ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ค้นหากระทู้
ตั้งกระทู้คำถามใหม่ กลับหน้าที่แล้ว
 
BEST PRACTICE : TBI RAOS Model สู่การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสานร

แบบเสนอเพื่อรับรางวัลวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ปีการศึกษา 2563

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12 จังหวัดนครศรีธรรมราช

ชื่อผู้ส่งประกวด นางสาวจินตนา ศุภศรี ตำแหน่ง ครูโรงเรียนสตรีทุ่งสง

ประเภทสถานศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษ

ประเภทผลงาน ด้านวิชาการ

โรงเรียน/ศูนย์พัฒนา วิชาภาษาอังกฤษ

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ชื่อผลงาน TBI RAOS MODEL ทีบีไอ ราวส์ โมเดล สู่การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

1. ความสำคัญของผลงานนวัตกรรมที่นำเสนอ

1.1 ความสำคัญของสภาพปัญหา

หนึ่งในเป้าหมายจากทั้งหมด 17 ข้อของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) ซึ่งต้องการเสริมสร้างมาตรฐานชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งองค์การสหประชาชาติ ได้จัดทำเป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals –SDGs) มุ่งหวังจะช่วยแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ เพื่อเสริมแนวคิด “ ไม่เป็นการทิ้งใครไว้ข้างหลัง” คือ Quality Education รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่ทุกคน

กฎบัตรอาเซียนข้อ 34 บัญญัติว่า “The working language of ASEAN shall be English” “ภาษาที่ใช้ในการทำงานของอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ” นั่นหมายความว่าประชาชนพลเมืองใน 10 ประเทศอาเซียนจะต้องใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น เพราะไม่เพียงแต่เจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้นที่จะต้องไปมาหาสู่ร่วมประชุม ปรึกษา หารือ และสื่อสารกัน และไม่เฉพาะนักธุรกิจและคนทำมาค้าขายระหว่างประเทศเท่านั้นที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการติดต่อธุรกิจระหว่างกัน แต่ในเมื่อทุกคนที่อยู่ในอาเซียนล้วนแล้วแต่เป็นพลเมืองของอาเซียนด้วยกันทุกคน และทุกคนจะต้องไปมาหาสู่ เดินทางท่องเที่ยว ทำความรู้จักคุ้นเคยต่อกัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน และที่สำคัญทุกคนจะต้องเดินทางข้ามพรมแดนเพื่อหางานทำและแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าให้กับชีวิต ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นเครื่องมืออันดับหนึ่งสำหรับพลเมืองอาเซียน ในการสื่อสารสร้างสัมพันธ์สู่โลกกว้างของภูมิภาคอาเซียน โลกแห่งมิตรไมตรีที่ขยายกว้างไร้พรมแดน โลกแห่งการแข่งขันไร้ขอบเขตภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม

หนึ่งในหลักการสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564)

คือ ยึด “คน”เป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม

สำหรับนโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2562 สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) โดยยึดกรอบการปฏิรูปการศึกษา น้อมนำพระราชกระแสของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ด้านการศึกษา ที่จะต้องมุ่งสร้างพื้นฐานให้เด็ก เยาวชน และผู้เรียนมีทัศนคติที่ถูกต้องในเรื่องสถาบันหลักของชาติ สร้างพื้นฐานชีวิต (อุปนิสัย) ที่เข้มแข็ง สร้างความรู้ ทักษะเพื่อให้มีอาชีพ มีงานทำ และได้นำเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ด้านการเสริมสร้างศักยภาพและทรัพยากรมนุษย์ ที่มุ่งให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง มีคุณภาพ พร้อมสำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 และในระดับชั้นมัธยมศึกษา มีนโยบายที่ให้เรียนภาษาอังกฤษ เน้นเพื่อการสื่อสาร และรูปแบบการสอนภาษาแบบเน้นภาระงาน หรือการปฏิบัติงาน ( Task-based Instruction : TBI ) จัดเป็นรูปแบบหนึ่งที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือทำ ได้คิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา ได้ใช้ภาษาอย่างมีความหมาย และได้ทำงานร่วมกันเป็นทีม เพื่อให้ผลงานสำเร็จสมบูรณ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ ข้อสำคัญ 2 ข้อ ในการขับเคลื่อนนโยบายและจุดเน้นไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ สามารถตอบสนองเป้าหมาย เจตนารมณ์ และวัตถุประสงค์คือ 1) ใช้กระบวนการพัฒนาคุณธรรม บูรณาการในทุกกระบวนการเรียนรู้ และ 2) เน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับทุกกลุ่มบุคคล ทุกระดับ ทุกประเภท สู่การลดความเหลื่อมล้ำในการรับการศึกษาที่มีคุณภาพในทุกหน่วยงาน

พันธกิจ (Mission) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ข้อที่ 2 คือการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความรู้ตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และมีความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 ข้อที่ 2 คือ ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานสู่ระดับสากล มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และมีความเป็นเลิศทางวิชาการ

โรงเรียนสตรีทุ่งสง มีพันธกิจ ข้อที่ 1 คือ พัฒนาและส่งเสริมด้านวิชาการสู่ความเป็นเลิศ 2. ส่งเสริมการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษและภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ในการสื่อสาร แต่จากรายงานผลการประเมินทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนที่ได้คะแนนระดับ 3 ขึ้นไป มีจำนวน 209 คน (จากจำนวน327 คน)คิดเป็นร้อยละ 63.91 ซึ่งไม่ถึงร้อยละ 70 ตามค่าเป้าหมายของกลุ่มสาระ

การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่กำหนดไว้

ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 ตารางแสดงค่าเฉลี่ยจากผลการประเมินทักษะการพูดสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ปีการศึกษา 2561

ระดับคะแนน เกณฑ์การพิจารณา ค่าเฉลี่ยจากผลการประเมินการพูดสื่อสาร

ระดับ 1

(1-2 คะแนน) พูดสื่อสารได้เพียงเล็กน้อย เนื่องจาก ออกเสียงผิดเกือบทั้งหมด ใช้คำศัพท์ไม่ถูกต้อง พูดเป็นคำ ๆขาดความต่อเนื่องจนสื่อความไม่ได้ มีความมั่นใจในการใช้ภาษาร้อยละ 10-20 24 คน

คิดเป็นร้อยละ 3.40

ระดับ 2

(3-4 คะแนน) พูดสื่อสารได้บ้าง เนื่องจาก ออกเสียงผิดบ่อยครั้ง พูดขาดความต่อเนื่องทำให้เข้าใจได้ยาก ความมั่นใจในการใช้ภาษาร้อยละ 30-40 94 คน

คิดเป็นร้อยละ 28.74

ระดับ 3

(5-6 คะแนน) พูดสื่อสารได้ในระดับพอใช้ เนื่องจาก ออกเสียงผิดบ้าง ใช้วงศัพท์ในวงจำกัด ใช้ไวยากรณ์ผิดไปบ้าง แต่ยังคงสื่อสารในระดับพอเข้าใจได้ มีความมั่นใจในการใช้ภาษาร้อยละ 50 152 คน

คิดเป็นร้อยละ 46.48

ระดับ 4

(7-8 คะแนน) พูดสื่อสารได้ในระดับดี แต่ยังมีการออกเสียงคำศัพท์และไวยากรณ์ผิดเพียงเล็กน้อย มีการหยุดคิดในขณะพูดบ้าง แต่ไม่ทำให้การสื่อสารขาดตอน มีความมั่นใจในการใช้ภาษา ร้อยละ 60-70 48 คน

คิดเป็นร้อยละ 14.67

ระดับ 5

(9-10 คะแนน) พูดสื่อสารได้ในระดับดีมาก พูดเข้าใจได้ง่าย ใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ในระดับที่เหมาะสม หากผิดพลาดจะสามารถพูดใหม่ได้ พูดสื่อสารได้อย่างต่อเนื่องอย่างเป็นธรรมชาติ มีความมั่นใจในการใช้ภาษา มากกว่าร้อยละ 80 9 คน

คิดเป็นร้อยละ 2.75

นอกจากนี้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชาภาษาอังกฤษ

ปีการศึกษา 2561 ที่มีระดับผลการเรียน 3 ขึ้นไป ไม่ถึงร้อยละ 80 (ภาคผนวก ก) ซึ่งไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ผู้เขียนจึงเห็นความสำคัญของการพัฒนาระดับผลการประเมินทักษะการพูดสื่อสารให้สูงขึ้น

1.2 แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนา

เพื่อส่งเสริมทักษะวิชาภาษาอังกฤษ สถาบันภาษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวง ศึกษาธิการได้จัดการแข่งขันการเล่านิทานภาษาอังกฤษ (Story Telling) เพื่อสร้างเวทีและเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เข้าร่วมการแข่งขันทักษะการเล่านิทานภาษาอังกฤษในระดับโรงเรียน เขตพื้นที่ ระดับภูมิภาคและระดับประเทศตั้งแต่ปี2549-ปัจจุบัน นอกจากนี้ จากประสบการณ์ในการส่งนักเรียนแข่งขันทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2554 – ปัจจุบัน ผู้เขียนได้ศึกษาเทคนิค กลวิธีการเล่านิทานภาษาอังกฤษไว้เป็นอย่างดี และการเล่านิทานนี้ จัดอยู่ในกระบวนการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร และการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาแบบเน้นภาระงาน(TBI) ซึ่งนอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอย่างมีความหมาย ด้วยการแสดงบทบาทสมมติ ได้ฝึกทักษะพูด ใช้น้ำเสียง สีหน้าท่าทางประกอบการใช้ภาษา ทำให้นักเรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมากขึ้น นอกจากนี้ นักเรียนยังได้เรียนรู้คุณธรรมจากเรื่องราวในนิทานภาษาอังกฤษ อันจะทำให้นักเรียนเป็นทั้งคนดี มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้คล่องแคล่ว และอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างมีความสุข ซึ่งตรงตามเป้าหมายของการจัดการศึกษาในระดับท้องถิ่น ภูมิภาคและระดับประเทศ

ผู้เขียนได้นำ “TBI RAOS Model ” มาสู่การจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ทำให้มีโอกาสได้คัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถในการเล่านิทานภาษาอังกฤษ เป็นตัวแทนส่งเข้าแข่งขันทักษะวิชาการ “เล่านิทานภาษาอังกฤษ” ในระดับต่าง ๆ ทั้งยังส่งเสริมทักษะการพูดเพื่อการสื่อสารให้นักเรียนทั้งชั้นเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นและเรียนรู้อย่างมีความสุขจากการได้แสดงบทบาทสมมติและได้ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ซึ่งเป็นที่มาของการคิดค้นนวัตกรรมการเล่านิทานภาษาอังกฤษ TBI RAOS Model ดังนี้

การเล่านิทานภาษาอังกฤษ โดยใช้นวัตกรรม TBI RAOS Model

TBI (Task-based Instruction) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดย

ยึดภาระงานเป็นฐาน หรือ มุ่งเน้นการปฏิบัติงาน ( รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงจาการปฏิบัติงาน โดยเน้นความหมายมากกว่ารูปแบบของภาษา ผ่านวิธีการพูดสื่อสาร )

R – Repetition หมายถึง การฝึกย้ำ ซ้ำ ทวน เพื่อความคล่องแคล่วในการใช้ภาษา

A – Achievability หมายถึง การเข้าถึงความความสำเร็จ ทำให้เกิดแรงจูงใจไปสู่เป้าหมาย

O – Opportunity หมายถึง การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ

S – Self confidence หมายถึง ความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ

ซึ่งจะเห็นได้ว่า TBI RAOS Model เป็นนวัตกรรมที่สามารถพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารผ่านการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาแบบเน้นภาระงาน(TBI) ซึ่งจะช่วยส่งผลในการพัฒนาทักษะการพูดและความมั่นใจในการใช้ภาษา อังกฤษ ซึ่งจะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ รวมถึงการแข่งขันทักษะในระดับต่าง ๆ

2. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

เป้าหมายเชิงปริมาณ

2.1 เพื่อเพิ่มผลการประเมินทักษะการพูดสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสตรีทุ่งสง

2.2 เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้

ผลการเรียน ระดับ 3 ขึ้นไป เป็นร้อยละ 80 ขึ้นไป

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

2.1 เพื่อยกระดับผลการทดสอบ O-NET โดยเฉพาะสาระภาษาเพื่อการสื่อสารให้สูงกว่าผลการทดสอบระดับชาติ

2.2 เพื่อพัฒนาทักษะการพูด และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สู่การแข่งขันในระดับต่าง ๆ

3. กระบวนการผลิตผลงาน หรือขั้นตอนของการดำเนินงาน

ผู้เขียนได้ดำเนินการพัฒนาผลงาน กระทั่งประสบผลสำเร็จ โดยการใช้กระบวนการ PDCA ดังนี้

Plan : วางแผนการดำเนินงาน

-วิเคราะห์สภาพปัญหาที่ทำให้นักเรียนขาดความมั่นในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

ซึ่งมีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติ O-NET

-วิเคราะห์เป้าหมาย จุดเน้นทางด้านการศึกษาภาษาอังกฤษของ ASEAN, แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12, ของกระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12, และของโรงเรียนสตรีทุ่งสง

- ศึกษาหลักสูตรและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ที่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงตามเป้าหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 การจัดการเรียนรู้แนวการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยเน้นภาระงาน TBI ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนดังนี้ คือ (1) ขั้นก่อนทำภาระงาน (Pre-task) (2) ระหว่างทำภาระงาน (Task Cycle) โดยครูทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงอยู่ห่างๆ คอยสนับสนุนแนะนำเมื่อนักเรียนต้องการความช่วยเหลือ

(3) ขั้นจุดประเด็นของภาษา (Language Focus)

 วางแผน คิด ออกแบบ TBI RAOS Model ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ

Do : ปฏิบัติตาม TBI RAOS Model

1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการแนวการสอนภาษาแบบเน้นภาระงาน(TBI)

2. ใช้กระบวนการ ฝึกซ้ำ ๆ ย้ำ ทวนจนสามารถใช้ภาษาได้คล่องแคล่ว ( R – Repetition )

หากพบว่าบทนิทานยากเกินไป สามารถปรับเปลี่ยนภาษาได้ เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้เข้าถึงความสำเร็จและพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ( A – Achievement ) ซึ่งจะนำไปสู่ความสุขในการเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

3. หาโอกาส/ เวทีให้นักเรียนได้แสดงความสามารถ ( O – Opportunity ) เพื่อส่งเสริมความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น ( S – Self -confidence )

Check : ตรวจสอบและประเมินผล

- ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวการแนวการสอนภาษาแบบเน้นภาระงาน(TBI)

- ประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ

- ประเมินผลการผลการทดสอบ O-NET สาระภาษาเพื่อการสื่อสาร

- รางวัลที่ได้จากการแข่งทักษะภาษาอังกฤษในระดับต่าง ๆ

Action : พัฒนาปรับปรุง

-สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ผลการทดสอบ O-NET และ การแข่งขันทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษ เสนอต่อผู้บริหารโรงเรียน เพื่อพัฒนา ต่อยอด และปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป

แผนภูมิ Best Practice : การใช้ TBI RAOS Model ราวส์ โมเดล สู่การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร

1. จัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวการสอน TBI 3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออก

TBI การจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษา

แบบเน้นภาระงาน

2. ฝึกทำซ้ำๆ / ให้ผู้เรียนเข้าถึงความสำเร็จ

R - Repetition การฝึกย้ำ ซ้ำ ทวน 4. เพิ่มความมั่นใจในการใช้ภาษา

A – Achievement

ปรับบทนิทานให้ผู้เรียนเข้าถึงความสำเร็จ

4. ผลการดำเนินงาน /ผลสัมฤทธิ์ / ประโยชน์ที่ได้รับ

4.1 ผลที่เกิดตามจุดประสงค์

4.1.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

1. ผลการประเมินทักษะการพูดสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เพิ่มขึ้นจาก 63.91 เป็นร้อยละ 76.87 ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมายของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2 ตารางแสดงค่าเฉลี่ยจากผลการประเมินการพูดสื่อสารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้ผลการประเมินระดับ 3 ขึ้นไป (จาก 5 ระดับ) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562

( ภาคผนวก ฉ )

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561

(จากจำนวน 327 คน) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562

(จากจำนวน 147 คน) เพิ่มขึ้นร้อยละ

จำนวน 209 คน

คิดเป็นร้อยละ 63.91 จำนวน 113 คน

คิดเป็นร้อยละ 76.87 12.96

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 (ภาคผนวก ข) ที่ได้ผลการเรียน ระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 90.47 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.96 เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2561 ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ตารางแสดงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562

ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เพิ่มขึ้นร้อยละ

79.51 90.47 10.96

4.1.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

(1) เพื่อยกระดับผลการทดสอบ O-NET และสาระภาษาเพื่อการสื่อสาร

ผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2562 แม้ไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะผลการทดสอบวิชาภาษาอังกฤษและผลการทดสอบเฉพาะสาระภาษาเพื่อการสื่อสารลดลงในทุกระดับ ทั้งระดับจังหวัด ระดับสังกัด ระดับภาคและระดับประเทศ แต่ผลการทดสอบวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีทุ่งสง ยังคงสูงกว่าระดับประเทศร้อยละ 5.60 และผลการทดสอบ สาระภาษาเพื่อการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าระดับประเทศ ร้อยละ 6.23 ดังตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ผลการทดสอบ O-NET ปีการศึกษา 2561 – 2562 วิชาภาษาอังกฤษและสาระภาษาเพื่อการสื่อสาร

คะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาอังกฤษ

โรงเรียน จังหวัด สังกัด ภาค ประเทศ

วิชาภาษาอังกฤษ ปี 2561 37.22 30.10 31.15 29.26 31.41

สาระ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ปี 2561 36.96 30.86 31.64 29.94 31.80

โรงเรียน จังหวัด สังกัด ภาค ประเทศ

วิชาภาษาอังกฤษ ปี 2562 34.80 27.67 28.97 28.37 29.20

สาระ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ปี 2562 35.63 28.02 29.24 27.26 29.40

(2) เพื่อพัฒนาทักษะการพูด และการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สู่การแข่งขันในระดับต่าง ๆ มีนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันเล่านิทานในระดับเขตการศึกษา ระดับภาค และระดับประเทศ ได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้ ( ภาคผนวก ง )

ชื่อ – สกุล รางวัล ระดับ ปีการศึกษา

นางสาวศกมณฑ์ เพียรอนุรักษ์ เหรียญทอง

รองชนะเลิศ อันดับ 2 ระดับภาคใต้,

ระดับชาติ 2562

นางสาวโซเฟีย เกวลิน วินเทอะร์มันน์ ชนะเลิศ เหรียญทอง ระดับภาคใต้,

ระดับชาติ 2561

นางสาวโซเฟีย เกวลิน วินเทอะร์มันน์ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2561

นางสาวปวีณา เจริญมาศ รางวัลระดับเหรียญเงิน ภาคใต้ 2560

นางสาวปวีณา เจริญมาศ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2560

นางสาวโซเฟีย เกวลิน วินเทอะร์มันน์ ชนะเลิศ เหรียญทอง ศูนย์อาเซียนฯ 2559

นางสาวปวีณา เจริญมาศ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2559

ไม่มีการแข่งขันระดับภาค

นางสาวปวีณา เจริญมาศ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2558

นางสาวนงนภัส รัตนพันธุ์ รางวัลระดับ เหรียญทอง ภาคใต้ 2557

นางสาวนงนภัส รัตนพันธุ์ ชนะเลิศ เหรียญทอง สพม.12 2557

เด็กหญิงโซเฟีย เกวลิน วินเทอะร์มันน์ รางวัลระดับ เหรียญทอง ระดับชาติ 2557

4.2 ผลสัมฤทธิ์ของงาน

4.2.1 ครูผู้สอนได้รับรางวัล ครูผู้สอนเหรียญทอง รองชนะเลิศ การแข่งขันทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษ (Story Telling) ระดับชั้น ม.4-6 ระดับภาคใต้และระดับประเทศ ปีการศึกษา 2562

4.2.2 ครูผู้สอนได้รับเชิญให้เป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษ (Story Telling) ของงานมหกรรมวิชาการมัธยมศึกษา สพม.12 เป็นประจำทุกปี

4.2.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสตรีทุ่งสง ได้รับโล่เกียรติบัตร คะแนน O-NET สูงกว่าระดับชาติ ต่อเนื่อง ปีการศึกษา 2558 – 2562 และมีผลคะแนน O-NET สูงเป็นลำดับที่ 3

ปีการศึกษา 2558-2562 ระดับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ( ภาคผนวก จ )

4.2.4 โรงเรียนสตรีทุ่งสงมีผลการแข่งขันทักษะวิชาการ งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยี ครั้งที่ 69 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 6-8 มกราคม พ.ศ. 2563 “รางวัลเหรียญทอง” เป็นอันดับ 3 ของ สพม.12 จังหวัดนครศรีธรรมราช ( 183 เหรียญทอง, 53 เหรียญเงิน, 24 เหรียญทองแดง, 25 เข้าร่วมการแข่งขัน ) ( ภาคผนวก จ )

4.2.5 ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีทุ่งสง นายสง่า นาวารัตน์ ได้รับรางวัลชนะเลิศเหรียญทอง ผู้อำนวยการสถานศึกษายอดเยี่ยม ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียน

การสอน รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ครั้งที่ 9 ภาคใต้ ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช

4.3 ประโยชน์ที่ได้รับ

4.3.1 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสูงขึ้น โดยเฉพาะคะแนนด้านทักษะเพื่อการสื่อสาร

4.3.2 โรงเรียนมีผลการทดสอบ O-NET วิชาภาษาอังกฤษ สูงกว่าระดับชาติ

4.3.3 โรงเรียนมีชื่อเสียง จากการที่ส่งนักเรียนได้รับเหรียญทองการแข่งขันทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษระดับชาติ ปี 2562

4.3.4 นักเรียนมีแรงจูงใจ และทัศนคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น

4.3.5 นักเรียนมีความเชื่อมั่นในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น

4.3.6 นักเรียนได้ข้อคิดจากนิทาน ส่งผลต่อการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2562 ที่ได้ระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 91.15 ( ภาคผนวก ค )

5. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

5.1 ผู้บริหารโรงเรียนสนับสนุนและให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรม ให้คำแนะนำ ปรึกษา ตลอดจนสนับสนุนส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันทักษะวิชาการในระดับต่าง ๆ

5.2 หัวหน้างานบริหารวิชาการมีส่วนให้คำแนะนำ ปรึกษาด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆทำให้ทุกกิจกรรมดำเนินไปได้ตามวัตถุประสงค์

5.3 ผู้ปกครองนักเรียนให้การส่งเสริม สนับสนุน และให้ความร่วมมือ ในการจัดการเรียนรู้ ตลอดจน

การอนุญาตให้นักเรียนได้มาฝึกซ้อมทักษะเล่านิทานภาษาอังกฤษในวันหยุดราชการ

5.4 นักเรียนให้ความร่วมมือในการคิดบทแสดงบทบาทสมมติ และแสดงบทบาทสมมติได้เป็นอย่างดี

5.5 ผลงาน BEST Practice มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2560 – ปัจจุบัน และได้ปรับปรุงคุณภาพรูปแบบของ Model ให้เข้ากับทฤษฎี TBI ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. บทเรียนที่ได้รับ

6.1 ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ

6.1.1 การดำเนินกิจกรรมตามแบบ TBI RAOS Model สู่การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารประสบความสำเร็จได้ เพราะความร่วมมือ สนับสนุน ของคณะทำงานทุกฝ่ายรวมถึงนักเรียนทุกคน

6.1.2 การสอนภาษาอังกฤษด้วยรูปแบบการสอนภาษาแบบเน้นภาระงาน หรือการปฏิบัติงาน

(Task-based Instruction : TBI ) เป็นวิธีการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ภาษาอังกฤษจากการฝึกปฏิบัติจริง นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข ทำให้การสอนประสบผลสำเร็จ นั่นคือ ผู้เรียนสามารถเล่านิทาน แสดงบทบาทสมมติ แสดงน้ำเสียง สีหน้า ท่าทางประกอบได้ ส่งผลให้จะทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้น และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการทดสอบภาษาอังกฤษระดับชาติ

6.2 ปรับปรุงคุณภาพพัฒนาต่อไปทั้งในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และผลการทดสอบระดับชาติ

( O-NET ) และงานวิจัยในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพของงานต่อไป

6.3 ข้อพึงระวัง : หากนักเรียนใช้ภาษาแบบติดๆขัดๆ หรืออาจมีผิดบ้าง ครูควรให้กำลังใจ ควรให้แรงเสริมในทางบวกเท่านั้น

7. การเผยแพร่ผลงาน/ การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้

7.1 เผยแพร่ผลงานผ่านเว็ปไซต์ www.stss.co.th และ website : www.kroobannok.com

7.2 เผยแพร่ผลงานผ่าน Facebook : Jinawong

7.3 เผยแพร่ผลงาน เมื่อปี 2559- 2563 ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้แก่ครู ในสังกัด สพม.12 รับรองโดย อดีตศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ นายไพบูลย์ พรหมดำ และนางจิรา ชูช่วย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ (ภาษาอังกฤษ) ของ สพม.12

7.5 รางวัลที่ได้รับ :

 ผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน ( O-NET ) ชั้น ม.6 ปีการศึกษา 2558-2562 ค่าเฉลี่ยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (วิชาภาษาอังกฤษ) สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ และจัดอยู่อันดับที่ 3 ระดับโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ ของ สพม.12 (ภาคผนวก จ)

 นักเรียนได้รับรางวัลจากการแข่งขันทักษะเล่านิทาน ระดับภาคและระดับชาติอย่างต่อเนื่อง

โพสต์โดย จินตนา ศุภศรี : [19 ต.ค. 2563 เวลา 19:06 น.]
อ่าน [3797] ไอพี : 118.173.37.210
หากข้อความนี้ไม่เหมาะสม คลิก คลิกปุ่มนี้ หากเห็นว่าข้อความนี้ไม่เหมาะสม
 
 

โปรดอ่านกฎกติกาก่อนแสดงความเห็น
1. ข้อความของท่านจะขึ้นแสดงโดยอัตโนมัติทันทีที่ได้รับข้อมูล
2.
ห้ามโพสต์ ข้อความยั่วยุให้เกิดความรุนแรงทางสังคม ข้อความที่ก่อให้เกิดความเสียหายและเสื่อมเสียต่อบุคคลที่สาม, เบอร์โทรศัพท์,
รูปภาพที่ไม่เหมาะสมต่อเยาวชนหรือภาพลามกอนาจาร หรือกระทบถึงสถาบันอันเป็นที่เคารพ
ขอให้ผู้ตั้งกระทู้รับผิดชอบตัวเอง
และรับผิดชอบต่อสังคม ถ้ารูปภาพ หรือข้อความใดส่งผลกระทบต่อบุคคลอื่น ทีมงานพร้อมจะส่งรายละเอียดให้เจ้าหน้าที่
เพื่อตามจับตัวผู้กระทำผิดต่อไป

3.
สมาชิกที่โพสต์สิ่งเหล่านี้ อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายจากผู้เสียหายได้
4. ไม่อนุญาตให้มีการโฆษณาสินค้าใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม
5. ทุกความคิดเห็นเป็นข้อความที่ทางผู้เยี่ยมชมเข้ามาร่วมตั้งกระทู้ในเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์ kroobannok.com ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ทั้งสิ้น
6. ทางทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบกระทู้ที่ไม่เหมาะสมได้ทันที โดยไม่ต้องมีการชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็นนั้นทั้งสิ้น

7. หากพบเห็นรูปภาพ หรือข้อความที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งมาที่อีเมล์ kornkham@hotmail.com เพื่อทำการลบออกจากระบบต่อไป


 ** พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐**

ขออภัยในความไม่สะดวก เนื่องจากเราประสบปัญหา
มีผู้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่และไม่เหมาะสมเป็นจำนวนมาก
ครูบ้านนอกดอทคอมจึงขอความร่วมมือสมาชิก
กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความเห็นครับ


  

สมัครสมาชิกใหม่
 

 

Advertisement

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

เปิดอ่าน 21,833 ครั้ง
ปรากฏการณ์ดาวศุกร์โคจรตัดหน้าดวงอาทิตย์
ปรากฏการณ์ดาวศุกร์โคจรตัดหน้าดวงอาทิตย์

เปิดอ่าน 10,441 ครั้ง
ช็อกโกแลตชาร์จสมอง ช่วยให้หัวแล่นทำคำนวณได้ไวดี
ช็อกโกแลตชาร์จสมอง ช่วยให้หัวแล่นทำคำนวณได้ไวดี

เปิดอ่าน 13,413 ครั้ง
แสงสว่างของหิ่งห้อยมาจากไหน
แสงสว่างของหิ่งห้อยมาจากไหน

เปิดอ่าน 5,515 ครั้ง
กรมอนามัย ย้ำดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด ดื่มให้เหมาะสม พอเพียง ดีต่อร่างกาย
กรมอนามัย ย้ำดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด ดื่มให้เหมาะสม พอเพียง ดีต่อร่างกาย

เปิดอ่าน 10,503 ครั้ง
Apink - Hush คลิปนี้คนดูล้านกว่าวิว (HD)
Apink - Hush คลิปนี้คนดูล้านกว่าวิว (HD)

เปิดอ่าน 9,566 ครั้ง
การล้างลำไส้ทำให้อาการสิวดีขึ้น
การล้างลำไส้ทำให้อาการสิวดีขึ้น

เปิดอ่าน 474 ครั้ง
5 ไอเดียเก็บรักษาปากกาสำหรับนักสะสม ให้สภาพสมบูรณ์ สวยใหม่อยู่เสมอ
5 ไอเดียเก็บรักษาปากกาสำหรับนักสะสม ให้สภาพสมบูรณ์ สวยใหม่อยู่เสมอ

เปิดอ่าน 57,109 ครั้ง
เครื่องแบบข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ
เครื่องแบบข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ

เปิดอ่าน 19,135 ครั้ง
ชมเลย แอนิเมชั่นการบริหารสมองเป็น 2 เท่า ด้วย Brain Activation
ชมเลย แอนิเมชั่นการบริหารสมองเป็น 2 เท่า ด้วย Brain Activation

เปิดอ่าน 18,768 ครั้ง
ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในมนุษย์
ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้เลือดออกในมนุษย์

เปิดอ่าน 2,451 ครั้ง
Customer data platform (CDP) โปรแกรมที่คนทำธุรกิจไม่ควรพลาด
Customer data platform (CDP) โปรแกรมที่คนทำธุรกิจไม่ควรพลาด

เปิดอ่าน 14,763 ครั้ง
น้ำผึ้ง ชะลอริ้วรอย
น้ำผึ้ง ชะลอริ้วรอย

เปิดอ่าน 9,420 ครั้ง
เคล็ดลับดูแลผมในหน้าร้อน
เคล็ดลับดูแลผมในหน้าร้อน

เปิดอ่าน 82,365 ครั้ง
เมื่อภาษาไทยไม่มีสระไม่เว้นวรรค ดูซิว่าอ่านยากขนาดไหน?
เมื่อภาษาไทยไม่มีสระไม่เว้นวรรค ดูซิว่าอ่านยากขนาดไหน?

เปิดอ่าน 526 ครั้ง
จัดบ้านเสริมฮวงจุ้ย เพื่อความสุขในทุกวัน
จัดบ้านเสริมฮวงจุ้ย เพื่อความสุขในทุกวัน

เปิดอ่าน 12,820 ครั้ง
10 วิธีสร้าง "บ้านสุข" ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี
10 วิธีสร้าง "บ้านสุข" ที่ไม่ใช่แค่ทฤษฎี
เปิดอ่าน 104,728 ครั้ง
ฃ ขวดกับ ฅ คนหายไปตั้งแต่เมื่อไร
ฃ ขวดกับ ฅ คนหายไปตั้งแต่เมื่อไร
เปิดอ่าน 10,738 ครั้ง
วิธีแต่งบ้านคลายร้อน
วิธีแต่งบ้านคลายร้อน
เปิดอ่าน 27,443 ครั้ง
เทคนิคการประเมินผลในชั้นเรียน
เทคนิคการประเมินผลในชั้นเรียน
เปิดอ่าน 10,970 ครั้ง
ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจคิดใหม่ทำใหม่เพื่อหัวใจของคุณ
ตรวจแคลเซียมหลอดเลือดหัวใจคิดใหม่ทำใหม่เพื่อหัวใจของคุณ

รายการหลัก

หน้าแรก
ข่าว/บทความ
สมุดเยี่ยม
กระดานสนทนา
เว็บลิงค์
ผู้จัดทำเว็บครูบ้านนอก
ข้อมูลบุคคล
ภาพกิจกรรม
ผู้สนับสนุน

สมาชิก

เข้าสู่ระบบ
คุณครูต้องรู้ไว้
รวมแบบฟอร์มต่างๆ

เว็บน่าสนใจ

เว็บไซต์ สพฐ.
กระทรวงศึกษาธิการ
เครื่องมือวิทยาศาสตร์
เครื่องมือวัด
เครื่องมืออุตสาหกรรม
เกมส์
แหล่งรวมเกมส์

แหล่งรวมเกมส์
สพป.มุกดาหาร



 เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ คลายเครียด

เกมส์ รวมเกมส์ เกมส์แข่งรถ เกมส์ต่อสู้ เกมส์ภาษา เกมส์วางระเบิด เกมส์แต่งตัว เกมส์ท่องเที่ยว เกมส์หมากฮอส เกมส์ผจญภัย เกมส์เต้น เกมส์รถ เกมส์ดนตรี เกมส์ขายของ เกมส์ฝึกสมอง เกมส์เด็กๆ เกมส์ปลูกผัก เกมส์การ์ด เกมส์จับผิดภาพ เกมส์ตลก เกมส์ตัดผม เกมส์ก้านกล้วย เกมส์ทําอาหาร เกมส์เลี้ยงสัตว์ เกมส์ผี เกมส์จับคู่ เกมส์กีฬา เกมส์เศรษฐี เกมส์ฝึกทักษะ เกมส์วางแผน เกมส์จีบหนุ่ม เกมส์มาริโอ เกมส์ระบายสี เกมส์จีบสาว เกมส์เบ็นเท็น เกมส์ยิง เกมส์ยาน เกมส์สร้างเมือง เกมส์มันส์ๆ เกมส์แต่งบ้าน เกมส์ความรู้
      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ