพคุณของพืชผัก
สรรพคุณของพืชผัก

เปิดอ่าน 57,683 ครั้ง
จรรยาบรรณครู
จรรยาบรรณครู

เปิดอ่าน 20,590 ครั้ง
ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"
ปฏิรูปการศึกษา เรียนรู้จากผู้ประสบผลสำเร็จ : "เกาหลีใต้"

เปิดอ่าน 83,603 ครั้ง
10 วิธีช่วยให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์
10 วิธีช่วยให้ลูกเก่งคณิตศาสตร์

เปิดอ่าน 51,194 ครั้ง
คำบุพบท
คำบุพบท

เปิดอ่าน 352,715 ครั้ง
ครุ ลหุ เอก โท
ครุ ลหุ เอก โท

เปิดอ่าน 14,894 ครั้ง
Web 2.0
Web 2.0

เปิดอ่าน 18,152 ครั้ง
ชวนคนไทยร่วมใจ ปลูกต้นไม้ถวายพ่อหลวง
ชวนคนไทยร่วมใจ ปลูกต้นไม้ถวายพ่อหลวง
เปิดอ่าน 9,599 ครั้ง
แนะพ่อแม่ติดโปรแกรมไอซีทีเฮาส์คีปเปอร์
แนะพ่อแม่ติดโปรแกรมไอซีทีเฮาส์คีปเปอร์
เปิดอ่าน 13,009 ครั้ง
เชิญชวนสังเกตุปรากฏการณ์ธรรมชาติ สุริยุปราคา 26 มกราคม 2552
เชิญชวนสังเกตุปรากฏการณ์ธรรมชาติ สุริยุปราคา 26 มกราคม 2552
เปิดอ่าน 18,583 ครั้ง
โรคฉี่หนู...เชื้อร้ายที่มาพร้อมหน้าฝน
โรคฉี่หนู...เชื้อร้ายที่มาพร้อมหน้าฝน
เปิดอ่าน 15,229 ครั้ง
ปลูกมะนาว 10 ไร่ รายได้ 1.8 ล้านบาทต่อปี
ปลูกมะนาว 10 ไร่ รายได้ 1.8 ล้านบาทต่อปี

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ